มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

วิพากษ์งานวิจัยเชิงคุณภาพ (2): โยนคำถามกันมาเลยค่ะ


ขั้นแรกของการเรียนการสอนที่จะได้ผลคือ ต้องดูก่อนว่าผู้เรียนสนใจอะไรและมีพื้นฐานแค่ไหน

ผู้เขียนเลยตัดสินใจว่า แทนที่จะคิดขึ้นมาเองว่าจะเขียนเรื่องอะไร มาเริ่มโดยการถามคนอ่านดีกว่าว่าอยากให้เขียนเรื่องอะไร

วางกรอบไว้คร่าวๆว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ความเข้าใจเบื้องต้นในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ และ การประเมินคุณภาพของงานวิจัยเชิงคุณภาพ ละกันนะคะ

โยนคำถามมาได้เลยค่ะ ไม่ต้องอายกัน ถ้าไม่กล้าก็ไม่ต้อง log in ให้ถามโดยการลงชื่อแบบนิรนามก็ได้ค่ะ สัญญาว่าจะไม่ตามไปดู IP address : )

ไม่มีการว่าทอกันว่า ถามไม่ได้เรื่อง ไม่ต้องกังวล 

ไม่สัญญาว่าจะตอบได้นะคะ แต่อยากให้คิดซะว่าเป็น community of practice มาช่วยกัน ผู้เขียนมีอ.ดีแถวๆนี้ ตอบเองไม่ได้จะไปถามอ.ให้ค่ะ ใน gotoknow ก็มีผู้รู้มากมาย เดี๋ยวก็มีคนมาช่วยค่ะ : )

[อ่านบันทึกตอนที่ 1 ได้ที่นี่ค่ะ]

หมายเลขบันทึก: 97143เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2007 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (77)

อาจารย์ครับ ผมเคยเสนอโครงการไปโครงการหนึ่ง ตั้งใจจะให้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผมต้องการหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครับ โดยกระบวนการวิจัยของผมจะเป็นการผลิตชุดฝึกอบรมเพื่อนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ว่า ชุดฝึกอบรมดังกล่าวจะทำให้กลุ่มตัวอย่างมีศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร

มีคนแย้งผมว่า

  • สิ่งที่ผมเสนอนี้ไม่ใช่วิจัย แต่เป็นการฝึกอบรม
  • เป็นการผลิตชุดฝึกอบรม ไม่ใช่การพัฒนาครู

อาจารย์ช่วยแนะนำผมได้ไหมครับว่า ผมควรชี้แจงอย่างไรดี

สวัสดีค่ะคุณจารุวัจน์

โครงการของคุณจารุวัจน์  เป็นงานวิจัยได้ค่ะ คือเป็นการค้นหาว่า วิธีอบรมแบบไหนดี แบบนี้ได้ผลไม๊

เป็นงานวิจัยแบบประเมินค่ะ (Evaluative Research หรือ Evaluation Research)

แต่จะเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพหรืิอไม่ขึ้นอยู่กับว่า คุณจารุวัจน์จะวัดผลความสำเร๋จของชุดฝึกอบรมอย่างไร

ถ้าจะทำการวัดโดยใช้แบบสอบถาม หรือ ืืืทำการทดลอง แล้วแปลผลด้วยสถิติ ไม่ว่าจะสุ่มตัวอย่าง หรือ ให้ทุกคนที่ร่วมโครงการทำ ก็จะถือว่าเป็นการวัด้เชิงปริมาณ

ถ้าใช้แบบสอบถามแบบคำถามปลายเปิด หรือใช้การสัมภาษณ์ หรือ สังเกตการณ์ ก็พอเข้าเค้างานวิจัยเชิงคุณภาพ (ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับวิธีวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีนำเสนอผลด้วยค่ะ เรื่องนี้ต้องคุยกันนาน จะเขียนบันทึกเรื่องนี้ต่อไปเมื่อมีเวลาว่างๆค่ะ)

อีกประเด็นคือ การประเมินโครงการฝึกอบรมนี้  เราประเมินกระบวนการด้วยก็ได้ใช่ไม๊ค่ะ ไม่ใช่ว่าจะดูกันที่ผลลัพธ์อย่างเดียว

คุณจารุวัจน์ตั้งคำถามวิจัยไว้ว่า

"ชุดฝึกอบรมดังกล่าวจะทำให้กลุ่มตัวอย่างมีศักยภาพ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร"

การวัดผลลัพธ์ (outcome evaluation) จะทำให้ตอบได้ว่า เพิ่มขึ้นหรือไม่

ส่วนการวัดกระบวนการ (process evaluation) จะทำให้ตอบได้ว่า เพิ่มขึ้นหรือไม่เพิ่มอย่างไร

--------------------

website สกว. มีเขียนไว้ว่า 

วิจัย คืออะไร  เป็นวิถี  เป็นเครื่องมือ เป็นความสงสัย เป็นการแสวงหาทางออก เป็นการแสวงหาทางเลือก เป็นการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอน มีวิธีการของมัน และสามารถเรียนรู้ไปทีละขั้นได้

--------------------

มัทเน้นคำว่า เป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบค่ะ : )

Michael Quinn Patton กูรูด้่านนี้เขียนในหนังสือ Qualitative Research and Evaluation Methods (หน้า 10 edition ที่ 3 ปี 2001) ว่า

การประเมินโครงการใดๆก็ตาม ถ้า "conducted systematically and empirically through careful data collection and throughtful analysis, one is engaged in evaluation research"

ชัดเจนขึ้นครับอาจารย์ ขอบคุณครับ

ตอนนี้ผมทำโครงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่ รพ. เป้าหมายของงานคือ ลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย+พัฒนาระบบงานการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายใน รพ. ผมวางแผนจะ qualitative research เกี่ยวกับผู้ป่วยที่ผมดูแล ผมเยี่ยมบ้านผู้ป่วย+in depth interview +ดูผู้ป่วยที่ ward

ประเด็นที่สนใจมากในขณะนี้คือ ทัศนคติของบุคคลากรการแพทย์ใน รพ. ต่อการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ผมต้องการความรู้นี้ไปพัฒนาระบบของ รพ.+ปรับทัศนคติของบุคคลากรใน รพ.

อาจเป็นโจทย์ที่ดูกว้าง+ไม่ชัดเจน แต่ก็อยากทำครับ ขอคำแนะนำครับผม 

คำถามของคุณโรจน์เปิดประเด็นเรื่อง 

  1. ความสำคัญของปัญหา (statement of problem, significance of the study) ว่าที่ต้องวิจัยเรื่องนี้เพราะต้องการลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ด้วยการพัฒนาระบบงานการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายใน รพ.
  2. ที่นี้ขั้นต่อไปคือ การขัดเกลาคำถามวิจัย และ unit of analysis ค่ะ ถ้าเรามีคำถามที่ชัดเจนแล้ว งานจะง่ายขึ้นมากค่ะ ต้องคิดค่ะว่าอยากรู้อะไรแน่ เรากำลังค้นหาอะไรอยู่ ต้องการเรียนรู้เรื่อง
  • ทัศนคติของบุคคลากรการแพทย์ใน รพ. ต่อการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง หรือ
  • ประสบการณ์การเป็นผู้ป่วยมะเร็งขั้นสุดท้าย

ถ้าตอบตรงนี้ได้ การวางแผนงานวิจัยจะชัดเจนขึ้นตามมา วิธีช่วยคิดง่ายๆคือ เราอยากได้อะไรที่ปลายเส้นทาง (เรารู้แล้วว่าอยากได้ อะไรซักอย่างที่มาช่วยพัฒนาระบบงานใช่ไม๊ค่ะ) ถ้าตอบได่้เราก็เขียน วัตถุประสงค์งานวิจัยได้แล้ว แล้วคำถามวิจัยมันก็จะล้อกันไปกับวัตถุประสงค์งานวิจัยนั่นเองค่ะ

      3. พอตอบข้อสองได้แล้ว เราถึงจะรู้ว่าเราควรศึกษา"อะไร" (object of study) เราสนใจใน ปรากฎการณ์ ประสบการณ์  ความเห็น การให้ความหมาย ฯลฯ

เราควรศึกษา ทัศนคติหมอ หรือ ประสบการณ์หมอ หรือ ประสบการณ์คนไข้ หรือทั้งสองอย่าง? หรือศึกษาญาติผู้ป่วยด้วย? ผู้บริหารรพ. ด้วย? หรือจะดูระดับนโยบายด้วย?

อันนี้แล้วแค่คำถามหลังจากที่โดนขัดเกลามาแล้ว แรงกายแรงใจ และ งบประมาณค่ะ : )

    4. แผน Knowledge Transfer/Translation: จะเอาความรู้มาปรับทัศนคติของบุคคลากรใน รพ. ได้อย่างไร จริงๆถ้าตอบข้อนี้ได้ก็จะช่วยทำให้คำถามวิจัยชัดเจนขึ้นค่ะ 

-----------------------

แต่งานวิจัยเชิงคุณภาพแบบ explore คือ ไม่รู้หรอกว่าจะไปเจออะไร หรือ ไม่แน่ชัดว่ากำลังหาอะไรอยู่ แต่ลองไปสำรวจดูคร่าวๆก็มีค่ะ ตั้งคำถามวิจัยแบบกว้่างสุดๆไปเลย ก็ไม่ผิดค่ะ แต่มันจะไปยากตอนวิเคราะห์และนำเสนอผล เพราะจับจุดไม่ถูก ข้อมูลเยอะไปหมด และที่สำคัญคือ จะเขียน proposal ของบลำบากเอาการค่ะ คนอนุมัติงบอาจมองไม่เห็นภาพปลายเส้นทาง เลยไม่กล้าให้งบ

----------------------- 

หวังว่าเป็นประโยชน์บ้างนะคะ

เป็นประโยชน์มากครับ ผมจะลองไปดูประเด็นให้ชัดว่าจะเริ่มตรงไหนก่อน ขอบคุณครับ
  •  แวะมาแนะนำหนังสือดี เพราะคนโง่อย่างเราอ่านแล้วรู้เรื่องและมีกำลังใจ

  • ไม่ใช่หนังสือสอนทำวิจัยเชิงคุณภาพธรรมดา แต่เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างคนมีจิตวิญญาณที่เป็นคนที่สมบูรณ์ในการที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วย  

 

  • ทั้งนี้โดยอาศัยทักษะพื้นฐานแห่งความเป็นมนุษย์  ที่พัฒนาขึ้นมาจากทักษะแห่งการเป็นนักวิจัยเชิงคุณภาพที่ดีนี่แหละ

 

  • จึงไม่ใช่หนังสือธรรมดา ๆ ด้วยเหตผลดังกล่าวมานี้

 

  • ข้อมูลข้างล่างยกมาแปะจาก Amazon.com โดยไม่มีส่วนได้เสียกับผู้แต่งแต่ประการใด  เพราะไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว แต่ขอยกให้ท่านเป็น "ครู" ด้วยความซาบซึ้งและระลึกในพระคุณอย่างยิ่ง  เหมือนเช่นที่นึกขอบคุณอ.มัทอยู่เสมอที่ได้ความรู้จากท่านเป็นระยะ ๆทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัวมาก่อน

 

Qualitative Research: A Personal Skills Approach (Paperback) by Gary D. Shank

Editorial Reviews
 

Book Description
This up-to-date book is the first of its kind to build upon the basic skills needed to do qualitative research.  Skills, such as observing, conversing, participating, and interpreting are introduced through exercises and then developed based on the current understandings in the field.

Comprehensive and user-friendly, this book incorporates hands-on learning into the overall process with ten exercises associated with the basic skills.  Topics include: Being a Skilled Qualitative Researcher; Observing; Conversing; Participating; Interpreting; Conceptualizing; Reasoning; Analyzing; Narrating; Writing; The Seven Deadly Sins of Qualitative Research; Once and Future Qualitative Research. For qualitative researchers.

From the Back Cover
This up-to-date book is the first of its kind to build upon the basic skills needed to do qualitative research. Skills, such as observing, conversing, participating, and interpreting are introduced through exercises and then developed based on the current understandings in the field.

Comprehensive and user-friendly, this book incorporates hands-on learning into the overall process with ten exercises associated with the basic skills. Topics include: Being a Skilled Qualitative Researcher; Observing; Conversing; Participating; Interpreting; Conceptualizing; Reasoning; Analyzing; Narrating; Writing; The Seven Deadly Sins of Qualitative Research; Once and Future Qualitative Research. For qualitative researchers.

ดีจังครับบันทึกนี้ ...อยากทำวิจัยมานานแล้ว..ทางด้านสถาปัตยกรรม มันน่าจะเป็นวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ...แต่ยังไม่มีประเด็นในการเขียนเลย....ส่วนใหญ่ชอบที่จะทำงาน practice เสียมากกว่า (ออกแบบโครงการต่างๆ แล้วเอาข้อมูลไปสอนหนังสือ)..

แต่งานก็ต้องทำเป็นลำดับ เรียบเรียงความคิด ค้นหาความต้องการ...ตอบโจทย์...และได้ product สุดท้ายเป็นอาคาร...จะว่าเป็นงานวิจัยก็ไม่เชิงนะ

ทำไปแล้วมันก็มี pattern ของมันเหมือนกัน...แต่ไม่รู้จะเขียนยังไง...น้อง อ.มัทมีความเห็นยังไงครับ...

พี่โจ

ขอบคุณค่ะพี่ : )

ไหนๆก็มีคนมาแนะนำหนังสือแล้ว ขอมาต่อยอดนะคะ

หนังสือที่มัทใช้อ้างอิงการเขียน thesis ของมัท เป็นคู่มือซื้อมาติดชั้นหนังสือตลอด เป็นหนังสือที่ใช้ใน coursework ตอนมาเรียนปีแรกๆ เป็นหนังสือที่อ.แนะนำ มาแล้วติดใจ มีดังนี้ค่ะ 

Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Approaches by John W. Creswell

Qualitative Research & Evaluation Methods by Michael Quinn Patton

InterViews: An Introduction to Qualitative Research Interviewing by Steinar Kvale 

Handling Qualitative Data: A Practical Guide by Lyn Richards 

Case Study Research: Design and Methods Third Edition (Applied Social Research Methods) by Robert K. Yin

ต่อไปนี้คือหนังสือดี ที่ยืมมา อ.แนะนำ: 

Qualitative Research Design: An Interactive Approach (Applied Social Research Methods) by Joseph A. Maxwell

Handbook of Qualitative Research by Norman K. Denzin and Yvonna S. Lincoln

The SAGE Handbook of Qualitative Research by Norman K. Denzin and Yvonna S. Lincoln 

Writing Up Qualitative Research (Qualitative Research Methods) by Harry F. Wolcott

The Art Of Case Study Research by Robert E. (Earl) Stake 

แต่ละสาขาวิชาก็จะมีตำราของตัวเองด้วย โดยเฉพาะพวก ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา และ มนุษยวิทยา พวกนั้นเหนือความสามารถที่มัทจะแนะนำได้ค่ะ

10 เล่มนี้ ส่วนตัวมัทว่าก็พอ สำหรับพื้นฐานการทำความรู้จักและเริ่ม ลงมือทำวิจัยเชิงคุณภาพค่ะ 

อ. พี่โจ (โอชกร):

ทำได้แน่นอนค่ะ พวกสถาปัตย์คิดอะไรเป็นระบบอยู่แล้ว

เห็นทำวิจัยกันเรื่อง green architecture กันเยอะเลยค่ะ มีทั้งเชิงปริมาณที่ทดลองวัสดุหรือdesign แล้ววัดว่าประหยัดพลังงานได้เท่าไหร่
หรือเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์ทัศนคติและ สังเกตการพฤติกรรมผู้ใช้ โดนเฉพาะในงาน urban planning ต่างๆ

บางคนก็ศึกษาเรื่องวัฒนธรรมการอยู่การใช้ชีวิตของคนหลายเชื่อชาติ เพื่อที่จะได้มาออกแบบให้ตรงวิถีชีวิต เช่น บ้่านที่มี inner court yard หรือ บ้่านเดี่ยว หรือ การออกแบบให้คนพิการ ก็ต้องเข้่าใจสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการก่อน

พวก marketing research หรือการสำรวจความต้องการลูกค้า ก็เป็นการใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบหนึ่ง 

ถ้าเราทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยด้วยแล้ว งานเรียนงานสอนก็นำมาวิจัยเพื่อหาวิธีเรียน วิธีสอนใหม่ๆให้ดียิ่งๆขึ้นไปก็ได้ค่ะ

จะใช้เชิงปริมาณผสมเชิงคุณภาพก็ได้ มีประโยชน์ทั้งนั้นถ้าทำดีๆ มีการวางแผน มีการจัดข้อมูลที่เป็นระบบ มีการวิเคราะห์และเสนอผลที่เชื่อถือได้และมีประโยชน์ : ) 

  • ขอบคุณมาก....อาจารย์แถม reading list ให้อีกแล้ว.... :-)

 

  • อยากแถมว่า  quali research นั้น ทำดี ๆ ก็ตูมตามได้เหมือนกัน แต่ในประเทศไทย ที่เห็นนั้นจะมีแค่อยู่ในวงการ market research หรือวงการโฆษณา

 

  • ในวงการการศึกษา  โดยเฉพาะระดับป.เอกประเทศไทย อะไร ๆ ก็นิยม quanti ถ้าใครอยู่ในสาขาอย่างเช่นสังคมศาสตร์  ซึ่งความจริงแล้วมันก็คล้ายกับวงการตลาดนั่นแหละ  จะริไปทำ quanti แล้ว มักไม่ผ่าน ไม่ได้ หรือโดนหยามว่าไม่มีคุณค่าน่าเชื่อถือคู่ควรกับระดับป.เอก

 

  • นับเป็นความยึดมั่นถือมั่นที่พิลึกกึกกือในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ตอนอยู่เมืองนอกไม่เห็นเป็นอย่างนี้เลย

 

  • ขอบคุณอาจารย์อีกครั้งสำหรับบันทึกดี ๆ และ reading list

นอกจากวงการ market research แล้ว จริงๆพวกนักมนุษยวิทยาก็ทำงาน Ethnography ดีๆกันมานานมาแล้วเช่นกันค่ะ สายเวชศาสตร์ชุมชนก็จะได้รับอิทธิพลทางนั้นมา

พวกศึกษาศาสตร์ก็จะเน้นไปทางประเมินโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพมาช่วย 

ทางสังคมศาสตร์นี่ ก็เหมือนกันทั้งโลกมัั๊งค่ะต่างประเทศก็เจอปัญหานี้กันมามากไม่แพ้บ้่านเรา แต่เค้าก็สู้กันมาได้ ด้วยการทำงานที่มีคุณภาพและ หาทางวัดคุณภาพงานวิจัยที่ทำมาให้ชัดเจน ซักวันหนึ่งบ้านเราก็เป็นอย่างบัานเค้าได้ค่ะ ต้องมาช่วยกัน ค่อยๆทำไป

จะทำให้คนที่ต่อต้านเข้าใจก็นี่ ต้องเรื่มคุยกันที่กระบวนทัศน์  ที่ปรัชญาเบื้องหลัง วิธีิวิจัย มันคุยกันยากต้องใช้ความอดทนและทักษะการสื่อสาร 

แต่ที่มัทอยากเน้นคือ ไม่ว่า QT หรือ QL นั้น ทำออกมาห่วยๆก็มาก ไม่ว่าจะทำแบบไหน ทำให้ได้คุณภาพของแบบตัวเองดีที่สุดค่ะ

QL มันดิ้นได้ มีหลายแบบ และ มั่วๆกันได้ถ้าไม่รู้จริง แบบนี้ก็ลำบากค่ะ  ต้องช่วยกันดู ช่วยกันทำ

ขอบคุณครับ

งานเรียนงานสอนก็นำมาวิจัยเพื่อหาวิธีเรียน วิธีสอนใหม่ๆให้ดียิ่งๆขึ้นไปก็ได้ค่ะ

จะเอาไปต่อยอดดู

พี่โจ

สวัสดีค่ะอาจารย์มัทที่เคารพ

แอบติดตามอ่านบันทึกของอาจารย์มานานแล้วแต่ไม่เคยเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เลย ขอบคุณนะคะสำหรับทุกบันทึกที่มีคุณค่าและน่าติดตามอ่านมากๆค่ะ

วันนี้อดรนทนไม่ได้ค่ะ เพราะกำลังจะทำวิจัยที่มีเฟสแรกเป็นเชิงคุณภาพค่ะ เรียนกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพมาก็ยังงงๆ อยากเรียนถามอาจารย์มัทดังนี้ค่ะ
1. rigor testing สามารถทำอย่างไรบ้างคะ
2. วิธีการวิเคราะห์ต่างๆ เช่น content analysis, theme analysis etc มีจุดแตกต่างกันตรงไหนคะ
3. อาจารย์มีประสบการณ์ในการสัมภาษณ์ผู้ป่วยสมองเสื่อม อยากจะเรียนสอบถามอาจารย์ว่า    โดยเฉพาะในกลุ่มของ moderate dementia จะสามารถให้ข้อมูลเราได้ชัดเจน เป็นเรื่องเป็นราวหรือไม่ ถ้าต้องการหาคำตอบว่า คำถามการวิจัยคือประเภทของการออกกำลังกายและการส่งเสริมการออกกำลังกายวิธีใดจะเกิดผลประโยชน์สูงสุดค่ะ  ปัญหาที่น่าจะต้องเผชิญคืออะไร ควรหาวิธีการแก้ไขอย่างไรค่ะ
ขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ
ศิริกุล

ขอบคุณมากค่ะคุณศิริกุลที่ติดตามบันทึกมานาน

มาตอบคำถามกันดีกว่า

1. rigorของงานนี่จริงๆมันแฝงไปในทุกขั้นตอนเลยค่ะ  เหมือนกับในบันทึกตอนที่ 1 ที่สำคัญคือทำอะไรต้องมีหลักฐานทั้งหมดค่ะ เรียกว่าต้องทำ Audit trail ไว้ เหมือนกับว่าถ้ามีกรรมการมาตรวจย้อนไปว่าทำงานมาอย่างไร ต้องสามารถโชว์กรรมการได้หมด

  • ต้องเก็บเอกสารทั้งหมดไว้้ดีๆ  (ใบ consent form ที่ participant เซ็น, transcripts, เทป, วีดีโอเทป, electronic files ต่างๆ ฯลฯ) แล้วส่วนไหนที่เป็นความลับต้องเก็บใบตู้ที่มีล็อค หรือในคอมพิวเตอร์ที่มี password 
  • ต้องมีการจัดการเอกสาร หรือ archives ต่างๆที่นำมาใช้วิเคราะห์ดีๆ แบ่งเป็นแฟ้มๆให้หาง่าย

ที่นี้ถ้าเราเป็นกรรมการเราจะไปตรวจจริงๆเป็น audit ก็ได้ แต่เท่าที่เห็นมา แค่คุยๆ สัมภาษณ์ตอนที่นักวิจัยนำเสนองานก็พอรู้แล้วค่ะว่าคนนี้ทำงานมั่ว หรือมีการจัดการข้อมูลที่เป็นระเบียบ และที่สำคัญคือเข้าใจในงานตัวเองแค่ไหน เข้่าใจในปรัชญาบื้องหลังไม๊ เข้าใจใน design ตัวเองว่าทำไปเพราะอะไร ตอบเรื่อง credibility ได้ก็เป็นอันใช้ได้ค่ะ อย่างคนที่ไม่มี triangulation ไม่มี member-cheking ข้อมูลหรือการแปลผลเลย ถ้าเค้่่าสามารถ defend ได้ว่าเค้าวิเคราะห์ผลจากมุมมองไหน (interpretivist) แล้วทำให้กรรมการเห็นชัดเจนว่าส่วนไหนของผล มาจากการแปลของนักวิจัย ส่วนไหนของผลมากจากข้อมูลดิบ (คำพูดของ participants, จาก diary ของ participants, จากตัวอักษาที่ได้จาก document analysis) ก็โอเคค่ะ

มัทคาดว่าคุณ ศิริกุล ทำงานสายสุขภาพใช่ไม๊ค่ะ ทีนี้งานสายเราจะต่างกับสายสังคมศาสตร์ pureๆ ตรงที่ กรรมการของพวกเรา เช่น journal editors เวลาจะลงพิพม์บทความนั้นยังบังคับให้เราเขียนงานวิจัย ในกรอบที่เรียกว่าเป็น post-positivism พราะฉะนั้นเค้าจะต้องการให้เราทำงานตาม checklist 15 ข้อที่มัทเขียนในบันทึกตอนที่ 1 คือจะต้องทำตามให้ได้มากที่สุด้เท่าที่จะทำได้ 

2. วิธีการวิเคราะห์ต่างๆ วันนี้ขอตอบคร่าวๆนะคะ เพราะคิดอยากเขียนบันทึกเรื่อง การวิเคราะห์ และ นำเสนองานแยกออกไปเป็นอีกบันทึก

สรุปง่ายๆคือ การวิจัยเชิงคุณภาพมี 2 แบบ คือ top-down กับ bottom-up

  • แบบ top-down คือ นักวิจัยมี framework มี template การ code อยู่แล้ว คือมีชื่อของ categories, subcategories อยู่แล้วจากกรอบแนวคิดที่ได้จากงานวิจัยคนอื่นที่ทำเรื่องคล้ายๆกัน ทีนี้พอได้ข้อมูลดิบมา ก็เอามาเทียบกับ framework หรือ template ที่มี แล้วก็ code การวิเคราห์แบบนี่ เรียกว่า framework analysis บ้าง content analysis บ้าง topical coding บ้าง (แต่คำว่า content analysis มีอะไรมากกว่านี้ค่ะ บางคนใช้คำว่า content analysis ไปในความหมายอื่นด้วย)  การนำเสนอก็อาจเป็นตาราง เป็น diagram ที่ได้จากการวิเคราะห์ หรือเขียนเป็นเรื่องๆ เป็น themeๆ ก็ได้แต่เป็น themeหลักๆที่ code มาจาก template ที่เตรียมไว้ จะต่างจากแบบที่กำลังจะกล่างถึงต่อไป
  • แบบ bottom-up คือ ดูกันที่ข้อมูลดิบเลยแต่ต้น ไม่ได้มี template เตรียมไว้ ใช้วิธีอ่านหลายๆรอบ เริ่ม code หาข้อความ หรือ คำ หรือ ประโยค ที่น่าสนใจ และ เกิดขึ้นบ่อยๆ หา pattern ของข้อมูล คำที่ใช้มา label หรือ code มักจะเป็นภาษาของ participantsเอง (folk term, emic) แต่การวิเคราะห์แบบนี้ก็ทำได้หลายแบบอีกเหมือนเคยค่ะ thematic analysis ก็เป็นแบบหนึ่งที่หา pattern ในข้อมูลแล้วนำเสนอออกมาเป็น themeๆไป พวกที่ทำ grounded theory ก็มีวิํธีวิเคราะห์ที่เป็นเรื่องเป็นราวมากค่ะทำ open coding ก่อนแล้วทำ axial coding ตามมา
วิธีวิเคราะห์ข้อมูลทำได้หลายแบบมากค่ะ ไม่ต้องไปยึดกับ label มากว่าเรียกว่าอะไร แต่เราต้องสามารถอธิบายเป็นขั้นๆได้ว่าเราทำอย่างไรบ้่าง

นอกจากน้อน การนำเสนองานวิจัยเชิงคุณภาพยังมีอีกหลายวิธีเช่น

  • narrative คือ เล่าเป็นเรื่องเลย มีการเดินเรื่องที่คิดมาอย่างดี
  • เอาผลไปวิเคราะห์แบบเชิงปริมาณยังได้เลยค่ะ นำเสนอเป็น descriptive statistics เป็น % เป็น ratio เป็นแผนภูมิต่างๆก็มีคนทำ
  • หรือทำเป็น documentary ทำหนังไปเลยก็มี
  • บางคนเขียนผลออกมาเป็นบทกวีก็มีค่ะ
แล้วแต่ว่าอยู่สาขาวิชาไหน มีปรัชญาการทำงานอย่างไร

3. การสัมภาษณ์ผู้ป่วยสมองเสื่อม

เรื่องนี้มี paper และ textbook ออกมาโดยเฉพาะเลยค่ะว่าใช้เทคนิคอะไรได้บ้าง เช่น ให้นั่งตรงหน้าผู้ป่วยเวลาถาม ห้ามพูดจากข้างหลังหรือข้างๆ ใช้คำถามสั้นๆ พูดชัดๆดัง อย่าใช้เสียงสูง (high pitched voice) เพราะไม่ได้ยิน บางงานวิจัยให้ตอบแต่ yes no

แต่เท่าที่มัทคุยมาก็คุยก็เป็นเรื่องเป็นราวได้ค่ะ แต่ท่านจะตอบซำ้ๆหรือไม่ตรงเรื่องค่ะ คือเข้าใจคำถามเราผิดไป หรือไปรำลึกความหลัง (ชอบเล่าเรื่องเก่าๆที่เหมือนจะเกี่ยวกับงานวิจัยเรา แต่มันไม่เกี่ยว) แล้วก็หลายๆครั้งก็จำไม่ได้จริงๆ  แต่หลายๆอย่างเราใช้วิธีสังเกตการณ์ได้ค่ะ ดูสีหน้าท่าทางได้ สัมภาษณ์อย่างเดียวยากค่ะ

ส่วนข้อมูลที่เป็น fact  เราก็ดูจาก medical chart ได้ หรือ ถามญาติได้

สิ่งที่ช่วยได้มากคือคุยกับท่านพร้อมญาติ หรือ ผู้ดูแลคู่ใจค่ะ  คนที่ดูแลท่านบ่อยๆจะรู้ว่าต้องพูดอย่างไร แล้วคนไข้เองก็คุ้นเคย คุยกันดีค่่ะ  มัทสัมภาษณ์พร้อมกันไปเลย เป็นคู่ๆไป เหมือนนั่งคุยกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่การ designและ objective งานวิจัยค่ะว่าทำได้ไม๊

ที่สำคัญคือ ต้องใจเย็นๆค่ะ  

หัวข้องานวิจัยคุณ ศิริกุล มัทเคยอ่านเจอค่ะ พอมีตัวอย่างดีๆให้ดูก็ทำให้ง่ายขึ้นเยอะค่ะ ต้องปรับให้เข้ากันบริบทตัวเองเท่านั้นเอง 

หวังว่าคำตอบของมัทพอมีประโยชน์บ้่างนะคะ โชคดีนะคะ

ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำที่มีประโยชน์ และช่วยทำให้คลายความกังวลไปมากทีเดียวค่ะ

ถ้ามีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อม ขออนุญาตเรียนสอบถามอาจารย์อีกนะคะ

ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆนะคะ ได้อ่านเรื่องชาสูงแล้วรู้สึกอิจฉาอาจารย์จัง ว่าอาจารย์จัดสรรเวลาได้เยี่ยมยอดมากเลยค่ะ แล้วขอให้กำลังใจอาจารย์เพื่อที่จะได้มีบันทึกดีๆอ่านกันต่อไปนะคะ

ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

ศิริกุล

 

ลูกศิษย์(โข่ง)research อ.มัท

อ.มัท ที่รัก,

ขออนุญาตคุย เอ๊ย ลปรร. กับเพื่อนร่วมทุกข์ คือ คุณ ศิริกุล ผ่านบ้านของอ.มัทได้ไหมเอ่ย?

  • คุณศิริกุลคะ คืิอตัวเองไม่ได้ทำวิจัยสายสุขภาพนะคะ ต้องออกตัวก่อน ทำสังคมศาสตร์ค่ะ แต่บังเอิิญเพิ่งไปค้น ๆ เกี่ยวกับเจ้าสองตัวที่คุณ ศิริกุลถามถึงพอดี  เลยขออนุญาตนำมาฝาก ไม่ทราบจะพอมีประโยชน์หรือเปล่า หรืออาจจะเคยเห็นมาแล้ว


  • อันแรกข้างบนนี้อธิบายเกี่ยวกับ Content Analysis ได้ครอบคลุมดีค่ะ  มีตารางด้วย ดูง่ายดี  ตัวเองเรียนเกี่ยวกับการสื่อสารมา เลยคิดว่าเข้าใจง่าย คล้าย ๆ ที่เคยเรียนสมัยป.ตรี
  • ส่วนอันต่อไปนี้ เนื่องจากการวิจัยจะต้องเกี่ยวข้องโยงใยไปถึงการวิเคราะห์สื่อ
  • ประเภทวรรณกรรมโบราณชนิดหนึ่งเข้าด้วย ค้นไปค้นมา ก็เลยไปเจอเกี่ยวกับ theme analysis เข้าด้วยน่ะค่ะ  มันแฝงอยู่ในนี้น่ะค่ะ
  • http://en.wikipedia.org/wiki/Theme_%28literature%29
  • ในส่วนที่เกี่ยวข้อง(กับของงานวิจัยตัวเองน่ะนะคะ) มันอยู่ตรงย่อหน้านี้ ของลิ้งค์อันที่ ๒ น่ะค่ะ
  • Themes differ from motifs in that themes are ideas conveyed by a text, while motifs are repeated symbols that represent those ideas. Simply having repeated symbolism related to chess, does not make the story's theme the similarity of life to chess. Themes arise from the interplay of the plot, the characters, and the attitude the author takes to them, and the same story can be given very different themes in the hands of different authors. For instance, the source for Shakespeare's Romeo and Juliet, Matteo Bandello's The Tragical History of Romeus and Juliet gave the story the theme of "the wickedness and folly of marrying without parental consent",
  • คือในแง่สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์แล้ว ทำไปทำมาแล้วจะวุ่้นวายไปกันใหญ่  เพราะเดี๋ยวจะมีเรื่องของ motif เข้ามาอีกด้วย  เพราะฉะนั้น ตรงนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับของคุณศิริกุลแล้ว  เลยแวะมาบอกแค่นี้  ตรงไหนเกี่ยวก็นำไปใช้ก็แล้วกันนะคะ  ขอให้โชคดีัค่ะ เอาใจช่วยนะคะ 
สวัสดีค่ะ อ.มัท ฮี่ ๆ ๆ

 

ขอบคุณที่มาร่วมด้วยช่วยกันจ้าาา
  • เรื่อง series นี้ของ อ.มัท น่าสนใจจริงๆ ค่ะ
  • เดี๋ยวกลับจากงานชุกช่วงนี้แล้ว จะกลับมาศึกษาอย่างละเอียดเลยนะคะ
  • ช่วงนี้ขอผ่านไปก่อนละค่ะ

บันทึกนี้มีประโยชน์และน่าอ่านมากเลยค่ะ เป็นกำลังใจให้อาจารย์มัท อีกคนนะคะ ถ้ามีโอกาสอยากทำงานวิจัยบ้างค่ะ แล้วจะเข้ามาขอคำแนะนำจากอาจารย์นะคะ

พี่หมอนนท์ (เพื่อนร่วมทาง): ช่วงนี้ยุ่งเหมือนกันค่ะ ไม่ได้ blog อะไรใหม่เลย รักษาสุขภาพด้วยนะคะ 

น้องใหม่ผ่านมา: ขอบคุณมากๆนะคะสำหรับกำลังใจ มีค่ามากค่ะ 

เรียน...อ.มัทนา

ผมเป็นนิสิตปริญญาโท จุฬาฯ ซึ่งตอนนี้ผมทำหัวข้อ Thesis เรื่อง "ข้อเสนอแนะสำหรับบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างไทยที่ต้องการดำเนินก่อสร้างในต่างประเทศ" ซึ่งขณะนี้ผมเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างไทยที่มีประสบการณ์งานก่อสร้างในต่างประเทศจำนวน 14 บริษัทเรียบร้อยแล้วครับ ซึ่งผมกำลังค้นหาเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพชื่อ Content Analysis โดยผมอยากทราบว่ามีขั้นตอนการวิเคราะห์อย่างไรบ้างครับ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์คือข้อเสนอแนะสำหรับบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างไทยที่ต้องการไปทำงานได้ทราบและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้ครับ รบกวนอ.ช่วยแนะนำหนังสือที่เกี่ยวข้องิหรือ softcopy ที่เกี่ยวข้องกับ Content Analysis ที่อ.มีอยู่เพื่อผมได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ต่อไปครับ

Best Regards,

ปริญญา.....

สวัสดีค่ะคุณปริญญา

software ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล, เรียบเรียง, code, แล้วก็สร้าง matrix หรือ modelภาพสรุป ชื่อ NVivo ของบริษัท QSR ค่ะ ตอนนี้มี version 7แล้ว

Lyn Richards คนคิดโปรแกรมนี้ได้เขียนหนังสื้อไว้ด้วยชื่อ

Handling Qualitative Data: A Practical Guide

เป็นหนังสือ how-to อ่านไปทำไปได้เลยค่ะ

แต่แนะนำให้อ่านหนังสือเล่มอื่นไปด้วยนะคะจะได้เข้าใจทฏษฏีด้วย

แนะนำของ Miles and Huberman ค่ะ

คำถามวิจัยของคุณแคบมาก  ต้องการแค่ข้อเสนอแนะแค่นั้นใช่ไม๊ค่ะ?

วิเคราะห์ไปท่องไปว่าเรากำลังหา  "ข้อเสนอแนะ"

ไม่ยากค่ะ จริงๆเสียดายนะคะ ข้อมูลดีๆที่สัมภาษณ์มาคงเยอะมาก ถ้าขยันนี่ทำ secondary analysis เขียนได้อีก paper เลยนะคะ

เอาใจช่วยค่ะ

 

 

เรียน...อ.มัทนา

ขอบคุณมากครับสำหรับคำแนะนำ สืบเนื่องมาจากที่สอบถาม อ.เบื้องต้นนะครับ ซึ่งตอนนี้ผมนำข้อมูลดิบที่ได้มาการสัมภาษณ์มาทำการ grouping ประเด็นที่สำคัญเรียบร้อยแล้วโดยใช้โปรแกรม Mind manager ครับ แต่ไม่แน่ใจว่าจะวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพอย่างไรต่อดีครับ เพราะลักษณะข้อมูลที่ผมเก็บมาได้มีเพียง 14 บริษัทค่อนข้างน้อยจึงอธิบายในเชิงปริมาณไม่ได้ จึงอยากให้ อ.ช่วยแนะนำหน่อยครับ ผมรบกวนขอ email อ.ด้วยได้ไหมครับจะได้ติดต่อกับ อ.ในรายละเอียดได้สะดวกขึ้นครับ ขอบคุณ อ.มัทนามากครับ

Best Regards,

ปริญญา.....

สวัสดีอีกครั้งค่ะ คุณปริญญา

เมลไปหาแล้วนะคะ แต่มาตอบที่นี่เผื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านท่านอื่นๆด้วย

อย่างที่เขียนไปค่ะว่า ต้องมาดูที่ข้อมูลดิบที่สัมภาษณ์มาแล้วว่าเป็นเชิงลึกขนาดไหน

ถ้าคำถามสัมภาษณ์ตรงไปตรงมา บรรยากาศตอนสัมภาษณ์เป็น structured interview คือ คนถามก็ถามตามโพยที่ถืออ่านในมือไปเป็นข้อๆ คนตอบก็ตอบมาเป็นข้อๆ  

พอถอดเทปออกมาแล้วนี่ 14 คน ก็ตอบไล่ลงมาเป็นข้อๆที่เรียงเป็นลำดับเดียวกัน บางคนตอบมาก บ้างคนตอบน้อยก็เท่านั้น

ถ้าแบบนี้ transcript มีเป็นเหมือน template เดียวกันก็ง่ายค่ะ ใช้ mind manager ทำ codeได้ จัดกลุ่มได้ เป็นข้อๆตามคำถาม

แต่ software NVivo ที่แนะนำไปนั้นจะมีประโยชน์มาก ถ้าการสัมภาษณ์เป็นแบบ semi-structured หรือ unstructured interviews หรือ ใช้จัดการและวิเคราะห์ field note หรือ เอกสาร มันช่วย organize ให้เป็นระบบ ช่วยให้เราย้อนกลับไปดูระบบความคิด ขั้นตอนการใช่เหตุผลในการจัดกลุ่มได้ดี เพราะ transcript ของการสัมภาษณ์แบบนี้มันไม่ได้มี pattern เดียวกันหมด นึกภาพออกไม๊ค่ะ

คือตอนต้นๆของการสัมภาษณ์คนที่ 1 พูดเรื่องนึง แต่ไอ้เรื่องเดียวกันนี้อาจไปโผล่ใน transcript หน้าที่ 6 ของการสัมภาษณ์คนที่ 2 ก็ได้

ุ่ถ้า transcript ของคุณเป็นแบบนี้ แนะนำว่า NVivo จะช่วยทำให้ชีวิตง่ายขึ้นมากค่ะ

แล้วเวลาคุณเขียนรายงาน คุณมี quotes ที่คุณจะยกมาเป็นหลักฐานใช่ไม๊ค่ะ

ถ้าคุณใช้ NVivo เนี่ยะ มัน trace กลับไปได้ว่า quote นี้เป็นของใครพูด อยู่บรรทัดไหนของ transcript ไหน

นี่คือข้อดีของ software ที่มากไปกว่าการใช้ word processor หรือ การทำ mind mapping ค่ะ

--------------------------------------------------- 

คุณน้องปริญญาเขียนว่าได้"ทำการ grouping ประเด็นที่สำคัญเรียบร้อยแล้ว" แปลว่ามี common themes ของ ข้อเสนอแนะแล้วใช่ไม๊ค่ะ

ส่วนมากเวลาเขียนรายงานก็จะ present  เป็น themeๆ แล้วในแต่ละ  theme ก็จะแบ่งย่อยเป็น categories บางคนย่อยไปอีกเป็น sub categories

แล้วแต่ละกลุ่มก็ยก quote ที่เด็ดๆมาเป็นตัวอย่าง ก็เป็นอันใช้ได้ค่ะ

---------------------------------------------------

ที่นี้มีประเด็นที่สำคัญไปกว่านั้นคือ

การเลือกที่จะใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพค่ะ

ถ้าตอนแรกคิดว่าจะทำงานเชิงปริมาณแต่จำนวน subject น้อยไป เลยหันเหมาทำเชิงคุณภาพนี่ต้องคิดหนักค่ะ

ต้องคิดหนักว่าไอ้ที่สัมภาษณ์มามันลึกจริงรึเปล่า

ในทางกลับกัน 14 บริษัทนี่จริงๆทำ  descriptive statistics ได้นะคะ ถ้าสัมภาษณ์มาแบบ structured  คือเราเขียนให้ดูเป็น  % ได้ว่ามีบริษัทที่ concern เรื่องนี้กี่ % เรื่องนั้นกี่ % แล้วก็ค่อยลงรายละเอียดว่า ข้อแนะนำเนื้อความว่าอะไรบ้าง เหมือนการนำเสนอคำตอบ open-ended question ใน survey แบบสอบถามทั่วๆไปนั่นเอง

เลือกดูดีๆนะคะว่า แบบไหนเหมาะกับข้อมูลดิบของเรา

แล้วก็เลือกดู ว่า audience ของเราคือใคร เค้าต้องการอ่านรายงานแบบไหน  การรายงานแบบไหนจะเข้าถึงใจเค้ามากกว่า

โชคดีค่ะ 

 

 

ถึง.... พี่มัท ที่เคารพรักครับ

ขอบคุณมากครับสำหรับคำแนะนำ ผมอยากให้พี่ดูนะครับว่าข้อมูลที่ผมสรุปมาได้และทำการ Grouping เพื่อ Brainstorm ความคิดโดยใช้ Mindmap และทำเป็น Check List เพื่อดูว่าในแต่ละประเด็นมีบริษัทใดให้ความเห็นบ้าง คล้ายกับแนวทาง cross case analysis ที่พี่มัทแนะนำไหมครับ ซึ่ง Email ครั้งนี้ผมส่งแบบสอบถามและบทที่ 4 ที่ได้เขียนไว้แล้วเปื้องต้นให้พี่มัทช่วยแนะนำว่าสามารถเขียนต่อได้อย่างไรดีครับ พอดีเขียนลักษณะบรรยายจากตารางอย่างไรดีครับให้ดูเป็นการวิเคราะห์ ซึ่งผมถึงทางแล้วครับพี่ เขียนไม่ออกครับ ขอบคุณพี่มัทมากนะครับ 

Best Regards,
ปริญญา......

ผู้เขียนกับน้องปริญญาได้เขียนเมลคุยกันในรายละเอียดนอกรอบไปเรียบร้อนแล้ว

แต่อยากแวะมาบอกท่านผู้อ่านที่อยากเขียนมาคุยกันว่า คราวหน้าขอเป็นคำถามเฉพาะ เป็นข้อๆไปดีกว่านะคะ จะได้ตอบให้ส่วนรวมได้อ่านกันด้วย

ผู้เขียนยินดีช่วยทุกท่านเพราะเห็นใจที่เราร่วมชะตาเดียวกัน แต่ก็ต้องขอโทษด้วยที่ยังไม่ว่างมากพอที่จะอ่านงานยาวๆให้ได้ (อีกแล้ว) ขอเป็นคำถามเจาะจงไปเลยนะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์มัท

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพนะคะ

ขอโทษที่ห่างหายไปนาน เพราะต้องเตรียมเอกสารเพื่อการพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมในการวิจัยในมนุษย์ทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาษาไทยค่ะ เพิ่งจะผ่านการพิจารณาของมหาวิทยาลัยฯ และกำลังรอผลของเมืองไทยค่ะ  

เรียน คุณลูกศิษย์(โข่ง)research อ.มัท

ขอบพระคุณที่กรุณาให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนกำลังใจที่มอบให้นะคะ ตอนนี้กำลังศึกษาเพิ่มเติมจากลิงค์ที่อาจารย์ส่งมาให้แล้วค่ะ ขอบพระคุณมากๆค่ะ ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายและกระบวนุการทำเพิ่มมากขึ้นค่ะ

ศิริกุล

 

สวัสดีค่ะคุณศิริกุล

ยินดีด้วยค่ะ เหลือแต่รอ ถ้าผ่าน ethic committee แล้วก็เริ่มงานได้เต็มตัวแล้วค่ะ : ) เตรียมใจว่าอาจต้องมี clarification นะค่ะ แต่ก็ไม่แน่ค่ะ เมืองไทยอาจไม่ต้อง(ถ้าเมืองนอกมีแน่ ไม่ค่อยมีคนได้ approval ในการส่งเอกสารครั้งแรกเท่าไหร่)

แต่ได้ข่าวว่า committee เมืองไทย นานๆเจอกันที รออนุมัตินานหน่อย บางโรงพยาบาลที่ไม่เคยมีคนมาขออนุมัติเป็นเรื่องเป็นราวแบบนี้ บางทีก็ต้องตามมากหน่อย เพราะผู้บริหารไม่เคยก็เลยไม่ตัดสินใจเซ็นซักที

ยังไงขอให้ราบรื่นนะคะ เอาใจช่วยเต็มที่ค่ะ 

วันนี้ก็ไป brush up การใช้ software NVivo 7 มาที่ workshop  ที่โรงเรียน

วิทยากรก็เป็นนักเรียน PhD ด้วยกันนี่แหละค่ะ เป็นพยาบาลผู้ชาย {จริงๆเป็นผู้ฉิง : ) ค่ะ} ที่มาเรียนเอกตอนอายุมากแล้ว เค้าสอนเก่งมาก ตลกดีด้วย ว่างๆจะมาลองเขียน tips ที่เค้าสอนใน blog ดูบ้าง  

เรียน อาจารย์ที่เคารพ

ผมมีความสนใจในการทำวิจัย(มือใหม่) ในเรื่องการใช้เวลาว่างของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน คืออยากรู้ว่าเขาทำอะไร ยัง ที่ไหน เพราะเหตุใด ในแต่ละวัน จะได้นำผลงานวิจัยมาปรับให้เข้ากับอรยบทในการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลอะครับ  

- อยากให้เป็นเชิงคุณภาพต้องออกแบบอย่างไรดี

- การเก็บข้อมูล +เครื่องมือ

- การวิเคราะห์ข้อมูล

- การสรุป

รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำครับ

ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ นายชัดเจน

ตอบหมดคงไม่ได้นะคะ เดี๋ยวจะกลายเป็นว่ามัทนาเขียน proposal ให้อ่ะค่ะ แฮะๆ

เท่าที่อ่านดูมัทคิดว่าคุณชัดเจนกำลังอยู่ในอาการที่พบได้ทั่วไปคือ "เริ่มไม่ถูก"

----------------------------------------

 

คุณชัดเจนพอมีไอเดียแล้วว่า

goal กว้างๆคือ ต้องการทราบว่าผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนเค้าทำอะไรกันยามว่าง

ทีนี้มัทสงสัยค่ะว่า

1. ใครคือผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนที่คุณชัดเจนต้องการศึกษาค่ะ วัยทำงานคือยังไม่ถึง 60 ปี หรือ ผู้สูงอายุด้วย?

2. เวลาว่างคือเวลาไหน ต่อเน่ืองจากคำถามข้อแรกค่ะ ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่อยู่บ้านไม่ทำงานนอกบ้านหล่ะ ว่างทั้งวัน ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่ทำงาน เช่นไปช่วยงานที่ชมรมผู้สูงอายุ ไปช่วยงานที่วัด  หรือกลุ่มแม่บ้านหล่ะ  แบบนั้นเรียกว่า การใช้เวลาว่างหรือการทำงาน

ที่มัทถามคือขั้นตอนที่เรียกว่า การนิยามกลุ่มเป้าหมาย และ สิ่งที่ต้องการศึกษา ค่ะ

ถามต่อนะคะ

3. ท้ายที่สุดแล้วคุณเห็นว่าผล (findings) ที่ได้จะช่วยอะไรได้บ้าง ถามตัวเองให้ละเอียด เช่น คุณอยากทราบว่าตอนที่ผู้ป่วยว่างเขาทำอะไร เพื่อที่จะได้สร้างกิจกรรมยามว่างที่มีประโยชน์ให้เขา หรือเพื่อที่จะได้ข้อมูลว่าเขาทำอะไรที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงบ้าง ไม่ว่าจะเวลางานหรือเวลาว่าง

เริ่มเห็นความแตกต่างมั้ยค่ะ ถ้าตอบข้อแรก คุณก็ยังคงต้องเจาะจงกับ"เวลาว่าง"ต่อไป แค่ต้องนิยามให้ชัดเท่านั้นเอง

แต่ถ้าตอบข้อหลัง ก็ไม่ต้องไปเจาะจงว่าจะศึกษาเวลาผู้ป่วยว่างเท่านั้น

จุดนี้สำคัญนะคะ เพราะเป็นการร่าง research objective กับ research question ค่ะ

----------------------------------------

ลองดู  คำถามเหล่านี้นะคะ

  • ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลอย่างไรบ้าง
  • ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนมีพฤติกรรมยามว่างที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลอย่างไรบ้าง
  • ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างไรบ้าง

หรือ

  • อะไรเป็นปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรมเสี่ยงผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
  • อะไรเป็นปัจจัยเสริมใหผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน้ควบคุมระดับน้ำตาล

ลองคิดต่อดูนะคะ ว่า คำถามวิจัยของเราคืออะไรกันแน่

ทำเป็น 1 คำถามใหญ่กว้างๆที่มี sub-questions หรือ คำถามย่อยๆแยกออกมากก็ได้ค่ะ

----------------------------------------

นอกจากนี้แล้วต้องดูด้วยว่า มีเวลาและทรัพยากรในการทำงานชิ้นนี้มากเท่าไหร่

จะได้รู้ว่าเราควรถามคำถามวิจัยลึกหรือกว้างแค่ไหน และควรมี คำถามมากข้อหรือน้อยข้อเป็นต้นค่ะ

ลองคิดๆดู พร้อมอ่านหนังสือ หรือ เอกสารเรื่องวิธีวิจัยแล้วมาคุยกันต่อได้ค่ะ

 

 

เป็นนักศึกษาที่อยากทราบคำตอบ

1.ท่านมีความรู้เกี่ยวกับสถิติเพื่อวิจัยอะไรบ้าง จะนำสถิติการวิจัยมาใช้ในงานวิจัยของท่านอย่างไร

2.เมื่อผู้บังคับหน่วยงานมีบัญชาให้ท่านทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาหน่วยงาน ท่านจะวางแผนการวิจัยของท่านอย่างไร โดยสอดคล้องกับหน่วยงาน

3. ในฐานที่ท่านเป็นนักศึกษา จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนางานอย่างไร (ให้อธิบายแนวคิด ทฤษฎี)

4.ถ้านักศึกษาเป็นผู้ออกข้อสอบ Comprechensive จะถามอะไรบ้าง

ผู้ใดทราบคำตอบหรือมีแนวคิดในเรื่องเหล่านี้ กรุณาให้ความอนุเคราะห์ตอบหน่อยนะ อยากทราบแนวคิดของท่าน ขอบพระคุณอย่างสูง

จะรอนะค่ะ

กล้าถามมากค่ะ ไม่กลัวคนตั้งคำถามมาอ่านเจอเหรอค่ะ

แต่กล้าถามก็กล้าตอบค่ะ เฮอะๆ

แนวคิดของผู้เขียนบล็อคนี้มีดังนี้ค่ะ

1. คำถามชัดเจนแล้วค่ะ ถามความรู้ ไม่ได้ถามความคิดเห็น รู้อะไรก็ตอบไปเท่านั้นค่ะ แต่ละคนไม่เท่ากันแน่

2. คำถามมี 2 ส่วน คือจะดูว่า 1) วางแผนงานวิจัยเป็นหรือไม่ 2) ทำงานสอดคล้องกับแนวทางของหน่วยงานได้หรือไม่ และทำอย่างไรให้ได้รับความร่วมมือ

3. ก็แล้วแต่สาขาวิชาค่ะ แล้วความรู้ที่ได้ในวิชานี้หรือโปรแกรมคืออะไรคะ  เรียนทฤษฎีอะไรมาบ้างก็ตอบไปเลยว่าจะประยุกต์ใช้ในงานอย่างไร

4. ก็แล้วแต่ว่าเรียนสาขาอะไรอีกอ่ะค่ะ แต่ให้โยงกับภาพรวมได้น่าจะดีกว่าถามคำถามเจาะจงปลีกย่อยๆ

และที่สำคัญ....คำถามทั้งหมดไม่เกี่ยวกับบันทึกนี้เลยค่ะ ถ้านำไปปรึกษาที่อื่นน่าจะมีประโยชน์ต่อท่านเองและผู้อ่านท่านอื่นๆมากกว่าที่นี่ค่ะ

สวัสดีครับ อ.มัท

ขอบพระคุณมากครับ สำหรับคำตอบ กระจ่างขึ้นมากเลย ถามต่อเลยนะครับ

1.ใจจริงผมอยากถามวัยผู้ใหญ่ที่ไม่เจ็บป่วยมากเลย เพราะไม่ค่อยออกกำลังกายหรือดูแลสุขภาพตนเองเท่าไหร่ มักบอกว่าไม่มีเวลา(โดยเฉพาะพี่ๆเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้วยกัน...ผมเป็นพยาบาลเพิ่งจบใหม่ ยังไม่ค่อยกระจ่างเรื่องวิจัยเท่าไร แต่พอมีไอเดียอยู่บ้าง) แต่จุดนี้ผมคลุกวงในอยู่กับผู้ป่วยเบาหวานเป็นประจำ ซึ่งก็มีบางรายที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ค่อยได้ ทั้งซักประวัติ+เยี่ยมบ้านก็ยังหาปัจจัยเหล่านั้นไม่กระจ่างเท่าไรนัก โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่อายุน้อยกว่า60ปีอะครับ

2.-

3.finding ของผมจริงคือ เพื่อที่จะได้ข้อมูลว่าเขาปัจจัยใดที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงในการควบคุมระดับน้ำตาล ไม่ว่าจะเวลางานหรือเวลาว่าง อะครับ

  • ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างไรบ้าง
  • เรื่องทรัพยากรนั้นมีจำกัดครับ......น่าจะแบบนั้น

    ขอบพระคุณครับ

     

    ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำตอบ

    แต่คำตอบที่ตอบมานะไม่ชัดเจนเลย

    เหมือนถามกลับมาอีก งง

    ไม่เป็นไรค่ะ ขอบคุณมากๆๆนะ

    (ไม่กลัวคนตั้งคำถามมาเจอหรอก เพราะไม่ใช่ความลับอะไร แต่ต้องการสอบถามความคิดเห็นของใครก็ได้นะค่ะ) ขอบคุณอีกครั้ง ขอบคุณค่ะ

    อยากให้ตอบตรงคำถามจังเลย

    รอๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    ถึงคุณนักศึกษาที่อยากทราบคำตอบ

    "แต่คำตอบที่ตอบมานะไม่ชัดเจนเลย

    เหมือนถามกลับมาอีก งง"

    ---------------------------------------------

    สวัสดีอีกครั้งค่ะ

    ตั้งใจถามกลับค่ะ เพราะตอบให้ไม่ได้หรอกค่ะ นอกจากคำถามมันขึ้นกับบริบทของคุณเองแล้ว ตอบไปให้ก็ไม่มีประโยชน์ต่อใครเลยค่ะ

    คุณก็จะไม่ไปค้นคว้า และ ไม่ได้คิดใคร่ครวญหาคำตอบด้วยตัวเอง ถึงตอบได้เดี๋ยวก็ลืมค่ะ

    ถ้า "งง" ก็คิดต่อเล่นๆไปเรื่อยๆสิค่ะ คิดไม่ออกก็หาอ่านเพิ่มจากหนังสือหรือบทความดู

    ---------------------------------------------

    อ่ะ ลองใหม่นะคะ จะขยายความให้

    • คำตอบของคำถามข้อ 1 นี่ คุณเรียนวิชาสถิติแบบไหนมาบ้าง เคยใช้แบบไหนทำวิจัยมาก็ตอบไป รู้แค่ไหนก็ตอบไปเท่านั้น รู้แค่ descriptive stat หรือ ทำ ANOVA, regression analysis, factor analysis หรือพวก non-parametric stat ได้ด้วย ก็ว่าไปค่ะ แล้วคุณจะนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยแบบไหนก็ว่าไปตามสาขาที่คุณเรียนมาค่ะ

    *** ย้ำอีกครั้งนะคะ บันทึกนี้คือเรื่อง งานวิจัยเชิงคุณภาพนะคะ ตอบเรื่องงานวิจัยเชิงปริมาณมากก็เปลืองเวลาผู้อ่านท่านอื่นค่ะ

    • ข้อ 2 นี่ สรุปไปเป็นข้อๆเลยค่ะ ว่าจะวางแผนงานวิจัยอย่างไร เรียนมาแล้วต้องตอบได้ค่ะ แค่อย่าลืมว่าต้องเขียนเรื่องการทำงานเป็นทีม การทำงานให้เข้ากับนโยบายของหน่วยงาน หรือถ้าคิดว่านโยบายไม่ดีต้องเปลี่ยนะจะเปลี่ยนอย่างไรก็ว่าไปค่ะ หน่วยงานไหนก็ไม่รู้ สาขาไหนก็ไม่รู้ ตอบให้ไม่ได้หรอกนะคะ
    • ข้อ 3 นี่ขอยืนยันคำตอบเดิมค่ะ ช่วยได้แค่นี้จริงๆเพราะไม่ทราบว่าเรียนทฤษฎีอะไรมาบ้างอ่ะค่ะ
    • ข้อ 4 นี้ทำให้พอเดาได้ว่าคงเรียนเอกอยู่ (หรือไม่ก็กำลังสมัครเป็นอาจารย์) บอกเคล็ดให้ข้อนึงค่ะ ก่อนที่จะสอบอะไรก็ตาม ให้ดูวัตถุประสงค์ของวิชาหรือของโปรแกรม คือให้อ่าน Course Syllabus ก่อนเลยค่ะ ดู objective ก่อนเลยว่าเค้าต้องการให้เราได้เรียนรู้อะไรถึงจะผ่าน เราก็ตอบให้ตรงวัตถุประสงค์ของวิชาหรือของโปรแกรมค่ะ

    ขยายแล้ว น่าจะไปคิดหาคำตอบต่อได้บ้างนะคะ

    --------------------------------------------

    พูดตามตรงเลยนะคะ คุณโชคดีมากที่อาทิตย์นี้ ผู้เขียนมีเวลาว่างเพราะมีประชุมวิชาการไม่ต้องดูคนไข้ 2 วัน เลยมาตอบได้พอดี ที่ตอบคุณไปครั้งแรกนั้น คิดว่าคุณจะรู้ตัวแล้วไม่กล้ากลับมาเขียนความเห็นอีก

    แต่....แฮะๆ ท่าท่างจะอยากได้คำตอบแบบทางลัดมากจริงๆ

    เห็นใจค่ะ แต่ไม่อยากให้ปลาโดยไม่ให้เบ็ดหรือไม่สอนวิธีตก หวังว่าคงเข้าใจนะคะ

    --------------------------------------------

    คุณนักศึกษาบอกว่า

    "ไม่กลัวคนตั้งคำถามมาเจอหรอก เพราะไม่ใช่ความลับอะไร แต่ต้องการสอบถามความคิดเห็นของใครก็ได้นะค่ะ"

    งั้นลองกลับไปถามคนตั้งคำถามดีมั้ยค่ะ ถ้าคุณคิดว่าคำถามมันกำกวม ไม่เข้าใจ จนต้องมาถามคนอื่น หรือคุณเห็นว่าถ้าตอบหมดมันต้องตอบยาว (อย่างข้อ 2 และข้อ 3 เป็นต้น) หรือว่าจริงๆคุณเข้าใจแต่ว่าอยากดูว่าคนอื่นตอบอะไรบ้าง จะได้ตอบของตัวเองได้ครบครอบคลุม? ถ้างั้นไปถามเพื่อนที่เรียนด้วยกันหรือรุ่นพี่ไม่ดีกว่าหรือค่ะ ตรงสาขากว่า หรือว่าเค้าไม่ให้คุยกัน? เพราะคุณบอกว่าไม่ใช่ความลับ ก็น่าจะปรึกษากันได้ ถ้าเค้าไม่ให้คุยกันแล้วมาคุยที่นี่

    ระวังมีคนตรวจ IP address นะคะ : )

    --------------------------------------------

    ลองดูนะคะ ไปคิดและค้นเพิ่ม การได้คำตอบมาแบบลงมือลงแรงหน่อย จะทำให้เราเข้าใจและจำคำตอบได้ไปอีกนานค่ะ

    สวัสดีค่ะอีกครั้งค่ะนายชัดเจน

    ชัดเจนขึ้นนะคะ คราวนี้คุณทราบแล้วว่า

    • นิยามของกลุ่มประชากรที่สนใจคือใคร ที่ไหน: ผู้ป่วยเบาหวานที่อายุน้อยกว่า 60ปี ในชุมชนที่รพ.ดูแลอยู่
    • ได้วัตถุประสงค์งานวิจัยแล้วด้วย:  เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการควบคุมระดับน้ำตาล
    • แถมได้คำถามวิจัยแล้วอีกต่างหาก: ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างไรบ้าง

    ทีนี้มาอ่านดูดีๆอีกรอบนะคะ มันมีอะไรทะแม่งๆอยู่

    คือธรรมดาเนี่ยะคำถามวิจัยมันจะล้อไปกับวัตถุประสงค์งานวิจัย

    คุณต้องตัดสินใจอีกทีว่าต้องการค้นหา

    พฤติกรรมเสี่ยง (เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย และ ติดหวาน) หรือ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง (เช่น ทำงานหนักไม่มีเวลาจริงๆ ไม่มีสถานที่ออกกำลังกาย โครงสร้างของชุมชนไม่เหมาะกับการออกกำลังกาย ไม่รู้ว่าการทำงานบ้านทำสวนก็เป็นการออกกำลังกาย มีทัศนคติที่ทำให้ไม่ออกกำลังกาย หรือ อาหารท้องถิ่นเป็นอาหารที่มีค่า GI สูง มีผู้มีอิทธิพลแทรกการขายของหวาน หรือของหวานมีนัยทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญ)

    เห็นความต่างมั้ยค่ะ มันมีระดับความลึกของความเป็นเหตุเป็นผลต่างกัน

    ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง

    ก็แบ่งได้หลายประเภทคือ แบบส่งเสริมให้ + หรือ เร่งให้ -

    หรือแบ่งเป็น predisposing reinforcing enabling factors ก็ได้

    มัทแนะนำให้คุณชัดเจนใช้ PRECEDE/PROCEED model เป็นกรอบความคิดในการทำวิจัยนี้ค่ะ จะช่วยได้ทั้งการตั้งคำถามที่ชัดเจนมากขึ้นไปอีก แถมยังช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ะ

    ทำให้คุณทราบว่าต้องมองหาอะไร

    แล้วก็ช่วยเป็นกรอบการใช้ "ภาษา" ทำให้ทราบ "ชื่อเรียก" - "สิ่งต่างๆ" ที่คุณค้นพบได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับนักวิจัยที่อื่นที่ศึกษาเรื่องเดียวกัน

    --------------------------------------------

    เอ แต่อ่านดูดีๆ คุณบอกว่า

    "ผมอยากถามวัยผู้ใหญ่ที่ไม่เจ็บป่วยมากเลย"

    1. ทำไมต้องเป็นกลุ่มที่ไม่เจ็บป่วยหล่ะค่ะ (ไม่ต้องตอบมัทนะคะ ตอบตัวเองให้ได้ก็พอ)

    2. งานวิจัยเชิงคุณภาพ ไม่จำเป็นต้อง สัมภาษณ์ หรือ "ถาม" อย่างเดียวค่ะ จะสังเกตการณ์ หรือ วิเคราะห์เอกสาร ด้วยก็ได้ จะให้เก็บไดอารี่ก็ได้ หรือจะทำเป็นงานวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ก็ได้  หรือจะทำเป็น mixed method ก็ได้ ลองอ่านวิธีวิจัยหลายๆแบบดูก่อนที่จะออกแบบงานของคุณเอง ดูว่าแบบไหนเหมาะกับเวลาที่มีด้วย เหมาะกับบริบทชุมชนด้วย ใช้หลายวิธีก็เอามา triagulate ได้ เพิ่มความน่าเชื่อถือให้งานด้วย

    --------------------------------------------

    หวังว่าช่วยได้บ้างนะคะ

    สวัสดีครับ อ.มัท

    ผมเอาไปคิดต่อได้เยอะเลยครับ

    ถ้ามีปัญหา ก็คงได้มารบกวน Blog อ.มัท อีกหลายรอบแน่เลยอะครับ ผมคงยังต้องศึกษาอีกเยอะเลย ขอขอบพระคุณมากครับ

    หมอน้อย อนามัย.

    ขอบคุณค่ะ

    จะไม่เข้ามารบกวนอีกแล้วค่ะ

     

    หมอน้อย อนามัย (นายชัดเจน): ยินดีค่ะ ดีใจที่คุณตอบมาว่า "ผมเอาไปคิดต่อได้เยอะเลยครับ" เป็นคำตอบที่ชื่นใจมาก

    ตอนที่มัทเรียนเรื่องงานวิจัยเชิงคุณภาพใหม่ๆ มัทใช่วิธีคิดแย้งงานตัวเอง วิพากษ์ความคิดตัวเอง แล้วก็พยายามหาคำตอบให้ตัวเองให้ได้ อ่านดะเลยค่ะ อ่านทั้งตำรา ทั้งบทความงานวิจัยคนอื่น แล้วก็คุยกับอาจารย์ กับเพื่อนๆ ช่วยได้มากค่ะ ติดตรงไหนก็เข้ามาได้ใหม่ค่ะ ถ้ามีเวลาก็มาลปรร.แน่นอน

    คุณนักศึกษาที่อยากทราบคำตอบ: หวังว่าคำตอบที่ให้ไปนั้นมีประโยชน์ต่อคุณนักศึกษาบ้าง ไม่มากก็น้อยนะคะ

    ถ้าจะเข้ามาถามเรื่องงานวิจัยเชิงคุณภาพเมื่อไหร่ก็มาได้เลยค่ะ ไม่เป็นการรบกวน แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่นคงไม่เหมาะค่ะ น่าจะมีบันทึกอื่นหรือบล็อกอื่นที่เหมาะกว่า ถ้านี่คือข้อสอบ comprehensive ก็ขอให้สอบผ่านนะคะ

     

    สวัสดีครับ อ.มัทที่เคารพ

    หายไปนานเลย คือพยายามไปคิดต่อจากที่อ.มัท ได้แนะนำไว้ ก็ไม่รู้ว่ามาถูกแนวรึเปล่าจึงขอรบกวนอ.มัทช่วยขัดเกลา+แนะนำโครงร่างงานวิจัย(อีกที)ด้วยครับ

    ผมส่งเมล์ไปแล้วนะครับ

    นายชัดเจน: ยังไม่ได้เมลเลยค่ะ ลองส่งมาใหม่นะคะ

    อ.มัทได้รับเมลล์ผมยังครับ ส่งไปรอบ2แล้ว....ลุ้นๆๆๆ

    นายชัดเจน: ได้เมลแล้วค่ะ อ่านแล้วแต่ขอเวลา 1 วันนะคะจะมาตอบ พอดีพรุ่งนี้มี presentation ต้องเตรียมค่ะ

    อ.มัทครับ proposal ผมเป็นอย่างไรบ้างครับ เปิดดูทุกวันเลย....แง่มๆ

    อ้าว เมลไปตอบตั้งแต่วันที่ 25 แล้วอ่ะค่ะ ที่ jane_casnov ณ yahoo

    ไม่เป็นไรค่ะ ส่งให้ใหม่แล้วค่ะ มี save ไว้ใน sentbox พอดี

    โดยรวมส่วนคำถามกับวัตถุประสงค์ก็โอเคค่ะ ก็แค่ต้องมาคิดต่อเรื่องวิธีวิจัยว่า ถ้าจะตอบคำถามแบบนี้จะ ใช้วิธีอะไรได้บ้าง

    นักวิจัยมือใหม่หรือมือเก่าหลายๆท่านมักจะยึดติดกับ method ใด method หนึ่ง แล้วคิดว่าจะใช้วิธีนั้นๆตั้งแต่ยังไม่ได้ตั้งคำถามวิจัย

    แบบนี้จะเป็นการปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์และอาจใช้วิธีวิจัยที่ไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการ

    งานวิจัยเชิงคุณภาพก็มีหลายประเภท เช่น Phenomenology, Grounded theory, Ethnography, Case study, Qualitative evaluation, หรือกว้างๆ คือ เป็น Narrative research ฯลฯ

    เราก็จะต้องมาดูด้วยเวลาและทรัพยากรที่มีว่า เราพอใช้วิธีไหนได้บ้าง

    ขอบพระคุณมากครับ....+-+

    อ.มัทครับ คือว่าผมยังไม่ได้รับเมล์ของอาจารย์เลยอะครับ

    รบกวนอ.มัท ส่งมาที่ [email protected] ลองดูได้ไหมครับ

    ไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร

    ขอบพระคุณครับ

    ส่งไปอีกรอบแล้วนะคะ

    ยังไงให้ดูที่ junk mail folder ด้วยนะคะ

    เพราะถ้าเป็นเมลจากคนส่งที่ไม่ได้มีข้อมูลใน address book มันอาจจะเด้งไปที่กองจม.ขยะหน่ะคะ

    คุณครรชิต แสนอุบล (มหา)

    เรียน อ.มัทครับ

    ก่อนอื่นขอชื่นชมในการตอบคำถามของอาจารย์ว่าตอบได้นุ่มนวลและได้ความรู้ดี ชื่นชมจากใจจริงครับ ผมเองเรียนทางด้านจิตวิทยาการปรึกษา(Counseling psychology) ก็มีความสนใจที่อยากจะทำวิทยานิพนธ์ในงานวิจัยเชิงคุณภาพเหมือนกันครับ ผมขอเล่าพื้นฐานความเป็นมาแห่งความอยากพร้อมกับคำถามเลยนะครับ

    ๑.ผมเรียนทางด้านจิตวิทยาการปรึกษาตามแนวพุทธครับ โดยเอาพุทธธรรมเป็นพื้นฐานของการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

    ๒.โดยส่วนตัวผมเอง เรียนมาทางด้านพุทธธรรมค่อนข้างมาก (ผมเป็นมหาเปรียญเก่าครับ)จึงมีความสนใจที่อยากจะศึกษาเรื่อง "ทุกข์"ที่อยู่ในใจของแต่ละคนว่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไร มันทำงานแบบไหน (ผมมองว่า ทุกข์ ในใจคนมันเป็นไดนามิค ที่มีการขับเคลื่อนเกิดขึ้นครับ)

    ๓.ที่ผมสนใจอย่างนี้ ก็เพราะผมเห็นคนบางคนกลับฆ่าตัวตายเพราะถูกความทุกข์บีบคั้น ในขณะที่พระสงฆ์องค์เจ้าบางรูปกลายเป็นผู้ไม่มีทุกข์อะไรเลย

    ๔.ผมคิดว่า จะศึกษากระบวนการเกิดขึ้นของทุกข์กับคนที่มารับบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา เพื่อดูกระบวนการเกิดขึ้นของทุกข์ในใจของผู้รับบริการที่มันทับซ้อนอยู่จะได้ไหมครับ และผมก็อยากจะไปสัมภาษณ์พระที่คนทั่วไปรับรู้ว่าท่านพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง เพื่อนำมาเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างกัน มันจะเป็นรูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพได้ไหมครับ

    ๕.หรืออ.มัท เห็นสมควรว่าสิ่งไหนขาดไป หรือสิ่งไหนเกินไป ก็ขอความคิดเห็นด้วนนะครับ

    จาก..มหา

    สวัสดีค่ะท่านมหา

    มัทสนใจงานวิจัยของท่านมหามากๆเลยค่ะ เรื่องนี้ต้องคุยยาวเพราะมีหลักทางปรัชญาบางอย่างที่ต้องตีให้แตก นั่นคือเรื่อง "การมองอย่าง objective ของนักวิจัย" เพราะว่าศาสนาพุทธเราสอนให้ทำได้ ในขณะที่หลักการพื้นฐานของงานวิจัยเชิงคุณภาพเชื่อว่ามันทำไม่ได้ เราต้องให้ความสำคัญกับ ความรู้สีกและความหมายของประสบการณ์....จริงๆถ้าตีตรงนี้ให้แตก เราก็สามารถใช้งานวิจัยเชิงคุณภาพตอบคำถามวิจัยที่ท่านมหาสนใจได้ค่ะ แต่ต้องออกแบบงานวิจัยดีๆ ตอนนี้มัทไม่แน่ใจว่าหารสัมภาษณ์พระและคนไข้มาเทียบกันจะทำให้ได้คำตอบอ่ะค่ะ

    เป็นมัทมัทจะใช้ purposeful sampling หาพระที่เคยผ่านทุกข์ เคยเป็นคนไข้จิตเวช หรือ เคยมีปัญญาชีวิตอะไรซักอย่าง (ท่านมหาต้องคิด criteria ให้แม่นๆ เพื่อที่จะหาคนที่เป็นคนที่มีข้อมูลที่เราต้องการแบบลึกซึ้ง) แล้วเราค่อยสัมภาษณ์ท่านเหล่านั้น หรือไม่ต้องเป็นพระก็ได้ค่ะ ชี หรือ คนธรรมดาที่ปฏิบัติธรรมก็ได้

    ใช้ phenomenology ศึกษาประสบการณ์เค้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

    วันนี้มัทยุ่งมาก ขอเข้ามาอีกทีวันพฤหัสนะคะ

    อยากตอบยาวๆค่ะ : )

    อาจารย์คะตอนนี้เครียดมากกับการทำวิทยานิพนธ์เพราะผ่านมาหลายเดือนยังไม่มีความก้าวหน้าเลย จนไม่กล้าไปพบอ.ที่ปรึกษาเลย ซึ่งประเด็นที่สนใจเกิดมาจากคำถามว่าทำไมญาติผู้ป่วยจึงตัดสินใจที่จะเลือกใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายทั้งๆที่ทราบว่าเป็นเพียงการยืดชีวิต และขัดต่อความต้องการของผู้ป่วย และแพทย์ก็ต้องทำตามความประสงค์ของญาติทั้งที่รู้ว่าผู้ป่วยต้องทรมาน โดยอยากทำในด้านการให้ความหมายของญาติ ซึ่งต้องทำเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวคิดทางด้านสังคมวิทยาและมนุษยวิทยาซึ่งตัวเองทำงานทางด้านสายวิทยาศาสตร์ (แต่ดันเรียนโทด้านสังคม) เลยไม่รู้จะเริ่มอย่างไร จับต้นชนปลายไม่ถูกตั้งแต่เริ่มหัวข้อแล้ว ไม่รู้ว่าจะไปรอดหรือเปล่า ตอนนี้ก็ปี3จะปีที่4แล้ว อธิบายเสียยืดยาวขอโทษอาจารย์ด้วยค่ะ ขอความกรุณาอาจารย็ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ yudya

    ค่อยๆตั้งหลักนะคะ ในคำถามของคุณ yudya มีคำตอบอยู่ในนั้นแล้ว

    หัวข้อวิจัยน่าสนใจมากค่ะ เป็นเรื่องที่เหมาะต่อการใช้งานวิจัยเชิงคุณภาพแล้วเพราะเกี่ยวกับ value และ ethic

    คำถามวิจัยคือ "ทำไมญาติผู้ป่วยจึงตัดสินใจที่จะเลือกใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายทั้งๆที่ทราบว่า...โดยอยากทำในด้านการให้ความหมายของญาติ"

    มี 2 ประเด็นที่ต้องตีให้แตกคือ

    1. "คำตอบที่ต้องการคือคำอธิบายว่าทำไม...." - ประเด็นนี้คือต้องมาดูว่าเป็นคำถามท่ีมีประโยชน์หรือไม่อย่างไร

    2. "research participant คือญาติผู้ป่วยที่ตัดสินใจให้ใส่ tube ทั้งๆที่รู้" - ประเด็นนี้เป็นการตัดสินใจว่าจะ recruit + sample participants อย่างไร

    ------------------------------------------------------------

    มาดูที่ประเด็นหลังก่อนนะคะ ต้องคิดให้หนักว่า เราจะไปศึกษากับญาติของผู้ป่วยที่

    • ตัดสินใจให้ใส่ tube ไปแล้วแต่คนไข้ยังไม่เสียชีวิต
    • ตัดสินใจให้ใส่ tube ไปแล้วจนคนไข้ก็เสียชีวิตไปนานแล้ว
    • ยังไม่ได้ตัดสินใจเพราะคนไข้ยังไม่ใช่ขั้นสุดท้าย แต่เราไปศึกษาล่วงหน้า

    selection criteria นี้สำคัญมากเพราะมันจะทำให้ผลงานวิจัยน่าเชื่อถือหรือไม่ อีกทั้งยังเกี่ยวกับเรื่อง ethical ว่างานวิจัยจะส่งผลเสียอะไรทั้งทางจิตใจและร่างกายของญาติหรือผู้ป่วยด้วย

    หรือว่าจะให้มี participants รวมไปถึงคนไข้เองไปถึงหมอพยาบาลนักสังคมสงเคราะห์ไปด้วยก็ได้

    ต้องย้อนไปที่การตั้งคำถามวิจัย นั่นคือประเด็นที่ 1 ดูว่ามันถูกใจและตรงจุดหรือยัง เพราะว่า เมื่อได้ผลงานวิจัยแล้ว เราต้องคิดว่าเราจะสามารถนำผลงานนั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง คือ ถามง่ายๆว่า so what? แล้วไงหล่ะ เมื่อเราตอบได้แล้วว่า "ทำไม" เราสามารถช่วยทั้งญาติและผู้ป่วยได้อย่างไร หรือว่าเราแค่คลายข้อสงสัยเท่านั้น

    คุณ yudya บอกว่า "ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร จับต้นชนปลายไม่ถูก" ตอนนี้ยังไม่สายค่ะ ค่อยๆตีโจทย์ไปให้แตก ดูว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน เราต้องตี assumption ของเราเองนี่แหละให้แตกก่อน คิดให้ดีๆว่าเราคิดอะไรไปเองมากไปรึเปล่า

    บางทีคำถามวิจัยของคุณ yudya อาจจะแคบไปก็ได้ค่ะ

    ลองถอยออกมาห่างๆมองเข้าไปใหม่ว่าเรื่องนี้เราทำการศึกษาในแง่ใดได้บ้างด้วยค่ะ ไม่แน่ ลองปรับคำถามวิจัยใหม่นิดหน่อยเองแต่ทำให้งานทำง่ายหายงงไปได้มาก

    คำถามวิจัย ณ ตอนนี้ ถ้าให้ลองเดา คำตอบก็คงไปลงเรื่อง จิตใจคนที่ยึดติด ซึ่งไม่ต้องทำวิจัยก็รู้ใช่มั้ยค่ะ

    หัวข้อวิจัยนี้จะมีประโยชน์มากถ้าเราลองทำเป็นแนว participatory ถามความเห็นและทางออกไปในคราวเดียวกันเลยว่าเราจะช่วยทั้งญาติทั้งหมอทั้งคนไข้ในเรื่องนี้ได้อย่างไร

    แทนที่จะถามแค่ "ทำไม" เราลองเริ่มจากหลักฐานว่านี่นะ ปัญหา มันชัดอยู่ว่ามันมีปัญหาแบบนี้ ญาติคนไข้ตัดสินใจแบบนี้ กฎหมายตอนนี้ที่เมืองไทยเป็นแบบนี้ แล้วก็เอาหลักฐานว่า tubefeed ในหลายกรณีมีโทษมากกว่าประโยชน์ (เคยอ่าน paper นี้แล้วค่ะ หาได้แน่นอน แต่เป็นในกรณีคนไข้สูงอายุนะคะ เช่น Tube feeding in patients with advanced dementia ใน JAMA 1999;282:1365) แล้วก็ตั้งวัตถุประสงค์งานวิจัยว่า เราพยายามจะหาทางออกจากมุมมองของผู้เกี่ยวข้องทุกคน (หรือแม้กระทั้งจากมุมมองญาติอย่างเดียวก็ตาม) คือเราควรพยายามเข้าใจเค้าเพื่อหาทางออก ไม่ใช่แค่ถามว่า ทำไมถึงทำแบบนี้ๆทั้งๆที่รู้ว่าไม่ดี แบบใหม่ดูจะเป็นมิตรกว่าและทำแล้วได้ประโยชน์มากกว่ารึเปล่าคะ ผลงานวิจัยที่ได้ก็จะประกอบไปด้วยเรื่องราวหรือ model อธิบายว่าปรากฎการณ์ที่เกิดขั้นนี้มีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้างซับซ้อนแค่ไหน (คือถามว่าปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มากกว่าจะถามว่าทำไม) แล้วจะมีการแนะทางออกจากผู้ที่เกี่ยวข้องเป็น themeๆ อย่างไรได้บ้างเป็นตั้นค่ะ

    จริงๆงานมันทำให้สร้างสรรค์แหวกแนวไปได้อีกหลายแบบ อยู่ที่คำถามและวัตถุประสงค์งานวิจัยนี่แหละค่ะ แล้วก็อยู่ที่ gap of knowledge ด้วย จริงๆแต่เปลี่ยนคำถามวิจัยจาก ทำไม มาเป็นอย่างไร ก็ทำให้อะไรๆง่ายขึ้นมากแล้วค่ะ : ) โชคดีนะคะ อย่าเสียกำลังใจ เมื่อเราติดตรงไหน เราต้องถามตัวเองให้ทะลุ ถามเหมือนคนนอกถาม อย่าถามแบบเข้าข้างตัวเองแล้วรับรองว่างานเดินแน่นอนค่ะ สู้ๆค่ะ

    ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ ลุ้นว่าอาจารย์จะตอบหรือเปล่า พอเห็นอาจารย์ให้คำแนะนำมาดีใจมากและรู้สึกว่าเป็นประโยชน์และกำลังใจที่ดีสำหรับตัวเอง  จะนำคำแนะนำของอาจารย์ไปปฏิบัติค่ะ

    สู้ๆๆๆๆๆๆ   ได้ผลอย่างไรเดี๊ยวจะรายงานให้อาจารย์ทราบนะคะ

    ง่นวิจัยเรื่องการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในอบต.

    แต่ติดปัญหาเรื่องการตั้งคำถามถามสทาชิก อบต.เกี่ยวกับเรื่อง 4 m ไม่ให้ใช้ไลเกิดสเกว พอจะมีตัวอย่างคำถามด้านนี้ให้ดูเป็นแนวทางได้หรือไม่ เข้าดูได้ที่ไหน

    ขอบคุณมาก

    จาก อารี

    ตอนนี้เลี้ยงลูก 1 เดือนอยู่เลยต้องขอโทษด้วยที่ไม่สามารถตอบได้ยาวนะคะ

    แนะนำให้อ่าน ประเภทของคำถามสัมภาษณ์ของ Michael Quinn Patton ค่ะ ว่ามีทั้งหมดกี่ประเภท จะถามอะไรได้บ้าง

    กำลังจะทำวิจัยเรื่องพฤติกรรมการับประทานอาหารแต่ติดที่คิดคำถามปลายเปิดไม่ออกพอจะมีแนวคำถามมั้ยคะ

    คุณ JJ: แล้วคำถามวิจัยคืออะไรคะ พฤติกรรมการับประทานอาหารมันกว้างเหลือเกินค่ะ ตอบไม่ถูก ลองอ่านเรื่องประเภทของคำถามสัมภาษณ์ทั้ง 6 ประเภทได้ที่นี่ลองดูนะคะว่าช่วยรึเปล่า 

    สิ่งที่สำคัญคือ ต้องรู้ก่อนว่าคำถามวิจัยเราคืออะไร ต้องการหาอะไร เมื่อเรารู้สิ่งนั้นแล้วเราถึงจะมาคิดคำถามเพื่อสัมภาษณ์ได้ค่ะ

    อีกอย่างคือ วิธีวิจัยไม่จำเป็นต้องสัมภาษณ์อย่างเดียว ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยบันทึกไดอารี่ก็ได้ หรือเราจะสังเกตการณ์ร่วมการสัมภาษณ์ก็ได้ เป็นต้นค่ะ

     

    มักมีคนพูดว่า "การทำวิจัยเชิงคุณภาพเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร และความน่าเชื่อถือของงานวิจัยก็ไม่ค่อยมี" ขอความคิดเห็นเกี่ยวกับคำพูดนี้หน่อยค่ะ

    ขอตอบเป็น 2 ประเด็นเลยนะคะ

    1. การงมเข็มในมหาสมุทร แปลว่าเรา assume ว่า มีเข็มอยู่ ในมหาสมุทร ใช่มั้ยคะ ข้อความนี้จะถูกหรือผิดนั้นขึ้นอยู่กับว่าเข็มนี้มีเข็มเดียวรึเปล่าอะค่ะ ถ้านักวิจัยท่านนั้นคิดว่ามันมีเข็มที่ถูกต้องอยู่อันเดียวเท่านั้นที่กำลังค้นหาเนี่ยะมันเทียบได้กับว่า เค้ากำลังหาคำตอบที่เป็น absolute truth แบบนี้งานวิจัยเชิงปริมาณจะใช้การได้ดีกว่าค่ะ 

    แต่ถ้าปัญหาที่ต้องการคำตอบนั้นเกี่ยวกับคน ไม่ใช่สิ่งของที่ไม่มีชีวิตนั้น งานวิจัยเชิงคุณภาพจะมีประโยชน์มากค่ะ ดำน้ำลงไปทีนึงเจออะไรต่อมีอะไรตั้งเยอะแหนะค่ะ หรือเข็มอาจจะมีหลายแบบก็ได้แล้วทำไมมันลงไปอยู่ในน้ำ หรือมันลงไปอยู่ในมหาสมุทรได้อย่างไร แบบนี้น่าจะเหมาะกับงานเชิงคุณภาพมากกว่าค่ะ พูดง่ายๆว่า การใช้วิธีวิจัยที่ไม่เหมาะกับคำถามวิจัยจะนำมาซึ่งความปวดหัวค่ะ

    2. ความน่าเชื่อถือของงานวิจัยก็ไม่ค่อยมี ข้อนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่างานนั้นทำได้ดีหรือทำมั่วๆ งานวิจัยที่ไม่น่าเชื่อถือมีมากค่ะ มักเกิดจากการที่ไม่เข้าใจในกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพจริงๆ หรือ ละเลยที่จะทำงานให้มี rigor ถ้าจะทำงานเชิงคุณภาพให้ดีนั้นไม่ง่ายเลยค่ะ ต้องใช่เวลาและต้องรอบคอบ มามั่วไม่ได้ ลองอ่านบันทึกเรื่องการวิพากษ์งานวิจัยเชิงคุณภาพดูได้ค่ะ ถ้าตอบข้อวิพากษ์ได้หมดก็เป็นอันว่างานนั้นน่าเชื่อถือ (trustworthy) ค่ะ


    เพิ่งเริ่มทำความเข้าใจกับงานวิจัยค่ะ เลยอยากขอคำแนะนำหน่อยนะคะ

    1 ข้อดี/ข้อได้เปรียบ ของงานวิจัยเชิงคุณภาพเมื่อเปรียบเทียบกับการวิจัยเชิงปริมาณ

    2 ความยากของงานวิจัยเชิงคุณภาพ ทำไมนักศึกษาจึงไม่ค่อยมีใครสนใจทำเชิงคุณภาพคะ

    3 ประโยชน์และการนำไปใช้ของงานวิจัยเชิงคุณภาพต่างจากเชิงปริมาณอย่างไรคะ

    ขอบคุณมากค่ะ

    สวัสดีค่ะ คือดิฉันทำวิทยานิพนธ์เกียวกับความยากจนของชุมชนนะค่ะ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

    ไม่รู้ว่าจะออกแบบสอบถามแบบไหนคะ

    คุณสายวรุณ:

    ขอโทษที่ตอบช้ามากนะคะ เพิ่งมาเห็น ลองอ่าน blog ของผู้เขียนหลายๆบทความจะได้คำตอบครบที่ถามเลยค่ะ

    คุณ lalita:

    คือต้องถามก่อนว่าคำถามวิจัยคืออะไรค่ะ แล้วทำไมถึงตัดสินใจใช้แบบสอบถาม กลุ่ม participants คือใคร setting ไหน

    ทำไมถึงใช้ interview หรือ observation ไม่ได้

    หลักการคร่าวๆถ้าจะใช้แบบสอบถามก็คือต้องเป็นคำถามปลายเปิด แล้วก็คงต้องคิดว่าจะทำเป็น structured interview หรือจะเป็นแบบสอบถามที่ให้ participants กรอกเอง ไม่ทราบว่าตอบตรงมั้ยค่ะ คือถามกว้่างมากค่ะ

    สวัสดีครับอาจารย์

    รบกวนเรียนปรึกษาน่ะครับ

    กำลังทำ thesis ป.โททางด้าน มานุษยวิทยาเภสัชศาสตร์ที่ขอนแก่นอยู่ครับ " การใช้ยาในมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนเขตเมือง " งานผ่านไปได้ด้วยดีระดับหนึ่งแล้วครับ ตอนนี้อยู่ในช่วงกำลังอยู่ในภาคสนามและได้ข้อมูลมาส่วนหนึ่มาวิเคราะห์บ้างแล้วครับ ทีนี้เกิดปัญหากับตัวเอง เนื่องจากอยู่ในสายวิทย์มาตลอดชีวิตการเรียนและการทำงาน วันหนึ่งได้เลือกด้วยตัวเองว่าจะทำงานวิจัยเชิงคุณภาพทางด้าน pharmaceutical anthopology นั่งทำงานไป เข้าภาคสนามไปก้มานั่งคิดย้อนกลับว่า

    ความน่าเชื่อถือของงานวิจัยเชิงคุณภาพ จะดูจากตรงไหนครับ

    - ผลการศึกษาหลายครั้งเรามั่นใจ แต่เวลาคนข้างนอกถามกลับถึงความน่าเชื่อถือของผลต่างๆ เราจะสามารถชี้แจงได้อย่างไรครับ

    คือมันไม่เหมือนค่าในห้อง lab เวลาได้ผลอย่างไรก้บันทึกออกมา หรือ ค่าผลตรวจเลือด ระดับน้ำตาลที่ใช้เครื่องมือ detect

    แล้วงานเชิงคุรภาพล่ะครับ อะไรที่จะบอกว่างานของเราน่าเชื่อถือครับ

    รบกวนช่วยชี้แนะด้วยครับ

    โห ถามเรื่องใหญ่เลยนะคะ ถ้าเรียนเอกต้องอ่านเรื่องนี้จนเข้าใจและ defend ได้ ถึงจะจบค่ะ ถ้าทำได้อย่างนี้ทุกข้อ ก็น่าเชื่อถือค่ะ

    จริงๆเรื่องนี้ต้องแฝงอยู่ในทุกขั้นตอนตั้ง ต้องเตรียมแต่เขียน proposal

    มาตามคิดทีหลังจะไม่ทันเอาค่ะ เพราะลงมือไปแล้ว

    ยังไงหาอ่านเรื่อง credibility and trustworthiness

    แล้วก็อ่านพื้นฐานเรื่อง epistemiology และ ontology ด้วยนะคะ

    อ่านแล้วมาคุยกันได้เลยค่ะ : )

     

    ขอบคุณน่ะครับ

    ตอนนี้ออกจากสนามมาได้พักหนึ่งแล้วครับ

    กำลังนั่งปั่นงานด้วยความเมามันส์ พอจะมีคำตอบลางๆบ้างแล้ว

    ขอบคุณน่ะครับสำหรับคำชี้แนะครับ

    สวัสดีค่ะ หนูกำลัวทำวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการซื้อของให้ตัวเอง นะคะ

    แต่ยังไม่รู้ว่าจะตั้งแนวคำถามอย่างไร

    ช่วยหน่อยนะค่ะ

    ต้องการศึกษาพฤติกรรมค่ะ

    แล้วคุณบีเขียนวัตถุประสงค์ของงานวิจัยออกมารึยังคะว่าทำไปเพื่ออะไร

    ต้องการตอบโจทย์อะไร

    วัตถุประสงค์ชัด คำถามก็จะค่อยๆมาค่ะ

    แค่หัวข้อ พฤติกรรมการซื้อของให้ตัวเอง นั้นกว้างมากค่ะ

    มันโยงไปได้หลายเรื่องมาก ไม่ว่าจะ การรู้เท่าทันสื่อ การรู้เท่าทัน marketing หรือแค่เรื่องรายรับรายจ่ายเรื่อง หรือเรื่องการใช้บัตร credit เรื่องสติ เรื่องรสนิยมการเลือกสินค้า เรื่องสถานที่การshopping ต้องเจาะจงวัตถุประสงค์ให้ได้ก่อนค่ะถึงจะไปต่อได้

    ต้องตอบให้ได้ว่าอยากรู้อะไรและจะรู้ไปทำไม

    สวัสดีครับอาจารย์

    จะขอรบกวนปรึกษาดังนี้ครับ

    ผมกำลังจะทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ (เป็นส่วนหนึ่งของ dissertation)  เพื่อหาว่าอะไรบ้างเป็นปัจจัยความสำเร็จของบริษัทที่ได้รับรางวัลจากการใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติในการปรับปรุงองค์กร  โดยอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแนะนำว่าให้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากข่าวในหนังสือพิมพ์  (ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นข่าวที่ลงบทสัมภาษณ์ของผู้บริหารของบริษัทที่ได้รับรางวัล)  แล้วสรุปออกมาเป็นข้อมูลเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับปัจจัยของบริษัทในต่างประเทศที่มีงานวิจัยอยู่แล้ว  แล้วจึงใช้ข้อมูลดังกล่าวไปออกแบบการสัมภาษณ์อีกทีหนึ่ง  อยากจะรบกวนสอบถามดังนี้ครับ

    1. วิธีการที่อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยพูดถึงเป็นวิธีอะไรในงานวิจัยเชิงคุณภาพครับ?

    2. เท่าที่ได้ฟังมา  เหมือนต้องทำ coding ข้อมูล  ไม่ทราบว่าใช่หรือไม่  และเป็นไปในลักษณะใดครับ (เนื่องจากผมมีพื้นฐานด้านงานวิจัยคุณภาพค่อนข้างน้อย  ได้พยายามศึกษาเพิ่มเติมในขั้นพื้นฐานไล่มาตั้งแต่ paradigm, ontology, epistemology แต่พอถึงเรื่องการวิเคราะห์แล้วเริ่มงง  เพราะมีทั้งแบบการวิเคราะห์โดยเริ่มจาก การอ้างอิงทฤษฎี vs. ground theory  หรือแบบสร้างข้อสรุป vs. แบบวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ซึ่งทำให้เกิดความสับสนในการหาข้อมูลเพื่ออ่านเพิ่มเติมมากครับ

    3. ถ้าใช้ NVivo จะช่วยให้การวิเคราะห์ทำได้ง่ายกว่าทำเองโดยไม่ใช้โปรแกรมหรือไม่ครับ (กำลังศึกษาการใช้งาน NVivo อยู่ครับ)

    รบกวนอาจารย์ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ  ขอบคุณครับ

     

    จากวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนั้น ใช้เป็น content analysis

    code หาปัจจัยต่างๆ แบ่งเป็น categories, sub categories

    ทีนี้ต้องตัดสินใจว่า จะใช้ชื่อ code (label แต่ละ node) ตาม literature ที่มีอยู่เลย

    คือสร้างกรอบการวิเคาระห์ไว้ก่อน พอมาอ่าน transcript หรือ document ที่หามาก็อ่าน content แล้วก็จับใส่ จับใส่ลงกล่องที่ label ไว้แล้ว

    หรือ

    จะ code โดยใช้ label เองโดยไม่มีกรอบวิเคราะห์จาก literature

    ส่วนตัวแนะนำให้ทำแบบนี้เพราะอาจจะพบว่า คนไทย มีปัจจัยที่ยังไม่มีใน literature ก็ได้ หรือการแบ่ง categories อาจทำได้ดีขึ้น

    ทำเสร็จแล้วค่อยเอาไปเทียบกับ literature แล้วจะสร้างเป็น model ใหม่โดยการผสมของเก่า รวมกันแล้วดัดแปลง หรือจะ argue เอาของใหม่เลย โดยเลือกใช้คำให้เป็นคำที่มีมาใน literature แล้วคนรู้ที่มาที่ไปก็ได้

    เอา model นี้ไปสร้างแบบสอบถามอีกทีค่ะ

     

    ขอบคุณมากครับ ผมจะนำแนวทางที่ได้รับคำแนะนำไปใช้งานแล้วจะมารายงานความคืบหน้าให้ทราบครับ

    สวัสดีครับ อาจารย์มัทนา ค้นพบบล็อกนี้โดยบังเอิญ แต่ถือว่าเป็นโชคดีของผม ตอนนี้ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทอยู่ครับ ติดอยู่ตรงเรื่องของผลของข้อมูลแบบสัมภาษณ์ ที่ไม่สามารถจัดการให้เดินหน้าเขียน อภิปรายผลต่อได้ครับ (ตอนนี้อยู่ในระหว่างการเขียนบทที่ 5) ทำงานวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเรียนภาษาอังกฤษของลูกๆ นะครับ ผมทำการสัมภาษณ์แบบ semi structured ดำเนินการสัมภาษณ์ไปตามหัวข้อที่ตั้งไว้  ถอด transcript ก็แล้วแต่พอเวลาเขียน อภิปรายผลมันดูจับต้นชนปลายไม่ค่อยถูกยังไงไม่รู้ ว่าจะเริ่มเขียนแบบ narrative ดูเพื่อให้การเขียนมันน่าสนใจครับ แต่หนังสือสำหรับอ่านเป็นภาษาไทยไม่ค่อยมีเลย ภาษาอังกฤษที่ได้มาก็อ่านยากเกินไปไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่
    ขอถามเป็นประเด็นเป็นข้อ ๆ อย่างที่อาจารย์ตั้งโจทย์ไว้ละกันนะครับ
    1) Thematic analysis กับ Structural analysis มีข้อเด่นข้อด้อยในการเลือกใช้แตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ
    2) Content analysis สามารถเอามาใช้อภิปรายผลได้มั้ยครับ หรือใช้สำหรับวิธีการรายงานผลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

     

    สองข้อเท่านี้ครับ
    ถ้าอาจารย์จะตอบในนี้ รบกวนอาจารย์ตอบในเมล์ผมด้วยนะครับ [email protected]
    ปล.ชื่มชนสิ่งที่อาจารย์กำลังทำอยู่นะครับ ^^

    ขอบคุณครับ

    นาดิร

    สวัสดีค่ะ อาจารย์มัท

    สนใจหัวข้อที่อ.มัทโปรย..ไว้ค่ะ  มีโอกาสได้อ่านประเด็นต่างๆ ที่อ.มัทตอบ ทำให้ได้ความรู้มาก และสนใจที่จะโยนคำถามที่สงสัยค่ะ
    

    ประเด็นแรก งานวิจัยเชิงคุณภาพ เช่น (case study) มี concept ในการวางกรอบแนวคิดอย่างไรค่ะ อ่านหนังสือบางเล่มบอกว่า ทบทวนเอกสารได้แต่ไม่ต้องมาก บางเล่มบอกให้เขียนไว้เพื่อเป็นแนวทาง และไม่ควรกำหนดตายตัว เพื่อให้ได้สมมติฐานชั่วคราว (รู้สึกว่ายืดหยุ่นมาก จนมือใหม่จับหลักไม่ถูก) หลังจากที่เรามีคำถามวิจัยแล้ว ประเด็นที่สอง การเก็บรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้เทคนิค เช่น Digital storytelling, Creative writing, Design charrette, Photovoice เราสามารถดูความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้อย่างไรค่ะ

    ขอบคุณมากค่ะ (ปล. อ่านประเด็นคำถามในหัวข้อวิพากษ์งานวิจัยเชิงคุณภาพ ยังไม่เห็นประเด็นการทบทวนเอกสาร, และเทคนิคในการรวบรวมข้อมูลใหม่ ๆ ) รบกวนอ.มัทด้วยนะค่ะ

    สวัสดีค่ะ อาจารย์ขอความอนุเคราะห์สั้นๆ ค่ะ ว่าจะทำวิจัยแบบ R and D แต่เป็น Qualititave ได้หรือเปล่าค่ะ เพราะสิ่งที่จะวัดไม่ได้จะวัดแค่ข้อสอบ pre-post แต่จะวันด Process การเขียนของเด็กหน่ะค่ะว่าก่อนใช้เครื่องมือและหลังใช้เครื่องมี งานเขียนพัฒนาขึ้นหรือเปล่าหน่ะค่ะ รบกวนด้วยค่ะ

    ก่อนอื่นต้องขอโทษทุกๆท่านที่ถามกันมาช่วงหลังๆนี้เพราะไม่ได้เข้ามาตอบเลย
    ของคุณ นาดิร กับคุณตงตง 7-9 เดือนมาแล้ว สงสัยเขียนเสร็จไปแล้ว : P 
    ตอบกว้างๆว่า analysis แบบต่างๆนั้นไม่ได้แบ่งเป็นคนละพวกอย่างที่คุณนาดิรเข้าใจอะค่ะ
    content analysis ก็ทำเป็นแบบ thematic ได้ เป็นต้น
    แล้วช่วง discussion มันคือการนำผลของเราไปเปรียบเทียบกับงานคนอื่นบ้าง เป็นการเชื่อมต่อกับงานเดิมหรืองานในสาขาอื่นที่ใกล้กัน หรือแนะนำว่า implication ของงานเราจะมีประโยชน์ต่อใครอย่างไร และจะแนะนำให้ทำงานวิจัยในเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร มันไม่น่าจะต้องใช้ content analysis นะคะ

    ส่วนคำถามคุณตงตงนั้น การทบทวนวรรณกรรม ให้เริ่มจาก งานที่มีผ่านมา ---> บอกว่า gap of knowledge อยู่ตรงไหน มันขาดอะไรไป เราถึงต้องทำงานวิจัยเรา ทำถามวิจัยของเราคืออะไร
    การทบทวนเอกสารมันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเรื่องที่เราทำค่ะ การทบทวนควรทบทวนให้ครบ
    ใช้ search strategy ใช้ชุดคำค้นหาฐานข้อมูลที่คนอื่นสามารถวิพากษ์ได้ว่าเรา bias ในการใช้คำค้นหาหรือไม่
    (systematic search) ไม่ใช่ว่าหาๆแล้วแบบ จริงๆคำถามวิจัยนี้มีคนตอบไปแล้ว ไม่ต้องทำก็ได้ แต่เราก็ดันมาทำเป็นต้น

    ส่วนการวาง conceptual framework ก็คงต้องเริ่มที่เราต้องคิดแล้วว่า ปัจจัยต่างๆในเรื่องที่เราศึกษามันมีอะไรได้บ้าง หาทฤษฎีหลักๆในเรื่องที่เราศึกษา ด้วยการ review lit นี่แหละค่ะ ส่วนมาอ.ที่ปรึกษาจะเป็นคนบอกเราว่ามีทฤษฎีอะไรบ้างที่เป็นทฤษฎีหลักๆในเรื่องนี้ แล้วเราก็ไปหาเองต่อด้วย แน่นอนว่ามันเป็นเพียงสมมติฐานชั่วคราว
    ชื่อมันก็บอกว่าเป็น framework เท่านั้น ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพนั้นเราอาจจะได้ข้อมูลที่นอกเหนือไปจาก conceptual framework ของเรา ถ้าเราไปยึดมันมาก เราก็ทำเป็นแบบสอบถามหรือการทดลองไปซะก็หมดเรื่อง แต่จุดแข็งของการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพก็คือ เราจะได้ข้อมูลที่เราคาดไม่ถึง ส่วนถ้าไม่มี conceptual framework เลย เราก็จะทำ guideline ในการเก็บข้อมูลไม่ถูกว่าจะ หาอะไร ถามอะไร สังเกตอะไร แล้วเมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว conceptual framework นี้ก็จะเป็นแผนที่ในการ analysis ค่ะ (ยกเว้นว่าใช้ grounded theory ที่เริ่มหา pattern จากข้อมูลสดๆด้นขึ้นมาเลย)

    ส่วนเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงคุณภาพนั้น เป็นเรื่องที่ต้องเปลี่ยนกระบวนทรรศน์เลยค่ะ
    จาก positivist เป็น post-positivist หรือ critical หรือ post-modern ฯลฯ
    มันมี rigor ของการทำงานเชิงคุณภาพอยู่ค่ะ หาอ่านได้ไม่ยากตามตำราต่างๆ
    ไม่ใช่ว่าทำงานเชิงคุณภาพแล้วจะมั่วๆได้ เพียงแต่ว่าเราจะเอากระบวนทรรศน์ไหนมาจับ

    ส่วนคำถามคุณ wanna R and D แต่เป็น Qualititave ได้หรือเปล่าค่ะ 

    ตอบว่าได้ค่ะ แต่ ถ้าถามว่า จะวัด process ทำแบบ quantitative ได้มั้ย ก็ทำได้เหมือนกันค่ะ
    ลองค้นเรื่อง process evaluation ดูก็ได้ค่ะ เพราะถ้ายังไม่ได้ลองศึกษา qualitative research เลย
    เกรงว่าจะใช้เวลามากไปรึเปล่าคะ ขึ้นอยู่กับว่ารีบไม่รีบแค่ไหน 

    process ไม่ได้แทน outcome นะคะ แต่ว่าต้องมีทั้ง 2 อย่างเพราะจะได้รู้ว่า outcome ที่ได้มา
    มันเป็น type 4 Error รึเปล่า ถ้าวัดแต่ process ก็ไม่ครบเหมือนกัน


    ขอเรียนถามอาจารย์ค่ะ  ระหว่างการวิเคราะห์เนื้อหา กับการวิเคราะห์โดยเครื่องมือ NVivo อย่างไหนจะดีกว่ากันคะ ยิ่งถ้าเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับทางด้านจิตวิทยาค่ะ  ขอบพระคุณค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท