KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (296) โครงการทดลองและการสร้างตัวแบบ


         โครงการทดลองและการสร้างตัวแบบ   เป็นการ "ซ้อมมือ" ด้วยกิจกรรมเล็ก ๆ ก่อน   ก่อนจะดำเนินการ KM เต็มรูป

         เป็นการซ้อม "ตัดเสื้อให้เข้ารูป"  ซึ่งหมายถึง ลองปรับใช้ "ตัวช่วย" ให้เข้ากับวัฒนธรรม บริบท และความมุ่งหมายขององค์กร

         โครงการทดลอง (pilot) ควรใช้เวลา 4 - 6 เดือน   แล้วประเมินผล

         ส่วน "ตัวแบบ" (prototype) เป็นระบบเล็ก ๆ สำหรับใช้ในโครงการทดลอง   เพื่อพิสูจน์หลักการว่าเราเข้าใจจริง   และใช้ได้จริงในสถานการณ์ขององค์กรในขณะนั้น

         ทั้งโครงการทดลองและตัวแบบ  เป็นเครื่องมือช่วยให้ทีมแกนนำ KM เข้าใจ "ตัวช่วย"  และรู้จักวิธีใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ภายในองค์กร

         ช่วงโครงการทดลองและตัวแบบมักเกิดความสับสน   ไม่แน่ใจ  มีการลองผิดลองถูก  ต้องอดทนต่อกัน  อดทนต่อแรงเสียดทาน ยืดหยุ่น  และรับฟังซึ่งกันและกัน

         อาจมีโครงการทดลองและตัวแบบหลายโครงการในต่างหน่วยงานภายในองค์กร   และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ความเข้าใจ การปรับปรุง "ตัวช่วย"

         โครงการทดลองและตัวแบบเป็นกลไกพัฒนาแกนนำ "ผู้เอาจริง" (champion) และ "นักเจ๊าะแจ๊ะ" (advocate) ขึ้นภายในองค์กร   และถ้ามีหลายโครงการทดลองและตัวแบบก็จะเกิดเครือข่ายของ "ผู้เอาจริง" และ "นักเจ๊าะแจ๊ะ" เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขึ้นภายในเครือข่าย

Ref. Standards Australia. Knowledge management - a guide. AS 5037 - 2005

วิจารณ์  พานิช
 23 มี.ค.50

หมายเลขบันทึก: 90964เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2007 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท