การประชุมเครือข่ายตำบลในคลองบางปลากดประจำเดือนธันวาคม ๒๕๔๘


ถ้าไปร่วมงานแล้วเราดีขึ้น พัฒนากองทุนเพิ่มขึ้น ทำงานวิชาการและกระตุ้นก็จะไป แต่ระดับพวกนี้เน้นระดับระเริงสำราญ การกินเป็นใหญ่…”

วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ ณ ที่ทำการกองทุนหมู่ที่ ๓
นัดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น. แต่คณะกรรมการยังมาไม่ครบจึงได้ขอนำเสนอรายงานความก้าวหน้างานวิจัยระยะ ๖ เดือนที่ได้นำเสนอต่อหัวหน้าชุดและผู้ทรงคุณวุฒิไปแล้ว ทุกหมู่มีความเห็นว่าเป็นข้อมูลที่เป็นจริง ยกเว้นหมู่ที่ ๒ที่ได้เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า สมาชิกกองทุนของหมู่ที่ ๒ มี ๒ ประเภท คือ ประเภทสามัญ กับกิตติมศักดิ์ สำหรับสมาชิกกิตติมศักดิ์คือ สมาชิกที่มีบ้านอยู่ในหมู่ที่ ๒ แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านมา การพิจารณาก็จะดูว่าอยู่ในหมู่จริงและอยู่เป็นเวลานาน การเสนอข้อคิดเห็นนี้นับว่าเป็นประโยชน์กับทางกองทุนอื่นที่ต้องการขยายสมาชิกออกไป
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น. ประธานคือคุณเทพพิทักษ์ (จากที่ได้เสนอว่ามีคุณเทพพิทักษ์คนเดียวที่ทำรายงานวาระการประชุมและนำไปแจกเอง ครั้งนี้ได้เปลี่ยนให้ทางคุณอนุราชซึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการเครือข่ายเป็นผู้จัดทำและแจก) วาระต่างๆเป็นดังนี้คือ
วาระที่ ๑ แจ้งให้ทราบ ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการทุกหมู่บ้านต้องทำงานร่วมกับคลินิกแก้จนเพื่อแก้ไขปัญหา และแจ้งว่าพรุ่งนี้ที่ อบต.มีการจัดประชุมเรื่องเกี่ยวกับศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิสาหกิจชุมชน แปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน
วาระที่ ๒ รับรองการประชุม เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ณ ที่ทำการกองทุนหมู่ที่ ๑๓ ที่ผ่านมา ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตัดสิน วางกรอบเกี่ยวกับการประกวดกองทุนระดับตำบล และได้ออกเยี่ยมหมู่บ้านต่างๆของตำบลในคลองเพื่อวางแผนตำบล รวมถึงวางแผนการทำงานวิจัยร่วมกัน
วาระที่ ๓ แจ้งเรื่องการเข้าร่วมงานประกาศเกียรติคุณที่ทางเครือข่ายระดับจังหวัดจัดขึ้น ในวันที่ ๑๘ ธันวาคม เริ่ม ๑๗.๐๐ น. เป็นโต๊ะจีนทั้งหมด ๔๐๐ โต๊ะ ของพระสมุทรเจดีย์ต้องรับภาระ ๓๐โต๊ะ โต๊ะละ ๒,๐๐๐ บาท ผู้ใหญ่อ้อต้องไปรับรางวัลรับภาระ ๒ โต๊ะ ในวาระนี้มีประเด็นเกิดขึ้นมากมาย เริ่มจากลุงหร่วย คุณฉลอง ปีที่แล้วจัดที่ศาลาประชาคม ข้างนอกห้องประชุมไม่ได้ยินอะไร นั่งกินกันแบบเงียบๆ ที่สำคัญคือเครือข่ายไม่ได้ช่วยอะไรเลย ไม่ช่วยแต่หวงอำนาจกลัวคะแนนเสีย ทำงานแยกส่วนกัน เรามีปัญหา เพื่อนๆกองทุนมีปัญหาน่าจะมาช่วยกัน คุณอนุราชเห็นว่าควรมองที่วัตถุประสงค์ของการจัดงานมากกว่า คืออยากให้ได้มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน พี่ตุ๊กตาได้เสนอว่า คณะกรรมการระดับอำเภอควรจะสื่อสารกับทางจังหวัดว่าน่าจะจัดงานที่นำมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน เรารู้หรือไม่กองทุนอื่นทำอะไรไปบ้าง อย่างน้อยรู้เขารู้เราในการบริหาร คุณเทพได้กล่าถึงประเด็นนี้ว่าเคยเสนอให้เครือข่ายระดับจังหวัดควรมีฐานข้อมูล  เพื่อการเชื่อมโยง แต่ไม่ดีรับความเห็นชอบ รวมทั้งให้ความเห็นในเรื่องของการจัดโต๊ะจีนของเครือข่ายว่า ได้ทำการคัดค้านเพราะไม่อยากให้ฟุ่มเฟือย และหักคอเกินไป แต่ก็ต้องไปดูเพื่อให้รู้ความเคลื่อนไหว และได้พูดถึงการประกาศเกียรติคุณกองทุนหมู่บ้านตอนนี้ทำให้เกิดความแตกแยก และได้บอกว่าถ้างานวิจัยชิ้นนี้เสร็จจะขอลงจากรองประธานคนที่ ๑ ของเครือข่ายระดับจังหวัดเพราะไม่เช่นนั้นจะถูกบังคับให้เป็นประธานของเครือข่ายระดับจังหวัด คุณฉลองเสนอว่าถ้ามีตำแหน่งแล้วไม่สามารถโน้มน้าวได้ก็ให้ออกมาหรือไม่ก็ไปเป็นใหญ่ไปเลย
ในวาระนี้ได้มีประเด็นของการตั้งคำถามเกี่ยวกับการฟ้องผู้ที่ไม่ส่งคืนเงินกู้ เริ่มจากลุงหยีหมู่ที่ ๒ ได้ถามในประเด็นที่ว่า ฟ้องได้หรือไม่ได้ ข้อมูลเป็นอย่างไร เพราะเห็นว่าเรื่องนี้ กระเทือนทุกกองทุน คุณเทพได้ตอบข้อคำถามดังนี้คือ สามารถฟ้องได้แต่ต้องผ่านกระบวนการมากหน่อย
๑.      ต้องประนอมหนี้จนเต็มความสามารถก่อน ถ้าไม่คืนก็ทำประชาคมให้ได้เสียงเกินความกึ่งหนึ่ง จากนั้นทำเรื่องฟ้องโดยกำหนดคณะบุคลที่ทำหน้าที่
๒.    เสนอเรื่องผ่านไปทางอำเภอ เพื่อดำเนินการ หากยังดำเนินการไม่ได้จึงส่งไปยังจังหวัด
๓.    เสนอเรื่องจากอำเภอมายังจังหวัดเพื่อดำเนินการหากยังดำเนินการไม่ได้ทางจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้จัดส่งไปยังสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเพื่อดำเนินการต่อไป
๔.    สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติพิจารณาเพื่อดำเนินการต่อไป
ได้สรุปวาระที่ ๓ในเรื่องของการซื้อโต๊ะจีน คุณอนุราชเสนอว่าให้ใช้เงินกองกลางของเครือข่ายที่มีอยู่ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม นอกจากนี้ยังเสนอต่อที่ประชุมในเรื่องของการรวมทั้ง ๑๓ หมู่บ้านอยากให้เป็นภาพที่ชัดเจนเพราะจะขอทั้งในเรื่องสถานที่และงบประมาณผู้บริหารก็อยากให้รวมแบบชัดเจนเช่นเดียวกัน
วาระที่ ๔ สทบ.จะโอนเงินสนับสนุนเครือข่ายตำบลมาให้ ๑๐,๐๐๐ บาท จะนำเงินที่ได้มาบริหารจัดการเองไม่ต้องผ่านระดับอำเภอที่จะรวมเงินทุกตำบลละ ๑๐,๐๐๐ บาทรวมแล้ว ๔๐,๐๐๐บาท จะมีเพียงการจัดเวทีพัฒนาและศึกษาดูงานเพียงวันเดียวแล้วจบกับไป โดยเงิน๑๐,๐๐๐ บาทจะนำมาดำเนินการจัดอบรมสัมมนา พัฒนาจำนวน ๔๐ คน อาจจะมีการศึกษาดูงานแบบเช้าไปเย็นกลับ เงินที่เหลือนำมาใช้ในการบริหารจัดการเรื่องการประชุม วัสดุอุปกรณ์ และอื่นๆที่จำเป็น ซึ่งการจัดแบบนี้แทบไม่มีเงินเหลือขึ้นอยู่กับหารบริหารงานของคณะกรรมการเครือข่ายระดับตำบล แต่ในการนี้จะต้องมีรูปและรายงานไปนำเสนอ
คุยเลยมาถึงเรื่องเปิดเวทีกระบวนการเรียนรู้งานวิจัยในวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๘ ณ หอประชุมวัดใหม่ หมู่ที่ ๕ เริ่มเวลา ๙.๐๐ น. ในวันนั้นจะมี ๒ เวทีย่อยคือ ๑) การค้นหาปัญหาและเป้าหมายของสมาชิกหมู่ที่ ๕ ว่าจะดำเนินการพัฒนาไปในทิศทางใด และ ๒) การค้นหาตัวเองเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายกองทุนระดับตำบล รวมทั้งมีการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมโดยคุณเทพว่า อยากจะไปดูงานโดยตั้งเป้าไว้ ๓ ที่ คือกองทุนดีเด่นระดับจังหวัด ธนาคารหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จ และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการ แต่ก็มีทางคุณอนุราชที่ ไม่เห็นด้วยในเรื่องของการศึกษาดูงานเพราะไม่อยากไปดูงานในระยะเวลาสั้นๆ อยากที่จะแก้ปัญหาจริงๆ มีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาโดยมีการระดมความคิดเห็น ทำการแก้ไขจริงจังและเร่งด่วน อาจจะเสนอไปทางอำเภอหรือพัฒนา ที่สำคัญคือต้องทำงานให้เป็นรูปธรรม เสนอว่าอยากให้เปิดกว้างไม่ปิดกั้นหมู่ที่ไม่ค่อยเข้าร่วมการประชุม (ได้ทำแน่ในวันที่ ๑๘ ธันวาคม)
ทางทีมงานวิจัยเห็นว่าทางเครือข่ายอยากที่จะมีข้อมูลจึงได้กระตุ้นในเรื่องของการจัดทำฐานข้อมูลของตำบล โดยในแต่ละกองทุนต้องดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะได้จัดทำเป็นระบบในรูเครือข่ายตำบล รวมถึงระบบบัญชีแม้จะแยกที่กันทำแต่ก็ต้องเป็นระบบเดียวกัน รวมทั้งกระตุ้นในเรื่องของการจัดทำสารประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะออกเดือนละ ๑ ครั้ง ในวันที่ ๑๕ ของทุกเดือน เอกสารที่จัดทำแล้วกลุ่มเป้าหมายที่อยากให้ส่งไปคือ เครือข่ายกองทุนระดับตำบลอื่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แต่ในการจัดทำต้องมีการคิดร่วมกันเพื่อร่างเป็นระเบียบนโยบายรวมทั้งอาจจะต้องมีคณะกรรมการรับผิดชอบเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของวารสารประชาสัมพันธ์ต่อไป โดยในวันนี้ได้ให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมช่วยกันคิดหลายเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดทำวารสารมีดังนี้คือ
๑.      นโยบาย : สนับสนุนส่งเสริมองค์การการเงินชุมชน รวมถึงทุกองค์กรระดับท้องถิ่น               
    ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง
๒.    เป้าหมาย : เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานขององค์การการเงินชุมชน รวมถึงทุกองค์กรระดับท้องถิ่นให้เครือข่ายหรือประชาชนคนอื่นรับรู้รับทราบ  
๓.    วัตถุประสงค์ :เพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
            เพื่อเผยแพร่ให้กับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานท้องถิ่นและประชาชนทั่วไป
            เพื่อส่งเสริมเรื่ององค์ความรู้และวิถีทางประชาธิปไตยให้ประชาชนรับทราบ
๔. รูปแบบของวารสารประชาสัมพันธ์ให้ไปคิดจากนั้นนำมาแสดงความคิดเห็นร่วมกันอีกครั้ง   
ในวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๘
๕. ระยะเวลาที่จะประเมินวารสาร ทุก ๓ เดือน เพื่อจะได้มีการพัฒนาปรับปรุงต่อไป
ปิดการประชุมเวลา ๑๖.๔๕ น.
หมายเลขบันทึก: 9506เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2005 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บันทึกได้ละเอียดดีครับ วันที่ 18 ผมไปร่วมสังเกตุการณ์ได้มั้ยครับ

พี่ภีม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท