Peer Assist ทีมเบาหวานพุทธชินราชกับศรีสังวร(ตอนที่3)


หัวใจสำคัญของการทำงานนี้คือ Class Clamp และ Club กิจกรรมนั้นต้องสนุกสนานปลอดภัย แก่ผู้รับบริการ และมีมีพันธมิตรเพิ่มขึ้นด้วย

Peer Assist ทีมเบาหวานพุทธชินราชกับศรีสังวร(ตอนที่3)

          เมื่อครั้งที่แล้วได้เล่าถึง Peer Assist ระหว่างทีมเบาหวานรพ.พุทธชินราชกับศรีสังวรไปแล้ว 2 ตอนก็ห่างหายไปเนื่องจากผิดพลาดทางเทคนิคเล็กน้อย เพราะมัวไปตามหารูปถ่ายอยู่ เพิ่งจะหาพบเมื่อไม่กี่วันนี้เอง อาจจะขาดความต่อเนื่องบ้างเล็กน้อยต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ อ้างถึง 2 ตอนที่แล้ว เชิญติดตามได้ที่นี่ค่ะ เตรียม Peer Assist   และ ที่นี่ Peer Assist ทีมเบาหวานพุทธชินราชกับศรีสังวร(ตอนที่2)ค่ะ

            ตอนนี้จะเล่าถึงการแลกเปลี่ยนของทางฝ่ายรพ.พุทธชินราชบ้างค่ะ

        เริ่มที่คุณ มณีวรรณ ซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบงานสุขศึกษา ทำงานร่วมกับทีมเบาหวานในการจัดกิจกรรมต่างๆในศูนย์เรียนรู้ ได้เล่าถึงการทำงานว่าการให้ความรู้ในผู้ป่วยนั่นไม่ใช่การให้สุขศึกษา แต่เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้รับบริการทั้งในศูนย์การเรียนรู้ของคลินิกเบาหวาน และกิจกรรมในชุมชนเช่น กิจกรรมค่ายเบาหวาน ซึ่งกล่าวว่าหัวใจสำคัญของการทำงานนี้คือ Class  Clamp และ Club  กิจกรรมนั้นต้องสนุกสนานปลอดภัย แก่ผู้รับบริการ และมีมีพันธมิตรเพิ่มขึ้นด้วย

        คุณสมพร เล่าถึงเรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่คลินิกอายุรกรรมและการเชื่อมโยงกับคลินิกสุขภาพเท้า มีการประสานกันเพื่อส่งผู้ป่วยเบาหวานที่คลินิกอายุกรรมารับแรตรวจประเมินเท้า ส่วนการตรวจเองนั้น มีปัญหาเรื่องผู้รับบริการจำนวนมากเจ้าหน้าที่น้อยไม่มีเวลาทำการตรวจเองได้หมด แต่ก็ตรวจประเมินได้เองบ้างเป็นบางส่วน

        คุณอุทุมพรหัวหน้าหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 2เล่าเรื่องการเชื่อมโยงในหอผู้ป่วยกับคลินิกสุขภาพเท้า กล่าวถึงว่าเป็นส่วนหนึ่งของทีมสหวิชาชีพ และเคยไปดูงานที่โรงพยาบาลเทพธารินทร์มา กลับมาลองนำวิธีการของเทพธารินทร์ มาปรับใช้ในหอผู้ป่วย เช่น การทำแผล แบบ Vaccuum dressing ในผู้ป่วย bed sore ซึ่งก็มีปัญหาพอสมควรตอนนี้ก็ไม่ค่อยได้ใช้วิธีนี้แล้ว ส่วนเรื่องการประสานกับคลินิกสุขภาพเท้า ได้มาเรียนรู้กับเจ้าหน้าที่ในเรื่องของการตรวจประเมินเท้า ก็สามารถทำได้บ้างแล้ว ในกรณีที่มีแผลที่เท้าและนอนรพ.จะติดต่อทีมเจ้าหน้าที่คลินิกสุขภาพเท้ไปตรวจประเมินร่วมกัน และร่วมในการวางแผนดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง จนถึงในชุมชน ประสานงานกับแพทย์ กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือด ประสานงานกับเวชกรรมฟื้นฟู เรื่อง Modify shoe  ถ้ามีหนังหนา ตาปลา ก็จะส่งเข้ามาทำหัตถการในคลินิกสุขภาพเท้า

        คุณเฉลียว หัวหน้าหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง 2 กล่าวว่าในส่วนของการตรวจประเมินเท้าใน หอผู้ป่วยของตนยังไม่สามารถประเมินได้ครบถ้วนทั้งหมด ประเมินได้ประมาณ 50% กำลังศึกษาในเรื่องนี้อยู่ และมีการติดต่อเชื่อมโยงกับคลินิกสุขภาพเท้าเช่นกันในการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน

        คูณฐาปกรณ์ นักกายภาพบำบัด ได้พูดถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานขณะนี้คือ เรื่องของการออกกำลังกาย อุปกรณ์เสริม เช่นพื้นรองเท้า กล่าวถึงความยุ่งยากในระบบการ consult เนื่องจากมีหลายขั้นตอน ประกอบกับอุปกรณ์ต่างๆยังไม่พร้อม ส่วนมากจะเป็นการตัดรองเท้าในผู้ป่วยทั่วไปที่มีความพิการมากกว่า  ให้คำแนะนำเรื่องการซื้อรองเท้ามาปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับผู้ป่วย

        หลังจากนั้นคุณอ้อรัชดา ได้เล่าถึงกระบวนการในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมทั้งในส่วนของคลินิกเบาหวาน การเชื่อมโยงระหว่างปฐมภูมิ และตติยภูมิ รวมทั้งการตรวจคัดกรองในชุมชนด้วย

        ตามมาด้วยคุณอ้อ เปรมสุรีณ์ และคุณทับทิมได้พูดถึงการดำเนินงานของคลินิกสุขภาพเท้า วิธีการตรวจเท้าและการบันทึกข้อมูล วิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเท้า เช่นหนังหนา ตาปลา การทำแผล การ off loading แบบง่ายๆ

        และคุณทับทิมพูดถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในคลินิกสุขภาพเท้าโดยการให้คำแนะนำเป็นรายบุคคลอย่างละเอียด การตรวจคัดกรองเท้าในชุมชน การเลือกรองเท้า การติดตามการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทั้งในหอผู้ป่วยและศูนย์สุขภาพชุมชน 

        หลังจากนั้นเป็นการซักถามของทีมศรีสังวรโดยลงรายละเอียดยิบเลยค่ะ และในส่วนของคุณศิริรัตน์ จากศสช.บ้านกร่างยังมาแลกเปลี่ยนในประเด็นของการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน การตรวจขัดกรองการประสาน เชื่อมโยงกับคลินิกเบาหวาน และตติยภูมิ นอกจากนี้คุณศิริรัตน์ยังมาช่วยในการตอบข้อซักถามที่ลงรายละเอียดลึกลงไปอีกเช่นกันค่ะ ร่วมด้วยแพทย์หญิง สาวิตรี คอยให้คำอธิบายข้อซักถามอยู่ด้วยตลอด โดยเฉพาะในส่วนของการรักษา

        ค่ะภาคเช้ากว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการแลกเปลี่ยนที่ห้องประชุมเวลาก็ล่วงไปเกือบบ่ายโมงเลยค่ะ....ขอบอกศรีสังวรนี่ไฟแรงจริงๆ...พวกเราจะต้องตามไปดูการขยายเครือข่ายในครั้งนี้เพื่อขอแลกเปลี่ยนบ้างแน่นอนค่ะ

        หลังพักรับประทานอาหารกลางวันก็ลงไปที่คลินิกเบาหวาน และคลินิกสุขภาพเท้าของเรา ดูกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนของเราเลยค่ะโดยเฉพาะที่คลินิกสุขภาพเท้า...รูปภาพบรรยายได้ค่ะ

นี่แหละค่ะคุณอ้อใหญ่(คนมีพรสวรรค์เรื่องโม้..ไม่ใช่ค่ะเรื่องพูดค่ะ) กำลังอธิบายเรื่องระบบเชื่อมโยง

นี่ก็คุณอ้อ กลาง อธิบายการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวาน

ห้องนี้คลินิกเท้าค่ะ ใช้เวลาในห้องนี้ประมาณ 2ชั่วโมงทางศรีสังวรเก็บรายละเอียดไปหมดเลยค่ะ ขอบอก

เล่าเรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงฯ

สาธิตขั้นตอนการตรวจประเมินเท้า เริ่มตั้งแต่ walk in จนกระทั่งเดินยิ้มออกไปค่ะ(จริงๆค่ะไม่ได้โม้)

สาธิตการทำหัตถการ ก็น้องจากศรีสังวรนะแหละค่ะ Model ของเรา(งานนี้คุณอ้อใหญ่ ถึงกับเหงื่อตก เสียงหายไปเลยค่ะ)

        เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการที่คลินิกข้างล่างแล้ว เราก็กลับมาที่ห้องประชุมเพื่อสรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ " เพื่อนช่วยเพื่อน"ในครั้งนี้ ดังนี้

AAR : Action after review โดยสรุปในภาพรวมดังนี้

ทีมรพ.ศรีสังวร

สิ่งที่คาดหวัง

1.ต้องการทราบวิธีการบริหารจัดการการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานทั้งในส่วนของ กิจกรรม  วิธีการตรวจคัดกรองประเมินเท้า คู่มือการดูแลเท้าการจัดเก็บข้อมูล เอกสาร อยากเห็นของจริง

2.ต้องการทราบทักษะการทำหัตถการเทคนิคต่างๆ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

3.ต้องการศึกษารูปแบบ เทคนิคการให้สุขศึกษาในผู้ป่วยเบาหวาน  ตลอดจนสื่อการเรียนการสอน

4.ต้องการทราบวิธีการเลือก การดัดแปลงรองเท้าที่เหมาะสมในผู้ป่วยเบาหวาน

5.ต้องการทราบถึงแนวทางการเชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานจากรพ.สู่ชุมชน การติดตามผู้ป่วย

6.ต้องการศึกษาวิธีการตรวจคัดกรองผู้ป่วยในชุมชน

7.ต้องการศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวม

 สิ่งที่ได้รับตามความคาดหวังและสิ่งที่ยังไม่บรรลุตามความคาดหวัง

     ส่วนใหญ่จะได้รับตามความคาดหวัง เกือบหมด มีบางอย่างที่ไม่ได้ตามความคาดหวัง ได้แก่ในเรื่องของ

  • Foot wear อยากเห็นนักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมฟื้นฟูมีบทบาท และส่วนร่วมในการดูแลเท้าผู้ป่วยมากกว่านี้ และเรื่องการให้บริการเรื่อง Foot wear ยังมีรูปแบบที่ไม่ชัดเจน จะได้ในส่วนของภาคทฤษฎีมากกว่า
  • ยังไม่เห็นรูปแบบการ off loading อื่นๆ เช่น Total contract cast,   Felted foam loading ,รวมทั้งการ Modify shoes ที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยเบาหวาน
  • ในส่วนของสื่อการเรียนการสอนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แผ่นพับยังขาดรายละเอียดของการรักษา

สิ่งเกินความคาดหวัง

  • ได้รับกำลังใจจากทีมพุทธชินราช และความเป็นกันเอง
  • ได้เห็นแนวทางการดูแลรักษาภาวะผิดปกติของเท้าเบาหวาน ซึ่งทางศรีสังวรยังไม่มีและถือเป็น Idea ที่จะนำไปใช้ตามความเหมาะสม เพราะในส่วนตรงนี้ จะเน้นเรื่องการป้องกัน ส่งเสริมมากกว่า
  • มีความมั่นใจเพิ่มขึ้นที่จะไปทำงานในจุดนี้
  • ได้แนวร่วมเครือข่ายงานเบาหวานที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ต่อไป

หลังสิ้นสุดกิจกรรมในครั้งนี้แล้วจะนำไปดำเนินการต่ออย่างไร

  • ดำเนินการต่อเนื่อง ประชุมวางแผนดำเนินงานนำสิ่งที่ได้ไปพัฒนางานต่อในส่วนของคลินิกเท้า  การดำเนินงานในชุมชน พร้อมทั้งไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
  • นำเรื่องการดูแล คัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน  เรื่องการประสานเชื่อมโยง การสื่อสาร เป็นข้อมูลพื้นฐานในการไปปรับใช้พัฒนางานในชุมชนและโรงพยาบาล
  • นำเรื่องการสื่อการเรียนการสอนไปปรับใช้ในงานสุขศึกษา และเวชนิทัศน์ฯ

ทีมรพ.พุทธชินราช

  • ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมศรีสังวรโดยนำกระบวนการ"เพื่อนช่วยเพื่อน" มาใช้ในการจัดการความรู้ครั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งการพัฒนางาน ได้มิตรภาพ ได้เครือข่ายและจะนำส่วนที่ยังขาดหรือด้อยของตนเองไปปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ยังคาดหวังว่าจะมีการติดต่อขยายผลการดำเนินงาน และแลกเปลี่ยนกันไม่ว่าจะในเวทีอื่น หรือโดยตรงหรือทางเวปไซด์เพื่อให้การต่อยอดดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง  ในโอกาสต่อไป

ทับทิม+ปฏิพิมพ์บันทึก

คำสำคัญ (Tags): #peer assist
หมายเลขบันทึก: 90390เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2007 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
     เราว่าความสำคัญของ " เพื่อนช่วยเพื่อน" อยู่ตรงที่ระหว่างแลกเปลี่ยนเต็มไปด้วยบรรยากาศของความสุขและความเป็นมิตร เท่าที่อ่านบันทึกของหนูและพู่ดูเหมือนจะเต็มอิ่มไปด้วยบรรยากาศที่ว่าเลยใช่มั้ย ไว้เราขอไปศรีสังวรกันมั่งดีมะ บ้านใกล้เรือนเคียง
ชื่นชมครับ อยากให้เป็นแบบนี้ทุกๆรพ.

กะลังจะตั้งคลินิกเบาหวานที่ดูแลแบบองค์รวมขอคำปรึกษาบ้างได้มั้ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท