เรียนบรรณารักษ์...จบไปเป็นแค่คนเฝ้าหนังสือจริงหรือ????


เรียนบรรณารักษ์

     ในสังคมปัจจุบันที่ทุกชีวิตหวังว่าการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งการศึกษาในด้านต่างๆ ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงอนาคต ทำให้นักเรียน (ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา) เริ่มวางแผนอนาคตชีวิตของตนเองแล้วว่า ถ้าจบ ม.ปลายไปแล้ว จะเข้าศึกษาในสาขาใด สถาบันการศึกษาแห่งใด บางคนอาจมองถึงว่าจบไปแล้วจะประกอบอาชีพใด และสาขาที่จะศึกษาต่อนั้น ในตลาดแรงงานมีพื้นที่ให้แทรกตัวได้มากน้อยเพียงใด

     ทำให้สังคมในปัจจุบันจะพบว่านักเรียนที่จบ ม.ปลาย จะเลือกเรียนต่อในสาขา (ยอดนิยม) เพียงไม่กี่สาขา ทั้ง ๆ ที่มีอีกหลายสาขาให้ได้เลือกเรียน (คงเป็นเหตุผลทางด้านการงานในอนาคต) ที่คิดพิจารณาแล้วว่าถ้าคิดนอกกรอบไม่เรียนตามกระแสความนิยม...จบไปแล้วจะทำอะไรกิน ซึ่งหนึ่งในหลายๆ สาขาวิชาที่น้องๆ ที่จบ ม.ปลาย มองข้ามไปก็คือด้านบรรณารักษศาสตร์ ในแต่ละสถาบันก็ใช้ชื่อที่แตกต่างกันออกไป เช่น บรรณารักษศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์และบรรรณารักษศาสตร์ ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ศึกษาด้านบรรณารักษศาสตร์

     จากประสบการณ์ที่เคยลองสอบถามน้องๆ ว่าถ้าเรียนสาขานี้แล้ว คิดว่าเมื่อจบไปแล้วสามารถทำอะไรได้บ้าง....คำตอบคือ...เป็นบรรณารักษ์ (90%....อีก 10% เว้นไว้สำหรับนึกไม่ออกว่าจะทำอะไรดี)

     จึงมีคำถามว่า "บรรณารักษ์" ในสภาพสังคมปัจจุบันหมายถึงเพียงแค่ ผู้ให้บริการยืม-คืนหนังสือภายในห้องสมุดเท่านั้น  หรือเป็นเพียงผู้ที่ทำหน้าที่เฝ้าหนังสืออยู่ในห้องสมุดเท่านี้หรือ???? หรือว่า บรรณารักษ์ ทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิด รวมถึง ตลาดงานที่จะรองรับผู้ที่เรียนในสาขานี้จะมีมากน้อยเพียงใด  (ในสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร)

 เกี่ยวกับบรรณารักษ์...

ความเป็น "บรรณารักษ์"

โตขึ้นหนูอยากเป็น-บรรณารักษ์

ขอขอบพระคุณแหล่งสารสนเทศที่เกี่ยวข้องข้างต้นเป็นอย่างสูง

หมายเลขบันทึก: 92020เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2007 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท