การเดินทาง


แผนพลังงานชุมชน

ไม่ได้มีเวลานั่งลงบันทึกเรื่องราว เพราะต้องเดินทางตลอด  ในช่วงนี้เราเดินทางไป 6 จังหวัด คือ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม และโคราช ลงไปในพื้นที่ 7 ชุมชน ที่มีการจัดทำแผนพลังงาน  การทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งกระทรวงพลังงาน มหาวิทยาลัย และองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นความร่วมมือที่ต้องเรียนรู้กัน  แต่ศักยภาพที่แต่ละส่วนมีเป็นเรื่องที่ท้าทายในความร่วมมือ  เราเองซึ่งเป็นคนทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน  ที่ไม่ยึดติดกรอบอะไรมากนัก  เคลื่อนที่เร็ว  ทำงานลงลึกกับชุมชน  แต่มีข้อจำกัดในการสร้างกระแส หรือนำเสนอในวงกว้าง  ในขณะที่ส่วนราชการมีระบบ ปฏิบัติตามขั้นตอนราชการ  ซึ่งบางทีก็ล่าช้า  แต่มีศักยภาพในการขยายวงกว้าง  หากเหมือนการตีกลอง  ก็จะตีได้ดังกว่า  ในขณะที่ทางส่วนวิชาการมีความสามารถด้านข้อมูล ซึ่งสามารถหนุนช่วยการทำงานร่วมกันได้ และส่วนสำคัญคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำงานในระดับพื้นที่  ซึ่งหากท้องถิ่นไม่เอาด้วยก็ยากที่จะขับเคลื่อน  การทำงานจัดทำแผนพลังงานชุมชนในครั้งนี้จึงเป็นการเรียนรู้ที่น่าสนใจ คนทำงานก็ตื้นเต้นล่นไปด้วยในความร่วมมือ เครียดบ้างในบางขณะเพราะต้องรีบทำ แต่หากหากเราสามารถประสานร่วมมือกันต่อไปได้ ก็จะทำให้การทำงานในอนาคตมีพลังงานมากขึ้น

ตอนนี้เราเดินมาถึงกระบวนการที่ชุมชนได้เก็บรวบรวมข้อมูล และทางมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำไปประมวลผล และสะท้อนข้อมูลสู่ชุมชน  และเตรียมที่จะไปศึกษาดูงานด้านเทคโนดลยีพลังงานทางเลือก  วันหลังเราจะมาเล่าให้ฟังว่าแต่ละชุมชนเขาใช้พลังงานไปเท่าไรและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กันเท่าไหร่

 

หมายเลขบันทึก: 96044เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2007 02:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เข้ามาเคาะประตูบ้านครับ ก็อก ก็อก..ไม่มีใครอยู่ ไปทำงานกันหมดเลย..

เดินทางไกลค่ะไม่ได้อยู่บ้าน  ได้กลับมาจัดบ้านช่อง และจะนำประสบการณ์มาเล่าต่อค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่แวะมาเยี่ยม

หายไปเป็นปี คิดถึงสมุดบันทึกของตนเองที่ถูกให้ทิ้งร้าง กลับมาทักทายกันใหม่ ด้วยการบอกเล่าเรื่องราวช่วงสงกรานต์ ถึงแม้จะช้าไปต๋อย แต่ก็อยากบอกว่าในสังคมไทยมีอะไรดีดีอีกเยอะ

ช่วงสงกรานต์ครอบครัวเราเดินทางไปนครศรีธรรมราช  ช่วงผ่านชุมพรได้แวะไปเยี่ยมเยียน "ชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท" ซึ่งมีคุณวริสสร  รักษ์พันธุ์  ได้ยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการรีสอร์ท หลังจากที่ต้องฝ่าวิกฤตในช่วงปี 2540 รีสอร์ทแห่งนี้ เป็นเสมือนแหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการพลังงานสิ่งแวดล้อม การเกษตร แนวทางการพึ่งตนเอง มีการจัดการน้ำเสียของรีสอร์ทด้วยการบำบัดจากธรรมชาติ ผักตบชวา และพืชน้ำต่างๆ มีการนำของเสียไปใช้ทำปุ๋ย ทำก๊าซชีวภาพ มีการเผาถ่านอย่างมีประสิทธิภาพ ทำไบโอดีเซลจากน้ำมันใช้แล้ว  ปลูกข้าว เลี้ยงไก่ ฯลฯ ล้วนเป็นแนวทางที่ทำให้ เกิดความพอดี พองาม  หากใครผ่านไปแวะไปได้เลย ถึงแม้ไม่ได้พักทีรีสอร์ทก็ไปเยี่ยมชมได้ หากใครสนใจยังมีหลักสูตรฝึกอบรมให้อีกด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท