Peer Assist ทีมเบาหวานพุทธชินราชกับศรีสังวร(ตอนที่2)


ต้องดูแลแผลกันเป็นระยะเวลานานๆ จะต้องถูกตัดขาตัดเท้าเป็นส่วนใหญ่เริ่มเบื่อที่จะต้องทำแผลไปตลอดอย่างนี้ ก็คิดว่าจะมีวิธีการอะไรบ้างที่ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดแผล ไม่ต้องถูกตัดเท้า ต้ดขา จึงได้ศึกษา ค้นคว้า ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเท้า และได้ค้นพบ ข้อมูลจาก Internet ในเวปไซด์ Gotoknow โดยเฉพาะที่บล็อกของเบาหวานพุทธชินราช

Peer Assist ระหว่างทีมเบาหวานกลุ่มเวชศาสตร์ครอบครัวโรงพยาบาลพุทธชินราชกับคณะทำงานเบาหวานโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย(ตอน 2)

               เมื่อบันทึกก่อนหน้านี้ในบล็อกเบาหวานพุทธชินราช ที่บันทึกนี้ค่ะได้กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไว้ แล้วนั้น  วันนี้ก็จะมาเล่าถึงบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ Peer  Assist ในวันที่ 30 มีนาคม 2550  โดยทางทีมโรงพยาบาลพุทธของเราประกอบด้วย อาจารย์นพ.นิพัธ หัวหน้ากลุ่มงาน และรองผู้อำนวยการฝ่ายปฐมภูมิ เป็นคุณเอื้อ(Chief Knowledge Officer-CKO)  โดยมีพี่โต้ง(คุณลัดดาวัลย์)หัวหน้างานพยาบาลปฐมภูมิ เป็นคุณอำนวย(Knowledge Facilitator-KF)  และมีทีมทำงานเบาหวานของเราซึ่งรวมถึงทีมวิชาชีพบางส่วน เป็นคุณกิจ (Knowledge Practitioner-a KP)  ได้แก่

          1.แพทย์หญิง สาวิตรี         ตันเจริญ  แพทย์ประจำกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว

          2.คุณเฉลียว                    ชูเอียด         พยาบาลวิชาชีพหัวหน้าหัวหน้าหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง 2

          3.คุณอุทุมพร                   มาลัยทอง    พยาบาลวิชาชีพหัวหน้าหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1

          4.คุณพรสวรรค์                 สมเชื้อ         พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยศัลยกรรม

          5.คุณสมพร                      มีมะโน         พยาบาลประจำคลินิกอายุรกรรม

          6.คุณมณีวรรณ                ไวยกสิกรณ์  นักสุขศึกษา(พยาบาลวิชาชีพ)

          7.คุณศิริรัตน์                     มีแสง           พยาบาลวิชาชีพ  ศสช.บ้านกร่าง

          8.คุณฐาปกรณ์                 จันทะโณ      นักกายภาพบำบัด

          9.คุณรัชดา                      พิพัฒนศาสตร์ พยาบาลวิชาชีพ(รับผิดชอบงานเบาหวานกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว)

          10.คุณเปรมสุรีณ์               แสนสม         พยาบาลวิชาชีพประจำคลินิกสุขภาพเท้า

          11.คุณทับทิม                    มาฉาย         พยาบาลวิชาชีพประจำคลินิกสุขภาพเท้า

          12.คุณปฏิพิมพ์                  อยู่คง            พยาบาลวิชาชีพ(รับผิดชอบงานมะเร็งเต้านม) ซึ่งรับหน้าที่เป็น Note taker ในครั้งนี้ด้วยค่ะ

           13.คุณปิลันธนา                จันทร           พยาบาลวิชาชีพ(งานความดันโลหิตสูง) ตากล้อง +ช่วยบันทึกความทรงจำ

           14.คุณสุนันทา                 ภักดีอำนาจ   พยาบาลวิชาชีพ(งานมะเร็งปากมดลูก)  ผู้ช่วยตากล้อง

บางส่วนของทีมพุทธชินราช

                  ส่วนทีมของโรงพยาบาลศรีสังวรประกอบด้วย

            1.นพ.สมชาย                 มีศิริ             นายแพทย์กลุ่มงานศัลยกรรม

            2.นพ.กฤษณะ                แก้วมูล         นายแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

            3.คุณนัตญา                  บูรณไทย      พยาบาลวิชาชีพ(งานคลินิกพิเศษ)

            4.คุณศิริลักษณ์              เกิดที่สุด       พยาบาลวิชาชีพ(งานหอผู้ป่วยศัลยกรรม)

            5.คุณสุดารัตน์                เทียมจันทร์    พยาบาลวิชาชีพ(งานหอผู้ป่วยศัลยกรรม)

            6.คุณสุภัสรา                  พละทรัพย์    พยาบาลวิชาชีพ(งานผู้ป่วยนอก)

            7.คุณดิเรก                     กังวาล          เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา(งานเวชนิทัศน์และโสตฯ)

ทีมศรีสังวร

บรรยากาศการแลกเปลี่ยน

                    เริ่มการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตั้งแต่เวลาประมาณ 09.00น โดยอาจารย์นพ.นิพัธกล่าวต้อนรับทีมรพ.ศรีสังวร ด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเองและกล่าวถึงความพร้อมที่จะแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายเครือข่ายเพื่อประโยชน์ในผู้ป่วยที่เราดูแล และคิดว่าทางศรีสังวรคงจะได้รับสิ่งที่ดีๆไปพัฒนางาน ตลอดจนอาจมีโอกาสที่เราจะได้เยี่ยมเยียนแลกเปลี่ยนกันบ้างในเวทีต่างๆ หลังจากนั้น มอบหน้าที่ให้คุณลัดดาวะลย์(พี่โต้ง)เป็นคุณอำนวยในกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งนี้ต่อไป

                          คุณลัดดาวัลย์ ได้ทำหน้าที่คุณอำนวย เริ่มแรกด้วยกิจกรรมละลายพฤติกรรมแบบเล็กๆ โดยให้ทั้งสองทีมแนะนำตัวเอง และให้บอกรหัส ประจำตัวของแต่ละคนมาด้วย เช่น มีสามีแล้ว1คน รหัสตัวแรกเป็น 1 รหัสตัวที่2 คือมีบุตรกี่คน  รหัสตัวที่ 3 มีกิ๊กกี่คน นับว่าสร้างความเฮฮาได้ดีทีเดียวทั้ง 2 ทีม สร้างความคุ้นเคยกันมากขึ้น เริ่มเป็นกันเองมากขึ้น หลังจากนั้น คุณอำนวยนำเข้าสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้ทางทีมของศรีสังวรได้บอกถึงความคาดหวังในกิจกรรมครั้งนี้และความเป็นมาของงานเบาหวานศรีสังวร

        

ช่วงแนะนำตัวบอกรหัส...สร้างความคุ้นเคย            

                    เริ่มที่ คุณหมอสมชาย เล่าว่าเป็นหมอศัลยกรรมมาสักระยะแล้วเจอผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า ต้องดูแลแผลกันเป็นระยะเวลานานๆ จะต้องถูกตัดขาตัดเท้าเป็นส่วนใหญ่เริ่มเบื่อที่จะต้องทำแผลไปตลอดอย่างนี้ ก็คิดว่าจะมีวิธีการอะไรบ้างที่ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดแผล ไม่ต้องถูกตัดเท้า ต้ดขา จึงได้ศึกษา ค้นคว้า ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเท้า และได้ค้นพบ ข้อมูลจาก Internet ในเวปไซด์ Gotoknow โดยเฉพาะที่บล็อกของเบาหวานพุทธชินราช จึงเป็นที่มาของความต้องการที่อยากจะขอเรียนรู้จากโรงพยาบาลพุทธชินราช  และก่อนหน้าที่จะมาศึกษาดูงานในครั้งนี้ ทางศรีสังวรได้ได้เริ่มดำเนินการเปิดคลินิกเท้าแล้ว เตรียมทีมงาน จัดทำแบบฟอร์มการตรวจเท้า จัดระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน การF/U การตรวจเท้า  ตั้งเกณฑ์การให้สุขศึกษาเรื่องการดูแลเท้า การบริหารเท้า การตัดเล็บ การใช้รองเท้าที่เหมาะสม  มีการประเมินก่อนให้สุขศึกษา เก็บข้อมูลไว้เพื่อเปรียบเทียบดูความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ในระยะเวลาต่อมาเช่น 1 เดือน 10เดือนเป็นต้น ให้การบ้านผู้ป่วยไปประเมินตัวเองและดูแลเท้า นัดมาดูอีก 2 อาทิตย์  โดยคลินิกเท้านี้จะมีในภาคบ่ายของทุกวันพุธ ต่อจากคลินิกเบาหวาน  แต่การดำเนินงานยังมีปัญหาอยู่เช่น  รูปแบบการดำเนินงาน รายละเอียดเกี่ยวกับการให้สุขศึกษา ตัวอย่างสื่อการสอน การตรวจเท้าการบันทึกข้อมูล การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเท้า เช่น หนังหนา ตาปลา การoff loading  การเลือกรองเท้าที่เหมาะสม วิธีการติดตามผู้ป่วย การคัดกรองในชุมชน รวมทั้งการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการ 

                    คุณหมอ กฤษณะ  เป็นแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูมา 3 ปี และเป็นทีมงานเบาหวานของศรีสังวร เป็นที่ปรึกษาเรื่อง Foot wear ต้องการมาศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Foot wear โดยอยากมาดูการทำงานของเวชศาสตร์ฟื้นฟูเกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวานด้วย

                    คุณนัตยา เป็นพยาบาล อยู่คลินิกพิเศษ ดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วย รู้สึกว่าคลินิกเบาหวานยังลุ่มๆดอนๆ ดต้องการมาเรียนรู้งานจากพุทธชินราช  นอกจากนี้คุณนัตยายังเล่าถึงงานคลินิกเบาหวาน ว่าเมื่อตรวจพบผู้ป่วยเบาหวานที่ OPD. และ ward  ก็จัดขึ้นทะเบียนไว้ มีการให้ความรู้เรื่องโรค การดูแลตนเอง อาหาร การออกกำลังกาย ภาวะแทรกซ้อน การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น  การตรวจตาปีละครั้ง มีการ Consult ตามภาวะแทรกซ้อน ดูองค์ประกอบทางด้านจิตใจ ปรึกษาจิตเวช โภชนากรสอนเรื่องอาหาร  เวชกรรมฟื้นฟูสอนเรื่องการดูแลเท้า ต่างๆเหล่านี้ได้ทำเป็นกลุ่ม การทำงานยังไม่ต่อเนื่อง ทำเป็นช่วงๆ(เมื่อว่าง)เนื่องจากปัญหาเรื่องอัตรากำลัง  พยาบาลให้คำปรึกษาในรายที่มีปัญหาในขณะซักประวัติเป็นรายบุคคลซึ่งระยะเวลาก็ค่อนข้างน้อย  ส่วนเรื่องการดูแลภาวะแทรกซ้อนที่ไต มีการสอนสุขศึกษา จัดนิทรรศการ มีกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานเอง มาพูดคุยแลกเปลี่ยนและช่วยกันดูแลกันและกัน

                    คุณศิริลักษณ์  เป็นพยาบาลอยู่หอผู้ป่วยศัลยกรรม ต้องการนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องการดูแลแผลการดูแลเท้าไปใช้ในหอผู้ป่วยที่ตนเองปฏิบัติงานอยู่

                    คุณสุดารัตน์ เป็นพยาบาลศัลยกรรมเช่นกัน และรับงาน HPH ของโรงพยาบาลด้วย  บอกว่าน้องๆบ่นกันว่าแผลเบาหวานที่เท้า เป็นกันมากดูแลกันนานไม่ค่อยหาย รู้สึกว่าไม่เวิล์ค แผลมากขึ้น  จึงมีคำถามว่า ทำไม แผลถึงเพิ่มขึ้น ประกอบกับการต้องเรียนรู้เพื่อลดงานในหน่วยงาน รู้สึกว่าไหว อดทน สู้ ตั้งใจเต็มที่ อยากพัฒนางานจึงมาขอเรียนรู้ด้วย นอกจากนี้คุณสุดารัตน์ยังเคยไปดูงานที่ราชวิถี จะเน้นเรื่องการให้ความรู้ ไม่ได้เน้นเรื่องการทำหัตถการ จะดูแลผู้ป่วยที่ไม่มีแผล ถ้ามีอาการชาเท้า เคยตัดเท้า พยาบาลซักประวัติ แพทย์ตรวจ ส่งเข้ารับการให้สุขศึกษา เน้นเรื่องการให้ความรู้เชิงลึก เนื่องจากศรีสังวรยังมีปัญหาเรื่องอัตรากำลังอยู่

                    คุณสุภัสรา รับผิดชอบงานผู้ป่วยนอก มีส่วนร่วมในงานดูแลสุขภาพเท้าเบาหวาน ต้องการนำความรู้ไปใช้ในคลินิกและวานผู้ป่วยนอกเพื่อปรับปรุงงาน

                    คุณดิเรก หนุ่มโสตฯ (ไม่รู้โสดหรือเปล่า) มาดูงานเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนของงานเบาหวานเพื่อนำไปปรับปรุงใช้ที่ศรีสังวร

ระหว่างเบรคยังแลกเปลี่ยนกันไม่หยุดเลยค่ะ เวิร์คมากๆ

                    ได้ฟังทีมศรีสังวรเล่าเรื่องการทำงาน เห็นความตั้งใจจริงแล้ว ขอบอกว่าไฟแรงจริงๆ รับรองพวกเราแบ่งปันให้หมดไส้หมดพุงแน่นอนค่ะ(ไม่เชื่อถามคุณเปรมสุรีณ์ อ้อใหญ่ได้เลย) แต่บางอย่างของศรีสังวรวางระบบไว้ได้ดีทีเดียวเห็นทีทีมพุทธชินราชต้องขอไปแบ่งปันบ้างแล้วล่ะในโอกาสต่อไปแน่นอน

                     ตอนต่อไปลองไปฟังการแลกเปลี่ยนของฝ่ายทีมโรงพยาบาลพุทธชินราชบ้างนะค่ะว่าจะนำอะไรไปแบ่งป้นกันบ้างในบันทึกหน้าค่ะ

ปล. เพราะ G2K แท้ทีเดียวที่ทำให้เรามาพบกัน...ขอบคุณมากค่ะ

นู๋ทิม +ปฏิพิมพ์ บันทึก

คำสำคัญ (Tags): #peer assist
หมายเลขบันทึก: 89072เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2007 01:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • นู๋ทิมเป็นบันทึกที่น่าอ่านและน่าติดตามมากๆ เห็นบรรยากาศของการแลกเปลี่ยน จำได้ว่าวันนั้นได้ไรเยอะมาก รวมทั้งการบริหารเท้าด้วยลูก golf พี่เลยต้องเก็บลูกกอล์ฟที่ไม่ใช้แล้วเผื่อมีโอกาศจะนำไปให้ คุณหมอสมชายไว้ทำกิจกรรมต่อ
  • และอีกอย่างก็ได้มองเห็นคุณค่าของการทำกระบวนการแลกเปลี่ยนที่ดีมีการเตรียมความพร้อมทั้งผู้ให้และผู้รับซึ่งส่งผลลัพธ์ที่ดีไปยังผู้ป่วยที่เราดูแลเป็นการขยายผลแบบเพื่อนช่วยเพื่อนน่ะจ้ะ
  • เป็นไงบ้างเขียนซะ ตีสอง เลยนะไม่ได้หลับเลยซิ

มาติดตามอ่านครับ

น่าสนุกมาก น่ายินดี

ขอบคุณทีมพุทธชินราชนะครับ ที่แสดงความเป็นเพื่อนช่วยเพื่อนอย่างดียิ่ง กับทุกทีมงานที่สนใจ

เพื่อนที่ธาตุพน ยังคิดถึงทุกคนครับ

  •  ก่อนอื่นขอชมก่อนว่าบล๊อกสวยมาก (ของพี่นู๋ทิมด้วยนะ) น้องรัตน์ชอบจริง อีกไม่นานคงได้พัฒนาฝีมือตัวเองบ้างตอนนี้ขอลุยงานก่อน
  • เสียดายที่วันนั้นไม่ได้อยู่ส่งแขกด้วยเพราะห่วงงานจริงๆ แต่คิดว่าเท่าที่เห็นด้วยตานะพี่ทั้งสองคงสอนหมดเกลี้ยงไม่เหลือ เพราะขนาดอุปกรณ์ชิ้นเล็กชิ้นน้อย ขั้นตอนต่างๆแม้แต่คำพูดที่ใช้กับผู้ป่วยก็บอกกันหมด ระวังเถ้อะต่อไปเขาคงมาข้อตัวพี่ทั้งสองและคลีนิคเท้าไปอยู่ซะด้วยกันที่สุโขทัยโน่นแน่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท