ไทชิ(ไทเกก-ชี่กง) เพิ่มภูมิต้านทานโรค


ท่านอาจารย์ดอกเตอร์ไมเคิล เออร์วิน แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ทำการศึกษาพบว่า การฝึกไทเกกมีส่วนช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคได้

ท่านผู้อ่านคงจะได้ยินได้ฟังเรื่องของไทเกก ไทชิ หรือชี่กงมาบ้างไม่มากก็น้อย วันนี้มีข่าวดีสำหรับท่านที่ชื่นชอบไทเกก หรือต้องการเพิ่มภูมิต้านทานโรคครับ...

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์ไมเคิล เออร์วิน แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ทำการศึกษาพบว่า การฝึกไทเกกมีส่วนช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคได้

โรคงูสวัด (shingles) เป็นผื่นตุ่มน้ำที่เกิดจากเชื้อโรคชนิดเดียวกับอีสุกอีใส (chickenpox) และมักจะพบในคนสูงอายุ หรือคนที่มีภูมิต้านทานต่ำลง เช่น มะเร็ง ฯลฯความน่ารำคาญของงูสวัดอยู่ที่การเกิดผื่นตุ่มน้ำเป็นแถบ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นบริเวณทรวงอก หรือลำตัว ตุ่มน้ำนี้มักจะมีอาการแสบคัน ทำให้รู้สึกไม่สบาย และส่วนหนึ่งจะมีอาการเจ็บปวดตามมา

 

อาจารย์เออร์วินท่านทำการทดลองในอาสาสมัคร 112 คน อายุ 59-86 ปี อาสาสมัครดังกล่าวเคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนท่านแบ่งอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม

  • กลุ่มหนึ่งให้ฝึกไทเกก สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
  • อีกกลุ่มหนึ่งให้เข้ารับการอบรมว่า อาหารชนิดใดดีกับสุขภาพ และฝึกการจัดการกับความเครียด หรือคลายเครียดอะไรทำนองนี้

 

การทดลองเริ่มด้วยการฉีดวัคซีนอีสุกอีใสทั้ง 2 กลุ่ม และติดตามไป 6 เดือน ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ฝึกไทเกกมีภูมิต้านทานสูงกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง 40%ภาพยนตร์เรื่อง คาราเต้คิด (Karate kid)” มีวิธีฝึกไทเกกง่ายๆ แบบนี้ครับ...

 

เริ่มต้นด้วยการยืน หรือนั่งตัวตรงอย่างสง่างาม เพราะไทเกกเน้นความเท่จากภายใน

  • พนมมือ แล้วหลับตาลง... ช้าๆ ครับ ไม่ต้องรีบ
  • จัดมือให้ปลายนิ้วหงายขึ้น... ชี้ไปทางฟ้า
  • หายใจเข้าเต็มที่... เวลาหายใจเข้า ให้ท้องป่องออกพองาม
  • ค่อยๆ ยกมือขึ้นไปด้านบนช้าๆ พร้อมกับหายใจออกช้าๆ... เน้นความช้า ไม่ใช่ความเร็ว
  • เหยียดแขนขึ้นบนให้มากหน่อย พร้อมกับหายใจออกให้หมด... เวลาหายใจออก ให้ท้องยุบพองาม
  • ลดมือลง กลับมาที่หน้าอกช้าๆ พร้อมกับหายใจเข้าช้าๆ...
  • ทำอย่างนี้ซ้ำกันอย่างน้อย 3 รอบ

 

ท่าต่อไปทำคล้ายๆ กันกับท่าแรก ทว่า... ให้ยื่นมือไปทางด้านหน้าแทน

  • พนมมือ แล้วหลับตาลง... ช้าๆ ครับ ไม่ต้องรีบ
  • จัดมือให้ปลายนิ้วหงายขึ้น... ชี้ไปทางฟ้า
  • หายใจเข้าเต็มที่... เวลาหายใจเข้า ให้ท้องป่องออกพองาม
  • ค่อยๆ ยกมือขึ้นไปด้านหน้าช้าๆ พร้อมกับหายใจออกช้าๆ... เน้นความช้า ไม่ใช่ความเร็ว
  • เหยียดแขนไปทางด้านหน้าให้มากหน่อย พร้อมกับหายใจออกให้หมด... เวลาหายใจออก ให้ท้องยุบพองาม
  • ดึงมือกลับมาที่เดิม (หน้าอก) ช้าๆ พร้อมกับหายใจเข้าช้าๆ...
  • ทำอย่างนี้ซ้ำกันอย่างน้อย 3 รอบ

 

เมื่อชำนาญแล้ว... จะทำสลับกันก็ได้ คือ

  • ยกมือขึ้นด้านบนพร้อมกับหายใจออก
  • ลดมือลงกลับมาที่เดิม(หน้าอก)พร้อมกับหายใจเข้า
  • ยื่นมือไปด้านหน้าพร้อมกับหายใจออก
  • ดึงมือกลับมาที่เดิม(หน้าอก)พร้อมกับหายใจเข้า
  • ทำอย่างนี้ซ้ำกันอย่างน้อย 3 รอบ

เรียนเชิญท่านผู้อ่านลองทำดูครับ...

<p>ข่าวประกาศ...                                                  </p>

  • ผู้เขียนขอปิดส่วนความคิดเห็น และงดตอบปัญหา เพื่อปรับปรุงคำหลัก (key words) บันทึกย้อนหลังไปพลางก่อน

ขอแนะนำ...                                                    

    แหล่งที่มา:                                       

</span></span><ul style="margin-top: 0cm"> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">Tai Chia may prevent Shingles. > [ Click - Click ] > April 9, 2007. // source: Journal of the American Geriatrics society.</li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">Many thanks to Lourdes Health System > Unlocking the immune-boosting benefits of Tai Chi > [ Click ] > July 2007.</li> <li> ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค </li>

  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 15 เมษายน 2550 > 12 กรกฎาคม 2550.
  • </span> </ul>

    หมายเลขบันทึก: 90496เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2007 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (2)

    บทความที่อ.หมอวัลลภนำมาเสนอให้กำลังใจมากเลยค่ะ เพราะไม่เคยขยันทำไทเก็กได้ทุกวันซักที

    ถ้าอาทิตย์ละ 3 หน ยังพอลุ้น : )

    ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...

    • คนเรามักจะทำอะไรดีๆ ได้มากกว่าที่คิดไว้เสมอ... ผมเชื่ออย่างนี้
    • เพียงเรารู้คุณค่าของกิจกรรม เช่น ไทเกก ฯลฯ ก็คงจะทำให้เรายินดีตั้งใจฝึกฝนมากขึ้นครับ
    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท