มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

กรณีศึกษาเรื่อง conflict of interest ในระดับเทศบาลของแคนาดา


ดูข่าวทางโทรทัศน์เมื่อคืนเรื่อง นายกเทศมนตรี 5 ท่านจาก 5 เมืองรอบๆแวนคูเวอร์ ไปดูงานที่เมืองจีนมาโดยที่ทางบริษัทเอกชนของคนจีนและเทศบาลเมืองปักกิ่งร่วมกันเป็น ฝ่ายจ่ายค่าใช่จ่ายทั้งหมดให้

งานที่ไปดูและลปรร.เป็นเรื่องเทคโนโลยีแหล่งสร้างพลังงานทางเลือกต่างๆ เช่นการใช้น้ำทะเลมาทำระบบระบายความร้อนในเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น 

ระหว่างการเยี่ยมเยือนกรุงปักกิ่ง ทางฝ่ายเจ้าภาพก็มีการพาแขกไปเที่ยว พาไปทานข้่าว ก็มีรูปถ่ายร่วมกันที่กำแพงเมืองจีนตามปกติ

ข่าวก็เอารูปนี้มาประกอบการเสนอข่าว 

-------------------------------------------------------------------------- 

ปัญหามันอยู่ที่ว่า ไอ้บริษัทเนี่ยะมีออฟฟิศอยู่ที่แวนคูเวอร์นี้ด้วย ถึงแม้ยังไม่ได้มีโครงการที่ไป pitch กับทางการใดๆก็ตามก็เถอะ

เรื่องมันเลยถูกยกขึ้นมาว่า การที่นายกเทศมนตรีทั้ง 5 ท่านตกลงไปเมืองจีนตามคำเชิญนี้เป็นสิ่งที่ควรทำหรือไม่

เพราะมีกฎเขียนไว้เป็นเรื่องเป็นราวในกฎบัตรชุมชนว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐห้ามตอบรับเอา เงิน ของขวัญ หรือ ผลประโยชน์ใดๆที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ได้ 

นอกจากนี้ในการเดินทางครั้งนี้มีี CEO ของบริษัทเอกชนที่ก่อสร้างคอนโดฯรายใหญ่ของแคนาดาไปด้วย อะไรๆเลยยิ่งทะแม่งๆมากขึ้น 

  • ท่านเทศมนตรีท่านหนึ่งก็อ้างว่าใจบริสุทธิ์จะได้ไม่ต้องใช้เงินภาษีประชาชนคนแคนาดา
  • อีกท่านบอกว่าไม่เคยทราบมาก่อนว่าบริษัทนี้มีสาขาที่แวนคูเวอร์ ไม่ได้เขียนไว้ในจม.เชิญ
  • อีกท่านบอกว่าพร้อมตอบคำถามทุกอย่าง มีรายงานว่าไปดูงานได้ความว่าอย่างไรมาเสนอด้วย
  • อีกสองท่านหลบหน้าไปเลย

แต่จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนและนักจริยศาสตร์ ทุกคนลงความเห็นว่า....ผิด

 

  • ทุกคนยอมให้เอางบเทศบาลเมืองไปจ่ายถ้าจะไปดูงานแบบนี้ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม
  • หลายคนพูดว่ามันไม่มีบ.เอกชนไหนให้อะไรคุณฟรีหรอก
  • บางคนพูดว่าการรับเงินทางอ้อมแบบนีไม่ว่าจะบริสุทธิ์ใจอย่างไรก็อาจเกิดปัญหาภายหลังได้ ตัดไฟแต่ต้นลมดีกว่า 
  • เอาเงินภาษีชั้นไปเลย ดีกว่าอีกหน่อยบ.นี้มา pitch งานก่อสร้างอะไรในเมืองแล้วก็ได้งานไปเพราะเคยมีผลประโยชน์ให้กันมาก่อน
  • อีกคนบอกว่า ทำไมเรื่องพวกนี้ต้องบินไปดูเองเหรอ ให้เค้ามาสรุปเสนองานให้ฟังให้ดูไม่ได้เหรอ

-------------------------------------------------------------------------- 

ถ้ามองดูที่การกระทำของบริษัทคนจีน

มันเป็นวัฒนธรรมการติดต่อราชการที่ธรรมดามากใช่หรือไม่

แล้วคนไทยหล่ะ? 

ยอมรับตามตรงว่าตอนแรกแปลกใจมากที่เป็นข่าวใหญ่โต และไม่คิดมาก่อนว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆเป็นปกติ 

ผู้เขียนชื่นชม "ชาวบ้านชาวเมือง" แถวนี้จริงๆ

--------------------------------------------------------------------------

  • งานนี้เทศมนตรีเมืองแวนคูเวอร์และอีกสองสามเมืองที่ปฏิเสธคำเชิญไปเลยได้รับคำชมไปค่ะ
  • ส่วนนายกเทศมนตรีทั้ง 5 ท่านไม่ถูกดำเนินคดี แต่ให้ส่งรายงานว่าไปทำอะไรมาบ้าง และถ้ามีโครงการประมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างพัฒนาทางด้านนี้ ท่านทั้ง 5 ห้ามเป็นกรรมการ 
  • ที่โดนกระทบมากที่สุดคือบ.เอกชนในข่าวกลายเป็นblack list ของรัฐไปแล้วค่ะ เอาวัฒนธรรมมาใช้ไม่ถูกที่เองนี่นา
หมายเลขบันทึก: 94228เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2007 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ่านแล้วนึกถึงคนทำงานราชการในบ้านเรา...ที่จริงมันเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ถูกต้องนะ...ผลประโยชน์มันก็คงมีซ่อนอยู่แน่ๆ...แค่การที่รับของที่บริษัทให้มาเป็นของส่วนตัวก็แย่แล้ว...นี้พาไปเที่ยวด้วย...

โอชกร

เห็นด้วยกับประโยคสุดท้ายของคุณหมอมัทนาว่า "ที่โดนกระทบมากที่สุดคือบ.เอกชนในข่าวกลายเป็น black list ของรัฐไปแล้วค่ะ เอาวัฒนธรรมมาใช้ไม่ถูกที่เองนี่นา" นะครับ

ธุรกิจระดับโลกนี่ก็บ้านใครบ้านใครครับ กฏหมายบ้านเรา ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด การให้ของเจ้าหน้าที่ด้วยสเน่หาถือว่าทำได้ เช่นปลัดอำเภอ จัดการแก้ไขปัญหาขัดแย้งให้ผู้ใหญ่บ้านได้ ผู้ใหญ่บ้านชอบใจยกที่ดินให้หนึ่งผืน อันนี้ทำไ้ด้ครับ

ฝรั่งเองถ้าจะมาทำธุรกิจในจีน ก็ต้องยอมให้วัฒนธรรมจีนเหมือนกัน อย่างกรณีที่รัฐบาลจีนกรองข้อมูลใน wikipedia คือปิดข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ไม่ต้องการให้ประชาชนรับรู้ ก็ทำได้ ฝรั่งในจีนไม่เห็นจะโวยวาย ถ้าจะบอกว่าไม่โวยวายเพราะไปอยู่บ้านเขา คงไม่ถูกทั้งหมด เพราะเหตุสำคัญคือผลประโยชน์การค้าครับ 

อีกประเด็นที่น่าสนใจสำหรับกรณีนี้ อย่างที่คุณหมอกล่าวชื่นชมชาวเมือง ที่ร่วมกันตรวจสอบ ชาวบ้านที่คุณหมออ้างถึงเป็นคนชั้นกลางหรือชั้นล่าง ระดับการเข้าถึงข้อมูลมีมากแค่ไหน อย่างไร  ที่สำคัญ การตรวจสอบนี้ สื่อมีส่วนร่วมและมีอิทธิพลแค่ไหน

ที่ผมตั้งคำถามแบบนี้เพราะเห็นว่าในบ้านเราคนชั้นกลางไม่รวมตัวกัน ยังมีความเชื่อเรื่องโชคชะตาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่มาก  และที่สำคัญไม่ค่อยจะตั้งคำถามกับสื่อ คือวุ่นวายกับการเลี้ยงปากเลี้ยงท้องหรือเปล่าก็ไม่ทราบ

ขอบคุณคุณหมอสำหรับข้อมูลนะครับ 

                  สังคมที่นั่นก็คงพัฒนาระบบการเมืองการปกครองไปมาก   และจริยธรรมของผู้ทำงานการเมืองนี่ก็คงรวมอยู่ในนั้นไปแล้ว  ครับ

           ทั้งนี้ความรู้ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของผู้คนที่นั่นคงจะเข้มแข็งมากด้วย การตรวจสอบจึงเข้มแข็งตามมา

            ส่วนในเรื่องวัฒนธรรมนั้น หรือว่าธรรมเนียมปฏิบัติ ก็ตาม คงจะใช้ไม่ถูกที่จริง ๆ ครับ  แต่ที่ซ่อนไว้ในผู้คนทุกสังคมแล้ว วิธีการแบบที่เพื่อนบ้านตะวันออกตัวใหญ่ของเราใช้นั้นก็พิสูจน์นักการเมืองทางประเทศพัฒนาได้เหมือนกันนะครับ

             ขอบคุณครับที่นำเรื่องที่แคนาดามาให้อ่านเปิดความรู้ผมได้อีกมากครับ

พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้เมื่อ 2500+ ปี ก่อนแล้วเรื่อง สัปปุริสธรรม 7   ธรรมะของสัปปบุรุษ ทำให้ดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่น

รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้บุคคล รู้ประมาณ  รู้กาล รู้ชุมชน

มองกลางกลาง  บริษัทจีนอาจมีธรรมเนียมตามปรกติของคนจีน ที่เอื้ออำนวยกัน มองเห็นการให้ก่อน แล้วค่อยว่ากันอีกที  เพราะคนจีนเค้าค้าขายมานานหลายพันปี  เค้าก็มองเป็นสิ่งปรกติของการค้าขาย 

เทศมนตรีที่บอกว่าบริสุทธิ์ใจ ก็อาจจะมอง จะคิดอย่างนั้นจริง ๆ 

เนี่ย บริษัทจีน คงไม่รู้จักชุมชน คิดว่าเหมือนกันไปหมด

เทศมนตรีก็คงไม่รู้จักตน ว่าควรวางตัวในฐานะอะไร แล้วก็ไม่รู้จักบุคคลด้วย ว่าบริษัทจีนเขามาทำนองไหน เป็นอย่างไร

เรื่องทำนองนี้ทำให้คนทะเลาะกันบ่อย ๆ

หรือทั้งหมดอาจคิดในทางมิดี (มิร้าย ) ก็ได้ เรื่องนี้ยังไม่รู้เหมือนกัน ต้องค่อย ๆดูกันไป

ขอบคุณมากค่ะ อ. โอชกรคุณแว้บ, mr. สุมิตรชัย, หมอจิ้น 

คุณหมอจิ้น สรุปไว้ได้ดีมากเลยค่ะ

รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้บุคคล รู้ประมาณ  รู้กาล รู้ชุมชน

นักการเมืองที่แคนาดานี้ก็มีทั้งดีและไม่ดีค่ะ แต่ระบบตรวจสอบเค้าใช้ได้ผลจริงๆ

ส่วนเรื่องระดับการเข้าถึงข้อมูลก็มีมากแต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนอ่านหรือดูแต่สื่อดีๆนะคะ

แน่นอนค่ะ หนังสือที่ลงข่าวมั่วๆชอบแฉข่าวฉาวดาราก็มี นสพ.ก็แบ่งเป็นหลายระดับ เหมือนบ้านเรา แต่ที่สำคัญคือ ใครอยากเขียนอะไรก็ไม่โดนปิดกั้น

แหล่งข้อมูลมีให้เลือกมากมาย

แต่ถ้าถามว่าทำไมเค้าทำได้

ความคิดเห็นส่วนตัวคือ แคนาดา เป็นประเทศใหม่ วิวัฒนาการของระบอบการเมืองการปกครองไม่ได้มีประวัติซับซ้อนเหมือนทีอื่นๆ

ทางเอเชีย หรือ อังกฤษ ยุโรป นี่ การขีดเส้นแบ่งเรื่อง networking กับ สินบน นี่ไม่ง่ายนักค่ะ ทำกันมาแบบนี้มานานแสนนาน

มีเพื่อนเล่าให้ฟังว่า อเมริกาไป pitch งานแข่งกับพวกนี้มักจะแพ้ 

แต่เพื่อนก็บอกอย่างที่มัทคิดค่ะ ตัดไฟแต่ต้นลมดีกว่า 

 

มุมมองที่แตกต่างกันระหว่างสถานะการณ์ของบุคคลในเรื่อง Conflict of interest

ทั้งหมด ทั้งปวงน่าจะเป็นเรื่องการจัดการผลประโยชน์ ระหว่างสัดส่วนของผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม

ส่วนตัว เท่ากับผลประโยชน์ที่ได้หารด้วย 1

ส่วนรวม  เท่ากับผลประโยชน์ที่ได้หารด้วยจำนวนผู้รับประโยชน์

เรา(บุคคลที่ 3)จะรู้สึกแย่เมื่อรู้สึกว่า บุคคลที่หนึ่งและที่สองได้ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า ที่เรา(บุคคลที่ 3 ประเมินไว้) เพราะเรา(บุคคลที่ 3)มีต้นทุนและหวังรับประโยชน์ส่วนรวม จากการที่บุคคลที่1 และที่ 2 ตกลงกัน

ดังนั้นเพื่อให้เป็น Win-Win-Win Situation จึงต้องบริหารผลประโยชน์โดยพิจารณาสมการนี้

ผลประโยชน์ทั้งหมด = ผลประโยชน์บุคคลที่ 1 + ผลประโยชน์บุคคลที่ 2 + ผลประโยชน์รวม*จำนวนผู้รับผลประโยชน์1/จำนวนผู้รับผลประโยชน์2

เพราะว่า ผลประโยชน์บุคคลที่ 1 และบุคคลที่ 2 โดนประเมินโดยบุคคลที่ 3 ดังนั้นจึงตัดตัวแปล บุคคลที่1 และบุคคลที่ 2 ออกไปได้ สมการใหม่จึงเป็น 

  ผลประโยชน์ทั้งหมด = K1(ผลประโยชน์รวม*1/จำนวนผู้รับผลประโยชน์2)+ K2(ผลประโยชน์รวม*1/จำนวนผู้รับผลประโยชน์2) + ผลประโยชน์รวม*จำนวนผู้รับผลประโยชน์1/จำนวนผู้รับผลประโยชน์2

ดังนั้นถ้าเราสามารถกำหนดค่า K1 และ K2 ได้เราก็จะกำหนด การแบ่งผลประโยชน์ที่ทุกคนพอใจได้ แล้วเราจะหาค่า K1 และ K2 อย่างไร เดี๋ยวไปคิดแล้วจะมาเล่า 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท