สภาการศึกษา G2K : ไวรัสร้ายที่ทุกคนต้องระวัง "ภูมิคุ้มกันชุมชนบกพร่อง"


คุณคิดว่าทางออกในการ ขับไล่ไวรัสร้าย ที่ทำให้เกิดโรคร้ายนี้ ความบกพร่องที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้างครับ ภูมิคุ้มกันชุมชนบกพร่องนี้ คุณคิดว่าจะทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็ง จะพัฒนาอย่างไรครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

          สบายดีกันทุกท่านนะครับ เมืองไทยฝนตกกันบ้าง อากาศเปลี่ยนกันก็ต้องรักษาสุขภาพกันนะครับ รักษาสุขภาพให้แข็งแรงนะครับ ไม่งั้นร่างกายเราจะเกิดภูมิคุ้มกันบกพร่องได้นะครับ

คิดถึงหลายๆคนครับ เลยเอาภาพมาฝากกันอีกครับ

         เมื่อพูดถึงโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง นี่ ทำให้ผมนึกถึงโรคเอดส์ครับ ที่มีเชื้อไวรัส HIV เจริญเติบโตในร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อยๆ ค่อยๆ ตายไปเรื่อยๆ ทีละส่วน ทีละส่วน หลายคนบอกว่า จริงๆ แล้วคนที่ตายไม่ได้ตายเพราะเอดส์ แต่จะตายเพราะโรคอื่นที่เข้ามาแทรกซ้อนอีกที ร่างกายมีช่องว่างหลายๆ ช่องทางเมื่อภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดี บกพร่องซะแล้ว ร่างกายก็โดนอัดได้รอบทิศทาง มีโรคอื่นเข้ามากัดกินจนในที่สุด ก็เหี่ยวแห้งตายลงในที่สุด

        กลับมามองสังคมเราสมัยผมยังเล็กๆ ผมมีความรู้สึกดีๆ ทุกครั้งที่นึกถึง สมัยคนในหมู่บ้าน แลกเปลี่ยนข้าวแกงกัน ผมเป็นคนส่งส่วยบ่อยๆ ครับตอนเด็กๆ คุณแม่บอกว่า ลูกเอาแกงคั่วปลาไหลไปให้น้าๆ ข้างบ้านหน่อย ผมก็ทำหน้าที่ส่งส่วยไปนะครับ ต้องเดินให้ดี เดินแบบประคอง นำส่วยไปส่ง ไปให้แล้วก็ก่อนจะกลับบ้าน น้าท่านนั้นก็บอกว่า

น้องเม้ง คอยซักครู่  ฝากแกงส้มปลาช่อน ไปให้พ่อกับแม่ด้วย ผมก็ทำหน้าที่รับส่วยต่อจากน้าท่านนั้น มายังที่บ้านต่อ

ผมทำแบบนี้บ่อยมากๆ ครับ  แต่ในสังคมปัจจุบันเปลี่ยนไปเยอะ

       สังคมเรามีรากเหง้าของเรา สังคมอื่นๆ ก็มีรากเหง้าของเค้า บางครั้งสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งที่เป็นในสังคมอื่นก็หลั่งไหลเข้ามาในบ้านเรา จนทำให้รากเหง้าสิ่งดีๆ หดหายไป คนหันมานิยมวัตถุกันมากขึ้น วัดคนกันที่รถสี่ล้อ ความมีหน้ามีตาในสังคม ยศ บรรดาศักดิ์ แสวงหา ชื่อเสียง เงิน และอำนาจ กันเพื่อมาอวดอ้างถึงสรรพคุณกัน

       เริ่มพิจารณาจากตัวบุคคลที่เปลี่ยนไป ความคิดเปลี่ยนไป จากที่เคยคิดดี พูดดี ก็เปลี่ยนไป

        ชุมชนที่เคยสงบสุข ก็มีปัญหามากขึ้น มีการแก่งแย่งชิงดี การแสวงหาให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในชุมชน เพื่อมาปกครองแบ่งปัน จัดสรร ผลประโยชน์ ตามที่ตัวเองคิดกัน

       ดั่งไวรัสตัวร้ายทางความคิด จะเป็นตัวกัดกิน กัดกร่อนตัวเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม ให้นับวันยิ่งอ่อนแอลงเรื่อยๆ ชุมชนอาจจะไม่ตายในทันที แต่จะถูกทำให้ตายลงไปเรื่อยๆ อย่างน่าทรมานยิ่งนัก

       ไวรัสร้ายตัวนี้จะทำหน้าที่ฝังเข้าไปในกระบวนการทางความคิด ทำให้แนวทางการคิดเปลี่ยนไป จนเปิดช่องว่าง ช่องโหว่ช่องใหญ่ให้โรคร้ายจากภายนอก เข้าไปกัดกิน จนระบบพัง  ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีหายไป ความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมเดี้ยง  จิตสำนึกสาธารณะพิการ การสัมผัสกันด้วยหัวใจบอดมืดมิด  สิทธิที่ตัวเองพึงกระทำเพื่อส่วนรวมเหี่ยวเฉา

       นั่นอยู่ที่ว่า ภูมิคุ้มกันของร่างกายของแต่ละชุมชนนั้นจะมีมากแค่ไหน ในการสร้างแอนติบอดี้ของชุมชน หากมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ต่อสาธารณะ คิดจำแนกได้ว่าอะไรดีไม่ดี ตัวเองควรมีจุดยืนอย่างไร ไวรัสร้ายทางความคิดก็จะอ่อนแอลงไป จนกลายเป็นชุมชนเข้มแข็ง แต่หากในทางกลับกัน ชุมชนแบบปัจเจกจะสูงขึ้น จนในที่สุดแล้ว ไวรัสร้ายก็แพร่ทั่วอณูของชุมชน จนในที่สุด ชุมชนตาบอด ดั่งที่เราเห็นมากมาย

       ตัวอย่างอย่าง โรคร้ายที่เข้ามาแทรกในทางชุมชนมีมากๆ มาย ดังที่เราเห็นกันในทุกวันนี้ การหลั่งไหลของอำนาจทุนเข้าครอบครองจิตใจคน วัตถุซึมลึกในรากแก้ของดวงใจ เข้าครอบงำทางความคิด จนดิ้นไม่ได้ ท้ายที่สุดความพิการทางสังคมก็เกิดขึ้น

       ทางออกในเรื่องนี้มีหลายๆ อย่างที่จะนำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันเหล่านี้ หากตอบในภาพรวมและภาพย่อย........

       คุณคิดว่าทางออกในการ ขับไล่ไวรัสร้าย ที่ทำให้เกิดโรคร้ายนี้ ความบกพร่องที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้างครับ ภูมิคุ้มกันชุมชนบกพร่องนี้ คุณคิดว่าจะทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็ง จะพัฒนาอย่างไรครับ

       ยาต้านไวรัสโรคร้ายนี้ ของคุณคืออะไร ที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองและชุมชน?

       ตัวอย่างแผนภาพอธิบายปัญหานี้

  จากภาพอธิบายได้ดังนี้คือ

  1. วงกลมสีฟ้าเขียวเป็นเซลล์ชุมชนที่ประกอบไปด้วยกลุ่มคน โดยมีสามเหลี่ยมเป็น แก่นหรือรากเหง้าของชุมชน

  2. สามเหลี่ยมแต่ละด้านจะป้องกันการบุกรุกถึงแก่นนิวเคลียสของเซลล์ชุมชน ด้วยมีภูมิคุ้มกันทางกาย ทางใจ และทางสมอง(ปัญญา หรือภูมิปัญญา) โดยแต่ละด้านจะมีผนังเซลล์กั้นป้องกันการทำร้าย(บุกรุก)จากไวรัสร้ายทำลายภูมิคุ้มกันชุมชน

  3. ชุมชนถูกห้อมล้อมด้วยไวรัสร้าย(สีชมพู) ทำลายภูมิคุ้มกันชุมชน รอบทิศทาง โดยมีการบุกรุกทุกวิถีทาง โดยเฉพาะการเปิดมุมของแก่นหรือรากเหง้าของชุมชน โดยเน้นการเจาะที่มุมของรากเหง้า(ศรสีแดงทั้งสามมุมของสามเหลี่ยม) เมื่อเซลล์ไวรัสทำการเปิดมุมของภูมิคุ้มกันได้แล้ว นั่นคือการเปิดด้านภูมิคุ้มกันแล้วสร้างความอ่อนแอให้เกิดในชุมชน ตราบนั้นไวรัสก็จะบุกกัดกินเนื้อแก่นแท้ของชุมชน โดยกจะกิดกินไปเรื่อยๆ

  4. การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน จะต้องทำอย่างไรในการใส่ ยาต้านไวรัสนี้ลงไปในชุมชน โดยให้ชุมชนเองมีภูมิในการป้องกันตัวเองได้ ด้วยเครื่องหมายคำถาม

  5. คุณคิดว่าคุณจะใส่อะไรให้กับชุมชน ก่อนที่เซลล์ไวรัสร้ายจะเปิดแก่นของชุมชนกัดกินจนเหี่ยวเฉา  เชิญร่วมแสดงความเห็นครับ

  

          หรือเราจะปล่อยให้เป็นไปอย่างนี้.....…ฤาจะรอจนสิ้นชาติ ?....จึ่งฟื้นฟู (จากคุณเบิร์ด)

ขอบคุณมากๆ นะครับ 

 เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 97359เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2007 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)
  • การที่คุณพยายามฉีดวัคซีนให้กับเด็กตัวน้อยๆ อยู่ในกลุ่มเด็กที่คุณดูแลเค้า คุณแน่ใจได้อย่างไรว่า วัคซีนนั้นจะเพียงพอที่จะทำให้เค้าต่อสู้กับไวรัสร้ายที่กำลังกัดกินสังคมอยู่ ให้เค้ารู้เท่าทันก่อนจะถูกครอบงำทางความคิด จนสมองนั้นง่อยก่อนได้ใช้การ
  • การสร้างภูมิคุ้มกันเชิงขนานควรจะทำอย่างไร ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และอัธยาศัย จนเกิดเป็นภูมิคุ้มกันในตัวปัจเจก ครอบครัว ชุมชนและสังคมได้
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะน้องเม้ง

พี่ว่าต้องใช้ยา"ครอบครัวอบอุ่น" เข้ามาช่วยค่ะ

แต่ถ้าจะมีครอบครัวอบอุ่นได้ ต้องอยู่ดีกินดี พอมีพอใช้ เศรษฐกิจพอเพียง คนมีงานทำเลี้ยงชีพสร้างครอบครัวอบอุ่นได้..แต่ตอนนี้คนไม่มีงานทำในพื้นที่ หรือไม่สามารถสร้างงานในพื้นที่ได้ ทำให้คนต้องออกจากพื้นที่เกิด ไปทำมาหากินที่อื่นๆ ครอบครัวล่มสลาย ชุมชนขาดภูมิคุ้มกันค่ะ

การสร้างครอบครัวอบอุ่น ไม่ใช่เรื่องง่าย (อีกแล้ว) ชุมชนอาจต้องมีผู้นำที่เป็นตัวอย่างที่เข็มแข็ง มีศูนย์รวมใจของชาวบ้าน เช่น วัด หรือมัสยิดหรือโบสถ์คริส ฯลฯ มีผู้ใหญ่บ้าน มีกำนัน มีข้าราชการที่พึ่งพาได้ มีโรงเรียนชุมชน แล้วชุมชนจึงจะมีกำลังพอมาศึกษาจุดเด่นของพื้นที่ในชุมชน ทรัพยากรในชุมชน ร่วมกันสร้างงานในชุมชน อนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ของชุมชม และสร้างครอบครัวอบอุ่นได้...

อาจมีมากกว่านี้ ตอนนี้คิดออกแค่นี้ค่ะ ยังไงก็ช่วยเสริมด้วยแล้วก้นนะคะ..

P

สวัสดีครับพี่กมลวัลย์

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ พี่
  • เดี๋ยวผมจะรวบรวม ยาต้านไวรัสนี้ เอาไว้ในข้อความนะครับ
  • ต้องใช้ยา"ครอบครัวอบอุ่น" เข้ามาช่วยค่ะ
  • เป็นยาดีขนานหนึ่งเลยครับ เพราะเริ่มกันที่ครอบครัว หน่วยพื้นฐานของชุมชนและสังคมครับ
  • พี่คิดว่า นอกจากในชุมชนเองแล้ว ในองค์กรการบริหาร หรือองค์กรการศึกษา มีภูมิคุ้มกันเหล่านี้ บกพร่องด้วยไหมครับ มีเชื้อไวรัสร้ายอยู่ด้วยไหมครับ
  • ผมกำลังคิดว่าตอนนี้มันกำลังกัดกินประเทศชาติเราอยู่ หรือเปล่า
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

ที่น้องเม้งถามว่าในองค์กรบริหาร ในองค์กรการศึกษามีภูมิคุ้มกันเหล่านี้ บกพร่องด้วยไหม พี่ว่ามันบกพร่องอย่างแรงเลยแหละค่ะ..

คนที่ทำงานในองค์กรบริหาร องค์กรการศึกษา พี่ว่าไม่ได้ทำงานด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน หรือทำงานเพื่อจุดมุ่งหมายขององค์กร พี่ว่าเขาลืมไปแล้วด้วยซ้ำ ว่าองค์กรของเขามีเป้าหมายอะไร (อันนี้พี่ไม่รวมองค์กรที่ทำการค้าหรือธุรกิจที่แสวงหาแต่กำไรนะคะ อันนั้นอาจจะชัดที่เป้าหมายคือการแสวงหากำไรเพื่อความอยู่รอดขององค์กร)

ในที่นี้พี่จะพูดถึงเฉพาะองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรเท่านั้น แต่เป็นองค์กรที่บริการประชาชน พี่ว่าตอนนี้คนทำงานเองก็ค่อยรู้เป้าหมายองค์กร บางคนก็ไม่ใส่ใจด้วยซ้ำ มันทำให้ทำงานกันอย่างไม่เป็นระบบ เพราะบางคนทำงานเพื่อตัวเอง แต่คนบางคนทำงานองค์กรเพื่อสังคม กลุ่มหลังนี้ค่อนข้างน้อย และไม่ค่อยแสดงตัว  และคนกลุ่มหลังมักเป็นคนไม่แสวงหาอำนาจ ยศตำแหน่ง อยากทำแต่งานที่ตัวเองรัก ดังนั้นก็อาจจะมีแต่คนกลุ่มแรกที่ขึ้นบริหารองค์กร (เป็นส่วนใหญ่ อาจจะไม่ทั้งหมด)

เมื่อตัวเขาไม่เห็นไม่เข้าใจเป้าหมายการบริการขององค์กร เขาก็ยังบริหารองค์กรเพื่อสนองตอบความต้องการของตัวเองเป็นหลักอยู่ ไม่ได้บริหารงานเพื่อบริการประชาชน ตามที่ควรจะเป็น...ดังนั้นองค์กรจึงเป็นโรค"ผู้บริหารบกพร่อง" เสียเยอะค่ะ แล้วก็ถ้าน้องเม้งไปถามผู้บริหารเหล่านี้นะคะ เขาจะไม่ค่อยรู้ตัวหรอกค่ะ เขาจะยืนยันมากๆ ว่า เขาทำดี คิดดี เขาค่อนข้างมองความคิดคนส่วนน้อยไม่ค่อยออกค่ะ..อันนี้จะเป็นลักษณะของการยึดติดของคนที่ผิดไม่เป็น และยอมรับไม่เป็นค่ะ 

เพราะฉะนั้นถ้าองค์กรใดมีคนทำงานที่มีโรค"ยึดมั่นถือมั่น"ในส่วนตนมาก องค์กรนั้นก็จะมีโรค"ผู้บริหารบกพร่องทางความคิด"มาก แล้วก็ทำความเสียหายได้มากค่ะ

แต่ก็นั่นแหละ พี่ก็ต้องมาทบทวนความคิด และสอบตัวเองอยู่เรื่อยๆ ทบทวนสิ่งที่ตัวเองทำเป็นประจำ ว่าเราเป็นหนึ่งในนั้นหรือไม่ อิอิ ของอย่างนี้ต้องไม่ประมาทค่ะ

 

  • สวัสดีครับทุกท่าน ผมเพิ่มแผนภาพให้ชัดยิ่งขึ้นนะครับ ลองอ่านกันดูนะครับ มีอะไรจะเสริมได้เต็มที่เลยนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
P

สวัสดีครับพี่กมลวัลย์

  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับพี่สำหรับความเห็น รับชาหรือเครื่องดื่มอะไรดีครับ
  • เป็นโรค"ผู้บริหารบกพร่อง" เสียเยอะค่ะ  อันนี้โดนจังๆ ครับ
  • โรค"ผู้บริหารบกพร่องทางความคิด"มาก แล้วก็ทำความเสียหายได้มากค่ะ ตามด้วยโดนอีกจังอันนี้ครับ
  • พี่คิดว่า วัคซีนใดควรจะแก้ปัญหานี้ครับ ในโรคผู้บริหารบกพร่อง หรือ ผู้บริหารบกพร่องทางความคิด นะครับ
  • ผู้บริหาร คงรวมไปถึงการบริหารตัวเอง การบริหารความคิดของตัวเอง ด้วยใช่หรือเปล่าครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • ที่สังคมเป็นแบบนี้คิดว่าเพราะว่าคนเดียวนี้ขาดการใส่ใจกันและกัน
  • ทุกคนก้อต่างดิ้นรนให้ตัวเองมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คนตัวเล็กก้ออยากตัวโต คนที่โตอยู่แล้วก้อยากโตอีก ไปเรื่อยๆ โดยลืมมองถึงคนข้างหลัง
  • เพราะคน เห็นแก่ตัวกันมากขึ้นทุกคนชอบคิดกันว่าไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ตัวใครตัวมัน
  • วัคซีนใจ ล่ััะมั่ง ส่วนผสมยังบอกไม่ได้คะ เพราะยังไม่ได้จดสิทธิบัตรยา เด๋วมีคนจามาลอกเลียนแบบ  อิๆๆ
  • ส่วนผสมหลักๆ คือความรับผิดชอบ  รู้จักรับผิดชอบต่อตัวเอง ครอบครัว รวมถึงสังคม
  • เอ้อ+++ แต่ก้อนะยาอะไรก้อคงช่วยไม่ได้  แถมฉีดไปก้อจะดือยาหมด ถาหากเรายังเป็นประเภท ชั่วดีรู้หมด แต่อดไม่ได้ อิๆๆ
ไม่มีรูป
อยากเขียน

สวัสดีครับ

  • ขอบคุณมากๆ นะครับ เข้ามาเขียนไว้บ่อยๆนะครับ
  • น่าสนใจครับ ที่ว่า คนเดียวนี้ขาดการใส่ใจกันและกันครับ คุณคิดว่าเป็นเพราะอะไรครับ ถึงคนไม่ได้ใส่ใจกันครับ ออเพราะว่าต่างคนต่างดิ้นรนเอาตัวรอดให้กับตัวเอง นำมาสู่ความเห็นแก่ตัว ตัวใครตัวมันมากขึ้น เข้าสู่ระบบปัจเจกบุคคล สูงขึ้นๆ
  • อิๆ ผมชอบเรื่องวัคซีนใจ นะครับ ส่วนผสมไม่บอก กลัวมีคนเอาไปจดเสียก่อน ห้าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ขำจริงๆ นะครับผม เด็ดมากๆ ครับ มุกนี้ครับ
  • แต่บอกส่วนผสมเรื่อง ความรับผิดชอบ (ทั้งตัวเอง ครอบครัว และชุมชน สังคม)
  • อิๆๆ ฉีดลงไป ในส่วนของ เครื่องหมายคำถาม ? ในแผนภาพ ดื้อยาเพราะอะไรครับ
  • ชั่วดี รู้หมด  แต่ อดไม่ได้  ห้าๆๆๆ โดนอีกแล้วครับ เนอะ หากชั่วดี รู้หมดแล้ว จะต้องฉีดอะไรแล้วหล่ะครับ มันน่าจะมีทางออกนะครับ คิดๆ และก็คิดๆๆๆๆๆๆๆ กันอีกนะครับ น่าจะได้ตะกอนมาสกัด ทำวัคซีนใจ ตัวนี้นะครับ
  • ต่อกันเลยครับผม ขอบคุณมากๆ นะครับ เดี๋ยวผมเสิร์ฟ น้ำผลไม้เย็นๆ ให้ดื่มให้ชื่นใจครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ คุณเม้ง P (ยังไม่ลงตัวว่าจะเรียกกันว่าอย่างไรดี)

หัวข้อน่าสนใจอรกแล้ว เพราะตรงกับที่เคยเรียน เคยทำ (ผมจบศัลย์ แล้วไปเรียนต่อภูมิคุ้มกันวิทยา... แล้วก็ stem cell คนละเรื่องเดียวกัน) สิ่งหนึ่งที่หลงเหลือในความประทับใจก็คือ ระบบภูมิคุ้มกันช่างเป็นระบบที่มหัศจรรย์อะไรเช่นนี้

เซลล์ใน mode ปกติ

กลับไปที่เคยคุยกันนะครับ เซลล์ (หรือร่างกายเราก็เหมือนกัน) ใน mode ปกติก็จะ เติบโต ซ่อมแซม สื่อสาร และเรียนรู้ สองอย่างแรกเพื่อ อยู่รอด สองอย่างหลัง เพื่อ อยู่ร่วม และอยู่อย่างมีความหมาย ทั้งสามประการก็ทำให้เกิดเซลล์ หรือสิ่งมีชีวิตที่ อยู่รอด อยู่ร่วม และอยู่อย่างมีความหมาย

การสื่อสารระดับเซลล์นั้น แปลผลค่อนข้างเป็น linear คือ ตามความเข้มข้นของ signals หลากหลายประเภท และมี interactions กันมโหฬาร แต่ในระดับชีวิตนั้น กลไกการ "แปล" ผลจะซับซ้อนกว่านั้น มีการใช้ประสบการณ์เก่ามาประกอบ ความเชื่อมาประกอบ ความศรัทธามาประกอบ ฯลฯ นี่คือความหมายของ "องค์รวมของชีวิต"

ยกตัวอย่าง "พอเพียง" ที่เป็น catch-phrase ในปัจจุบันนั้น สำหรับแต่ละคน แต่ละครอบครัว ไม่เหมือนกันแน่ๆ และไม่ต้องพยายามให้เหมือนกันด้วย เหมือนครั้งหนึ่งที่ socialism พยายามจะจัดระบบที่ ทุกคนเหมือนกัน แล้วปรากฏว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ในขณะนี้โลก democracy ก็กำลังตกหลุมพรางเดิมคือ มาตรฐาน ซึ่งพยาธิสรีระ เหมือนกับที่ socialism ทำมาก่อน คือคิดว่าชีวิตนี้ มี มาตร ที่เป็น "ฐาน"

การทำงานของภูมิคุ้มกัน

ภูมิคุ้มกันร่างกายมีสองระบบ คือ innate immunity และ acquired immunity อย่างแรกเป็นระบบดั้งเดิมพื้นฐาน มีความจำเพาะน้อย แต่เริ่มลงมือทำงานก่อน เช่น อะไรเข้ามาร่างกายไม่เคยเห็นมาก่อน เซลล์ระบบ innate immunity ก็จะไปควบคุม หรือทำลาย อย่างที่สองเป็นระบบที่ก้าวหน้ามากขึ้น มีความจำเพะ คือ จำได้หมายรู้ ว่าที่มาคุกคามนั้น เป็นใคร มาจากไหน มีจุดอ่อนตรงไหน เมือร่างกายเจออีกครั้งหนึ่ง เราก็จะส่งทหารจำเพาะไปทำลาย

การศึกษาที่จะเพาะภูมิคุ้มกันนั้น ต้องส่งเสริมทั้งสองอย่าง

ส่งเสริมอย่างแรกอย่างไร?

Innate Immunity ทางการศึกษา จะมาจากวัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา หรือการ set คุรค่า ความหมายของชีวิต

ส่งเสริมอย่างหลังอย่างไร?

คือระบบการคิด การไตร่ตรอง การเข้าใจ หรือ สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิ นั่นเอง

ชักจะพูดเยอะเกินไปแล้ว กินพื้นที่คนอื่น ขออภัยด้วยครับ เผอิญเรื่องนี้มันวนเวียนอยู่ในศีรษะมานาน

สวัสดี คุณ เม้ง ที่ไม่เคยหลับไหล
P
  • พูดถึงเรื่อง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • คิดถึง โรค เอดส์
  • ตายลูกเดียว  หรืออย่างดีแค่ยืดเวลา
  • เมืองไทยถึงขั้นไหนแล้ว เยียวยาได้ไหม หรือว่ายังไม่ถึงกับติดโรค
  • ต้องฉีดวัคซีนไหม
  • ใครเป็นผู้ผลิตวัคซีน
  • ใครเป็นผู้ฉีด
  • ฉีดเมื่อไหร่
  • มาหา ชา ดื่มเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีอีกรอบค่ะน้องเม้ง

พี่ว่าคงหาวัคซีนแก้โรคผู้บริหารบกพร่องได้ยากค่ะ มันเหมือนคนหลงผิด เราแก้ตัวเขาไม่ได้ เพราะมีเพียงเขาคนเดียวที่แก้ตัวเขาได้

ระบบที่ดี+คนในองค์กรที่มุ่งสู่เป้าหมายรวมร่วมกัน อาจป้องกันไม่ให้องค์กรเกิดโรคผู้บริหารบกพร่องได้ แต่ถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว จากประสบการณ์ที่ผ่านมา จะพบว่าแก้ได้ยาก เพราะพวกนี้มักพยายามทิ้งทายาทไว้ต่อเนื่อง เผื่อตัวเองเมื่อลงจากตำแหน่งแล้วเขาจะเชิญมาเป็นที่ปรึกษาหรือบอร์ดอีก แถมตอนอยู่ในตำแหน่งก็อาจแก้กฎระเบียบ เพื่อให้ตัวเองทำงานที่หวังผลไว้ได้คล่องที่สุด (แต่ไม่ได้หมายความว่าทำให้องค์กรหรือคล่องที่สุดสำหรับองค์กร) บางทีก็เป็นการแก้กฎระเบียบให้ตัวเองทำอะไรก็ได้ถูกกฎหมาย ซึ่งตัวอย่างนี้เราก็เห็นแล้วในระดับประเทศในช่วงที่ผ่านมาก่อนการเปลี่ยนรัฐบาล..

บ้านเรามีลักษณะการบริหารงานแบบเอื้อประโยชน์กับพวกพ้องค่อนข้างมาก ระบบฝากฝังมีมาก และใช้พระคุณมากกว่าพระเดชค่ะ

อันนี้ต้องบอกว่าคิดคำตอบไม่ออกจริงๆ ว่าจะแก้คนเหล่านี้อย่างไร (นอกจากเขาจะแก้ตัวเอง ซึ่งเป็นไปได้ยาก) ได้แต่เรื่องป้องกันซึ่งต้องมีคนคิดดีเพื่อส่วนรวมเป็นจำนวนมากพอควร+ระบบค่ะ

P

สวัสดีครับคุณหมอ

  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับคุณหมอ สำหรับพื้นที่นี้เขียนได้เต็มที่นะครับ ไม่มีจำกัดนะครับ
  • หัวข้อนี้คือจะมาหาวัคซีนกันนะครับ ว่าจะทำอย่างไร วัคซีนที่ว่าคืออะไรกันแน่ แล้วจะได้รู้ว่าโรคที่เป็นคือโรคอะไรในคน ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศ จะผลิตวัคซีนอะไร
  • เพื่อจะสร้างความยั่งยืนในการเดินไปอย่างต่อเนื่อง และตรงตามเป้าหมายของชุมชน องค์กร
  • ระบบเซลล์ ผมคิดว่า น่าจะเป็นตัวเริ่มต้นในการที่เราจะศึกษา เพื่อศึกษาให้เข้าใจกันไปเลยครับ เซลล์ของสังคม ว่าเป็นอย่างไร ทำไมเราถึงมีข้อบกพร่อง
  • เซลล์ (หรือร่างกายเราก็เหมือนกัน) ใน mode ปกติก็จะ เติบโต ซ่อมแซม สื่อสาร และเรียนรู้ สองอย่างแรกเพื่อ อยู่รอด สองอย่างหลัง เพื่อ อยู่ร่วม และอยู่อย่างมีความหมาย ทั้งสามประการก็ทำให้เกิดเซลล์ หรือสิ่งมีชีวิตที่ อยู่รอด อยู่ร่วม และอยู่อย่างมีความหมาย
  • ประเด็นนี้น่าสนใจมากๆ ครับ อยู่รอด และอยู่ร่วมอย่างมีความหมายครับ ลึกซึ้งมากครับ
  • การมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ย่อย (คน หรือชุมชน)ในการเรียนรู้รับแลกเปลี่ยนสื่อสารกันนี้ แต่ละเซลล์จำเป็นต้องคงหน้าที่ของตัวเองไว้ใช่ไหมครับ ไม่งั้นอาจจะติดเชื้อได้หากขาดรากฐาน รากเหง้า หรือแก่นของเซลล์ หรือนิวเคลียส ของเซลเดิม อาจจะกลายเป็นเซลส์มะเร็งไปได้ใช่ไหมครับ หรือว่าติดเชื้อเซลล์บกพร่อง ได้ใช่หรือเปล่าครับ
  • พอคุณหมอพูดถึง มาตร คือ ฐาน ทำให้ผมถึงถึงบรรทัดฐานทางสังคม เลยครับ
  • การศึกษาที่จะเพาะภูมิคุ้มกันนั้น ต้องส่งเสริมทั้งสองอย่าง
    ส่งเสริมอย่างแรกอย่างไร?

    Innate Immunity ทางการศึกษา จะมาจากวัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา หรือการ set คุณค่า ความหมายของชีวิต

    ส่งเสริมอย่างหลังอย่างไร?

    คือระบบการคิด การไตร่ตรอง การเข้าใจ หรือ สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิ นั่นเอง
  • เหมือนว่า เราต้องมี รากเหง้าเดิมที่ควรมีการกำหนดให้มี หรือสร้างให้มีในเซลล์นั้น ประกอบการที่เซลล์นั้น ต้องมีระบบคิด ไตร่ตรอง และการเข้าใจกันระหว่างเซลล์ ด้วยใช่ไหมครับ
  • หากคุณหมอจะต้องสร้างวัคซีนนี้ คุณหมอจะผสมยา นี้อย่างไรครับ เพื่อที่เราจะจดสิทธิบัตรยานี้ ลงไปในหัวใจของเซลล์ชุมชนเลยครับ โดยที่คนโตมาในครอบครัว มีวัคซีนเหล่านี้ เป็นตัวคุ้มกันให้กับเซลล์นั้นๆ ครับ
  • แล้วหากเซลล์นั้นมีปัญหาหล่ะครับ คุณหมอจะต้องถอนเชื้อไวรัสนี้ออกอย่างไรครับ เพื่อจะให้ตัวเซลล์ยังอยู่ได้นะครับ
  • ระบบการศึกษาตั้งแต่เซลล์เล็ก จนถึงระบบเซลล์ ควรมีการฉีดวัคซีนอย่างไรครับ เพื่อให้ชุมชน องค์กรดำเนินไปได้ โดยมีความรับผิดชอบชั่วดีต่อสาธารณะ ครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่ตรงนี้มีที่ว่างมากมายให้เขียนกันตลอดไปนะครับ
  • เชิญท่านๆ อื่นๆ ด้วยนะครับ
  • ขอบพระคุณมากๆ นะครับ

P

สวัสดีครับพี่เหลียง

  • พูดถึงเรื่อง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • คิดถึง โรค เอดส์
  • ตายลูกเดียว  หรืออย่างดีแค่ยืดเวลา
  • เมืองไทยถึงขั้นไหนแล้ว เยียวยาได้ไหม หรือว่ายังไม่ถึงกับติดโรค
  • ต้องฉีดวัคซีนไหม
  • ใครเป็นผู้ผลิตวัคซีน
  • ใครเป็นผู้ฉีด
  • ฉีดเมื่อไหร่
    • เมืองไทยถึงขั้นไหนแล้วหรือครับ ผมว่ากำลังดิ่งหรือว่าขาลงครับ...หวังว่าจะไม่ถึงก้นเหวนะครับ
    • เยียวยาได้ไหม....ได้ครับ หากตื่นทัน รู้ทัน แล้วเลี้ยวหัวทันนะครับ งานนี้ต้อง ยูเทิร์นนะครับ
    • วัคซีนต้องฉีดแน่นอนครับ ใครเป็นผู้ฉีด นั้นผมเชื่อว่า ต้องเริ่มฉีดกันที่ตอนรักกัน มาเป็นพ่อแม่ ฉีดมาเรื่อยๆ ตามภาพด้านบนนะครับ ที่สวนสมรมนะครับ
    • ผู้ฉีด ต้องฉีดให้ตัวเองด้วยครับ ทุกคนต้องฉีดให้กับตัวเองด้วยนะครับ ฉีดกันเมื่อไหร่ ฉีดเมื่อที่รู้ตัวครับ...หากรู้ตัวทันก็ฉีดให้คนอื่นด้วยครับ
    • ผู้ให้จะต้องฉีดสิ่งดีๆ ให้กับสังคม... สำคัญคือ จะฉีดส่วนผสมอะไรลงไปบ้างนะครับ
    • ฉีดต่อเนื่องหรือเปล่า หรือว่าฉีดอย่างไรเข็มเดียวใช้ได้ตลอดชีวิต ต้องฉีดอย่างไร เข้าเส้นเลือดไหน หรือว่าอย่างไร หรือว่าฉีดเข้าหัวใจ เส้นเลือดใหญ่
    • ลองคิดกันดูนะครับ ว่าจาก ต่างจังหวัด มาใน กทม. จะฉีดอะไรให้บ้างลูกคุณบ้างครับ
    P

    สวัสดีครับพี่กมลวัลย์

    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับพี่
    • สงสัยต้องสร้างกุศโลบาย บางอย่างนะครับ อาจจะมีเปิดวิชา การสัมผัสด้วยหัวใจ จากผู้บริหารถึงเพื่อนร่วมงาน จะได้ไหมครับ
    • เปิดแบบไม่มีผู้สอนครับ แต่นักพูดคุย มองหน้ากัน ฝึกสัมผัสกันด้วยหัวใจ
    • บางทีคนเรา ต้องการให้คนอื่นสอน แต่ต้องการจะสำเร็จวิชาด้วยตัวเอง แล้วตนจะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงตนเอง
    • พี่ว่าพอจะเป็นไปได้ไหมครับ เพราะแต่ละคนเป็นผู้รู้กันทั้งนั้น แต่อยู่ที่ว่าจะทำหรือไม่ทำเท่านั้นเอง
    • องค์กร น่าจะมีวันหนึ่งที่ตั้งขึ้นมาเช่น วันย้อนดูตัว เชิญเด็กมานั่งคุยกับอาจารย์ในโรงเรียน ให้เด็กสะท้อนหลายๆ อย่างออกมาในกลุ่มเด็ก โดยให้ครูดูแนวทาง
    • ในครอบครัว อาจจะมีวันมองครัวตัวเอง อาจจะทำให้รู้ว่าในครัวของเรา ขาดอะไรหรือเปล่า จะได้ประเมินครัวของเราได้
    • ในชุมชน อาจจะมีวันมองชุมชน นั่งทบทวนย้อนดูความเป็นมาของชุมชนตัวเอง แล้วเข้ามาสู่การย้อนดูตัวเอง แล้วได้คำตอบไปปรับปรุงพัฒนา อาจจะให้เขียนใส่กระดาษเอาไว้ ว่าตัวเอาจะทำอะไรบ้างต่อไปนี้ ในเดือนนี้ แล้วเอากระดาษแผ่นนั้น ไปติดไว้ที่ประตูบ้าน
    • เอาไว้ทบทวนตัวเอง น่าจะลองนำไปใช้กันดู ไม่แน่ จากแผ่นกระดาษใบเดียวเปลี่ยนเป็นวัคซีนที่สำคัญก็ได้
    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ

    สวัสดีค่ะ น้องเม้ง

    • สังคมปัจจุบันเปลี่ยนไปเยอะมากๆค่ะ
    • สมัยก่อนเวลาที่เรามีอาหารอะไร เราก็จะยกไปให้เพื่อนบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ต่างคนต่างอยู่ เป็นสังคมเมือง เต็มที่
    • สมัยก่อนเคยได้ยินแต่ว่าคนกรุงเทพฯ บ้านอยู่ติดกัน ยังไม่รู้จักกันเลย
    • แต่เดี๋ยวนี้ในต่างจังหวัดก็เป็นแล้ว
    • สาเหตุอาจเนื่องมาจากสังคมเรากลายเป็นสังคมบริโภควัตถุนิยม (เขาเรียกกันอย่างนี้ใช่มั้ยค่ะ) เป็นสังคมที่ต้องการเงิน ทรัพย์สิน ชื่อเสียง เกียรติยศ ความร่ำรวย ฯลฯ แบบไม่รู้จักพอ
    • ดังนั้นการที่จะให้มีภูมิคุ้มกันทางร่างกาย สมอง จิตใจ ก็คงต้องมีหลายๆอย่างช่วยกันสร้าง
    • ทางร่างกาย ... ก็ต้องกินอยู่แบบพอเพียง ไม่มากเกินไป แต่ก็ไม่อดยาก ทำอย่างไรจะให้คนในสังคมกินดีอยู่ดี มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
    • ทางสมอง...การศึกษาที่ดี ต้องร่วมกันทั้งที่บ้านและโรงเรียน ต้องช่วยกันให้การศึกษาให้รู้เท่าทันไวรัส
    • ทางจิตใจ...ความรัก ความอบอุ่นของครอบครัว ของชุมชน ...ที่สำคัญคือธรรมะ ช่วยให้จิตใจดี มีคุณธรรม จริยธรรม และวินัย จิตสำนึกต่อส่วนรวม...มีจิตสาธารณะไม่เห็นแก่ตัว
    • เท่าที่คิดออกตอนนี้นะค่ะ อาจจะไม่ครอบคลุมก็ได้ ... ความซับซ้อนมีเยอะ ...
    P

    สวัสดีครับพี่แป๋ว

    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับพี่ เดี๋ยวผมจะขอไอคอนภาพพี่เข้าสู่สวนสมรม ด้วยนะครับ
    • น่าสนใจมากๆ เลยครับ

    • ดังนั้นการที่จะให้มีภูมิคุ้มกันทางร่างกาย สมอง จิตใจ ก็คงต้องมีหลายๆอย่างช่วยกันสร้าง
    • ทางร่างกาย ... ก็ต้องกินอยู่แบบพอเพียง ไม่มากเกินไป แต่ก็ไม่อดยาก ทำอย่างไรจะให้คนในสังคมกินดีอยู่ดี มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
    • ทางสมอง...การศึกษาที่ดี ต้องร่วมกันทั้งที่บ้านและโรงเรียน ต้องช่วยกันให้การศึกษาให้รู้เท่าทันไวรัส
    • ทางจิตใจ...ความรัก ความอบอุ่นของครอบครัว ของชุมชน ...ที่สำคัญคือธรรมะ ช่วยให้จิตใจดี มีคุณธรรม จริยธรรม และวินัย จิตสำนึกต่อส่วนรวม...มีจิตสาธารณะไม่เห็นแก่ตัว

    • ผมว่าตอนนี้ มันคงถึงขั้นที่เราต้องทำเป็นทีมกันแล้วครับ คงฝึกปฏิบัติแบบแยกส่วนคงไม่ทันกินแล้วหรือเปล่าครับพี่ ในการจะปลูกวัคซึน สร้างภูมิคุ้มกัน คงต้องมาเล่นกันตั้งแต่ระดับเซลล์คน และก้าวมาถึงเซลล์ครอบครัว แล้วขับเคลื่อนพลังให้มีพลังมากขึ้น จะอยู่แยกตัวใครตัวมันคงยากแล้วมั้งครับ (เอ หรือว่าจะยังได้อยู่ครับ)
    • แต่หากเรายอมรับกับการเปลี่ยนแปลง ปล่อยปละละเลย อันนี้ ก็ต้องยอมรับสภาพ ชะตากรรมนะครับ แต่ไม่ควรจะเสียน้ำตาในวันนั้นที่อาจจะมาเยือนเนอะพี่เนอะ
    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ
    • เห็นด้วยค่ะ ว่า ทำแบบแยกส่วนไม่ได้ ทุกคน ทุกฝ่ายต้องร่วมกัน โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับคน สังคม ชุมชน ประเทศ ...  
    • เราทุกคน ทุกฝ่ายต้องยอมรับว่าเรากำลังเตี้ยลง และก่อนจะติดพื้น หรือถูกฝังในดิน ต้องช่วยกันแก้ไขทันที่

    การศึกษาของปัจเจก เริ่มมาจากตนเอง ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน

    การศึกษาของชุมชน เริ่มมาจากข้อมูล ข่าวสาร ที่ทำงาน กฏหมาย วัฒนธรรม ประเพณี

    ทั้งสองส่วน (ปัจเจก ชุมชน) ต้องมีฐานมาจากสุขภาพ ความมั่นคงของชีวิต

    ครั้งหนึ่ง สมัยก่อน internet เคยมีการระดมคนมาร่วมแสดงพลังความคิดเห็นเพียงแค่ เพื่อนชวนเพื่อน เป็นจำนวนหลายแสนคนในเยอรมันนี โดยเริ่มจาก วงสนทนาระหว่างเพื่อน

    เป็นที่มาของกิจกรรม World Cafe'

    ฟังดูไม่ทันสมัย ไม่จ๊าบ ไม่หรูหราลึกซึ้งอะไร แต่โลกใบนี้หมุน และปั่น รุ่งเรือง ล่มสลาย มาจากการสนทนา พูดคุย กันมาตั้งแต่เริ่มประวัติศาสตร์

    ถ้าถามว่า vaccine ที่เราต้องการคืออะไร ผมคิดว่าคำตอบอาจจะอยู่ที่ ทำอย่างไร มากกว่า คืออะไร

    ถ้าพูดถึงการสนทนา ที่จุดหมายปลายทางก็คือการเกิดสมุหทิฏฐิ หรือ ความคิดร่วม ของกลุ่ม ก็ต้อง refer ถึงการทำ dialogue ของ David Bohm ที่แม้แต่องคการสหประชาชาติ Peter Senge หรือ Margaret Wheatley ยอมรับว่า เป็น วิธีการสื่อสารที่สร้างโลกใบใหม่ ได้ ขณะนี้ในเมืองไทย เริ่มมีการนำเอา สุนทรียสนทนา มาใช้ มาอบรมกันมากขึ้นๆ

    หัวใจสำคัญของการสื่อสารคือ การฟัง

    ถ้าเรื่องราวสำคัญ เราก็อยากจะสื่อสารให้ดี คนที่สื่อสารได้ดี ก็คือคนที่รับฟังมาก (พหูสูตร หนึ่งในมงคลสามสิบแปดประการ)

    ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนัก activist เหมือนๆกันหมด ก็คือ ไม่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบปฏิรูป แต่ต้องการปฏิวัติ ถ้าเราพิจารณาว่า course ของสังคมที่แย่ลงนั้น ใช้เวลาประมาณ 50 ปี ของการที่ข้อมูลข่าวสารให้แทรกซึมเข้าสู่วัฒนธรรมเก่า (ซึ่งดี) ร่วมกับ global changes นั่นคืออายุการทำงาน และลักษณะการทำงานของ social development model เป็นการเปลี่ยนแปลงที่คนที่อยู่ภายใน ต้องทำโดยบางทีก็ไม่รู้ตัว และที่แน่ๆก็คือ ไม่ได้คอยมองหาความสำเร็จทุกๆ 1 เดือน (นึกถึงครั้งหนึ่งที่มีคนเปลี่ยนนโยบายการเรียนใหม่ แล้วพูดออกมาว่าจะประเมินปีหน้า!!! สำหรับหลักสูตร 6 ปี !!!!!!! ก็ทำนองเดียวกัน) ยังไม่ทันที่วิธีของสังคมจะเริ่ม simmer เลย ก็หงุดหงิด frustrated และมองหาวิธีใหม่ ที่ทันใจกว่านั้น

    บางทีผมว่าพวกเราหลายคน ต่างก็มองเห็นปัญหา และสามารถเห็นทางแก้ด้วย แต่รู้สึก powerless ที่จะประเมิน หรือจะมองเห็นการเปลี่ยนแปลง แม้ในช่วงชีวิตของเราเอง แต่น่นไม่สำคัญเลย ถ้าสิ่งที่เราต้องการคือ สังคมใหม่ โลกใบใหม่ เราก็เริ่มทำไปอย่างที่เราคิดว่าควร คิดว่าถูก พูดคุยกกันมากขึ้น มีโอกาสก็ advocate เรื่องที่เราอยากให้เกิด

    วันกอ่นมีการพูดคุยในที่ประชุมผู้ปกครอง ปรากฏว่ามีผู้ปกครองหลายคนเห็นพฤติกรรมที่ไม่ค่อยดีนักของครู ในแง่ที่ดุมากเกินไป แต่ดูเหมือน ไม่มีใครอยากจะทำอะไร รุ่นน้องผมที่เป็นแม่เด็ก ก็จะไปบอกผู้อำนวยการโรงเรียน ใครๆก็บอกว่าอย่าเลย เดี๋ยวลูกจะถูกครูเขม่น

    บางครั้ง การไม่เริ่มทำอะไร แม้เพียงเล็กน้อย ก็เป็นการ ทำอะไรที่เสียงดังก้องหู อยู่ก็เป็นได้

    ถ้ารุ่นน้องคนนี้ตัดสินใจว่า จะทำเหมือนพ่อแม่คนอื่นๆ สิ่งที่เด็กทุกคนในที่นั้นได้เรียนก็คือ การปล่อยปละละเลย การ let it go อย่างใน title ของภาพยนต์เรือง The Rising Sun หรืออะไรเนี่ย ที่ Bruce Willis เล่นเป็นทหารเข้าไป rescue คนผิวดำออกจากมือพวกกบฎ ว่า "Sometimes the only thing needed for the evil to prevail is good people doing nothing"

    สิ่งที่เราทำคือ กรรม และกรรมต้องมี วิบาก ตามมา และบางครั้งลมปีกผีเสื้อในความเป็น chaos ก็มีส่วนในการเกิดเฮอริเคนในภายหลัง

    ผมคิดว่าวัฒนธรรม สังคม นั้น จะเกิดไปในทิศทางไหน วิธีการที่พวกเราฟัง วิธีการที่เราสนทนา ไปเรื่อยๆ ทุกๆวัน มีส่วนอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์ มากกว่าการออกกฏหมาย การจัดสรร

    สิ่งนี้คือ Self-management organization หรือ องคกรจัดการตนเอง

    สวัสดีค่ะ

    แต่ละท่านที่กรุณาแสดงความเห็นมาทั้งหมด อ่านแล้ว ประทับใจค่ะ ตรงประเด็นเลย

    ขอเสริมเฉพาะที่เกี่ยวกับธรรมะ คือความเป็นจริงในโลกนี้ค่ะ

    พระพุทธเจ้าท่านทรงชี้ให้เห็นว่า ปัญหาทุกอย่าง เริ่มมาจากกิเลสในตัวมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งติดตัวมนุษย์ทุกคนมาตั้งแต่เกิด ในความเห็นของดิฉัน สิ่งที่พอจะขัดเกลาได้บ้างคือ

    • ความรักความอบอุ่นในครอบครัว แผ่ขยายไปยังชุมชน ทุกคนต้องมีธรรมะประจำใจ เรื่องนี้ วัดและพระจะเป็นศูนย์กลางในชุมชนค่ะ
    • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คนก็จะไม่ดิ้นรน อยากรวยกันเกินไป  เอาเปรียบกันไม่มีที่สิ้นสุด เป็นต้นตอของคอรัปชั่นทุกรูปแบบ ทุกหน่วยงานตั้งแต่ระดับเล็กสุด ขึ้นไปเรื่อยๆ   ทุกคนจะมีพออยู่พอกิน ถ้าขยัน และมีคุณธรรมประจำใจ คอรัปชั่นก็น้อยลง
    • เมื่อมีพออยู่พอกิน ก็คิดเรื่องจะต้องให้ลูกหลานมีการศึกษา  ไม่ต้องเร่ร่อนไปเรื่อยๆโดยหอบลูกไปด้วย โดยรัฐบาลก็ต้องรับหน้าที่จัดการเรื่องระบบการศึกษา
    • เรื่องสุดท้ายนี้เหมือนงูกินหางค่ะ แต่ คนเราต้องมีกินก่อน จึงจะมีการศึกษา พอเรียนมากเข้า ความสามารถมากขึ้น เงินมันก็มากตาม
    • คุณเม้งคิดประเด็นดี แต่ มันมีรายละเอียดมากค่ะ ต้องลงลึกมากกว่านี้หลายเท่านัก  ความจริงบางอย่างก็เป็นAn Inconvenient Truth
    P

    สวัสดีครับพี่แป๋ว

    • ขอบคุณมากๆ เลยครับพี่
    • ต้องร่วมพูดคุยทำความเข้าใจ จนได้จุดร่วม รวมกันครับ วันหนึ่งก็จะเดินได้อย่างมีพลังนะครับ อย่าเพิ่งเบื่อเสียก่อนนะครับ
    • เดินไปด้วยกันครับ เพราะการศึกษาใช้เวลาสร้าง ใช้เวลาคอย การแก้ปัญหาก็คงช้าเช่นกันครับ อย่างที่คุณ สุทธิศักดิ์เคยบอกผมครับ
    • ขอบคุณมากๆ นะครับ
    P

    กราบสวัสดีครับคุณหมอ

    การศึกษาของปัจเจก เริ่มมาจากตนเอง ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน

    การศึกษาของชุมชน เริ่มมาจากข้อมูล ข่าวสาร ที่ทำงาน กฏหมาย วัฒนธรรม ประเพณี

    ทั้งสองส่วน (ปัจเจก ชุมชน) ต้องมีฐานมาจากสุขภาพ ความมั่นคงของชีวิต

    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ ที่ได้เสริมประเด็นนี้ ในส่วนของ ปัจเจกและชุมชนนะครับ
    • ต้องทำทั้งสองควบคู่กันไป ใช่ไหมครับ ถึงจะทันกิน....

    ถ้าถามว่า vaccine ที่เราต้องการคืออะไร ผมคิดว่าคำตอบอาจจะอยู่ที่ ทำอย่างไร มากกว่า คืออะไร

    • จริงๆ แล้วใช่ครับ เนื้ออยู่ที่จะทำอย่างไร ไปให้ถึงได้อย่างไร เป็นกระบวนการมากกว่าการบอกว่าอะไร
    • อะไรเป็นคำถามแรกเพื่อหยั่งแนวทางว่ามีอะไรบ้าง แล้วค่อยไปให้ถึง แต่บางครั้งก็ใช่ครับ เราทำอย่างไรแล้วถึงจะทราบว่าปลายทางคืออะไร
    บางทีผมว่าพวกเราหลายคน ต่างก็มองเห็นปัญหา และสามารถเห็นทางแก้ด้วย แต่รู้สึก powerless ที่จะประเมิน หรือจะมองเห็นการเปลี่ยนแปลง แม้ในช่วงชีวิตของเราเอง แต่น่นไม่สำคัญเลย ถ้าสิ่งที่เราต้องการคือ สังคมใหม่ โลกใบใหม่ เราก็เริ่มทำไปอย่างที่เราคิดว่าควร คิดว่าถูก พูดคุยกกันมากขึ้น มีโอกาสก็ advocate เรื่องที่เราอยากให้เกิด
    • ทำให้ผมนึกถึง ก้านมะพร้าวร้อยก้านมัดรวมกันแล้วเอาให้เด็กพยายามหักให้ได้ ตามที่คุณครูเคยสอนในตอน ป. 1 ครับ
    • ทำไมจำนวนคนเพิ่มมากขึ้นแต่กลับอ่อนพลังลงไปเรื่อยๆ เพราะคนมีความต่างหลากหลายหรือครับ หรือว่าเพราะเหตุใด ถึงทำให้คนไร้พลัง
    • เป็นไปได้ที่จะรวมพลังเล็กๆ เหล่านี้ เหมือนกับหิ่งห้อยที่คุณครูอ้อยบอกไว้ในบทความก่อนๆ เพื่อช่วยกันกระพริบ ร่วมกัน

    บางครั้ง การไม่เริ่มทำอะไร แม้เพียงเล็กน้อย ก็เป็นการ ทำอะไรที่เสียงดังก้องหู อยู่ก็เป็นได้

    • ประเด็นนี้น่าสนใจครับ ปัญหาคือจะทำอย่างไร ให้เสียงนั้นดังก้องหูครับ
    • ไม่ขีดก้านเดียวเผาบ้านหรือป่าได้เช่นกัน แต่ผมว่า มันควรจะมีวิธีการจุดและตำแหน่งจุด พิจารณาปัจจัย เวลา ความเหมาะสม และอื่นๆ
    • หากจุดผิดที่ จะเกิดอะไรขึ้นมาบ้างครับ....
    • หากรุ่นน้องของคุณหมอคนนั้นไม่ทำด้วย....จะมีคนๆ อื่นๆ ลุกมาทำไหมครับ.... บางทีเหมือนกับปัญหาต้องการเวลาในการบ่ม เพื่อให้เกิดเสียงก้องหูเช่นกัน หรือเปล่าครับ

    สิ่งที่เราทำคือ กรรม และกรรมต้องมี วิบาก ตามมา และบางครั้งลมปีกผีเสื้อในความเป็น chaos ก็มีส่วนในการเกิดเฮอริเคนในภายหลัง

    ผมคิดว่าวัฒนธรรม สังคม นั้น จะเกิดไปในทิศทางไหน วิธีการที่พวกเราฟัง วิธีการที่เราสนทนา ไปเรื่อยๆ ทุกๆวัน มีส่วนอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์ มากกว่าการออกกฏหมาย การจัดสรร

    สิ่งนี้คือ Self-management organization หรือ องคกรจัดการตนเอง

    • สิ่งที่ทุกคนทำแม้จะเล็กน้อย ในซ้ายหรือขวาก็คงมีส่วนกระทบต่อภาพรวมขององค์การใช่ไหมครับ พลังที่รวมๆ กัน จะเกิดร่วมกัน
    • เด็ดดอกไม้สะเทือนโลก
    • ลมหายใจทำให้โลกร้อน
    • บ้วนน้ำลายทิ้งพื้นสะเทือนน้ำท่วมโลก
    • จุดเทียนไขละลายน้ำแข็งขั้วโลก
    • คำถามคือ จะสร้างกระบวนการคิดสร้างความสัมพันธ์ให้มีความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างไร
    • จุดหลักก่อนจะสะเทือนโลกนั้น มักจะสะเทือนกับองค์กรเล็กๆ ก่อนเสมอ
    • คำถามคือ ควันพิษที่เกิดในทางเหนือของไทย สะเทือนคนชาวเหนือ แต่ท้ายที่สุดชาวเหนือก็ไม่มีปัญหานั้นในตอนนี้ ถามว่า หมอกพิษนั่นใครกำลังดมอยู่หรือ อยู่ในอณูที่ไหนของพายุหรือว่าใครกำลังสูดดมอยู่ตอนนี้ครับ

    การได้มีโอกาสพบปะ พูดคุยในเรื่องคล้ายๆ กัน หรือ ต่างๆ กัน ล้วนส่งเสริมให้ภาพที่ส่งผ่านนั้นชัดมากขึ้น

    เรื่องของสังคม และปัญหา และการพัฒนา คงเดินไปด้วยกัน เพียงแต่ว่าสมดุลจะอยู่ที่ใด โลกนี้เป็นสีเทาเสมอ.....อยู่ที่ว่าจะปรับเทานั้นให้ไปทางค่าใด 0 หรือ 255 ครับ

    สิ่งที่เห็นเป็นสีต่างๆ ก็เป็นสีเทาเช่นกัน คือสิ่งเดียวกันครับ

    ภูมิคุ้มกันนั้นจะควรต้านสิ่งใดให้เกิดภาวะที่ไม่อยู่ในสภาพบกพร่อง หรือในช่วงที่ยังพอรับได้....โลกกำลังปรับตัวตลอดเวลา ชุมชนก็ปรับตัวตลอดเวลา ต่างที่ต่างปรับ ปรับไปทางไหน ท้ายสุดก็ปรับให้สมดุล ปรับมากก็แตกต่างมาก ห่างมาก  ฉีดยามากก็อาจจะดื้อยามากขึ้น ใช้ปริมาณมากๆ ขึ้น แรงขึ้น จนท้ายที่สุดแล้ว น้ำเลือดคือน้ำยา....

    ขอบคุณคุณหมอมากๆ นะครับ บ่นๆ ไปอาจจะไม่ตรงประเด็นเท่าไหร่นะครับ

    เข้ามาบ่นๆ เสริมๆ กันต่อนะครับ ผมยังต้องศึกษาอีกเยอะมากๆ เลยครับ

     

     

     

    สวัสดีค่ะคุณเม้ง

    คงต้องเริ่มที่สามเหลี่ยมที่คุณเม้งเขียนด้านทั้งสามประกอบไปด้วย กาย  สมอง และใจ

    กาย  ภูมิคุ้มกันคือ ทำเป็น..หมายถึง  สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง  สามารถใช้ทักษะความสามารถของตนเองให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    สมอง  ภูมิคุ้มกันคือ  คิดเป็น..หมายถึง การศึกษา ( ไม่จำเป็นต้องเป็นการศึกษาในระบบเท่านั้นนะคะ ได้ทุกอย่างแม้แต่การศึกษาด้วยตัวเอง )ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้  มีความใฝ่รู้  มีความรู้เท่าทันข่าวสาร

    ใจ   ภูมิคุ้มกันคือ  รักเป็น..หมายถึงรักตัวเอง  รักในรากเหง้าของตัวเอง รักสังคมของตัวเอง

    การทำให้เกิดภูมิคุ้มกัน..ทางการแพทย์ก็ต้องเป็นวัคซีน..วัคซีนที่จะฉีดก็มีสามตัวตามองค์ประกอบที่กำหนด..ธรรมชาติของวัคซีนเกิดจากการสกัดจากเลือดที่เกิดภูมิต้านทานเมื่อได้รับเชื้อเข้าไป...เราก็สามารถสกัดวัคซีนของแต่ละชุมชนได้..จากการพิจารณาต้นทุนที่เหลืออยู่ในชุมชนจากการที่ถูกเชื้อโรคเข้ามาเกาะกิน..แล้วนำต้นทุนที่เหลืออยู่ทั้งหมดมาสกัดเป็นบทเรียนของชุมชนที่ถือว่าเป็นวัคซีนในแต่ละด้านของชุมชนนั้นๆ และฉีดให้กับทุกๆคนในชุมชนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาทำลายได้

    แต่ธรรมชาติของวัคซีนจะต้องกระตุ้นซ้ำอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะถือว่าพ้นช่วงอันตราย เพราะฉะนั้นในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและเชื้อโรคที่กำหนดก็เป็นไวรัสที่สามารถกลายพันธุ์ได้ตลอด จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ชุมชนจะต้องสกัดวัคซีนทุกปีเพื่อฉีดกระตุ้นซ้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีตลอดไป

    เข้ามาใช้สิทธิที่ถูกพาดพิง ป่วนเล่นๆคิดได้กลวงๆเท่านี้แหละเจ้าค่ะ..^ ^

     

     

    P

    สวัสดีครับพี่ศศินันท์

    • ขอบคุณมากๆ นะครับพี่ ที่ให้แนวคิดทางธรรมนะครับ
    • และแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งนับว่าสำคัญมากๆ ในสังคมไทยปัจจุบันนะครับ
    • ใช่แล้วครับ ต้องมี กินก่อนครับ ถึงจะคิดถึงการศึกษา ส่วนใหญ่เด็กในสองแสนคนที่หายไป ก็ตกอยู่ในสภาวะนี้นะครับ
    • เอาแบบภูมิสังคมกว้างๆ ก่อนนะครับพี่ ปัญหามันคงมีเยอะครับตอนนี้
    • มีอะไรพี่มาฝากไว้ได้อีกนะครับ ขอบพระคุณมากๆ นะครับ มีความสุขในการทำงานนะครับ
    P

    สวัสดีครับคุณเบิร์ด

    • อ่านแล้วยิ้มๆ เพลินจริงๆครับ
    • ดีใจมากนะครับ ที่คุณเบิร์ดเข้ามาช่วยขยายความและตีภาพที่ผมแปะไว้ด้านบนให้ด้วยนะครับ เพราะรอคนมาช่วยเสริมอยู่ครับ
    • นับว่าอธิบายได้ดีมากๆ เลยครับ โดยเฉพาะในส่วนของการสกัดวัคซีนของชุมชน การทำให้เกิดภูมิคุ้มกัน และการฉีดซ้ำเข้าไป นี่เจ๋งมากครับ เพราะต้องฉีดเข้าไป เป็นระยะๆ จนกว่าจะมีภูมิต้านได้ตลอดไป
    • มีวัคซีนตัวหนึ่งที่ผมอยากจะเห็นมากๆ เลยครับ คือ วัคซีนสำหรับการพนันครับ....ผมไม่แน่ใจว่าตรงนี้คือภูมิคุ้มกันหรือว่าเป็นไวรัสกันแน่ครับ เหมือนว่าจะมีกระจายกันทั่วไปครับ
    • ขอบคุณมากครับ

    สัวสดีครับคุณสมพร

    ขยายความเพิ่มเติมนะครับ

    เกลียวพลวัตเป็นอะไรที่ค่อนข้างจะ "มหภาค" ทีเดียว ในความรู้สึกของผมเอง และเหมือน vaccine ที่ต้องมีการ boost เกลียวจะไปต่อ ก็มีข้อต่อ มีข้อเหวี่ยง อาศัย momentum เช่นกัน จึงจะไปต่อไป เมื่อหมดแรงเหวี่ยง แม้แต่ tornado ก็สิ้นฤทธิ์ลง

    สาเหตุที่เราเห็นอะไรดีๆ (หรือไม่ดีก็มีปรากฏการณ์เดียวกัน แต่เราเสียดายน้อยกว่า เช่น mob hooligan ของอังกฤษ) สลายพลังไปนั้น ไม่ได้ลดความสำคัญของการเกิดการเคลื่อนไหวในครั้งแรก แต่จะเป็นการตอกย้ำความสำคัญของการทำต่อเนื่อง ทำไปเรื่อยๆ ไม่หยุด ทำโดยมโนสำนึก conscience (ไม่ใช่ conscious นะครับ) ว่าเราทำถูกแล้ว ชอบแล้ว

    ผมประทับใจที่กฤษณมูรติครั้งหนึ่งเคยบอกว่าพวกเราทำอะไร วางแผนมากเกินไป เพราะคิดว่าเราจะพยากรณ์อนาคตได้ เพราะเชื่อมั่นในสมการ (ผมก็มีความเชื่อในสมการพอสมควร คุณสมพรทำ modeling ก็คงจะมีความเชื่อเรื่องนี้พอสมควร) แต่ law of uncertainty นั้น พูดกันในทุกๆศาสนา เป็นสัจจธรรมอย่างหนึ่ง

    ถ้า "แผน" วางได้ โดยขาดความ certainty ได้ก็ OK แต่ถ้าเราหาอะไรที่แน่นอน ออกมารับรอง หรือพยายามมองหาอะไรที่ "ตาเนื้อ" อาจจะมองเห็นยาก เราก็ยังไม่ได้ทำ กฤษณมูรติ (หรือพระพุทธเจ้าก็ตามที) จึงบอกให้เรามีปัญญา บ่มเพาะ moral excellence แล้วก็ทำไปได้เลย ไม่ต้องรออะไรมากมาย

    Deafening of no-action

    ที่ผมยกตัวอย่างรุ่นน้องที่ตัดสินใจทำ/ไม่ทำนั้น เพราะว่า การไม่ทำอะไร คือการปล่อยปละละเลย การคิดว่าไม่ใช่เรื่อง การคิดว่าไม่สำเร็จดอก เราเป็นคนที่เล็กน้อย ไม่สลักสำคัญอะร การคิดแบบนี้ การทำ (โดยการไม่ทำ) อะไร ก็เป็นการกระทำอย่างหนึ่งเหมือนกัน ง่ายกว่าการทำ แต่ผลกระทบรุนแรงพอกัน เพราะสิ่งที่พ่อแม่ทำ ลูกๆก็เฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา เพราะเราเป็น role model ของพวกเขา ถ้าเราทำอะไรเพื่อตนเองมากๆ เขาก็จะเรียนรู้อย่างรวดเร็วเรื่องของการเอาตัวรอด เรื่องของการไม่ต้อง "ใส่ใจ" ในเรื่องราวของชาวบ้าน ทุกๆครั้งที่เราสอดใส่เจตนคติลงไปให้เด็กๆ ไม่ว่าเราเป็นพ่อแม่ หรือเป็นครูก็ตาม เรามีบทบาทส่วนหนึ่งในการ สร้างวัฒนธรรม ด้วยเสมอ

    P

    สวัสดีครับคุณหมอสกล

    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ สำหรับข้อคิดดีๆ นะครับ
    • พอคุณหมอพูดถึงพายุทอร์นาโด ทำให้ผมนึกถึงแรงต้านนะครับ เพราะท้ายที่สุดพายุก็ตายด้วยแรงต้านครับ เอ แล้วเราต่อสู้เพื่อหาทางออกที่ดีนี่จะตายด้วยแรงต้านไหมครับเนี่ย อิๆๆ
    • ส่วนเรื่องโมเดลนั้น ผมเชื่อว่ามันสามารถใช้ในการอธิบายได้ในบางสถานการณ์เท่านั้นครับ ไม่มีอันใดที่ครอบคลุมหมดทุกกรณีครับ เพราะปัจจัยเยอะเหลือเกินครับ
    • บางโมเดลก็ต้องทำตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่น สภาพอากาศครับในเวลาอันใกล้เท่านั้นที่ได้ผลดีไกลๆ ออกไปหน่อยก็ความแม่นลดลงครับ เพราะสภาพลมเปลี่ยน อย่างอื่นก็เปลี่ยนครับ
    • อย่างต้นไม้ เองก็ซับซ้อนเหลือเกินครับ
    • แต่อย่างไรเราก็ต้องทำให้เข้าถึงให้จนได้ครับผม
    • ขอบคุณมากๆนะครับ เขียนไว้ต่อได้เลยนะครับ

    ต้องขอขอบพระคุณหย้าบัวที่แนะนำมาให้อ่านวิธี tag และเรื่องราวที่ดี ของคุณเม้ง สมพร เป็นบล็อคที่น่าสนใจทีเดียว  และคำถาม ที่ชวนให้ตอบก็มีมากมาย  แต่ยังไม่ได้ตั้งท่าเลย ยินดีที่ได้รู้จักคุณสมพร  ยังไม่ได้อ่านประวัติเลย ขออ่านทำความเข้าใจ หลายๆเรื่องก่อนนะคะ  แล้วจะนำมาตอบคำถามให้ สวัสดีคะ

    P 27. ว่าที่บัณฑิต 

    สวัสดีครับคุณว่าที่บัณฑิต

    • ยินดีด้วยนะครับสำหรับว่าที่บัณฑิต อีกไม่นานก็เป็นแล้วนะครับ แต่ผมว่าทุกคนก็เป็นบัณฑิตกับตัวเองเสมอนะครับ บัณฑิตในการเข้าใจตัวเอง เข้าถึงตัวเอง และพัฒนาตัวเอง
    • ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่เข้ามาเยี่ยม เยี่ยมชมตามสบายนะครับมีตรงไหนคิดเห็นอย่างไร ก็เต็มที่เลยนะครับผม
    • ขอบคุณมากๆนะครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท