จำกัด-กำจัด คอร์รัปชั่น อย่างไรดี? (ต่อ)


หนทางของการหลุดพ้นวงจรอุบาทว์คอร์รัปชั่นและบ่วงแห่งกรรม
 ต่อไป เป็นเรื่องของ  ระบบ      จากประเด็นที่ยกมาตอนที่แล้ว...... 

เราจะแก้ไขอย่างไรให้…..

§         สามารถเอาคนผิดมาลงโทษให้ได้

§         สามารถมีใบเสร็จ หรือหลักฐาน

§         มีบทในการลงโทษกัน

§         และทำอย่างไรให้มีคนทำดีกัน  มีกำลังใจกัน  ความก้าวหน้าในหน้าที่เป็นรางวัลในการทำความดี

§         แก้ไขแบบง่าย ๆ สบาย ๆ

 เอาเพียงแค่  4 ประเด็นนี้ก่อน  ถ้ามันมากไปกว่านี้จะ อธิบายกันยาว  และสุดท้ายจะเสียเวลากันเปล่าๆ !   

ก่อนอื่นเราต้องมาดูสาเหตุกันก่อนว่า ทำไมไม่มีใบเสร็จกัน  โดยธรรมชาติการบริหารงานในสไตล์ของคนไทยคือการสั่งงานด้วยปาก ( เล่ามาถึงตรงนี้  น่าจะรู้แล้วว่า... ช่องว่างความชั่วมันอยู่ตรงไหน....)    และ ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเป็นต้องสนอง นโยบาย  สนองคำสั่ง ถ้าไม่ปฏิบัติแล้วจะถูกปลด  ถูกโยกย้าย  ไม่ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  มีอุปสรรค  ต่างๆ นานาที่พวกชั่วทั้งหลายจะกระทำต่อคนดี      เราจะแก้ไขอย่างไร ?   (...อธิบายกันแบบง่ายๆ ก่อน...)  ยกเลิกการปฏิบัติงานที่สั่งงานด้วยปาก  และหาวิธีการประเมินผลงานที่มีผลต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ใหม่  ( หรือให้เข้มแข็งจริงจังกว่าเดิม )    สมมุติละคร  4 ตัวที่เป็นอิสระต่อกัน คือ รัฐบาล  ข้าราชการ  ประชาชน และหน่วยงานประเมินผลงานแห่งชาติ

 

รัฐบาล  เป็นผู้สั่งงาน  กำหนดนโยบาย

ข้าราชการ เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งและนโยบาย  

ประชาชน เป็นผู้ถูกปฏิบัติโดยรัฐ  และเป็นผู้สะท้อนผลกลับ ดี-พอใช้-เลว

หน่วยงานประเมินผลงานแห่งชาติ  เป็นผู้วัดผลการทำงานองค์รวม   มีการประเมินผลด้านประสิทธิภาพ ไม่มีประสิทธิภาพต่อนโยบายและการปฏิบัติ

เสนอแนวทางแก้ไขดังนี้  

 
  1. ให้เปลี่ยนอำนาจของรัฐบาลใหม่  โดยเฉพาะอำนาจที่มีผลกระทบต่อปัญหาคอร์รัปชั่นโดยมีข้าราชการตลอดทั้งหัวขบวนและท้ายขบวน    โดยสร้างระบบการประเมินผลงาน ที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานให้มีความเข้มแข็งขึ้น     ใครทำงานมีผลงานดี  มีประสิทธิภาพมากที่สุด  ควรได้รับการบรรจุในบัญชีเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งในอันดับต้น ๆ (  คนดีมีความสามารถจะได้เฮ กันบ้าง.....  คนชั่วด้อยประสิทธิภาพจะลดน้อยลง )
         รัฐบาลไม่มีหน้าที่เข้ามาสอดแทรกหรือชี้นำ  และไม่มีอำนาจตรงในเปลี่ยนแปลงข้าราชการระดับสูง  (  รัฐบาลอย่ามาอ้างว่าเพื่อสนองนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ   ........ข้าราชการที่ต้องการทำดี มีผลงานแสวงหาความก้าวหน้าจากการทำงาน  จักต้องทำงานในนโยบายนั้นให้สำเร็จอยู่แล้ว   ....ถ้าเชื่อในระบบและความเข้มแข็งของการประเมิน  ......  ความเข้มแข็งของระบบการประเมินเป็นประเด็นต่อไป เราจะไม่กล่าวในที่นี้   เพราะประสิทธิภาพจะถูกนำแสดงด้วยระบบการประเมินโดยอัตโนมัติ  ระบบการประเมินจะมีส่วนในการสร้างให้ข้าราชการมีประสิทธิภาพมาขึ้นเอง   )  รัฐบาลมีหน้าที่ในการแต่งตั้งตามระเบียบตามวาระเท่านั้น  หากจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติจะต้องมี ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายนิติบัญญัติ และองค์การอิสระอื่นเข้ามาประเมินร่วมด้วย ปุจฉา :  ทำไมให้หน่วยงานการประเมินผลงานทำการประเมินแต่ฝ่ายเดียวล่ะ?...... วิสัชนา : ทำไมไม่มีประชาชนมาเกี่ยวข้อง?....  ทำไมประชาชนจะไม่เกี่ยวข้องด้วย       ข้อมูลหรือผลสะท้อนกลับจากประชาชนจะกลับไปยังหน่วยงานประเมินผลอยู่แล้ว   และเป็นหน้าที่ของหน่วยงานประเมินผลจักต้องติดตามอยู่แล้ว   เพื่อประมวลผลและสรุปให้รัฐบาล..... ปัญหาอยู่ที่การสร้างระบบ ที่จะต้องทำให้ครอบคลุม 
  1. หน่วยงานประเมินผลงานจักต้องไม่ใช่หน่วยงานที่อยู่ใต้อำนาจของรัฐบาลและข้าราชการ  ควรจะเป็นหน่วยงานอิสระเพราะ เป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบการปฏิบัติผลงานองค์รวม มีผลต่อผลการทำงาน มีผลต่อนโยบาย
 
  1. ระบบสั่งการด้วยปากจะต้องยกเลิก     ทุกครั้งที่รัฐบาลหรือผู้บังคับบัญชาสั่งการจะต้องมีบันทึกหรือรายงานการสั่งไปยังหน่วยงานตรวจสอบประเมินผลทุกครั้งเพื่อขึ้นทะเบียนการวัดผลงาน  และในทำนองเดียวกันผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือข้าราชการจักต้องไม่ปฏิบัติถ้าหากไม่มีคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษร ( ต้องพยายามปฏิบัติให้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของราชการให้ได้ )
หมายเหตุ   ให้เป็นบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือและลายเซ็น หรือ ตราประจำตำแหน่ง ( จักได้ไม่มีข้ออ้างว่าไม่มีเวลาเขียน ) หรือใช้รหัส login ส่วนตัว (กรณีที่ใช้ระบบ IT)  ก็สามารถใช้เป็นรายงานได้   ไม่ว่างานเล็กหรือใหญ่ไม่ให้มีการยกเว้น 

ยกเว้นกรณีสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นวิกฤติเท่านั้น  จักต้องสั่งการโดย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกเท่านั้น

.....ทีนี้ล่ะจะได้รู้เสียทีว่า  idea ใครเป็นคนสั่งงานมาให้ข้าราชการทำงานและจักได้มีใบเสร็จกันเสียที

 
  1. และในขณะเดียวกัน ข้าราชการที่ได้รับคำสั่งมาจากรัฐบาล  หรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาจักต้อง  ตรวจรับและรายงานเพื่อบันทึกทะเบียนการวัดผลงาน ไปยังหน่วยงานประเมินผลแห่งชาติ ก่อนปฏิบัติการ ในระหว่างปฏิบัติ และหลังปฏิบัติการเสร็จสิ้น
 
  1. และ ในระหว่างที่ข้าราชการหรือผู้ใต้บังคับบัญชาทำหน้าที่ปฏิบัติการ   หน่วยประเมินผลงานต้องติดตามความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ จากผู้ที่ตรวจสอบหน่วยงานอื่นๆ หรือผู้ที่มีผลประโยชน์ได้เสียว่า ผลงาน และนโยบายสัมฤทธิ์ผลอย่างไร?
 
  1. ปุจฉา : ถ้าผู้ใหญ่ละเว้นการรายงานล่ะ?   แต่เรายังมีผู้น้อยอยู่ที่จะต้องรายงาน  ถ้าไม่มีต้นสายปลายเหตุ  จะมีรายงานจากผู้น้อยเกิดขึ้นได้อย่างไร ?  และหมายเลขลงทะเบียนจะต้องมีตลอดสายงาน ที่จะต้องระบุว่าเป็นงานที่มีคำสั่งมาจากใคร?   ( มันจะโกงกินกันตลอดสาย...ก็ให้มันรู้ไป )  ถ้าไม่ส่งรายงานไปยังหน่วยประเมินผลกลาง ให้ถือว่าคนๆ นั้นไม่มีผลงานในปีนั้นๆ ผลสรุปคือ  ไม่มีโบนัส  ไม่มีการเลือนขั้น   ให้โอกาสคนดีมีประสิทธิภาพได้ก้าวหน้าไป
 ปุจฉา : Make up ผลงานได้หรือไม่  เรามีหน่วยงานอิสระหรือผู้ที่มีส่วนร่วมหรือผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนได้ส่วนเสียในการส่งผลสะท้อนกลับ ตั้งมากมาย  ที่คอยรายงานไปยังหน่วยประมวลผลกลาง  
  1. ในกรณีที่ ไม่ทำการบันทึกส่งไปหน่วยงานประเมินผลงาน  จะมีผลต่อการรับผิดชอบทั้งผู้ปฏิบัติและ
ผู้สั่งการอย่างไร?   ….. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติผู้สั่งการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบตามสัดส่วนการรับผิดชอบเพราะถือขาดระเบียบการปฏิบัติ    ( เราไม่สนใจว่า... คุณจะใหญ่โตแค่ไหน จะเป็นนายกฯ หรือรัฐมนตรี  คุณก็จะต้องทำรายงานเพราะคุณผู้ใหญ่ทั้งหลาย มาจากประชาชนเลือกไป คุณจักต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ประชาชนร่างขึ้นมา )

       

 

ปุจฉา :  แล้วระบบนี้จะมีปัญหาอะไรอื่น อีกหรือไม่ ?  เรื่องนี้ต้องมาช่วยกันคิด  ช่วยกันแนะ  ช่วยกันหาทางป้องกัน จะให้อรรถอธิบาย ณ ที่นี้ให้สำเร็จไม่ได้ดอก  ทุกคนต้องมีส่วนร่วม  เราเป็นเพียงผู้เสนอแนวทาง  แต่อย่างไรก็ตามถ้าอยากรู้ปัญหาว่าจะเกิดอะไรขึ้น  ให้ไปดูระบบการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร  ว่ามีประสิทธิภาพในการสร้างรายได้หรือไม่?

 บริษัทใหญ่(ผู้ว่าจ้างบริษัทเล็ก)   - =>  ต้องส่งรายงานภาษีไปยังสรรพากร

บริษัทเล็ก(ผู้รับจ้าง)     -                =>  ต้องส่งรายงานภาษีประจำปีไปยังสรรพากร 

สรรพากร     -                                =>  ต้องตรวจสอบภาษี ทั้งบริษัทใหญ่และบริษัทเล็ก  

ประชาชน    -                                   ผู้รับผลกระทบ  และผลประโยชน์

ทำนองเดียวกัน

 

ผู้บังคับบัญชา(สั่งให้)                                     => ต้องส่งรายงานคำสั่งไปยังหน่วยกลาง

ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกตำแหน่ง(รับงาน)           => ต้องส่งรายงานสรุปไปยังหน่วยกลาง

หน่วยงานกลาง                                             => ตรวจสอบรายละเอียด

 

ผลประโยชน์     กรณีที่บริษัทตกลงกันกับบริษัทเล็กกันเอง ไม่มีรายงาน นี้เป็นจุดรั่วอย่างหนึ่งที่สรรพากรยังไม่สามารถเข้าถึงได้  แต่บทวิเคราะห์ข้างต้น  ได้กล่าวไว้ว่า ไม่ว่าคุณจะอยู่ในตำแหน่งไหน จักต้องรายงานผลการปฏิบัติงานของตนเองให้หน่วยประเมินผลกลางเสมอ    ดังนั้นจุดรั่วที่จะเกิดขึ้น  เมื่อมีการโกงกินกันตลอดสายงาน  มีการโกงกินตลอดเครือข่าย   

ถ้าหากจะจัดตั้งระบบการประเมินผลงานให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความเจริญทั้งคนและผลงาน  จักต้องใช้งบประมาณจัดตั้งหน่วยงานประเมินผลงานแห่งชาติโดยเทียบเท่ากับกรมสรรพากรแล้ว  ก็ยังถือว่าคุ้มอยู่ 

  …..เรื่องบางเรื่องถ้าเรารู้จักถอย  (มาวิเคราะห์เรียนรู้สาเหตุและปรับปรุง ) เราอาจจะกระโดดได้ไกลกว่าเดิมก็เป็นได้......ไม่ลองไม่รู้   น่าจะไกลกว่าเดิมถ้าไม่มีใครคอยขัดขาระหว่างกระโดดเสียก่อน .......เรื่องบางเรื่องถ้าเราเดินทางผิดตั้งแต่ต้น  แต่ยังเอาสิ่งผิดไปแก้ไข โดยไม่ทบทวนปรัชญาเริ่มต้น ยิ่งจะทำให้สับสนและวุ่นวายมากขึ้น    ดังนั้นถ้าจะแก้ไขสิ่งที่ผิดในรัฐธรรมนูญจะต้องไปทำความเข้าใจปรัชญาแรกเริ่มด้วยเช่น อาจจะต้องมองถึง การเข้ามาของตัวบุคคลที่มาบริหารประเทศมาเพื่ออะไร  ควรมีอำนาจหรือบทบาทแค่ไหน......การเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตนผิดเพี้ยน  จากเดิม  จากปรัชญาเริ่มต้น ก็จะทำให้กระบวนการทั้งหมดเกิดการบิดเบี้ยวตามไปด้วย   การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงแค่ซ่อมกระบวนการให้รัดกุม แค่อุดช่องโหว่  บอกได้เลยว่ารัฐธรรมนูญชุดนี้จักมีปัญหาอีก  เพราะปรัชญาการนำมาใช้ไม่ได้ถูกทบทวน  ( .....ยังไม่เพียงพอกับการถอยหลังเพื่อกระโดดให้ไกลกว่าเดิมครับ ) ......เรื่องบางเรื่องถ้าเราสร้างหน่วยงานขึ้นมาซ้ำซ้อนเพื่อถ่วงดุล โดยทำงานซ้ำซ้อนกันมากก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดีเพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ล้มเหลวต่อตัวระบบราชการ ที่ขาดประสิทธิภาพ และไม่เป็นธรรม  ข้าราชการไม่สามารถเป็นที่พึ่งแก่ประชาชนได้   ประชาชนจำเป็นต้องพึ่งหน่วยงานอื่น ๆ  ซึ่งจักมีผลทำให้เกิดความขัดแย้งกันมากขึ้น  เรียกกันง่าย ๆ  Double Standard    สร้างหน่วยงานขึ้นมาถ่วงดุลเพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่ประชาชน  ดูแล้วเท่ห์  แต่ประจานตัวเอง  รึอย่างไร?    ถ้าหากจะมองกันลึกๆ แล้ว จะเห็นว่า  การสร้างภาวะของการถ่วงดุลเป็นการมองสถานการณ์ในเชิงลบ   เพราะกำลังจะคิดว่า  หน่วยงานนี้มีอำนาจ  หน่วยงานโน้นมีอำนาจ  หน่วยงาน 1 , 2 , 3  มีอำนาจ  และคิดว่าจะทำอย่างไร  สร้างดุลซึ่งกันและกัน (เป็นการกดด้นหน่วยงานข้าราชการด้วยกันเอง   ด้วยเหตุผลที่สวยหรูคือ ให้ประชาชนได้รับความเป็น ธรรม  .....เหตุผลจอมปลอม เหตุผลของคนที่มีอคติต่อกัน   )    หยุดความคิดเชิงลบ    คำว่าถ่วงดุล เป็นความคิดที่แสดงถึงอำนาจ   เป็นความคิดที่แสดงถึงการแก้ไขปัญหาแบบขอไปที  แก้ปัญหาเฉพาะหน้า    มันผิดตั้งแต่เริ่มคิดแล้ว     สมมุติว่าถ่วงดุลอย่างไม่เหมาะสมล่ะ  จะเกิดอะไรขึ้น   จะเกิดโมเมนตัมเหวี่ยงกลับเหมือนกันรัฐธรรมนูญที่ได้ฉีกกันไป   จะเกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานขึ้นมา    

Please Back To Basic   (วันนี้พอแค่นี้ก่อนครับ)

หมายเลขบันทึก: 90500เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2007 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ภูดิศ เอกทัตร์....

เข้ามาชม มาเยี่ยม....

บันทึกของคุณโยมน่าสนใจ ... แต่รู้สึกว่า คนอ่านยังน้อย....

อาจเป็นเพราะว่า คนทั่วไปคร้านที่จะคิดแก้เรื่องนี้...

เห็นด้วยกับคุณโยมในประเด็นว่า การใช้หน่วยงานคานอำนาจและถ่วงดุลกันเองไม่ค่อยได้ผล...

อาตมาคิดเล่นๆ เรื่องนี้มานานแล้ว ยิ่งมีผู้ตรวจสอบมาก ตัวหารก็ยิ่งมากขึ้น... ประมาณนี้

ตามนัยเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมในจริยศาสตร์..  การแก้ปัญหาอาจสรุปได้เพียง ๒ ต้นต่อ กล่าวคือ คน และ ระบบ ซึ่งทั้งสองนี้ อาตมาค่อยมาแลกเปลี่ยนความเห็นด่อไป....

ก็ขออนุโมทนาให้คุณโยมเขียนต่อไปเรื่อยๆ อาตมาจะคอยติดตามอ่าน...

เจริญพร

 

นมัสการครับพระคุณเจ้า    พระคุณเจ้าติดตามตอนที่ 3 ได้เลยครับ

เพิ่งย้อนมาอ่านตอน 2 น่าสนใจมากครับ

จะกลับมาอ่านให้ละเอียดอีกรอบนะครับ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท