คุณกิจ ตอนที่ ๔


การจัดการความรู้เมืองนครศรีธรรมราช

 นายวิชม ทองสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช               
เรื่องการจัดการความรู้เป็นโครงการพิเศษของจังหวัดนครศรีฯในปีงบประมาณ 48 เราเริ่มจาก 3 ตำบลนี้ก่อน ต.บางจาก ต.ท่าไร่ ต.มะม่วงสองต้น วันนี้เป็นขั้นสุดท้ายของโครงการตามระบบเบื้องต้นที่เตรียมไว้แต่เรื่องของงานก็จะไหลต่อเนื่องไป คือ แนวคิดในเรื่องนี้ก็เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช วิสัยทัศน์เรา คือ เรียนรู้ น่าอยู่ และยั่งยืน
 การเรียนรู้ เรียนรู้มี 3 กลุ่ม คือ

1.เรียนรู้ในสถานศึกษาก็ต้องเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนของลูกหลานชาวนครให้ดีที่สุด 2.การศึกษานอกโรงเรียน ให้ความรู้ในเรื่องการศึกษาสามัญและความรู้ในเรื่องวิชาชีพ

3.สำคัญที่สุดที่ดำเนินการโครงการนี้ คือ การเรียนรู้ของภาคประชาชน มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากจะไปโยงของกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง เนื่องจากเรียนรู้ดีก็จะนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง

หลักการของชุมชนเข้มแข็ง มี 6 ขั้นตอน

1.เรื่องความเป็นประชาคม คือ พบปะแลกเปลี่ยนกันอย่างสม่ำเสมอ และความเป็นประชาคมของชุมชนเข้มแข็งมีวิสัยทัศน์ คือ คิดถึงส่วนรวมของชุมชน ศักยภาพที่จะไปต่อยอด มีเข็มมุ่งวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนร่วมกัน  มีปัญหาอะไรบ้าง ความเป็นประชาคมเป็นพื้นฐานสำคัญ (หัวใจ)เป็นเสาเข็มหลักหากวางรากฐานตรงนี้ไม่ดีการสร้างบ้านก็จะไม่เข้มแข็งมั่นคง

ทฤษฎีใหม่ของในหลวง

      1.ครอบครัวเข้มแข็ง 2.รวมกลุ่มกัน 3.สร้างวิสาหกิจชุมชน

2.ระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อันนี้คือสิ่งที่ท่านกำลังทำ การจัดการความรู้ หรือการจัดการการเรียนรู้ การเรียนรู้ใช้หลักของ KM ใช้เครื่องมือนี้กันในทุกองค์กร ซึ่งผมก็นำเอามาใช้ในชุมชน ซึ่งศิริราชพยายามกันเกือบ 10 ปีกว่าจะสำเร็จได้ HA โดยใช้ระบบ KM เพราะฉะนั้นการจัดการความรู้จะต้องใช้กับทุกองค์การในโอกาสต่อไป และในโครงการผมคิดว่าจะเสนอโครงการในปี 49 ทำ 400 หมู่บ้าน ปี 50 ทำ 600 หมู่บ้าน ปี 51 ทำอีก 600 หมู่บ้าน หมดแล้วประมาณ 1600 หมู่บ้านเพื่อที่จะให้พี่น้องประชาชนเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ ฉะนั้นการจัดการความรู้เมื่อเข้าใจแล้วจะสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาพื้นที่ สิ่งนี้อาจจะมองไม่เห็นทันทีในระยะใกล้ แต่จะเกิดความยั่งยืนเนื่องจากเราทำเป็นกลุ่ม

การจัดการความรู้เราก็ต้องมาแยกเป็นประเด็นและกิจกรรมว่าเราจะทำเรื่องอะไรให้สำเร็จเป็นเรื่อง ๆ ไป ก็คือวิสัยทัศน์ของกิจกรรม คิดเป็นเรื่อง ๆ ไปเลยว่าเป้าหมายที่เราต้องการคืออะไร เมื่อทราบแล้วก็มาแชร์ความคิดกันว่าสิ่งที่เราจะทำให้บรรลุเป้าหมายนั้นมีอะไรบ้าง

KM คือเรื่องของการปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วก็ต้องบันทึกไว้ เราก็จะมีความรู้ในเรื่องนี้ ขณะเดียวกันตำบลอื่น ๆ ก็อาจจะบันทึกความรู้ในสิ่งที่เขาทำเช่น เกาะทวด อำเภอปากพนัง ก็บันทึกไว้ เราก็บันทึกไว้ ก็มาแลกเปลี่ยนในสิ่งที่บันทึกไว้นั้นกลายเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน เป็นการแบ่งปันความรู้กันแล้ว

เมื่อมีความเป็นประชาคม มีการจัดการความรู้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือไม่ใช่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ธรรมดา แต่แลกเปลี่ยนกันแล้วต้องนำไปสู่การปฏิบัติและมีการบันทึกความรู้ จึงเรียกว่าการจัดการความรู้ เมื่อทำอย่างนี้แล้วกระบวนการขั้นที่สามก็จะเกิดขึ้น ใหม่ ๆท่านจะต้องอดทนเพราะคิดไม่เหมือนกันทุกคน ต้องค่อยเป็นค่อยไป ให้ทุกคนในชุมชนเห็นกระบวนการร่วมกันแล้วชุมชนก็เริ่มมีรัศมีแห่งการพัฒนา ต้องอดทนในระยะแรก

3.เริ่มมีศักยภาพ ดูด้วยใจเป็นธรรม ชุมชนมีศักยภาพ

4.เริ่มแผนชุมชนที่ดี แผนคุณภาพเกิดขึ้น แผนชุมชนขณะนี้มีทุกชุมชน แต่ถ้าผ่านกระบวนการมาเป็นประชาและการจัดการความรู้ที่ดี ชุมชนก็เริ่มมีศักยภาพดี ทุกคนก็จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง

5.การปฏิบัติตามแผน แผนชุมชนที่มีคุณภาพมีหลายระดับ คือ ระดับที่หนึ่งกิจกรรมที่เราทำกันได้เองเล็ก ๆ น้อย ระดับที่สองอาจจะต้องขอช่วยจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับที่สามเกินกำลังท้องถิ่นก็ขอผ่านส่วนกลางได้

ตัวอย่างของชุมชนเข้มแข็งยกตัวอย่างของพี่ประยงค์ที่ไม้เรียง ดูแผนชุมชนแล้ว กิจกรรม 100 กิจกรรมทำเองเสีย 60 คือคิดที่จะพึ่งตนเองเป็นหลักก่อน 20 อปท.อีก 20 ขอจากระดับจังหวัดซึ่งเกินกำลังของเราแล้ว

6.ประเมินผลเป็นระยะ ๆ เช่นกระบวนการทำการเงินชุมชนองค์กรเข้มแข็งก็ต้องประเมิน
การที่เราจะจัดการความรู้เพื่อส่วนรวมได้นั้นในเรื่องของตัวเองและครอบครัวต้องขยันขันแข็งเต็มที่

คำสำคัญ (Tags): #คุณกิจ
หมายเลขบันทึก: 9505เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2005 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท