การอำนวยให้เกิดเวทีพูดคุยต่าง ๆ ทั้งในส่วนคนทำงาน และชุมชน


2 ประเด็น คือเวทีที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และเวทีที่เรากระตุ้นให้เกิดขึ้น

     การอำนวยเพื่อให้เกิดเวทีพูดคุยกัน ทั้งในส่วนคนทำงาน และชุมชน นั้น ผมแบ่งออกได้เป็น 2 ประเด็น คือเวทีที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และเวทีที่เรากระตุ้นให้เกิดขึ้น

     เวทีที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นเวทีที่เราฉวยโอกาสเมื่อเราได้เข้าไปร่วม หรือเดินไปหาเลย เช่น ร้านน้ำชา ร้านอาหาร หรือสถานที่/เวลา ที่ชาวบ้านชอบมานั่งพูดคุยกันอยู่แล้ว เช่นบ้านผู้นำ ศาลาหน้า อบต. วัด หรือแม้แต่หน้าสถานีอนามัย ฯลฯ อันนี้ก็จะเป็นไปในลักษณะของการพูดคุยที่ไม่เป็นทางการ ทั้งนี้บางครั้งเราอาจจะได้มาเพียงจับแกนนำได้ หรือทราบกลุ่มผู้สนใจ แล้วจากนั้นก็เชื่อมโยงมายังเวทีในลักษณะที่เรากระตุ้นให้เกิดขึ้นในภายหลังได้ ที่ผมมักจะใช้อยู่ก็คือการขอเข้าร่วมสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมในเวทีตามปกติของเขา จากนั้นค่อยนัดกับผู้ประสานเพื่อว่ากันในประเด็นต่อ ๆ ไป อีกกรณี คือ การได้รับเชิญไปเป็นวิทยากร ซึ่งอันนี้ง่ายที่สุดที่จะสามารถเชื่อมโยงมาให้เกิดเวทีตามประเด็นที่เขาสนใจในวันหลังขึ้นอีกอย่างต่อเนื่องจากเรื่องประเด็นเดิม เช่นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพของ คปสอ.เขาชัยสน หรือการดำเนินงานตามโครงการเอื้ออาทรคนพิการเข้าถึงสิทธิ เป็นต้น

     เวทีที่เรากระตุ้นให้เกิดขึ้น เป็นเวทีที่เกิดขึ้นได้เพราะช่วงแรก ๆ เราตั้งใจที่จะกระตุ้นให้เกิดขึ้น ด้วยการโยนโจทย์ไปไว้ให้แกนนำ หรือผู้ประสานงานนพื้นที่ ใช้มากในโครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชนที่กำลังดำเนินการอยู่ จากนั้นเมื่อเห็นว่าเกิดกลุ่มที่สามารถเดินต่อได้เองเราก็จะมาเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ในระดับต่าง ๆ รวมถึงการจัดให้มีเวทีกลางที่ให้คนทำงานด้วยกัน แต่ต่างพื้นที่กันได้มาพบปะพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กัน อันนี้ได้ทำมาอย่างต่อเนื่องทั้งในงานที่รับผิดชอบ คือ นายทะเบียน UC งานตามโครงการหลักประกันสุขภาพ หรือโครงการไตรภาคีฯ แต่เพียงยังไม่รู้จักเทคนิคตามแนวทางการจัดการความรู้ที่ถูกต้อง จึงยังหลงทิศหลงทางอยู่อีกมาก

     ต่อไปนี้จะได้พยายามปรับกระบวนทัศน์ เพื่อทำให้งานทุกอย่างที่ดำเนินการอยู่มีการจัดการความรู้ไปด้วย และใช้เครื่องมือในการจัดการความรู้ (เท่าที่รู้และจะพยายามรู้เพิ่มขึ้น) ในการช่วยสร้าง ช่วยอำนวยการเวที ทั้งเวทีที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และเวทีที่เรากระตุ้นให้เกิดขึ้น ต่อไป

[ความรัก ถือเป็นจุดเริ่มต้น]
[เรื่องเล่าที่ผ่านมาจากประสบการณ์ทำงานด้านสาธารณสุขชุมชน สอ.ต.หนองธง, สอ.ต.นาปะขอ, สสอ.บางแก้ว, สสจ.พัทลุง]
[วิธีการไปชักชวนคนทำงานอื่น ๆ ในแวดวงมาพูดคุยกัน]
[วิธีการสร้างบรรยากาศการพูดคุยที่เป็นฉันมิตร]
[การอำนวยให้เกิดเวทีพูดคุยต่าง ๆ ทั้งในส่วนคนทำงาน และชุมชน]

[บทสรุปย่อ]

หมายเลขบันทึก: 9423เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2005 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท