วิจัยและพัฒนา ทำอย่างไร


จะทำวิจัยอย่างไร จึงจะเป็นการวิจัยที่นำผลไปใช้ในการพัฒนางาน ไม่ใช่การวิจัยขึ้นหิ้ง

     ระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม คณะทำงานด้านการวิจัยและพัฒนา ICT ของ กศน. ไปร่วมประชุมกันที่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก จังหวัดระยอง จากการประชุมครั้งนี้ ได้แนวทางการวิจัยเพื่อนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนางานได้ทันที ซึ่งเป็นแนวทางที่น่าสนใจมาก ซึ่งพอจะสรุปรูปแบบของการวิจัยและพัฒนา หรือ R&D ได้ดังนี้

  1. รูปแบบการวิจัยที่เห็นโดยทั่วๆไป คือ กำหนดกรอบแนวทางการวิจัย สร้างเครื่องมือ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เสร็จแล้วเขียนรายงานออกมาเป็นเล่น ส่งไปยังผู้เกี่ยวข้อง สิ่งที่เป็นผลจากการวิจัย จึงมักจะพบ 2 อย่างคือ ประการแรก นำไปไว้ใช้ในการอ้างอิง ประการที่ 2 เอาไปใช้เป็นผลงานเสนอขอความดีความชอบ หรือเลื่อนวิทยฐานะ ส่วนการนำไปใช้เพื่อพัฒนางานนั้น ก็แล้วแต่ว่าใครจะนำไปใช้ เพราะถือว่าหมดหน้าที่ของการวิจัยแล้ว
            สิ่งที่พบเห็นเป็นประจำแบบนี้ เป็นการวิจัยที่เกิดประโยชน์น้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานวิจัยด้าน ICT สำหรับผู้ปฏิบัติงาน ที่ว่าเกิดประโยชน์น้อยมาก เพราะส่วนมากเป็นการวิจัยที่ไม่สามารถบอกได้ชัดเจน ลงไปถึงวิธีการพัฒนางาน ว่า จะต้องพัฒนาอะไร ที่ไหน อย่างไร หรือบางครั้ง ผู้ปฏิบัติงานไม่ทราบหรือไม่เคยอ่านรายงานการวิจัยเลย
  2. รูปแบบการวิจัยที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงในการวิจัยครั้งนี้ จะเน้นความสำคัญมาที่กระบวนการพัฒนางาน ICT ให้มีความสำคัญเท่ากับกระบวนการวิจัย นั่นคือการวิจัย และการพัฒนาจะเป็นกระบวนการเดียวกัน โดยมีหลักการที่สำคัญดังนี้
    • ผู้ปฏิบัติงาน ICT จะเป็นผู้ร่วมดำเนินการวิจัย นั่นคือจะทำหน้าที่ทั้งวิจัย และนำผลการวิจัยในใช้พัฒนางาน ICT ที่ตนเองรับผิดชอบ หรืออาจจะเรียนว่า เป็นการวิจัยโดยผู้ปฏิบัติงานเอง  สิ่งที่จะเป็นผลดี คือ ผู้ทำวิจัย จะสามารถทราบข้อมูลได้ชัดเจน และลึกซึ้ง และเมื่อทราบข้อสรุปจากการวิจัย ก็สามารถนำเอาผลจากการวิจัยไปใช้ได้ทันที
    • กระบวนการวิจัย และพัฒนา จะเดินไปด้วยกัน โดยกำหนดขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา ว่าเป็นกระบวนการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้น จนการพัฒนาดำเนินการได้บรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ
  3. กระบวนการดำเนินการวิจัยและพัฒนา จะดำเนินการร่วมกันในทุกหน่วยงานของ กศน. ทั่วประเทศ โดยมีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค เป็นผู้ประสานการดำเนินงานในแต่ละภูมิภาค และกลุ่มงานแผนงาน  จะเป็นผู้ประสานการดำเนินงานในส่วนกลางโดยกำหนดกระบวนการวิจัย และพัฒนา เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
    • ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเพื่อหาข้อมูลพื้นฐาน เป็นการสำรวจข้อมูลพื้นฐานด้าน ICT ในปัจจุบันว่ามีสภาพเป็นอย่างไร โดยสำรวจตามข้อมูลตัวชี้วัดในแผนยุทธศาสตร์ ICT เมื่อสำรวจเสร็จแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายในการพัฒนา ว่าสภาพในปัจจุบัน ยังห่างจากเป้าหมายเพียงใด
           กระบวนการในขั้นที่ 1 นี้ นอกจากจะใช้ข้อมูลจากการสำรวจแล้ว จะต้องนำเอาประเด็นที่น่าสนใจ หรือมีนัยสำคัญต่อการพัฒนา ICT ได้ดำเนินการศึกษาในเชิงลึก โดยวิธีการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) โดยผู้ที่เกี่ยวของเข้ามาร่วมกัน ศึกษารายละเอียดของข้อมูลเพื่อ นำเอาผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดแนวทางในการพัฒนา ICT เฉพาะพื้นที่ หรือนำไปสู่ประเด็นในการพัฒนา ICT ในขั้นต่อไป โดยผู้ปฏิบัติงาน จะมีส่วนเข้าร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล และนำไปสู่การปฏิบัติ
           ยกตัวอย่างเช่น ศึกษาว่า สภาพของการจัดการศึกษาทางไกลผ่าน Internet (e-Learning) ในปัจุบัน มีสภาพเป็นอย่างไร สามารถจัดได้ตามเป้าหมายเพียงใด มีข้อมูลอะไรบ้าง ที่มีนัยที่สำคัญที่จะชี้ให้เห็นปรเด็นที่น่าสนใจในการจัด e-Learning ของแต่ละพื้นที่
    • ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางสู่ความสำเร็จ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาว่า มีเงื่อนไปอะไรบ้าง ที่จะทำให้งาน ICT จากสภาพปัจจุบัน เปลี่ยนไปเป็นสภาพความสำเร็จ ที่กำหนดไว้ในเป้าหมาย  การวิจัยขั้นตอนนี้ จึงเป็นการวิจัยเชิงอธิบายปรากฏกาณณ์ที่เกิดขึ้นของการนำเอา ICT มาใช้เพื่อการพัฒนางาน กศน. ว่ามีเงื่อนไข ปัจจัยอะไรบ้าง ที่จะส่งผลให้การพัฒนางานบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ
           ผลการวิจัยในขั้นตอนนี้ จะนำไปสู่เวทีของนักพัฒนา ICT เพื่อหาข้อสรุปและแนวทางการพัฒนาของแต่ละพื้นที่ว่า จะนำผลการวิจัยไปพัฒนา ICT ได้อย่างไร
           เช่นการศึกษาถึงปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดการศึกษาทางไกลในรูปแบบ e-Learning บรรลุผลตามที่ต้องการ หรือการศึกษาว่า การที่หน่วยงานบางแห่งจัดการศึกษาในรูปแบบ e-Learning ได้ประสบความสำเร็จนั้น เนื่องจากอะไร หรือบางแห่ง ไม่ประสบความสำเร็จเพราะอะไร
    • ขั้นตอนที่ 3 แต่ละพื้นที่ กำหนดรูปแบบการพัฒนางาน ICT และทดลองดำเนินการตามแนวทางที่ได้กำหนด แล้วศึกษาผลการทดลอง ซึ่งแต่ละพื้นที่อาจจะเลือกดำเนินการทดลองเพียงบางเรื่อง แล้วศึกษาผลการทดลอง เพื่อนำมาสู่ข้อสรุปว่า รูปแบบที่เหมาะสมน่าจะเป็นอย่างไร สำหรับพื้นที่นั้นๆ ซึ่งนักปฏิบัติ ICT จะช่วยกันนำผลการวิจัยมากำหนดเป็นแนวทางการดำเนินงานด้าน ICT ที่จะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ
    • ขั้นตอนที่ 4 การติดตามผล เป็นการติดตามเพื่อศึกษาผลที่เกิดจากการนำรูปแบบที่ได้พัฒนาไปใช้
หมายเลขบันทึก: 94508เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2007 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ท่านศรีเชาวน์คะ

  • ท่าน ดร.ปาน กิมปี ได้เล่าถึงการร่วมประชุมกับคณะทำงานด้านการวิจัยและพัฒนา ICT ของ กศน. ที่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกจังหวัดระยองให้ฟังรู้สึกตื่นเต้น
  • ได้มาอ่านรายละเอียดในบล็อกของอาจารย์    อีกครั้งเห็นแนวทางการพัฒนางาน ICT กศน.    อย่างชัดเจนค่ะ ขอบคุณ

อ.ศรีเชา์ว์ คะ 

     เป็นบันทึกที่สวยงามมาก ให้ความรู้สึกดีมากก เมื่อแรกเห็น เข้ามาทักทายก่อนคะ คนกศน.อีสานคือกัน

อ. แอ๊ว ครับ

     ขอบคุณมากครับที่ให้ความสนใจ คงต้องขอให้อาจารย์ช่วยแนะนำด้วยครับว่า แนวทางต่างๆ ที่คณะไปคิดกันนี้เป็นอย่างไร และความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เขียนนี้ยังเป็นแนวคิด และเพิ่งจะเริ่มต้นการปฏิบัติ คงจะต้องใช้ความพยายามที่จะทำให้เกิดตามแนวคิดนี้อีก ผมดีใจที่ ท่าน ดร.ปาน ได้เอาแนวคิดนี้ไปเล่าให้ฟัง เพราะแนวคิดนี้ท่านก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันในการประชุมครั้งนี้

    ทางคณะทำงานวิจัย ICT ครั้งนี้ ได้เปิด website เพื่อเป็นสื่อกลาง และเป็นสถานที่ประชุม Online กัน ในการดำเนินการวิจัย เพราะถ้าจะต้องมีการเดินทางไปประชุมกัน คงสิ้นเปลืองงบประมาณ จึงจะใช้เวทีของ ICT คือ Internet เป็นสถานที่ประชุม แสดงความคิดเห็น และทำงาน ผ่านทาง Website ซึ่งตอนนี้ ได้มีการทำงานร่วมกันเช่น สร้างเครื่องมือการวิจัย เขียนเค้าโครงและรายงานบทต่างๆ โดยทุกคนทำงานอยู่ที่หน้าโต๊ะตัวเอง แต่เป็นการทำงานร่วมกัน เพราะเป็นการทำงานบน website ซึ่งเข้าไปดูได้ที่

http://eastern.nfe.go.th/research/

    ที่ website ดังกล่าว เป็นห้องประชุมOnline สำหรับทีมงานรวิจัย และผู้สนใจทั่วไป ใครทำอะไร คืบหน้าไปถึงไหน ก็เขียนไว้ใน website นี้ได้เลย หรือมีความคิดเห็นอย่างไร ต้องการอะไร ก็นำมาเสนอไว้ใน website  นี้  

สวัสดีครับ คุณ oddy

    ขอบคุณที่แวะเข้ามาทักทาย มีแนวคิดอะไรดีๆ อย่าลืมมาแนะนำกันบ้างนะครับ หรือถ้าเปิด blog ไว้ที่ชื่ออะไร ก็บอกด้วยนะ จะได้ขอมารวบรวมใน กศน.อีสาน

พี่ศรีเชาว์ ครับ

       ดีใจจังเลยครับที่สามารถคิดนอกกรอบออกไปได้สำเร็จ ...จะติดตามทั้งทางบล็อกนี้และเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นครับ

      ขอบคุณครับ

พี่ศรีเชาว์ ครับ

                  นี่คือบล็อก Share & Learn ของ น้องอ๊อด กศน.สุรินทร์ครับ

  • ขอบคุณ ครูนง มากครับ ที่สนับสนุนแนวคิดนี้ครับ ผมพยายามที่จะทำอย่างไรให้งานวิจัยเสร็จ ตั้งแต่การวิจัยยังไม่เสร็จ คือ ทำให้คนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย(ผู้ปฏิบัติงาน) เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการวิจัย ตั้งแต่เก็บข้อมูล จนวิเคราะห์ผลการวิจัย จะได้เอาผลการวิจัยไปใช้ ตั้งแต่รายงานการวิจัยยังไม่เสร็จ ซึ่งความจริงแล้ว ทุกคนก็รู้จักกันดี คือ Action Research และกำลังจะให้ทุกคนเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเวทีแห่งนี้ด้วยครับ แต่ในเบื้องต้น จะเริ่มจากเวทีที่คณะทำงานทุดคนมีอยู่ก่อน คือเวที ที่เป็น website ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค ทั้ง 5 ภาค
  • ถ้ามีแนวความคิดอะไรเพิ่มเติมช่วยเสนอแนะด้วยนะครับ
  • ขอบคุณที่แจ้งบล็อกของ น้องอ๊อด จะทำเข้ามาอยู่ใน กศน. อีสานด้วยครับ

พี่ศรีเชาว์ ครับ

        ผมเข้ามาต่อความคิดอีกนิดว่าดีมากครับที่ใช้ เว็ปไซต้ที่http://eastern.nfe.go.th/research/
เป็นห้องเรียนของนักวิจัยในโครงการฯ เมื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อะไรแล้วจึงจะได้นำสู่ การเชื่อมต่อองค์ความรู้และประสบการณ์ที่เป็นสาธารณะที่กว้างขึ้น ผมว่าแนวคิดนี้ดีมากครับ เป็นประโยชน์กับคนทำงานในหลายวงการ

       ขอบคุณครับที่นำมาแแลกเปลี่ยน

ขอบคุณมากครับ ครูนง
    ผมกำลังมีแนวความคิดในเรื่องการพัฒนาบุคลากร โดยผนวกเอากระบวนการพัฒนาบุคลากร กระบวนการวิจัย และกระบวนการพัฒนางานเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีแนวความคิดจาก 3 เรื่องคือ

  • ผมได้รับมอบหมายให้ทำการวิจัย 1 เรื่องเกี่ยวกับ ICT เพื่อนำผลการวิจัยไปพัฒนางาน ICT
  • กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องคือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้าน ICT ของ ศนจ. จึงจะพยายามให้บุคคลเหล่านี้ เข้ามาร่วมในกระบวนการวิจัยตั้งแต่เริ่มแรก จะได้แลกเปลี่ยน และเรียนรู้เรื่องการวิจัยไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะช่วยให้มีความรู้และประสบการณืในเรื่องการวิจัย
  • บุคลากรที่มาร่วมกระบวนการวิจัย จะทราบผลการวิจัย และ นำผลไปพัฒนางาน ICT ของตนเอง

    ดังนั้น แนวคิดนี้ จึงเป็นการผนวกทั้งเรื่อง วิจัย พัฒนา และพัฒนาบุคลากร เข้าด้วยกัน
    อาจารย์ มีความคิดเห็นอย่างไรครับเกี่ยวกับแนวคิดนี้

พี่ศรีเชาว์

        ตอบอยู่ที่นี่ครับ ลิ้งค์

ขอบคุณมากครับ เข้าไปอ่านคำตอบแล้วครับ
  • ตอนนี้การววิจัยกำลังดำเนินการ โดยใช้ ICT เข้ามาช่วย ซึ่งเดือน พ.ค. นี้ เป็นช่วงของการร่างเครื่องมือ โดยเครื่องมือฉบับร่างทีส่งให้สมาชิกแก้ไขอยู่ที website http://eastern.nfe.go.th/research/ เข้าไปอ่านในหัวข้อรายงานการวิจัย จะมีเครื่องมือ ฉบับร่างอยู่ (ต้นฉบับ) แต่เครื่องมือ ฉบับที่ปรับไปบ้างแล้ว จะอยู่ในหัวข้อของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • การทำงานร่วมกันในระยะนี้ จึงใช้ Website เป็นเวลทีของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเวทีแห่งการทำงานร่วมกัน

สวัสดีครับท่าน  ดีครับ

     ตอนนี้ ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาจริงๆ และเมื่อเข้าไปศึกษาลึกๆ แล้ว คิดว่าน่าสนุกเป็นอย่างมาก เพราะการวิจัยและพัฒนามีคุณค่าต่อการทำงานเป็นอย่ามาก เพราะไม่ใช่การวิจัยแแบขึ้นหิ้ง เอาผลการวิจัยไปพัฒนางานจริงๆ เมื่อพัฒนา ศึกษาวิจัยอีก และพัฒนาอีกให้ดีขึ้นไปอีก กระบวนการเช่นนี้ ถือว่าเป็นสุดยอกของการทำงาน ดังนั้น ครูท่านใดที่ทำงานแบบนี้ จึงถือได้ว่า เป็นครูที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ เขาจึงให้วืทยฐานะเป็นครูเชี่ยวชาญพิเศษ เทียบเท่ากับระดับ 10 หรือ ศาสตราจารย์ ดังนั้น เรื่องวิจัยและพัฒนาไม่ใช่เรื่องธรรมดานะครับ

    หลักการวิจัยและพัฒนาดูเหมือนว่าจะมีหลักการง่ายๆเพียง ไม่กี่ข้อ ดังนี้ครับ

  1. ทำการวิจัยและพัฒนางานในหน้าที่ที่เราทำอยู่ เราทำงานอะไร รับผิดชอบเรื่องอะไร ก็พัฒนาสิ่งที่เราทำ
  2. กระบวนการจะเริ่มจากการวิจัย คือการศึกษางานของเราก่อน เป็นการศึกษาพื้นฐานว่า งานของเรา ต้องการให้เกิดอะไร และปัจจุบันมันเป็นอย่างไร ยังห่งไกลเป้าหมายแค่ไหน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะอะไร จะแก้ไขอย่างไร ฯลฯ
  3. ดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงานที่เราทำอยู่ให้ดีขึ้น ตามแนวทาง หลักการ และทฤษฎีของเรื่องนั้นๆโดยอาศัยข้อมูลจากการวิจัย เช่นกำลังพัฒนาระบบการเรยนการสอนทางไกล การพัฒนาก็ต้องอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีสื่อ เป็นต้น
  4. ระหว่างการพัฒนาก็ต้องมีการวิจัยควบคู่ไปด้วย โดยศึกษากระบวนการพัฒนาว่ามีปัจัย มีเงือนไปอะไร ที่ส่งเสริม หรือเป็นอุปสรรคการปฏิบัติงาน ถ้าเกิดอุปสรรคจะแก้ไขอย่างไร แล้วดำเนินกาแก้ไบ
  5. สุดท้าย เมื่อทำงานไปจนประสบความสำเร็จ ก็เอาประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้ทำมานั้น เล่าให้คนอื่นฟังว่าทำอย่างไร แล้วให้ลองเอาไปใช้ดูบ้าง 

ดูไปแล้ว ก็คือกระบวนการทำงานที่เราทำอยู่นั่นเองเพียงแต่ต่างกันที่เป็นการทำอย่างมีเป้าหมายและวิธีการที่เชื่อถือได้ ไม่ใช่ทำไปเรื่อยๆแล้วแต่สถานการณ์จะพาไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท