เรื่องฉาวที่ ..... เมื่ออาจารย์แจ้งวุฒิการศึกษาเท็จ กับ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร


ดิฉันเห็นว่าเรื่อง การรายงานเท็จ หรือการโกหก เป็นเรื่องที่แย่ ดิฉันไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ....

หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10625 (www.matichon.co.th) โดยสายสะพาย ได้นำเสนอเรื่องการอุทธรณ์ร้องทุกข์ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎแห่งหนึ่ง โดยมีเนื้อเรื่องสรุปว่า

มีอาจารย์ท่านหนึ่งสงสัยในวุฒิการศึกษาของอาจารย์ซึ่งมีตำแหน่งบริหารใน มรฏ. ว่าเป็นเท็จ 

ต่อมา มรฎ. แห่งนี้ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้น โดยกรรมการ มีมติโดยเสียงข้างมากว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยตาม มาตรา 39 วรรคสี่ มาตรา 40 วรรคแรก มาตรา 42 และมาตรา 44 วรรคแรก พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน จัดเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง เห็นสมควรให้ลงโทษลดขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้น แต่มีกรรมการรายหนึ่งให้ความเห็นแย้งว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยจนถือได้ว่า เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง จัดเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 44 วรรคสอง เห็นสมควรให้ลงโทษไล่ออกจากราชการ

ต่อมา มรฏ.มีคำสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหา โดยให้ลดขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้น

อาจารย์ผู้ร้องจึง มีหนังสือถึงอธิการบดีขอดูสำนวนการสอบสวนทางวินัยกรณีผู้อุทธรณ์ร้องเรียนให้ตรวจสอบวุฒิการศึกษาของอาจารย์ซึ่งมีตำแหน่งบริหารใน มรฏ. แต่ มรฏ.ปฏิเสธการเปิดเผยสำนวนการสอบสวน โดยให้เหตุผลว่า อาจารย์ผู้ร้อง ไม่มีอำนาจหรือหน้าที่ในการสอบสวน และเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

ดังนั้นอาจารย์ผู้ร้องกับพวกอีก 5 คนจึงไปร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (กวฉ.) โดยระบุว่า มีความสงสัยในวุฒิการศึกษาปริญญาตรี ศศ.บ.(บริหารรัฐกิจ) และ ศ.บ.(เศรษฐศาสตร์) ของอาจารย์ซึ่งมีตำแหน่งบริหาร

กวฉ.สาขาสังคมฯเห็นว่า การที่ผู้อุทธรณ์กล่าวอ้างว่าโทษทางวินัยที่ผู้ถูกกล่าวหาได้รับไม่สมควรแก่กรณีนั้น แสดงว่า มีความเคลือบแคลงสงสัยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและ มรฏ.ว่า เป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมหรือไม่

ดังนั้น การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวการสอบสวนทางวินัยแก่ผู้อุทธรณ์ย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ อันเป็นการแสดงถึงความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ แม้รายงานการสอบสวนจะมีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการศึกษาซึ่งเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลรวมอยู่ด้วยก็ตาม แต่ผู้ถูกกล่าวหามีตำแหน่งทางวิชาการ และเป็นผู้บริหารเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษามีส่วนสำคัญในการได้มาซึ่งตำแหน่ง ย่อมมีเหตุอันสมควรที่จะได้รับการตรวจสอบ การเปิดเผยไม่น่าจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร

ข้อความใน .... เป็นข้อความที่คัดลอกมาจากที่คุณสายสะพายเป็นผู้เขียน

ดิฉันเห็นว่าเรื่อง การรายงานเท็จ หรือการโกหก เป็นเรื่องที่แย่ ดิฉันไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายงานเท็จเรื่องวุฒิการศึกษาของตัวเอง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าเศร้าของสังคมไทย เพราะนักศึกษาจะเป็นอย่างไร ถ้าอาจารย์เป็นเสียเอง (ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งสรุปว่าอาจารย์เป็นอย่างนี้หมดนะคะ อาจารย์ดีๆ มีเยอะค่ะ เรื่องนี้ถ้าไม่พิจารณาอย่างเป็นกลาง จะคล้ายกับว่าปลาเน่าตัวเดียว จะพาปลาทั้งข้องตายกันหมดค่ะ)

อีกเรื่องที่ผู้ที่อยู่ในวงการทั้งหลายควรตระหนักไว้คือเรื่อง พรบ.ข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบัน ได้มีการนำ พรบ.ฉบับนี้มาใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ ท่านคณบดี มาลินี ธนารุณ ได้สรุปสาระสำคัญไว้ในเรื่อง ความเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายที่ส่งผลต่อการบริหารมหาวิทยาลัย 2    ดิฉันว่าเรื่องนี้คนที่อยู่ในแวดวงราชการควรศึกษาค่ะ เพราะน่าจะมีผลกระทบแน่ เลยนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่สนใจค่ะ

หมายเลขบันทึก: 90395เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2007 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

โอ้โห ยังมีเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นในวงการศึกษาอีกเหรอค่ะ  นึกว่าเกิดกับนักการเมืองอย่างเดียว  สะท้อนให้เห็นถึงการตรวจสอบที่หย่อนยาน วังเวงจริง ๆค่ะ ขอบคุณมากนะค่ะที่นำมาเล่าให้ฟัง

สวัสดีค่ะ อาจารย์ P Ranee

ดิฉันอ่านข่าวนี้แล้วก็ ........  บรรยายไม่ถูกค่ะ

คิดว่าในวงการศึกษาคงยังมีเรื่องแปลกๆ กับคนแปลกๆ อีกเยอะ

ที่อาจารย์ว่าการตรวจสอบแย่นั่นก็เป็นเรื่องจริงค่ะ แต่ดิฉันเคยพบแล้วกรณีที่นักศึกษาปลอมแปลงเอกสารผลสอบ คนตรวจเอกสารตั้งหลายคน จับไม่ได้สักคนว่าปลอม เพราะเทคโนโลยีดีมาก มาเรื่องแตกเพราะคนปลอม ปลอมซ้ำ แต่ปลอมไม่เหมือนเดิม เลยถูกจับได้ในที่สุดค่ะ

เรื่องพวกนี้ได้แต่นำมาให้เห็นเป็นอุทธาหรณ์ค่ะ....

ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านและให้ความคิดเห็นนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ดร. กมลวัลย์ ลือประเสริฐ  น้อง   Ranee

  • ครูอ้อยมีความเห็นเหมือนกับท่านทั้งสองนะคะ
  • เมื่อเปิดเผยมาหนึ่ง  สองสามสี่  ก็จะตามมา  และที่ยังไม่เปิดเผยอีกล่ะคะ
  • น่าวิตกวงการศึกษาจริงๆค่ะ

ขอบคุณค่ะที่มีบันทึกที่ดีมาเล่าสู่กันฟัง

สวัสดีค่ะ คุณครูอ้อย P สิริพร กุ่ยกระโทก

ดิฉันก็เคยวิตกหนักๆ เลยค่ะ เมื่อหลายปีก่อนรู้สึกท้อกับวงการศึกษามากๆ เพราะเห็นตัวอย่างไม่ค่อยดีเยอะ และเห็นในทุกระดับด้วย

ตอนนี้ได้แต่คิดว่า เราควรทำงานของเราให้ดีที่สุดไว้ก่อน และบทเรียนที่เคยได้รับคือ เราไม่สามารถแก้ไขอะไรที่นอกเหนืออำนาจเราได้ บางเรื่องมัน beyond จริงๆ ค่ะครูอ้อยขา

ดิฉันเคยเป็นกรรมการสอบสวน  เราตัดสินอย่าง ผู้มีอำนาจเหนือกว่าเห็นอีกอย่าง สรุปแล้วใครมีอำนาจมากกว่าก็เป็นผู้ตัดสิน และท่านก็ต้องรับผิดชอบในคำตัดสินนั้นๆ ไป ดิฉันก็ได้แต่คิดว่า นานาจิตตัง ค่ะ และเราได้ทำหน้าที่ของเราเต็มที่แล้ว

ที่เหลือก็พยายามปลูกฝังเด็กนักศึกษา ที่เขาสนใจจะรับนะคะ ครูอ้อยคงทราบดีกว่าดิฉันแน่ว่าเด็กเขาก็รับได้เฉพาะบางอย่างจากครูและอาจารย์เท่านั้น เขาเชื่อเพื่อนมากกว่าค่ะ

ขอบคุณที่ร่วมแลกเปลี่ยนค่ะ

  • ค่ะอาจารย์  ครูอ้อยมีความเห็นตรงกับอาจารย์ทุกข้อค่ะ 
  • ครูอ้อยเป็นครูระดับประถม  และคิดว่าครูอ้อยทำทุกอย่างดีแล้วที่จะปลูกฝังสิ่งที่ดีให้กับนักเรียนอย่างยั่งยืน  
  • แต่แหม  สิ่งรอบข้างที่เป็นพิษนั้นมันมารวดเร็วจาบจ้วงได้เร็วเกินกว่าที่จะทัดทานได้  และนักเรียนก็รับมาแบบเต็มๆ  หากผู้ปกครองเอาใจใส่ก็ทัดทานได้ทันท่วงที 
  • แต่ส่วนใหญ่นักเรียนจะถูกปล่อยปละละเลย  และปล่อยให้โรงเรียนครูบาอาจารย์เป็นผู้สอนสั่ง  จึงช้าไปเกินกว่าที่ครูจะดูแลนักเรียนได้ทั่วถึงค่ะ

เอ..ครูอ้อยพูดได้ตรงประเด็นของบันทึกไหมนี่

แต่เขียนไปแล้ว..ขออภัยนะคะ

คราวหน้าจะพยายามเขียนให้ตรงประเด็นค่ะ

ไม่เป็นปัญหาค่ะครูอ้อยขา ครูอ้อยไม่ต้องเกรงใจนะคะ ดิฉันเป็นคนพาออกนอกเรื่องโดยคุยถึงเด็กนักศึกษาเอง เนื้อเรื่องมันพาไปค่ะ ; )

ดิฉันว่าเราอยู่ในวงการเดียวกัน พอคุยเรื่องวิชาการก็จะต้องต่อด้วยเรื่องเด็กๆ นักเรียน นักศึกษาค่ะ มันแยกไม่ออกค่ะ ...

 

  • อาจารย์คะ  ครูอ้อยรู้สึกว่า  เรา2 คนคุยกันแป๊บเดียว...แต่มีความรู้สึกว่า..เราคุยกันมานานแล้วแสนนานนะคะ
  • อาจจะเป็นเพราะ..เราอ่านบันทึกของกันและกันมานาน..จึงเข้าใจอัธยาศัยซึ่งกันและกันดี
  • ครูอ้อยจะรู้สึกสนิทสนมกับ  ผู้อ่านที่เรียกครูอ้อยว่า  ครูอ้อยครับ  ครูอ้อยขา..รู้สึกอยากคุยอยากพูดด้วยนานๆค่ะ

เช้านี้เราถูกคอกันดีเนอะ....พูดดังได้แล้วค่ะ

ใช่แล้วค่ะ ครูอ้อยขา ; ) เหมือนคุยกันนานแล้วเลย... แล้วจะคอย ลปรร กันไปเรื่อยๆ ค่ะ ยินดีมากเลยค่ะ

  • ตามมาแล้วค่ะ บันทึกของอาจารย์เยี่ยมจริงๆ
  • ทำให้ดิฉันมี case study เพิ่มขึ้น เข้าใจมากขึ้น
  • ดิฉันไม่ค่อยมีความรู้เรื่องกฎหมายสักเท่าไหร่หรอกค่ะ  แต่เมื่อได้เรียนจากตัวอย่างจริงแล้ว รู้สึกว่า กฎหมายเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย แถมช่วยให้เรารู้จักคิดอย่างมีเหตุมีผล ต้องใฝ่หาความรู้ให้มากๆ เสียแล้วซิคะ
  • มีกัลยาณมิตรอย่างอาจารย์กมลวัลย์เนี่ย ช่างเป็นวาสนา และโชคลาภอันประเสริฐเสียจริง จริ๊ง..... 

สวัสดีค่ะ อาจารย์คะ

เรื่องที่เกิดขึ้นในวงการศึกษา ก็ไม่ค่อยแปลก ถ้าเทียบกับเรื่องอื่นๆในวงการอื่นที่น่าจะเคร่งครัดมากกว่า เช่นวงการสงฆ์ แสดงว่าทุกวงการ ก็จะมีแปลกๆแบบนี้ค่ะเป็นธรรมดา

สวัสดีค่ะ อาจารย์มาลินี P dhanarun

  • ดิฉันอ่านบันทึกของอาจารย์อยู่เรื่อยๆ ค่ะ พอดีเห็นบันทึกที่อาจารย์ไปเรียน นบม. แล้วอาจารย์จะสรุปเนื้อหาที่เรียนมาให้ฟัง ดิฉันก็เลยคิดว่าโชคดีจังเลยเรา ไม่ต้องไปเรียนเอง ; )  ลืมบอกว่าดิฉันเป็น นบม.๑๕ ค่ะ ตอนนั้นยังไม่ได้สมัคร blog หรือเขียนบันทึกค่ะ ไม่งั้นคงเอาประสบการณ์มาเขียนเหมือนกันค่ะ
  • เรื่องกฎหมายดิฉันก็แย่เหมือนกันค่ะ ผู้บริหารส่วนใหญ่ต้องใช้กฎหมายแต่ความรู้ทางกฎหมายน้อย และต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่ นิติกร ฯลฯ และการตีความมากพอสมควร ดิฉันเองก็พยายามศึกษาเรื่องกฎหมายระหว่างการทำงานประจำถ้าเป็นไปได้ค่ะ
  • แล้วมาช่วยกัน ลปรร ต่อไปนะคะ ขอบคุณอาจารย์มากเลยค่ะที่ตามมาอ่านบันทึกของดิฉันและให้ข้อคิดด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ P sasinanda

จริงค่ะที่ทุกวงการจะต้องมีเรื่องเช่นนี้เป็นธรรมดา เพียงแต่ตอนดิฉันอ่านเรื่องนี้ในหนังสือพิมพ์ แล้วรู้สึกว่าสมควรต้องนำมา share กัน เพราะไม่อยากให้เกิดกรณีซ้ำค่ะ

ขอบคุณมุมมองดีๆ ของคุณsasinanda ที่ชี้ให้เห็นว่าทุกที่ทุกวงการก็เหมือนกันค่ะ ทำให้ดิฉันรู้สึกไม่แย่นักกับวงการที่ตัวเองทำงานอยู่ 

ขอบคุณที่เข้ามา ลปรร ค่ะ

อ.จ.คะ อีกนิดค่ะ

สมัย5ปีที่แล้ว ดิฉัน คงรู้สึกว่าไม่น่ามีเรื่องแบบนี้ในวงการของคนที่ควรต้องทำตัวเป็นตัวอย่างกับคนอื่นๆโดยเฉพาะเยาวชน

แต่ตอนนี้ รู้สึกว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนี้เหมือนเดิม แต่ความคิดลดความรุนแรงลง และคิดว่า คนดีๆในแต่ละวงการมีอีกมาก คงจะสามารถรวมพลังกัน ให้ความดีชนะความชั่วจนได้ แต่น่าเสียดายที่คนไม่ดี แม้เพียงหนึ่งก็จะกลายเป็น hot issue ขึ้นมาทันที

ยังมีอาจารย์ดีๆอีกมากค่ะ และดิฉันก็ยังเชื่อมั่นในความดีของทุกท่านที่ดีๆอยู่

เราควรทำงานของเราให้ดีที่สุดไว้ก่อนค่ะ   

เห็นด้วยเลยค่ะ คุณsasinanda ว่ายังมีคนดีๆ อีกมาก เพียงแต่ยังมีคนจำนวนน้อยที่ทำเรื่องได้มากจริงๆ ก็คงต้องร่วมมือกันทำงานให้ดีๆ ต่อไปค่ะ

ขอบคุณนะคะ สำหรับการ ลปรร ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์กมลวัลย์  ที่นำเรื่องราวดีๆ  เกี่ยวกับเรื่อง "ความเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายที่ส่งผลต่อการบริหารมหาวิทยาลัย 2"  มาแนะนำกันนะคะ

และขอบคุณสำหรับการแชร์ความรู้สึกนึกคิดครั้งนี้ค่ะ

ดิฉันเห็นด้วยกับ  เรื่องคุณธรรม  ว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง สำหรับบุคคล   โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหัวหน้าคนทั้งหลาย   ... และ โดยเฉพาะในแวดวงของครู อาจารย์  ซึ่งเป็นบุคคลที่สังคมไทยคาดหวังว่า  บุคคลเหล่านี้คือ แม่พิมพ์  พ่อพิมพ์ของชาติ

ดังนั้น  สิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ  การพัฒนาการศึกษา   การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  จึงเป็นสิ่งที่ควรปลูกฝัง   และ ความให้ความสำคัญกับการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน  ... ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่ยาก  หากจะเอาเครื่องมือเชิงปริมาณมาวัด ประเมินในสิ่งที่เป็นคุณภาพ

สภาพสังคมปัจจุบันรู้สึกว่า  มันไม่ได้เป็นสังคมที่ให้ธรรมะเจริญเสียแล้ว      สิ่งที่ผิด  เขาก็ทำให้ถูกได้   กฏระเบียบมันลดหย่อยไปมาก     ถูกหรือผิด อยู่ที่ผู้มีอำนาจ      หากผู้มีอำนาจขาดซึ่ง คุณธรรม และความเด็ดเดี่ยวแล้ว    สังคมก็ยำแย่เหมือนอย่างที่เห็นในปัจจุบันค่ะ

ได้กำลังใจในการเขียนบันทึกจากคุณมนต์มากเลยค่ะ

ที่คุณมนต์กล่าวไว้ว่า "...สิ่งที่ผิด  เขาก็ทำให้ถูกได้   กฏระเบียบมันลดหย่อยไปมาก     ถูกหรือผิด อยู่ที่ผู้มีอำนาจ      หากผู้มีอำนาจขาดซึ่ง คุณธรรม และความเด็ดเดี่ยวแล้ว    สังคมก็ยำแย่..." ดิฉันว่าจริงเลยค่ะ เจอมาเยอะแล้วเหมือนกัน

ในการใช้กฎระเบียบฉบับเดียวกัน ผลจะขึ้นกับผู้ใช้ค่ะ คงเหมือนมีดกระมังคะ ใช้ดีก็มีประโยชน์กับผู้ใช้เป็นอย่างมาก ใช้ผิดก็เลือดออกกันบ้างแหละค่ะ ; )

ขอบคุณสำหรับกำลังใจและข้อคิดเห็นอีกครั้งค่ะ

 

  • สวัสดี อาจารย์ดร. กมลวัลย์ ลือประเสริฐ ครับ
  • เห็นเรื่องนี้ รีบตามเข้ามา ก็นึกไม่ถึงนะครับว่าจะมีแบบนี้เหมือนกัน
  • ผมเองก็มีประสบการณ์โดยตรงครับ จะ Post ขึ้นสักวัน แต่เป็นการปลอมแปลง Transcript เพื่อทำงาน ซึ่งทำไปเป็นปีแล้วถึงรู้เรื่อง
  • มันส่งผลกระทบอะไรบ้าง จะเอามาเล่าให้ฟังต่อไปครับ
  • ยังไม่วิกฤติหรอกครับ เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมต่างหาก  แต่ผู้บริหารไม่ตรงไปตรงมานี่สิวิกฤติมาก
  • ขอบคุณครับ ที่นำเรื่องนี้มาเตือนสติกัน

สวัสดีค่ะ คุณ P บางทราย

ขอบคุณที่แวะเข้ามาให้ความคิดเห็นค่ะ

ฟังจากประสบการณ์ของคุณบางทรายแล้ว เรื่องการปลอมแปลงเอกสารจะมีอยู่ไปเกือบทุกวงการ ที่สถาบันมีแต่นักศึกษา ป.โท ปลอมเอกสารคะแนนสอบเพื่อขอจบค่ะ เกือบหลุดไปได้เหมือนกันรายนี้ ดีว่าภาควิชาที่เกี่ยวข้องเขา Fight ทำให้ถูกต้อง

อย่างที่คุณบางทราย ว่านะคะว่ายังไม่วิกฤตทั้งหมด ดิฉันบอกตัวเองเสมอว่าคนเป็นหมื่น เป็นแสน ยังไงก็ต้องมี bad apple กันบ้าง แต่เรื่องนี้นำขึ้นมาเพราะต้องการให้เห็นถึงกรณีการใช้ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร และยกตัวอย่างจริงของการกระทำที่ไม่ควรจะเป็นเยี่ยงอย่างของใครค่ะ

แล้วจะรออ่านบันทึกเรื่องปลอม transcript นะคะ ขอบคุณที่เข้ามา ลปรร ร่วมกันค่ะ

อืม...เหมือนกำลังดูแมววิ่งไล่งับโบว์รูปผีเสื้อที่หางของตัวมันเองยังไงชอบกล...

ท่านทั้งหลาย ณ ที่ดูเหมือนจะสนุกไปด้วย...

ผม...สังสารแมวอย่างจับใจ...อยากจะไปปลดโบว์ออกจากหางแมว...แต่ก็ทำไม่ได้...เพราะผู้ชมกำลังบันเทิงใจ...

โอ้...แมวน้อยผู้น่าสงสาร...ยกโทษให้ข้าฯ ด้วย..ข้าฯ ช่วยเจ้าไม่ได้...มนุษย์ใจร้ายผู้ใด...เล่นพิเรนทร์แกล้งเจ้าได้...

.....

สวัสดีค่ะคุณสวัสดิ์

เข้าใจว่ากำลังอุปมาอะไรอยู่สักอย่าง แต่ละท่านที่อ่านลองตีความกันเองนะคะ ดิฉันไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท