สัมพัทธภาพในวงข้าว


สิ่งที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันอาจเป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบันไม่อาจบอกได้

ผมอ่านหนังสือจักรวาลของไอสไตน์แล้วตั้งปุจฉากับลูกโดยยกตัวอย่างสมมุติว่าโลกห่างจากดวงอาทิตย์12แสง(แสงใช้เวลาเดินทาง12ปี)ถ้าดวงอาทิตย์ดับตอนนี้ อีก12ปีเราจึงจะรู้ว่าดวงอาทิตย์ดับ 

เปลี่ยนใหม่ว่าดวงอาทิตย์เป็นอีกดาวดวงหนึ่งเหมือนโลก ถ้าเรามีกล้องส่องทางไกลของโดเรมอน ที่สามารถส่องเห็นภาพบนดาวนั้นได้   ภาพที่เห็นก็เป็นเหตุการณ์เมื่อ12ปีผ่านมาแล้ว ถ้าเราวิ่งเร็วกว่าแสง   เราก็วิ่งไปเห็นเหตุการณ์ในอนาคต

ภาพที่เห็นจากกล้องส่องทางไกล แม่เพิ่งคลอดเด็กชายพฤกษ์ที่โรงพยาบาล ยังนอนดูดนิ้วอยู่เลย แต่เราวิ่งเร็วกว่าแสง12ปี กลับมาเล่าว่าได้เห็นภาพอนาคต12ปีข้างหน้าเด็กชายพฤกษ์กำลังนั่งกินข้าวกับพ่อแม่และพี่ชาย

คราวนี้ลูกชายสมมุติบ้างว่า เรามีแขนยาวมาก ยาวเท่ากับ12ปีแสง   ตาของเราส่องกล้องเห็นภาพในอดีต แต่มือของเราจับอยู่ที่เหตุการณ์ปัจจุบันซึ่งไม่ตรงกัน แล้วจะเป็นอย่างไร????

สิ่งที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันอาจเป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบันไม่อาจบอกได้

อดีต อนาคต ปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องสัมพัทธ์ โดยมีแสงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

คำสำคัญ (Tags): #สัมพัทธภาพ
หมายเลขบันทึก: 98929เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2007 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ปัจจุบันมีที่มาที่ไปจากอดีต

ในขณะที่อนาคตมีที่มาที่ไปจากปัจจุบัน

ปัจจุบันในขณะนี้คืออดีตเพียงชั่วการเกิดและการดับของจิต

พลังงานเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิด "กรรม"

ในขณะเดียวกัน กรรม ก็คือ "พลังงาน"

ความคิดเป็น "พลังงาน" คือ "มโนกรรม"

คำพูดเป็น "พลังงาน" คือ "วจีกรรม"

การกระทำเป็น "พลังงาน" คือ "กายกรรม"

เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ เพราะแสงตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าเรตินา เกิดภาพหัวกลับในเลนส์ตา แล้วปรับเปลี่ยนเป็นภาพปกติที่เราเห็นทั่วไป

หากเราสามารถทำ "จิต" ให้มีความเร็วกว่าแสง ก็จะสามารถเห็น "ภาพ" หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตได้

การทำให้จิตมีความเร็วกว่าแสง จะตรงกันข้ามกับปรากฏการณ์ทางโลก

ทางโลก เราต้องเหยียบ "คันเร่ง" คือต้องใช้ "ความเร็ว" เพื่อให้ยานพาหนะขับเคลื่อนตามใจปรารถนา

ทางธรรม เราต้องเหยียบ "เบรค" คือต้องใช้ "ความนิ่ง" ยิ่งนิ่งได้มากเท่าใด จิตยิ่งมีพลังเท่านั้น นั่นคือจิตจะสามารถเดินทางได้เร็วกว่าแสง ไปรู้ไปเห็นเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ในอดีตตามพลังของจิต ยิ่งนิ่งมากจะยิ่งย้อนอดีตได้ยาวนาน

เมื่อมีสิ่งนั้น จึงมีสิ่งนี้

หากจะเข้าใจปัจจุบันได้ลึกซึ้ง ต้องเข้าใจอดีตอย่างแจ่มชัด เพราะ "เหตุ" ในอดีตส่งให้เกิด "ผล" ในปัจจุบัน

และหากต้องการสร้าง "ผล" ในอนาคตตามที่ใฝ่ฝัน ย่อมต้องสร้าง "เหตุ" ใน "ปัจจุบัน" ให้เหมาะสม

เรื่องราวของอดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นเรื่องราวของพลังงานที่เคลื่อนผ่านมิติของ Time &Space ซึ่งเป็นระบบ Matrix ที่ซับซ้อนแต่สามารถ "ถอดสมการ" ได้

แสงเป็นเพียง "รูปแบบ" หนึ่งของพลังงาน ยังคงมีรูปแบบของ "พลังงาน" อีกหลายรูปแบบ ขณะเดียวกันก็มี Time&Space อีกหลายมิติ ซึ่งจะรับรู้และสัมผัส Time&Space ในมิติอื่นได้ต้องทำให้ "อายตนะ" ของเรามีความละเอียดเท่ากันกับมิตินั้น

มีโอกาสคงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกนะคะ

 

 

เห็นด้วยกับอาจารย์ว่าน่าจะเป็นจิตที่สามารถวิ่งเร็วกว่าแสงได้ และอาจจะไปเห็นเรื่องราวในอดีตหรืออนาคตได้ ซึ่งเป็นโลกวัฏสงสาร แต่ไปเห็นก็เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ เพราะมันเป็นไปตามกรรม

ถ้าไม่ให้กรรมเกิดผล ต้องเห็นความเป็นไปของธรรมชาติที่เป็นกริยาโดยไม่มีตัวตนเข้าไปข้องแวะด้วย ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง5คือการบังเกิดขึ้นของโลกและเป็นตัวทุกข์ จะตัดวงจรการเกิดขึ้นของโลกทำได้หลายจุด แต่จุดสำคัญที่ท่านแนะนำคือ  ตรงผัสสะ (แดนรับรู้ภายในทั้ง6คือตาหูจมูกลิ้นกายใจกับตัวรู้หรือวิญญาณในแต่ละแดนกับอายตนะภายนอกที่เป็นคู่กัน) ถ้าเกิดผัสสะโดยไม่เกิดเวทนาตามมาก็จะมีเพียงกริยาอาการเท่านั้น ไม่เป็นเวทนาให้เกิดกรรมเป็นตัณหายึดมั่นเป็นตัวกูของกูได้

จัดการกับความรู้เรื่องนี้คงมีด้วยกันหลายแบบ       แบบที่ผมแนะนำคือ คู่มืออานาปนสติฉบับอภิปราย สัมมนาและสาธิต ของท่านอาจารย์พุทธทาสครับ

 

ได้คิดครับ ขอบคุณที่เขียนครับ

"อดีต" เป็นสิ่งที่ "เกิดขึ้นแล้ว" จึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขอะไรได้ทั้งสิ้น

ในขณะที่ "อนาคต" เป็นสิ่งที่ "ยังมิได้เกิดขึ้น" ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงได้อย่างแน่นอน

โอวาทสี่ของท่านเหลี่ยวฝานก็ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ โดยให้คำอธิบายอย่างง่าย ๆ ต่อคำถามที่ว่า ภายใต้วิถีของมนุษย์และสรรพสิ่งที่แตกต่างนั้น "ฟ้าลิขิต" หรือ "คนลิขิต" ?

การไปรู้ไปเห็นเรื่องราวในอดีต แม้เราจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้อีกแล้วก็ตาม  หากแต่การที่เราได้ "รับรู้" ย่อมทำให้เราได้ "เรียนรู้" สิ่งที่เป็น "กลไก" ที่ก่อให้เกิดเรื่องราวหรือปรากฏการณ์นั้น ๆ การทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงเรื่องราวของอดีตภายใต้มิติของกาลเวลาและสถานที่ ถือเป็นการ "ถอดบทเรียนชีวิต" ที่เป็น Cause&Consequence ทั้งของตัวเราเอง ของมนุษยชาติและของสรรพสิ่ง

 หากเรารู้ว่า "เหตุ" อะไรทำให้เกิด "ผล" อะไร และเรารู้ว่าเหตุนั้น ๆ เป็น "ตัวแปร" ที่สำคัญมากหรือน้อยเพียงใดต่อการเกิดผลนั้น ๆ  เราย่อมสามารถ "ปรับเปลี่ยน"ที่ "ตัวเหตุ" เพื่อที่จะทำให้เกิด "ตัวผล" ตามที่เราปรารถนา ดังนั้นเราจึง "เปลี่ยนแปลง" สิ่งที่จะเกิดต่อไปหรือสามารถสร้าง "อนาคต" ใหม่ได้ค่ะ

เหมือนสิ่งที่พวกเรากำลังพยายามทำร่วมกันในการขับเคลื่อนสังคมภายใต้การปรับ "กลไก" และ "ระบบ" บางประการนั่นแหละค่ะ

การจัดการความรู้เรื่องนี้มีด้วยกันหลายแบบอย่างที่อาจารย์ภีมว่านั่นแหละค่ะ และไม่ว่าจะเป็นแบบใดที่แม้จะมีการจัดขบวนและวิธีการที่แตกต่างหลากหลาย แต่คิดว่าทุกขบวนต่างมีสิ่งที่เรียกว่า "เป้าหมายร่วม" นั่นคือการหลุดพ้นจาก "วัฏฏะ" หรือ "พันธนาการชีวิต" ที่จะทำให้เราพบความสุขสงบเย็นเป็นนิรันดร์ค่ะ

 

 

 

 

ชัดเจนครับ

ขอบคุณอ.ตุ้มที่เข้ามาให้ความคิดความเห็นด้วยมิตรไมตรีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท