มห้ศจรรย์สังสรรค์สนทนา (6): สมองสามชั้น กับไข่ไดโนเสาร์ ภาคหนึ่ง


สมองสามชั้น กับไข่ไดโนเสาร์

มีหนังสือมากมายน่าสนใจในโลกนี้ อ่านได้ไม่รู้จักจบ ใช้ shortcut โดยฟังจากคนอื่นอ่านให้ ก็ยังไม่พอ ไม่จบ เป็น endless list เป็นอะไรที่หลากหลายมากมาย เอามาจากไหนกันนี่หนอ

Biology of Belief โดย Bruce Lipton, Ph.D. หรือจะเอา The biology of Transcendence เล่มนึง กับ The Death of Religion and the Rebirth of Spirit ของ Joseph Chilton Pearce และ The Awaken Mind ของ Anna Wise สำหรับ short list ก็เพียงพอจะเป็นทั้งออร์เดิรฟ เมนคอร์ส ของหวาน ได้เปนอาทิตย์

แต่จนกว่าข้อมูล ความคิดเหล่านี้ ได้ถูกนำมาดัด บิด ดูด ดื่ม กิน ย่อย ขับถ่าย โดยตัวเอง จึงจะเรียกได้ว่า "อ่านแล้ว" ไม่ใช่ "เปิดดูแล้ว"

ศึกษาเซลล์เท่ากับศึกษาอวัยวะ เท่ากับศึกษาชีวิต ศึกษาจักรวาล เมื่อเรามองดูเศษกะหล่ำชิ้นเล็กๆ ก็เสมือนกับการได้ศึกษาดอกกะหล่ำทั้งดอก เมื่อเราได้เห็นภาพจากเสี้ยวเล็กๆของ hologram chip เราก็จะเห็นภาพของทั้งรูปเหมือนกับภาพจากทั้ง chip เช่นกัน เรื่องราวต่างๆนั้น เราต้อง ดูทั้งหมด ไม่ใช่เอามา หั่น แล้ว ศึกษาเป็นส่วนๆ ต่อเมื่อเราหาอะไรที่ represent ทั้งส่วนได้ เอามาศึกษา เราจึงจะ generalize ความรู้นั้นๆไปสู่ collective concept ได้

เซลล์ๆหนึ่งในชั่วชีวิตของเซลล์จะอยู่ในสถานะแค่ 2 modes เท่านั้น คือ "mode ปกติ" และ "mode ปกป้อง"

สำหรับ mode ปกติก็จะมีหน้าที่เจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สื่อสารกับสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก และข้อสำคัญคือ "เรียนรู้" เซลล์มีการเรียนรู้ตลอดเวลา เรามักจะเผลอคิดว่าเซลล์ๆหนึ่งเป็นอย่างที่เรามองเห็นเท่านั้น คือเป็นเซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท เซลล์ลำไส้ เราลืมไปว่าครั้งหนึ่งเราเกิดจาก เซลล์ๆเดียว และทุกๆเซลล์ในปัจจุบันก็ยัง carry 46 chromosomes เหมือนเซลล์ต้นกำเนิด เซลล์เรามีการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้สร้างสิ่งต่างๆ ปรับสิ่งต่างๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม

สำหรับ mode ปกป้อง กลไกตามธรรมชาติเหล่านั้น จะ shut down เซลล์ที่เจริญเติบโตก็หยุดทำงาน หรือทำงานจน overload ไม่เกิดการซ่อมแซม ไม่มีการสื่อสาร และไม่มีการเรียนรู้อะไรเลยเกิดขึ้น เตรียมตัวรับสภาวะความเครียด หรือภาวะอันตรายอย่างเต็มที่

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า mode ปกป้องนั้น เซลล์จะหยุดเจริญเติบโต แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือการหยุดเรียนรู้ เราอาจจะอยู่ใน mode ปกป้องได้แม้แต่ตอนที่เราไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วยอะไร แต่เป็น mode ที่เราจะมีการเจริญทางสติปัญญาน้อยมากหรือไม่มีเลย เนื่องจากกำลังกลัว กำลังเครียด กำลังเป็นกังวล

ในพัฒนาการของสัตว์ทั้งหลาย เราได้เรียนรู้ และ (แอบ) แบ่งชั้นวรรณะของสัตว์ตาม competency หรือความสามารถในการปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆ

สัตว์เลื้อยคลาน เช่น กิ้งก่า จิ้งจก ตุ๊กแก พวก reptile เหล่านี้มีสมองแล้วก็จริงแต่จะเป็นสมองที่ simple ไม่ซับซ้อนอะไร ขออยู่รอดให้ได้ก็เพียงพอแล้ว ที่จริงก็คงคล้ายๆกับมนุษย์ถ้ำกระมังครับ ที่วันๆก็เอาตัวรอดให้ได้ ออกไปหาอาหาร แล้วก็สืบพันธุ์ การที่ species หนึ่งๆจะ "อยู่รอด" ได้นั้น ดูๆไปก็ต้องมีพื้นฐานเบื้องต้นแค่นี้ คือ อยู่รอด กินอาหาร สืบพันธุ์

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น วัว ควาย เสือ แมว หมา ฯลฯ สมองดูจะพัฒนามากขึ้น เรียนรู้อะไรๆได้ดีขึ้น ดูเหมือนจะสื่อสารได้ดีขึ้นด้วย จะเห็นว่าบางทีเราแทบจะคุยกับหมา กับแมว ที่เราเลี้ยงไว้รู้เรื่องเลย (อย่าพึ่งสอดว่า "ชั้นก็พูดกับปลาชั้นได้ย่ะ" หรือ "งูที่เลี้ยงไว้ใต้ถุนก็ยิ้มให้ชั้นบ่อยๆนะจ๊ะ" [อาจจะยิ้มเหมือนเวลาเราไปตลาดแล้วมองเห็นขนมเค้กว่าน่ากินก็ได้นะครับ]) สิ่งหนึ่งที่พัฒนาชัดเจนคือ "อารมณ์" ตัวอารมณ์นี่เองที่ทำให้เกิดความซับซ้อนของความสัมพันธ์ เกิดมี "พวก" มี "เผ่า" มีกลุ่มของฉัน ของเธอมากอย่างมีนัยสำคัญ เริ่มมี wild animal versus domestic animal อารมณ์นี้เองที่เป็นพื้นฐานของการ "อยู่ร่วม" ที่มั่นคง ยั่งยืน ไม่ได้มีความสัมพันธ์แค่เอาตัวรอด แต่จะคงอยู่ของเผ่าพันธุ์ species ได้ดีขึ้น ร่วมมือกันทำอะไรๆได้มากขึ้น และเป็นฝูงที่มี hierrachy มีหน้าที่ มีบทบาทที่แตกต่างกันออกไป

Primates หรือลิง หรือมนุษย์นั่นเอง เราต่างอย่างไรกับสัตว์ชั้นต่ำกว่า หรือสัตว์ประเภทอื่นๆ? บางคนอาจจะยกมือตอบ "เรายืนสองขาครับ" อืม..... น่าสนใจ ที่จริงเรื่องที่มนุษย์เริ่มเดินสองขานี้ มีคนคิดว่าเป็นวิวัฒนาการที่เป็นก้าวสำคัญอย่างหนึ่ง คือเรา ทำให้มือเป็นอิสระ จากการที่เดินสี่ขา แล้วมือจะได้ ทำอะไรๆ ได้มากขึ้น และเป็นจุดกำเนิดของ เครื่องมือ เครื่องผ่อนแรง เครื่องช่วยทำงาน เพราะมือของเราที่เป็นอิสระนั่นเอง แต่มืออย่างเดียวไม่ได้ทำให้เกิดเครื่องมือ เครื่องไม้อะไร "สมองที่สามารถคิด จินตนาการ" ต่างหากที่เป็นเบื้องหลังวิวัฒนาการที่สำคัญนี้ และเป็นจุดเริ่มต้นของการ "อยู่อย่างมีความหมาย"

การที่มีวิวัฒนาการตั้งแต่ อยู่รอด อยู่ร่วม จนถึงการ อยู่อย่างมีความหมาย นั้น สำคัญอย่างไร?

ทุกวันนี้ที่เราดำรงชีวิตอยู่ เราอยู่แบบไหน เราอยู่ใน mode ไหนเป็นส่วนใหญ่? แบบ reptile แบบ mammals หรือแบบ primate, Homo sapiens sapiens?

เราอาจจะมาพิจารณาดูที่ mode ปกป้อง ของสัตว์แต่ละชนิด เพราะมันจะชัดกว่าตอนอยู่ใน mode ปกติ สำหรับสัตว์เลื้อยคลานนั้น การอยู่รอดสำคัญที่สุดเป็นอันดับหนึง ความรู้สึกต้องการอยู่รอดเป็นความรู้สึกดึกดำบรรพ์ที่สุดของสิ่งมีชีวิต ตัวที่จะช่วยให้เราอยู่รอดมาได้แต่โบราณคือ ความกลัว ที่ทำให้เราหลุดพ้น หนีรอด จากภัยธรรมชาติ จากสัตว์ร้าย สำหรับพื้นฐานอีกสองประการคือ การกิน (ความหิว) และการสืบพันธุ์นั้น ตราบที่เรายังมี ความกลัว ควบคุมอยู่ อีกสองอย่างก็จะ function ได้ไม่ดี หรือไม่เต็มที่

mode ปกป้องของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่ตรงกันข้ามกับ อารมณ์รัก ก็คือ ความหวาดระแวง อิจฉา ริษยา เกลียด โกรธ หรืออีกภาษาหนึ่งก็คือ ร่องอารมณ์ ของเรานั้นเอง ที่ผลิตมาจาก hypocampus, limbic system หรือ amygdala section ของสมอง

mode ปกป้องของ primate หรือของมนุษย์ อุปสรรคที่เกิดต่อจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ก็คือ เทปม้วนเก่า หรือ autopilot mode การทำอะไรตาม routine ไม่ต้องคิด ไม่ต้องจินตนาการ ใช้ความรู้เดิมๆ ใช้ความรู้สึกเดิมๆ เป็นการใช้ judgemental attitude เป็นการใช้ generalization หรือ stereotyping เช่น คนพวกนี้เป็นแบบนี้ คนตัวเหม็นแปลว่าชั้นต่ำ เลว ไม่น่าไว้ใจ คนแต่วตัวดีแปลว่าประสบความสำเร็จ คนรวยแปลว่ามั่นคง เก่ง ฯลฯ การทำอะไรๆด้วย เทปม้วนเก่า เป็นการถดถอย เป็นการสูญเปล่าของ species primate หรือของมนุษย์ไปอย่างน่าเสียดาย

การผสมผสานของ mode ปกป้องก็จะเกิดผลลัพธ์ที่ซับซ้อนขึ้นได้มากมาย

เมื่อเอาร่องอารมณ์มาประสานกับ mode ของ primate ก็จะเกิดจินตนาการด้านลบ การวางแผน conspiracy ต่างๆ วางแผนทำลาย แทนที่จะมี compassion ก็จะเป็น self ที่ควบคุมโดยร่องอารมณ์ มาใช้เครื่องมือสำคัญๆของสมองระดับสูง ซึ่งน่ากลัวมาก เช่น เอาความโกรธเกลียด มาใช้ควบคมอาวุธ เทคโนโลยี หรือควบคุมการใช้อำนวจ หน้าที่ authority ต่างๆ

และเมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว ปรากฏว่าแรงผลักดันของ mode ปกป้องระดับสูงๆ อาจจะมาจาก แรงผลักของ mode ปกป้องระดับต้ำสุดก็ยังได้ นั่นคือ ความกลัว

ความกลัวการสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นข้าวของ สถานะ ฐานะ ความเป็น self ความเป็นตัวตน ความต้องการความมั่นคง ยั่งยืน อะไรก็เป็น certainty อะไรที่เป็นความถาวร ยั่งยืน คงอยูตลอดไป ฯลฯ

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีจริง เพราะ The only Certainty we have since we are born is DEATH 

เราพยายามหาเงิน ทำงาน เรียนหนังสือ ก็เพื่อ ความมั่นคง ในชีวิต แต่ความมั่นคงนั้น ถูกคุกคามตลอดเวลาด้วยความ uncertainty ต่างๆมากมาย เรากังวลจะมีคนมาแย่งงาน แย่งตำแหน่ง มีคนมาเอารัดเอาเปรียบ มีคนมาแซงคิว มีคนที่ "เก่งกว่า" เกิดขึ้น รู้ว่า "ที่ทาง" ของเรากำลังเล็กลงๆไปเรื่อยๆ

นักศึกษาเรียนหนังสือด้วยความกลัว กลัวไม่รู้ กลัวอาจารย์ด่าว่า กลัวพ่อแม่ผิดหวัง พยาบาลทำงานด้วยกลัวคนไข้ฟ้อง กลัว ผอ. จะดุ กลัวผู้ตรวจการจะด่า กลัวจะถูกประเมินไม่ผ่าน โรงพยาบาลทำงานด้วยความไม่แน่ใจว่าจะถูกใจ HA หรือไม่ จะได้ TQA ไหมหนอ ถ้า reptilian trait ในตัวเราถูกคุกคาม ความกลัว ซึ่งเป็นพื้นฐานร่องอารมณ์ที่ดึกดำบรรพ์ที่สุด จะ take over mode ที่เหนือกว่า ควบคุมอารมณ์ ควบคุมความคิด ควบคุมจินตนาการของเราไปหมด

แล้วเราจะเหลืออะไร?

 

หมายเลขบันทึก: 92188เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2007 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 


เห็นด้วยว่าชีวิตคนถูกบงการด้วยความ "กลัว" จริงๆ

อ่านตอนนี้แล้วอารมณ์เกิดการบิดพลิ้ว เหมือนดูหนังเบาๆ แล้วเข้าสู่ mode ตื่นเต้น

ยังคาดเดาไม่ออกว่าข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น

ได้แต่ปล่อยอารมณ์ไปตามตัวอักษร ม้วนพาไปหาจุดไคลแมกซ์

อยากรู้ว่าอาจารย์ต้องการจะบอกอะไร

ตื่นเต้นดีค่ะ  ^_____^

 

ผมก็อยากจะรู้เหมือนกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับคุณจูนด้วยครับ ลอง burst ออกมาแบบไม่ยับยั้ง ไม่ต้องไตร่ตรองดู ได้ไหมครับ?
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท