เตรียม Peer Assist


เรายังรู้สึกว่าความจริงแล้วงานของเรายังไม่สมบูรณ์ ต้องเรายังต้องพัฒนางานของเราอีกมายทีเดียว

             

 เตรียม Peer Assist ระหว่างทีมเบาหวานกลุ่มเวชศาสตร์ครอบครัวโรงพยาบาลพุทธชินราชกับคณะทำงานเบาหวานโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย

           ตั้งแต่เปิดคลินิกสุขภาพเท้า ของกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อดูแลผู้ป่วยเบาหวานในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกขึ้นมาเมื่อ 2 พ.ค. 2549นั้น ทางทีมงานเบาหวานของเราได้รับความสนใจจากโรงพยาบาลต่างๆ ขอมาศึกษาดูงานกันเป็นระยะไม่ได้ขาด เริ่มตั้งแต่รพ.นครไทย  รพ.ธาตุพนม  รพ.สงขลา ตลอดจนการนำเสนอผลงานวิชาการในเรื่องการดูแลสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวานหลายเวทีด้วยกัน และนอกจากนี้ยังได้รับการติดต่อเดินสายไปจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพเท้าให้แก่ รพ.บางกระทุ่ม รพ.พรหมพิราม และหมาดๆคือ รพ.วังทอง ที่ตามมาประชิดถึงตัวเลยเมื่อ 4 เมย.50 นี้

           เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานเบาหวานได้เห็นความสำคัญ และความจำเป็น ตระหนักเน้นบทบาทการส่งเสริม การป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้ป่วยเบาหวานกันมากขึ้นและอย่างจริงจังเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ ทีมงานของเราก็ยินดีที่ได้ขยายเครือข่ายออกไปแม้ว่าเรายังรู้สึกว่าความจริงแล้วงานของเรายังไม่สมบูรณ์ ต้องเรายังต้องพัฒนางานของเราอีกมายทีเดียว  และเช่นกัน   เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทีมงานเบาหวานของกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวเราก็ได้รับการติดต่อจาก นพ.สมชาย  มีศิริ ซึ่งเป็นแพทย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลศรีสังวร สุโขทัยว่าคณะทำงานเบาหวานของโรงพยาบาลมีความประสงค์จะขอศึกษาดูงาน ณ คลินิกสุขภาพเท้า  ของกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวของรพ.พุทธชินราชของเรา เนื่องด้วยทางรพ.ศรีสังวรจะมีโครงการจัดตั้งคลินิกสุขภาพขึ้นในเร็วๆนี้ ทางทีมงานของเรามีงานค่อนข้างรัดตัวมาก เกรงว่าจะให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ไม่เต็มที่ ก็ได้ผลัดผ่อนมา จนกระทั่งลงตัวในวันที่ 30 มีนาคม 2550 จึงสามารถจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้

           โดยทางทีมรพ.ศรีสังวรได้ตั้งวัตถุประสงค์ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในครั้งนี้ไว้ดังนี้

1. เพื่อศึกษาวิธีการให้ความรู้และตัวอย่างสื่อการสอน

2. เพื่อศึกษาวิธีการตรวจเท้า และตัวอย่างแบบันทึกข้อมูล

3. เพื่อศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

4. เพื่อศึกษาวิธีการเลือกรองเท้าที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

5. เพื่อศึกษาวิธีการติดตามผู้ป่วย

6. เพื่อศึกษาวิธีการคัดกรองผู้ป่วยในชุมชน

7. เพื่อศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวม

            โดยมีเจ้าหน้าที่ที่จะมาแลกเปลี่ยนกันในครั้งนี้ทั้งหมด 6 คน

            ทางกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวของเราได้วางแผนจัดเตรียม กิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้โดยให้เป็นในรูปแบบของการจัดการความรู้นำเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้มาใช้นี้คือ"เพื่อนช่วยเพื่อน"(PeerAssist )  เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกันระหว่าง 2 ทีมโดยมาเล่าเรื่อง พูดคุยถึงบริบทของการทำงานของทั้ง 2 ทีม ค้นหาสิ่งที่ดีๆในเนื้องานของแต่ละทีมนำไปประยุกต์ บูรณาการในงานของตนเองตามความเหมาะสม  และนำข้อเสีย หรือส่วนที่เป็นปัญหามาปรับปรุงพัฒนางานต่อไป  ซึ่งบรรยากาศในการจัดกิจกรรมครั้งนี้จะนำมาเล่าในตอนต่อไปค่ะ

นู๋ทิม บันทึก

คำสำคัญ (Tags): #peer assist
หมายเลขบันทึก: 88940เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2007 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
สวัสดีครับ ยังได้รางวัลบล็อกสวยอยู่นะครับ
ดีนะหนูนะที่เราได้กำหนดการมาศึกษาดูงานของผู้มาเยือนโดยใช้วิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันโดยนำกระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อนเข้ามา ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับแถมที่สำคัญคือมิตรภาพของความเป็นเพื่อนน่ะจ้ะ พี่รอ DVD ของคุณหมอสมชายที่บันทึกกระบวนการแลกเปลี่ยนในวันนั้นยังไม่มาเลยจ้ะ ต้องโทร....ตามมมม
ถึงวันนี้หนูคงรู้สึกแล้วนะว่าเรามีเพื่อนร่วมเดินทางเพิ่มขึ้นอีกมากมาย เพื่อนช่วยเพื่อน ช่วยเราได้เยอะนะจริงมั้ย คุณค่าของมันไม่ใช่อยู่ที่กระบวนการอันน่าสนใจ แต่อยู่ที่ผลลัพธ์ซึ่งเราสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรมว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เราดูแลจริงๆ ขอบใจที่ช่วยทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดเพิ่มขึ้นได้อย่างมากมายนะหนูนะ
  • ขอบคุณอาจารย์นิพัธและพี่โต้ง ที่เป็นแกนนำที่ทำให้พวกเรามาถึงจุดนี้ค่ะ ...ค่ะเราต้องเป็นทั้งผู้แบ่งปัน และผู้รับอย่างเหมาะสม...สังคมต้องการความเกื้อกูลกัน ต้องการมิตรภาพเพื่อผลลัพธ์คือประโยชน์สุขของทุกฝ่ายค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท