ค้ำประกันไม่ได้ทำไงดี


เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับเพื่อนผมครับ อาชีพเดียวกันคือพัฒนาคนให้มีทั้งความรู้และทักษะ หรือ ครู อาจารย์ นี้เอง อายุงานก็พอๆกัน เรื่องเริ่มต้นที่ เพื่อนผมมีน้องที่จบใหม่ และกำลังหางานทำ ผ่านสัมภาษณ์และได้งานเรียบร้อย ตอนเซ็นสัญญาทางบริษัทบอกว่า ต้องหาผู้ค้ำประกันมาเซ็นสัญญาด้วย  เงื่อนไขสำคัญอยู่ที่ต้องมีเงินเดือน 20,000 บาทขึ้นไป อายุก็ 30 ปีขึ้นไป หากเป็นข้าราชการก็ต้องมีอยู่ในระดับ ตามที่บริษัทกำหนด


เป็นของธรรมดา ของอย่างนี้ก็ต้องเริ่มจากคนใกล้ตัว น้องก็ต้องมาขอความช่วยเหลือพี่ นั่นคือเพื่อนผมนั่นเอง ดูเหมือนคุณสมบัติจะผ่านหมด แต่ดันมาตกที่ เงินเดือน ครับ

เพื่อนผมเล่าแบบหดหู่ และดูจะถ้อแท้มาก เพราะน้องชายบอกว่า “เป็นไปได้ไง ทำงานมาตั้งนาน 7-8 ปี เป็นอาจารย์ก็ตั้งนานแล้ว เงินเดือนไม่ถึงได้ไง” เพื่อนผมบอกว่าอึ้งไปเลยพูดไม่ถูก แทบหมดกำลังใจ และทำให้ความภาคภูมิใจในตัวเอง ลดลงเลยทีเดียว


ผมเองกลับรู้สึกว่า สังคมคาดความหวังไว้สูงกับอาชีพ ครู อาจารย์ ต้องมีรายได้ดี เพราะดูจะเป็นอาชีพที่มีเกียรติ แต่ความจริงไม่ค่อยเป็นเช่นนั้นครับ หากต้องการให้มีฐานะดีจากอาชีพครู ต้องทำงานหนัก มากกว่าภาระที่ได้รับมอบหมาย และส่วนใหญ่ต้องเป็นการทำงานนอกเวลาและเป็นงานที่รับพิเศษเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย คงไม่แปลกใจที่มีครู อาจารย์ ไปสอนที่โน้นที่นี้บ้าง รับเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชนบ้าง และมีการทำกันหลายแบบเยอะแยะมากมายครับ


ผมคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะ หากครู-อาจารย์เหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว คงไม่ไปดิ้นร้นทำงานเพิ่มเติม ผมก็ได้มีการพูดคุยกับเพื่อนที่มีหัวอกเดียวกัน คือมีอาชีพครู-อาจารย์เหมือนกัน หลายท่านบอกว่าอยากใช้เวลาทั้งหมดอยู่กับภาระและความรับผิดชอบหลักที่ดำเนินการอยู่จะดีกว่า อยากพัฒนานักเรียนอย่างเต็มความรู้ความสามารถที่มีอยู่ แต่ทำอย่างไรได้มีภาระหลายอย่างต้องดูแล จึงต้องทำอย่างนั้น แต่ผมอาจจะผิดก็ได้นะครับ เพราะผมได้ข้อมูลมาเพียงบางส่วน อาจมีบางส่วนหรืออาจเป้นส่วนใหญ่ก็ได้ ที่ทำงานพิเศษ เพื่อเหตุผลอย่างอื่นก็ได้


ผมเองเข้าใจหัวอกเพื่อนผมดี ทางออกที่ง่ายที่สุดคือ หาคนอื่นที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งหมดมาค้ำประกันแทน ผมเองก็เคยประสบปัญหานี้เช่นกัน ตอนที่ต้องทำสัญญากับมหาวิทยาลัย โชคดีมีน้องผมช่วยไว้ครับ เพราะเธอทำงานกับภาคเอกชน และได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าผมเองหลายเท่า

คำสำคัญ (Tags): #การทำงาน
หมายเลขบันทึก: 96252เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007 07:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าครูคุณภาพที่ดีแล้ว ผลผลิตของครูย่อมจะดีตามไปด้วยครับ

จำนวนเงินเดือนไม่ใช่ตัวบ่งชี้ของคุณภาพการทำงานหรอกครับ ไม่มีในทั้งของ สกอ. สมศ. กพร. หรือสำนักไหนๆก็ตาม

 

ขอบคุณครับ
P

ที่ตามมาร่วมแสดงความคิดเห็น

คุณภาพแบบที่อยากชวนให้ดูคือ คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of worklife) ครับ เป็นสิ่งที่จะได้รับจากการทำงานและทำให้มีความสุขในการทำงาน

 ปัจจัยที่ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตตัวนี้ก็มีหลายตัวครับ เช่น ขวัญกำลังใจ การบังคับบัญชา ภาวะผู้นำ และค่าตอบแทนที่ได้รับก็เป็นส่วนหนึ่ง

ซึ่งคุณภาพชีวิตนี้ยังไม่มีในดัชนีบ่งชี้คุณภาพ ตามที่ สกอ. สมศ หรือ กพร.กำหนดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท