เรื่องเล่าจากดงหลวง 75 วันแห่งวิถีความสัมพันธ์ของ คน สัตว์ ธรรมชาติ


ปัจจุบันนี้ประเพณีดังกล่าวได้ถูกละเลยงดเว้นหรือยกเลิกไปในแทบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในแถบที่วิถีชีวิตชาวชนบทได้ถูกรบกวนโดยกระแสความเจริญทางด้านวัตถุ และวิถีแห่งเศรษฐกิจชาวเมือง

 

 วันที่ 21 มกราคม 2550 ที่ผ่านมาเป็นวันสำคัญของชาวไทยอีสาน เพราะตรงกับปฏิทินทางจันทรคติคือ 3 ค่ำเดือน 3 ซึ่งประเพณีโบราณของชาวไทยอีสานเรียกว่าวันเปิดประตูเล้าข้าว”   

ประเพณีทำขวัญยุ้งฉางข้าว หรือ บุญเปิดประตูเล้าข้าว เป็นประเพณีดั้งเดิมประจำถิ่นอีสานที่ยังคงสืบทอดและปฏิบัติกันอย่างเหนียวแน่นในหมู่ของชนเผ่าที่อยู่รอบเทือกเขาภูพาน โดยเฉพาะ กลุ่มราษฎรไทยเชื้อสายกะโซ่ได้ถือเอาวันนี้ของทุกปีเป็นวัน ตรุษโซ่”  

การผูกขวัญวัว ควาย

กิจกรรมในวันนั้นเป็นพิธีกรรมที่ปฏิบัติเป็นรายครอบครัว จะเริ่มในตอนเช้าโดยประกอบพิธีทำขวัญข้าวและยุ้งฉาง พาขวัญ ภาชนะที่ใช้ประกอบพิธีประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน 5 ชุด (ขันธ์ 5) ผ้าผืน แพรวา ข้าวเหนียวนึ่ง ไข่ต้ม ขนม น้ำ น้ำหอม ใบยอ ใบคูณ และด้ายผูกขวัญ เจ้าของเรือนเปิดประตูยุ้งฉางนำเครื่องประกอบพิธีไปวางไว้บริเวณหน้าประตู แล้วกล่าวคำทำขวัญข้าว    

คำกล่าวเริ่มด้วยการเชิญขวัญข้าวมาสถิตอยู่ในยุ้งฉาง ตามด้วยคำขอบคุณหรือการสำนึกในบุญคุณของข้าว และการร้องขอให้ผลผลิตข้าวในปีต่อไปเพิ่มพูนขึ้น จากนั้นจะนำน้ำหอมที่อยู่ใน พาขวัญไปประพรมทั่วบริเวณยุ้งฉางรวมถึง คราด ไถ และอุปกรณ์ที่ใช้ทำนาอื่น ๆ ที่มักเก็บรักษาไว้ในบริเวณยุ้งฉาง    

ควายที่ผูกขวัญแล้ว

ต่อจากนั้น เป็นพิธีผูกขวัญวัวควายโดยนำด้ายมาผูกที่ เขาวัวควายที่อยู่ในคอกพร้อมกล่าวคำทำขวัญวัวควาย คำกล่าวเริ่มด้วยการเชิญขวัญมาอยู่กับตัวของวัว ควาย การขออโหสิกรรมที่ดุด่าทุบตี คำขอบคุณหรือสำนึกในบุญคุณที่ช่วยเหลือในการไถนา และตามด้วยการร้องขอให้ วัว ควาย ออกลูกเพิ่มเติมให้แพร่หลายยิ่งขึ้น    

เอาปุ๋ยมูลวัว ควาย ไปใส่ที่นาพอเป็นพิธีก่อน

สุดท้ายเป็นการเตรียมพื้นที่สำหรับหว่านกล้าและดำนา โดยเกษตรกรจะนำปุ๋ยคอกไปหว่านยังแปลงนา พร้อมทั้งปรับแต่งคันนาที่ถูกปูนาเจาะ  และการปิดทางระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อเตรียมเก็บกักนั้นในฤดูฝนที่จะมาถึง     

<p style="text-align: center"></p>

 ผูกข้อมือให้พ่อใหญ่แม่ใหญ่อันเป็นที่รักของครอบครัว

</span><p>นอกเหนือจากกิจกรรมที่เกี่ยวกับข้าวแล้ว ยังมีพิธีการผูกแขนผู้เฒ่า หรือผู้อาวุโสของแต่ละครอบครัว โดยลูกหลานหรือแม้แต่ผู้น้อยที่เคารพนับถือผู้ใหญ่ท่านนั้นๆก็จะมาร่วมพิธีโดยจะนำด้ายไปผูกที่แขนของผู้อาวุโสรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย พร้อมทั้งกล่าวอวยพรให้มีสุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาว และมอบเงินหรือสิ่งของเสื้อผ้าไว้ให้สำหรับใช้สอย แล้วก็จะกินข้าวพร้อมหน้ากัน พูดคุยกัน   </p><p>สิ่งที่สะท้อนจากประเพณีการเปิดประตูเล้าข้าวที่ยังเหนียวแน่นอยู่ในกลุ่มราษฎรไทยเชื้อสายกะโซ่ แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชนเผ่าที่นอกเหนือจากความเชื่อในจิตวิญญาณของธรรมชาติแล้ว ชาวกะโซ่ยังให้ความสำคัญต่อข้าวเป็นอย่างสูง และให้ความสำคัญต่อทุกขั้นตอนการผลิตข้าว ตั้งแต่แรงงานสัตว์ เครื่องมือคราดไถ จนถึงการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก    </p><p>ประเพณีนี้ยังแสดงถึงภูมิปัญญาโบราณของท้องถิ่นที่รู้จักการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยคอกอีกด้วย การเปิดประตูเล้าข้าวในเดือน 3 ยังเป็นการกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะตรวจสอบคุณภาพ และปริมาณของข้าวที่เก็บไว้ในยุ้งฉาง ซึ่งอาจถูกทำลายโดยนก หนู หรือแมลงมอดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังถือโอกาสซ่อมแซมยุ้งฉางในคราวเดียวกัน  </p><p>นอกจากนี้พิธีกรรมนี้ยังเป็นการเสริมสร้างคุณค่าด้านจิตใจอันดีงามยิ่งที่แสดงสำนึกต่อสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติที่ได้พึ่งพาอาศัยกัน  ต่อสิ่งที่มีชีวิตคือ การแสดงคารวะต่อปู่ ย่า ตา ยาย ผู้อาวุโสในครัวเรือน ต่อสัตว์คือการแสดงการขออโหสิต่อ สัตว์เลี้ยงที่ใช้แรงงาน เช่น วัว ควาย    </p><p>การเข้าไปแสดงไมตรีและเอามือลูบไล้สัตว์อย่างเมตตานั้น เป็นเจตนาที่แสดงถึงด้านลึกแห่งสำนึกของจิตใจสูงส่งที่ประเพณีโบราณได้สร้างขึ้นและมีวาระที่ต้องแสดงออก ต่อเครือญาติและสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อยังชีพเพื่ออยู่เพื่อกิน ซึ่งการแสดงออกด้านลึกนี้หาไม่ได้กับการผลิตแบบการค้า ของสังคมสมัยใหม่   </p><p>แต่ปัจจุบันนี้ประเพณีดังกล่าวได้ถูกละเลยงดเว้นหรือยกเลิกไปในแทบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในแถบที่วิถีชีวิตชาวชนบทได้ถูกรบกวนโดยกระแสความเจริญทางด้านวัตถุ และวิถีแห่งเศรษฐกิจชาวเมือง  </p><p>พี่น้องคนอีสานไม่สืบสานพิธีกรรมความเชื่อที่สวยงาม และสูงสุดด้วยคุณค่า ความหมาย เช่น พิธี 3 ค่ำเดือน 3 ต่อไปหรือครับ…</p>

คำสำคัญ (Tags): #3 ค่ำ เดือน 3
หมายเลขบันทึก: 91550เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2007 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะคุณ บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

อ่านแล้วเห็นภาพในจินตนาการเลยค่ะ เห็นที่คุณบางทรายสรุปไว้ว่า....

นอกจากนี้พิธีกรรมนี้ยังเป็นการเสริมสร้างคุณค่าด้านจิตใจอันดีงามยิ่งที่แสดงสำนึกต่อสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติที่ได้พึ่งพาอาศัยกัน  ต่อสิ่งที่มีชีวิตคือ การแสดงคารวะต่อปู่ ย่า ตา ยาย ผู้อาวุโสในครัวเรือน ต่อสัตว์คือการแสดงการขออโหสิต่อ สัตว์เลี้ยงที่ใช้แรงงาน เช่น วัว ควาย    

สวยงามจริงๆ.. เห็นเลยว่าเขารู้จักอยู่กับธรรมชาติ เป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่เน้นการเป็นผู้รับเสียมาก อยากได้ อยากมี อยากสบาย กันไปหมด ดิฉันเคยถามในใจตนเองเสมอว่า แล้วเคยคิดให้อะไรกับใครบ้างไหม ...  ดิฉันมาลองคิดดู  ถ้าทุกคนอยากได้เก็บไว้เองหมด มันจะเหลืออะไร... มิน่าถึงได้แก่งแย่งกันขนาดนี้

แต่คงคิดเฉยๆ ไม่ได้ ต้องช่วยกันให้ ช่วยกันทำ ใช่ไหมคะ คนละไม้ คนละมือค่ะ...

ออกนอกเรื่องอีกแล้วค่ะ อ่านบันทึกของคุณบางทราย เริ่มต้น comment อย่าง จบอีกอย่าง ทุกที ; )

P
พิธีกรรมนเสริมสร้างคุณค่าด้านจิตใจอันดีงามอย่างนี้ อยากให้รณรงค์ให้มีต่อไปค่ะ
  
  • สวัสดีครับอาจารย์ ดร. กมลวัลย์ ลือประเสริฐ
  • ใช่แล้วครับเขาเป็นผู้รับและผู้ให้ ผ่านพิธีกรรมตามประเพณี  ผมเองก็ซาบซึ้งต่อการมีสำนึกต่อข้าว สัตว์ ธรรมชาติ มันมีค่ามากจริงๆ นี่แหละที่เรียกว่าทุนทางสังคมที่มีอยู่ และมีอยู่ในชนบทไทย ในป่าในดงที่ห่างไกล
  • เห็นด้วยครับ ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ ตามบทบาทหน้าที่ที่มีอยู่ครับ
  • ขอบคุณมากครับ ไม่นอกเรื่องหรอกครับ
  • สวัสดีครับ ท่านsasinanda
  • ใช้ครับอยากให้มีการประพฤติปฏิบัติกันต่อไป  ทางผมเองก็สนับสนุนให้ทำกันต่อไปครับ
  • แต่ก็เป็นห่วงที่ การสืบทอดความดีงามอย่างนี้ส่อเค้าที่จะเจือจางลง  เพราะคนหนุ่มสาวออกไปทำงานต่างถิ่น และเริ่มห่างออกจากชุมชน และตรงข้ามกลับไปเอาวัฒนธรรมอื่นๆเข้ามา และไม่ค่อยสนใจเรื่องราวดังกล่าวครับ
  • นี่คือภาระหนักของเราครับ
ขอบพระคุณค่ะพี่บู๊ท  ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้วค่ะ  หนิงเองเพิ่งทราบนะคะว่า 3 ค่ำเดือน 3 เป็นวัน ตรุษโซ่”และ ประเพณีโบราณของชาวไทยอีสานเรียกว่า “วันเปิดประตูเล้าข้าว”  
  • หวัดดีน้องหนิง
  • ดีแล้วครับ  ความจริงวัน 3 ค่ำเดือน 3 เป็นวันที่มีความหมายต่อคนไทยเชื้อสาย ไทยอีสาน ที่อพยพมาจากฝั่งซ้ายมากเลยครับ
  • มิใช่วันสำคัญของพี่น้องไทโซ่ ที่ดงหลวงนะครับ ไทยอีสานโบราณก็จัดงานนี้กันมาตลอด และอยู่ในฮีต 12 คอง 14 ด้วย แต่สังคมเมืองเข้ามาก็เจือจางลงไปจนคนรุ่นใหม่ไม่ได้สัมผัสอีกแล้ว บางหมู่บ้านไม่มีการปฏิบัติประเพณีนี้อีกแล้ว  หากไปตามผู้เฒ่าผู้แก่ก็ยังเล่าให้ฟังได้อยู่
  • รายละเอียดแตกต่างกันไป  เรียกชื่อประเพณีต่างกันไป เช่นที่ ลพบุรี สระบุรี พื้นที่ชุมชนที่เป็นไทยพวน ก็ยังมีประเพณีนี้อย่างเข้มแข็ง แต่เรียกว่าประเพณีก่ำฟ้า  ดูที่  http://www.lopburi.go.th/amphoe/banmee.htm  และที่  http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/1000trips/mid/saraburi.html  และที่ http://student.swu.ac.th/fa471010162/culture.htm
  • ส่วนที่ ฉะเชิงเทรา เรียกบุญสู่ขวัญข้าว ดูที่ http://www.hsro.or.th/index.php?show=view&doc=89  น่าสนใจมากครับ ลองติดตามดูนะน้องหนิง
  • อ้อน้องหนิงมีอีกแห่งคือที่ เพชรบูรณ์
  • ถ้าจำไม่ผิดเป็นที่ อำเภอวิเชียรบุรี ที่นั่นจะมีปราสาทศรีเทพฯ ชนชาวไทยลสวที่อพยพมาอาศัยที่นี่ก็จะจัดพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพฯขึ้นในช่วง 3 ค่ำเดือน 3 นี้แหละครับ 
  • ดูที่ http://www.thai-folksy.com/L2Qua/L61-90/76-L2Q.htm

ประทับใจค่ะท่านพี่บางทราย ขอบคุณที่นำเรื่องสวยงามมาถ่ายทอดเป็นประจำ ทำได้ไง? ดูๆรู้สึกพี่มีภารกิจมากทีเดียว แต่ขยันเขียน ต้องรักษาสุขภาพให้ดียอดเยี่ยมนะคะจะได้มีกำลังและพลังทำสิ่งดีๆต่อไป

นานมาแล้วเคยมีคนสวนมาจากเชียงราย เขาก็เล่าถึงการทำขวัญข้าว การทำขวัญควาย

รู้สึกดีมากๆเวลาเห็นคนไทยยังสืบทอดประเพณีด้วยความเคารพ รู้ค่า(ไม่ใช่ทำอวดนักท่องเที่ยว)

  • เป็นความรู้ที่ดีมากเลยครับ
  • เพิ่งทราบ
  • วันเปิดประตูเล้าข้าว”  
  • ขอบคุณมากครับที่ไปเยี่ยม
  • สวัสดีครับน้องคุณนายดอกเตอร์
  • อ้อ พี่ทำงานไปก็เก็บข้อมูลไปน่ะครับ สะสมไว้ ที่ตั้งใจว่าหากออกจากงานก็จะใช้เวลานั่งเขียนงานสักเล่มหนึ่ง พอมี g2K ก็เลยเอามาใส่ได้เลย แค่ตัดต่อเรียบเรียงใหม่น่ะครับ
  • ทำงานกับชาวบ้านน่ะมีประเด็นมากมายที่เราจะคิด ที่เราจับประเด็นได้ หากเป็นคนช่างสังเกตุ ติดตาม และประเภทกัดไม่ปล่อยนะ พี่ว่ามีข้อมูลเอาไปเขียนได้ 5-6 เล่มมั๊ง (..คุยไว้ก่อน...)
  • ใช่ครับเห็นชาวบ้านทำปีเพณีดีดีแล้ว ตื้นตันใจที่ทำไมมันน่ารัก มีความมหายต่อกันมาก  ใบน่าที่ดำ เหี่ยวย่น ฟันฟางแทบไม่ได้แปลงเลยมั้ง  เสื้อผ้าดูไม่ได้เลย ขอโทษนะครับ  ผ้าขี้ริ้วบ้านเราสะอาดกว่า  แต่จิตใจสูงส่งเหลือเกิน(สูงส่งกว่าบางคนที่หน้าตาสะอาดอย่างเราท่านนี่แหละ) เข้าใจและมีเมตตาต่อสัตว์ เข้าใจธรรมชาติ เคารพธรรมชาติ คงที่จับสาระนี้ได้ จึงหลงไหลวัฒนธรรมชุมชน  ที่คนเมืองกู่ร้องก้องหา  แต่หามีไม่
  • ขอบคุณครับที่เป็นห่วง พี่ก็พยายามจะนอนไม่ดึก แต่บางทีก็เพลินไปหน่อย เผลอเผลบเดียว ตี 3 ตี 4 เข้าไปแล้วจ่ะ
  • ขอบคุณครับ  
  • สวัสดีครับน้องขจิต
  • บางคนหลงไหลใน "จาตุคาม......" ได้มาแล้วก็ช่วยเหลือทางจิตใจของคนคนนั้น
  • แต่ชาวบ้านเชื่อในบรรพบุรุษ เชื่อเรื่องผีเจ้าที่ ผีปู่ ผีย่า  เมื่อเชื่อแล้วก็ ปฏิบัติ  ตามไปดูว่าปฏิบัติอย่างไร  เราเห็นเราพบแล้วก็ร้อง อ๋อ..คนโบราณนี้ฉลาดจริงๆ  เข้าใจความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่อิงอาศัยต่อกัน  มีผลกระทบต่อกันและกัน  จึงสร้างประเพณีที่ผูกกันเข้าไว้ เชื่อมกันเข้าไว้ แลวมันก็จะเป็นความกลมเกลียว ปีกแผ่น
  • ขอบคุณครับ  พี่จะเข้าไปเยี่ยมบ่อยๆครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท