การให้ยา "พลิกนิดเดียวก็ได้ผล"


เมื่อเดือนก่อนพี่จุดได้ไปตรวจเยี่ยมคนไข้  พบคนไข้หายใจเหนื่อยหอบ  เมื่อพูดคุยซักถามทราบว่า  หลังได้รับยาโซเดียมคลอไรด์  คนไข้อาเจียนและบ่นว่าเค็มมาก  กินไม่ได้  กินแล้วอ๊วก  ( คนไข้จำเป็นต้องได้รับยาโซเดียมคลอดไรด์  เนื่องจากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ  ผู้ป่วยมีโซเดียมต่ำประมาณ 118  จึงต้องให้โซเดียมคลอไรด์ทดแทน )  

 คนไข้บอกว่า  มื้อเที่ยงนี้พยาบาลจึงได้แบ่งเม็ดยาให้กินทีละครึ่งเม็ด  นี่ก็เพิ่งกินไปได้ครึ่งเม็ดเอง  ยังเหลืออีกครึ่งเม็ดค่ะ ยังกินไม่ลง  

 เมื่อพี่จุดถามว่าได้ ลองกินยากับผลไม้  เช่น กล้วย หรือน้ำหวานบ้างหรือไม่  เพื่อว่าอาจจะช่วยให้กินยาได้ง่ายขึ้น  ก็ได้รับคำตอบว่า  ยังไม่ได้ทำ  พี่จุดจึงแนะนำให้ลองทำดู  แต่ ณ เวลานั้นผู้ป่วยขอพักก่อน

 เช้าวันรุ่งขึ้น  พี่จุดก็ไปที่หอผู้ป่วยอีก  พร้อมถือโอกาสเล่าเรื่องนี้ให้พยาบาลเวรเช้าทราบ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  หลังจากนั้น  พี่จุดก็ชวนรองหัวหน้าหอผู้ป่วย  เข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยด้วยกัน  เพื่อติดตามผล 

พี่จุด                       สวัสดีค่ะป้า  วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง  ยาเมื่อวานที่กินแล้วอ๊วก     วันนี้กินได้หรือเปล่าค่ะ

ผู้ป่วย                     อ้อ ! ได้ค่ะ

สามีผู้ป่วย             เขากินไม่เป็น  ถ้าเค้านำยาวางไว้ที่โคนลิ้น  เค้าน่าจะกินได้ง่ายกว่านี้

ผู้ป่วย                     ใช้มือปัดมือสามีที่แสดงท่าประกอบการเล่า  พร้อมพูดว่า อย่าพูดเลย  คุณไม่ได้กินเอง  คุณไม่รู้หรอก

พยาบาล                ถ้าเป็นหนู  เวลาหนูให้ยานี้แก่ผู้ป่วย  หนูจะ บดยา ก่อน  แล้วค่อยผสมในน้ำหวาน  น้ำส้ม  หรือผลไม้กระป๋องก็ได้ให้ผู้ป่วยทานค่ะ

ผู้ป่วย                     อ้อ  วันนี้ฉันก็ใช้ชมพูจิ้ม  ยาที่บดนี้กินค่ะ

พี่จุด                       แล้วพอจะกินได้มั้ยค๊ะ

ผู้ป่วย                     กินได้.....หมดเลย  ฉันว่ามันน้อยไปนะ  ถ้าขอเพิ่มอีกได้หรือมั้ยค๊ะ

พี่จุดและพยาบาลหัวเราะพร้อมกัน 

ช่วงบ่าย  พี่จุดไปอีกหอผู้ป่วยหนึ่ง  พร้อมเล่าเรื่องนี้ให้พยาบาลฟัง  โดยเล่าเป็นสถานการณ์ที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้ยา  และมีอาการอาเจียนหลังได้รับยา  ถ้าน้องเป็นพยาบาลผู้ให้ยา  จะแก้ไขวิธีการให้ยาอย่างไร  จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาตามเป้าหมาย 

ผล  น้อง ๆ แต่ละคนช่วยกันบอกว่าจะให้อย่างไร  โดยวิธีแก้แต่ละคนไม่ซ้ำกัน  แต่ไม่มีใครแก้โดยใช้วิธีบดเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ผลไม้จิ้มแทนเกลือกิน  ซึ่งดีกว่าวิธีของน้อง ๆ ทั้งหมด  ตัวชี้วัดที่บอกว่าดีกว่าคือ  ผู้ป่วยจะขอยาที่บดเพิ่มบอกว่าน้อยไป  แต่ถ้าให้กินเป็นเม็ดแบบเดิม  ผู้ป่วยก็จะอาเจียน 

พี่จุด  จึงสรุปให้น้อง ๆ ฟังว่า  การพยาบาลผู้ป่วย  เราจะต้องใส่  ใจ  และจิตวิญญาณ  ของเราเข้าไปด้วยตลอดเวลา  เพื่อช่วยให้การดูแลของเราครบองค์รวม  ได้ทั้ง คนและไข้  เราควร ประเมินวิถีชีวิต ของผู้ป่วยแต่ละคน  และเราต้องมี การติตตามผล  หากเราทำงานแบบ Routein  เพียงเพื่อให้งานเสร็จโดยไม่แคร์ว่าผลของการดูแลจะออกมาเป็นอย่างไร ไม่มีการติดตามช่วยเหลือ /ปรับวิธีการดูแล   เราก็จะไม่มีประสบการณ์และเกิดการเรียนรู้ที่ดีเลย    

คำสำคัญ (Tags): #c3ther#discharge-planning
หมายเลขบันทึก: 91679เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2007 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านเรื่องนี้แล้วอยากเล่าบ้างค่ะ อาจจะไม่ค่อยเกี่ยวเท่าไร อิอิ.. ตอนที่ลูกสาวอายุประมาณเกือบ 3 ขวบ มีอาการม่านตาอักเสบ คุณหมอให้ยา prednisolone มากิน เป็นยาเม็ด ก็เอาละสิที่นี้ ทำไงจะให้ลูกกินยาได้หนอ ปกติยาน้ำก็ยากจะแย่อยู่แล้ว ตอนแรกให้กินก็บ้วนทิ้งตลอด เพราะเค้ารู้สึกขม ต่อมาก็เลยต้องค้นหาวิธี มีคนแนะนำให้กินกับน้ำหวาน แต่ก็ไม่ต่างจากเดิมเท่าไร เพราะเค้ายังไม่สามารถรีบดื่มน้ำหวานตามได้อย่างเร็ว ก็เลยค้นหาสิ่งที่เค้าชอบค่ะ ไอศกรีมไงคะ เด็กชอบกันทุกคนเลย คราวนี้ก็เอาใส่ไว้ในไอศกรีม แล้วก็ป้อนแบบเร็วๆ ปรากฎว่าได้ผล พอยาครบแล้วยังถามหายาอยู่อีกเลย 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท