เครื่องมือนักคิด: 1 การระดมสมอง


การระดมสมอง (Brainstorming)

ในการสร้างงานพัฒนา จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ การระดมสมองนับเป็นเครื่องมือ หรือวิธีการหนึ่ง ในการจุดประกายงานพัฒนาให้มีทิศทางที่ตรงเป้าประสงค์

จุดประสงค์หลัก คือ การแตกความคิดจากประสบการณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เพื่อตกผลึกเป็นความคิดของกลุ่ม เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการแก้ปัญหาร่วมกัน

ขั้นตอน

  1. จุดประกายเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน คือ การกระตุ้นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขยายความคิดของตนโดยการแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มอย่างอิสระ โดยไม่ยึดติดกับความคิดของคนใดคนหนึ่ง
  2. เรียนรู้สู่การจับกลุ่มก้อน คือ การสรุปใจความสำคัญ หรือประเด็นที่ได้จากการระดมกลุ่มใหญ่ออกเป็นหมวดหมู่ เห็นถภาพรวมของความคิดของทั้งกลุ่ม
  3. สะท้อนข้อมูลกลับกลุ่มใหญ่ คือ การสรุปสิ่งที่ได้จากการระดมกลุ่มใหญ่ให้สมาชิกฟัง ซึ่งเป็นแนวคิดที่สรุปจากกลุ่มใหญ่ ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
  4. หัวใจคือรวมเป็นหนึ่ง คือ การระบุปัญหา หรือประเด็นหลักของการระดมสมองครั้งนี้ จากหลายความคิด หลายแนวทาง สู่การสรุปเป็นหัวใจของกลุ่ม
  5. รู้ซึ่งถึงทางแก้ปัญหา หลังจากระบุปัญหาหรือประเด็นหลักของการพัฒนาแล้ว โจทย์ของการระดมสมองต่อไป คือ การหาแนวทางในการแก้ปัญหา หรือการพัฒนานั้น ต่อไป

หัวใจสำคัญ

  • อิสระทางความคิด
  • ไม่ยึดติดความเห็นส่วนตัว
  • อย่ากลัวถูกผิด
  • แลกเปลี่ยนความคิดสู่การพัฒนา 

อุปสรรคและปัญหาที่พบ

  • อิทธิพลทางความคิด มักเกิดขึ้นถ้ากลุ่มมีความแตกต่างระหว่างสมาชิกในด้านการศึกษา ฐานะ สถานภาพทางสังคม สูง
  • ยึดติดอนัตตา บางครั้งจะพบในกลุ่มที่ถือความคิดของตัวเองถูกต้อง เพราะมีความรู้ มีประสบการณ์
  • ปัญหาความขัดแย้ง ปัญหาหนึ่งปัญหามักจะพบการมองต่างมุมอยู่เสมอ เป็นธรรมดาที่การระดมสมองอาจจะเจอกับการขัดแย้งทางความคิด
  • ไม่เปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนา บทสรุปสุดท้ายของการระดมสมอง คือ ได้แนวทางในการแก้ปํญหา หรือการพัฒนา แต่บางครั้งอาจจะพบว่าหลังการระดมสมอง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะแยกย้ายกันไป โดยไม่ได้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื้อง
  • อุปสรรดที่พบทั้งหมดนี้ เป็นโจทย์ที่สำคัญสำหรับวิทยากรกระบวนการ (Facilitator) ที่ต้องคอยควบคุมการประชุมให้เป็นไปตามทิศทางและเป้าประสงค์  

แนะนำเอกสารเพิ่มเติม

     1. วันรัตน์  จันทกิจ. 17 เครื่องมือนักคิด (ฉบับปรับปรุง). สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้มส่วนจำกัด ซีโน ดีไซน์, 2549.

หมายเลขบันทึก: 97028เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2007 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2014 11:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท