CoP เคมีบำบัด เล่าเรื่องระบบการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยที่ให้ยาเคมีบำบัด


การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

Domain    การให้ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

เป้าหมาย (Desired State )  ร่วมกันพัฒนาระบบการให้ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพผู้ป่วยได้รับการเตรียมความพร้อมและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

ประเด็นสำคัญ (Context) วิธีการให้ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ 

การให้ข้อมูลผู้ป่วย

  • จะต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่อยู่ OPD
  •  แพทย์เป็นผู้ให้ข้อมูลเรื่องโรค การรักษาและผลชิ้นเนื้อ
  • พยาบาลต้องเตรียมความพร้อมผู้ป่วยเข้าอยู่รักษาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ     
  • พยาบาลที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก (OPD4)มีการดูแลด้านจิตใจภายหลังทราบผลการวินิจฉัย
  •  เมื่อเข้ารักษาในหอผู้ป่วย พยาบาลในหอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ สอนการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของยา
  • แจกคู่มือให้อ่านและเข้าไปประเมินเป็นรายบุคคล

สำหรับ

 หอผู้ป่วยเคมีบำบัด มีสื่อการสอนมีทั้งการใช้คู่มือและวิดิทัศน์

  • สื่อต่างๆ หอผู้ป่วยอื่นสามารถนำไปใช้ได้ 
  • ขณะนี้วิดิทัศน์หอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ จัดทำใหม่
  • ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทุกหอผู้ป่วย
  • สมุดบันทึกสุขภาพของผู้ป่วยควรพัฒนาเป็นส่วนกลางสามารถใช้ร่วมกันทุกหอผู้ป่วย 
หมายเลขบันทึก: 89582เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2007 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

การให้ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

  • พยาบาลเวรบ่ายของหอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ
  • จะสอนเป็นรายบุคคลโดยใช้วิดิทัศน์           เรื่องการดูแลตนเองเมื่อได้รับยาเคมีบำบัด
  • หลังจากให้ผู้ป่วยดูแล้ว
  • จะมาพูดคุยและให้ข้อมูลเพิ่มเติม
  • ประเมินความรู้หลังการสอน
  • พบว่า ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องการดูแลตนเองเกี่ยวกับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด มากกว่าร้อยละ 90
  • ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ มากกว่าร้อยละ 85
  • การพัฒนาระบบการให้ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  • ดิฉันจะนำไปเสนอผลงาน วันที่ 25 พฤษภาคม พ.2550 ถึง1 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 
  • ไปยังเมือง/รัฐ  Yokohama   ประเทศญี่ปุ่น
  •  เรื่อง Nurses at the forefront: dealing with the unexpected
  • เสนอบทความ/ร่วมเสนอบทความ เรื่อง A Research Utilization Project: Using Evidence-Based for Development of Clinical Nursing Practice Guideline of practical knowledge and self-care management for cancer patient receiving chemotherapy

  • กลับมาจะเล่าให้ฟังอีกนะคะ

เตรียมตัวไปญี่ปุ่น

  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2550 เวลา 20 น. พบกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ
  • โชคดี เพราะครั้งนี้มีเพื่อนจาก รพ ศรีนครินทร์ไปด้วย
  • มีสมาชิกจากสมาคมพยาบาลไปด้วย ประมาณ มากกว่า 50 คน
  • เตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว
  • ขอบคุณคณะแพทย์ ที่สนับสนุนให้พวกเรา คือคุณอุบล เกศนี,พนอ ได้รับทุนในครั้งนี้
  • กลับมาจะนำเสนอผลการไปร่วมนำเสนอผลงานในครั้งนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ ชาว CoP เคมีบำบัด

พวกเราได้ไปนำเสนอผลงานกลับมาแล้วค่ะ

มีพยาบาลจากทั่วโลก เข้าร่วมประชุม 4,000 คน

พยาบาลไทยไปนำเสนอผลงานและเข้าร่วมประชุม ประมาณ 30 คน

นายกสภาฯ นายกสมาคมพยาบาลและ ดร. ทัศนา ก็ร่วมเดินทางไปด้วยค่ะ

ผลสำเร็จในการไปเสนอผลงานที่ญี่ปุ่น

  •     สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการในระดับนานาชาติ
  •      บุคลากรได้พัฒนาตนเองสู่ระดับสากล
  •      ได้ประสบการณ์และเรียนรู้เทคนิคการนำเสนอผลงานในต่างประเทศ
  • เผยแพร่ชื่อเสียงให้กับหน่วยงาน

คุณพนอ  เตชะอธิก

คุณเกศนี บุณญวัฒางกูร

และดิฉัน  อุบล จ๋วงพานิช

ร่วมนำเสนอผลงานใน ICN conference 2007

เรียนปรึกษา

           หนูกำลังเรียน ป.โท บริหารทางการพยาบาล (ม.ส.ธ.) มีความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่ต้องได้รับยาเคมีบำบัดครั้งแรกหลังจากที่ผ่าตัดไปแล้วเพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันสำหรับโรงพยาบาลราชวิถี ขอคำแนะนำขั้นตอนและรูปแบบการพัฒนาค่ะ

                                                ขอบคุณค่ะ

                                                                  พัชรา

สวัสดีค่ะคุณพัชรา

เราควรใช้หลักการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม

ขั้นแรกต้องpilot study กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ก่อน

ข้อมูลที่ควรให้จริงๆมีอะไรบ้าง

ข้อมูลเชิงกระบวนการ ข้อมูลชนิดที่บอกความรู้สึก ข้อมูลการปฏิบัติตัวและข้อมูลที่จะต้องให้ผู้ป่วยเผชิญกับปัญหาได้

แล้วสร้างระบบการให้ข้อมูล และทดลองให้ผู้ป่วยอ่านดูก่อน

ถ้าใช้ได้จทำสื่อการให้ข้อมูลเป็นวิดิทัศน์ก็ได้ เพราะสะดวกดีค่ะ

ถ้าสนใจติดต่อที่พี่อีกทีนะคะ

อุบล จ๋วงพานิช

สนใจการทำ CoP ในรพ.สุราษฎร์ธานี เราเริ่มรวมตัวกันประมาณ 15 คนพี่มีอะไรจะแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นบ้างคะ อย่างเช่น หนังสือที่ควรอ่าน

สวัสดีค่ะคุณสุกันยา บุญล้ำ

สมาชิกควรเป็นคนที่มีประสบการณ์ในเรื่องเดียวกัน

กำหนดหน้าที่ของคนที่รับผิดชอบในกลุ่ม

เริ่มแรกคุยกัน อาจช่วยกันหาประเด็นที่จะทำงานร่วมกัน

ตั้งเป้าหมาย

ให้แต่ละคนมีโอกาสเล่าเรื่องดีดี อาจได้ครั้งละเรื่อง

หาคนจดบันทึกด้วยนะคะ

บันทึกไว้เป็นคลังความรู้ (Knowledge assets)

อ่าน Web KM ศิริราช หรือ

Blog ท่านอาจารย์วิจารณ์ พานิช

http://gotoknow.org/blog/thaikm/toc

 

เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากๆ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

นิวัฒน์ แพร่ศิริพุฒิพงศ์

เรียนคุณอุบล

ผมได้เห็นทีมงานของพี่เก่งมากๆ มีผลงานดีๆนำเสนอตลอด ขณะนี้หอผู้ป่วยผมเพิ่งเปิดรับผู้ป่วยมะเร็ง ผมมีความสนใจใช้สื่อการสอนวิดิทัศน์เรื่องการดูแลตนเองเมื่อได้รับยาเคมีบำบัดครับ จะขอนำมาใช้ที่รพ.พระปกเกล้า จันทบุรีบ้างจะได้ไหมครับ ติดต่ออย่างไรครับ

นิวัฒน์ แพร่ศิริพุฒิพงศ์(RN)

หอผู้ป่วยสงฆ์อาพาธ

รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี

อ.เมือง จ.จันทบุรี

22000

คุณนิวัฒน์คะ

วิดิทัศน์ที่ใช้ใน รพ เรา จะค่อนข้างเฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วยที่มารักษาที่ รพ เราค่ะ

อาจต้องพัฒนาให้เหมาะกับกระบวนการดูแลผู้ป่วยแต่ละ รพ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท