Try and Test


ถามว่า ยากมั้ยเวลาออกแบบหน้าตาของ GotoKnow.org ทีมงานตอบได้เลยคะว่า ยากคะ

โดยทั่วไป อย่างกว้างๆ สิ่งที่เราคำนึงถึง ก็คือว่า ดูว่าส่วนใดระบบส่วนใดที่ใช้งานได้ดีและใช้งานไม่ได้ดีในสายตาของผู้ใช้ พิจารณาว่ามีอะไรบ้าง มีส่วนประกอบใดบ้างที่จะสามารถช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น จะพัฒนาหรือออกแบบ user interface อย่างไรที่จะเป็นตัวเพิ่มพูนประสบการณ์และเป็นตัวเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในตัวระบบให้กับผู้ใช้ 

เราต้องการให้ผู้ใช้ใช้ระบบได้โดยง่ายคะ แต่ในหลาย ๆ จุดที่เราออกแบบมา คิดว่ามันน่าจะใช้งานง่ายนะ ปรากฎว่าไม่ใช่นะ ผู้ใช้เค้ายังใช้งานสับสนอยู่เลย ทางทฤษฎีเค้าเรียกว่า System image ถูกรับรู้ต่างกันคะ

ประเด็นทาง Human-Computer Interaction (HCI) คือ ออกแบบระบบให้ผู้ใช้ใช้งานระบบได้โดยอย่างอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้ Cognitive functions มากมายนัก และ โดยส่วนใหญ่ นี่ก็คือความคาดหวังของผู้ใช้ คือ เวลาเข้าใช้ระบบแล้วมันต้องให้ได้ดั่งใจและใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องคิดอะไรมาก อย่างที่ Don Norman เขียนไว้ในหนังสือ The Design of Everyday Thing เป็นกฏชื่อ Affordance นั่นเอง

ถึงบอกว่า ยากไงคะ :) และโดยเฉพาะระบบบล็อกเป็นระบบที่ผู้ใช้ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ยังไม่รู้จัก และ ยังไม่เข้าใจการใช้งาน

ก็ต้องค่อยเป็นค่อยไปหละคะ ยังมีประเด็นต้องปรับปรุงอีกเยอะคะ ...

วิธีที่ทีมงานเราพัฒนาและปรับปรุงระบบ GotoKnow คือ Try and Test คือ พัฒนาออกมาแล้ว ให้ผู้ใช้ทดลองใช้จริงเพื่อทดสอบความสามารถในการใช้ระบบ แล้วแก้ไขปรับปรุง เป็น cycle อย่างนี้แหละคะ

ที่นี้ ระหว่างรอเราปรับปรุงระบบ ผู้ใช้ก็ยังคงใช้ระบบเดิมได้อย่างปกติ เมื่อเราปรับปรุงเสร็จแล้ว ก็จะทำการลงระบบใหม่ในช่วงที่ผู้ใช้ใช้น้อยที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ ช่วงดึกมากๆ ซึ่งเราจะต้อง pause ระบบประมาณสัก 5 นาที แต่ช่วงที่มีการเปลี่ยน database backend จาก Sqlite เป็น MySql ที่ผ่านมานั้น ต้อง pause อยู่นานประมาณเกือบครึ่งชั่วโมง

ใครใช้งาน GotoKnow ช่วงดึกๆ ถ้าเจออย่างนี้ ก็ไม่ต้องตกใจนะคะ เป็นแป๊บเดียว เดี๋ยวก็มา :)

จันทวรรณ

คำสำคัญ (Tags): #usability
หมายเลขบันทึก: 981เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2005 00:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หวังว่าการทำงานแบบนี้เป็นชีวิตที่สนุกและมีค่านะครับ    สมัยหนุ่มๆ ผมเคยทำงานวิจัยและสนุกแบบนี้

วิจารณ์

ระบบที่ผ่านการทดสอบโดยผู้ใช้จริงๆ 
ทำให้การใช้งานของระบบได้ผล
ตามที่สิ่งที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ จริงๆครับ

ผมสงสัยจังว่าทำไมต้องมีตัวเลขยืนยันข้างล่างค้วยคับ ?

ดิฉันเคยเขียนไว้ที่บันทึกนี้คะ http://gotoknow.org/archive/2005/06/02/09/54/00/e42
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท