การกำหนดเครื่องชี้วัด เพื่อเป็น Performance Agreement


ให้ทุกหน่วยงานกำหนดเครื่องชี้วัด เพื่อทำ Performance agreement ระหว่างหน่วยงานกับผู้อำนวยการ ประจำปี 2549 โดยให้สอดคล้องกับพันธกิจและเป้าหมายของหน่วยงาน และสอดคล้องกับเข็มมุ่งของสถาบันฯ แต่ต้องให้ครอบคลุมตาม 4 มิติของ กพร

จากปีที่แล้วที่สถาบันธัญญารักษ์ได้ใช้ระบบ Performance agreement  เพื่อให้หน่วยงานมีการดำเนินงานตามเป้าหมายและตัวชี้วัด  และมีการติดตามอย่างสม่ำเสมอ  ในแต่ละกลุ่มภารกิจทุก 3 เดือน  และให้แต่ละกลุ่มภารกิจ  นำเสนอความก้าวหน้าต่อผู้อำนวยการ เพื่อให้เกิดการติดตามเครื่องชี้วัดที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ   ซึ่งเป็นผลดีต่อระบบบริหารภายในองค์กร      

ขณะนี้  ในสถาบันธัญญารักษ์     ได้ให้ทุกหน่วยงานกำหนดเครื่องชี้วัด    เพื่อทำ Performance agreement  ระหว่างหน่วยงานกับผู้อำนวยการ  ประจำปี 2549   โดยให้สอดคล้องกับพันธกิจและเป้าหมายของหน่วยงาน และสอดคล้องกับเข็มมุ่งของสถาบันฯ        แต่ต้องให้ครอบคลุมตาม 4 มิติของ กพร  ได้แก่

a.       ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ

b.      ด้านคุณภาพการให้บริการ

c.       ด้านประสิทธิภาพ

d.      ด้านการพัฒนาองค์กร

ซึ่งมิติคุณภาพมีการเปลี่ยนแปลงจากในปีที่แล้วเล็กน้อย  รวมทั้งจัด Work shop การกำหนดเครื่องชี้วัดของหน่วยงาน  เพื่อให้มีความครอบคลุมกับเป้าหมายของหน่วยงานและ เข็มมุ่งของสถาบันมากขึ้น    โดยให้มีการรายงานผลทุก 3 เดือน  ดังเช่นในปีงบประมาณที่แล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม  ก็ได้กำหนดเครื่องชี้วัดภาคบังคับในแต่ละมิติดังนี้

 

มิติคุณภาพ

เครื่องชี้วัด
Indicators
เป้า
Target
หมายเหตุ

ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ

 

 

 

·        ตามที่หน่วยงานกำหนด โดยแยกเป็น
-         เชิงผลผลิต
-         เชิงผลลัพท์
ตามที่หน่วยงานกำหนด
 

ด้านคุณภาพการให้บริการ

 

 

 

·        คะแนนความพึงพอใจของผู้รับบริการ
·        จำนวนข้อคิดเห็นของผู้รับบริการที่นำมาปรับปรุงหน่วยงาน
     80 %
      3 เรื่อง
 

ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ
-          การลดค่าใช้จ่าย  (ค่าสาธารณูปโภค,ค่าวัสดุ,ค่าใช้สอย,ค่าใช้จ่ายการฝึกอบรมที่ไม่จำเป็น ฯลฯ)
-          การลดระยะเวลา/ขั้นตอนการให้บริการ

 

 

·       ร้อยละของงบประมาณที่ประหยัดได้

 

 

·        ระดับความสำเร็จของการลดระยะเวลา/ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน

     20 %

 

 


       20 %

ให้หน่วยงานเป็นผู้เลือกชนิดของงบประมาณที่จะประหยัดและ กระบวนการที่จะลดเวลา/ขั้นตอน
ด้านการพัฒนาองค์กร

·        ร้อยละของบุคลากรที่ได้ฝึกอบรมตามเกณฑ์ขั้นต่ำ
- 10 วัน ต่อปี


·        ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการประเมินสมรรถนะ

·       


·        องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานที่ได้ทบทวนและสร้างขึ้น  (Knowledge asset)[1]  


·        กิจกรรม CQI  หรือ นวตกรรม

100 %

 

 

100 %

 

 

5 เรื่อง


               1 เรื่อง

 


[1]  โปรดส่งให้ฝ่ายวิทยบริการ   เพื่อไปบรรจุใน  Thanyarak knowledge asset

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 9862เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2005 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท