CMU Corner : เราสามารถมีหมอทำงานที่ pcu ได้จริงหรือ


วันนี้ พยาบาลที่ CMU ห้วยขะยุง  บอกว่า เพื่อนที่อยู่ สพช. ( สถาบันวิจัย และพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน )  ไม่เชื่อว่าจะมีหมอ มาทำงานที่ pcu  จริง ๆ    ( CMU tract A )    มันคงดูเป็นการยากเอาการที่ จะมีหมอมาทำงานที่ pcu ได้ทุกวัน  ร่วมทำงานในฐานะ แพทย์ประจำ pcu  ไม่ใช่แพทย์หมุนเวียน  มีหัวหน้า cmu เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  และทำงาน primary care เป็นหลัก  ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง จริง ๆครับ

ในการปฏิบัติงานจริง แรก ๆ ผมก็สงสัยว่า ทำอย่างไร จะทำให้มีการเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง เป็นเหมือน งานประจำ   แล้วจะเยี่ยมอย่างไร    มีเรื่องเล่าที่น่าสนใจ สองเรื่องครับ  น่าจะทำให้เห็นกระบวนการ ที่เกิดขึ้น ระหว่างทำงาน ว่าดูแลผู้ป่วย ใน pcu อย่างไร ( ซึ่งก็คงต้องปรับปรุงไปเรื่อย ๆ )


เรื่องแรก  ปกติผมต้องตรวจ คลินิกสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ใน pcu ห้วยขะยุง วันจันทร์ อังคาร  ช่วงเช้า ช่วงบ่ายออกเยี่ยมบ้าน  วัน พุธ - ศุกร์    ออก คลินิกสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด  pcu อีก 3 แห่ง  ช่วงบ่ายก็ออกเยี่ยมบ้านอีก   ทุกวัน  ( ทุกเช้าก็ ราวน์วอร์ด ที่โรงพยาบาลก่อน ) สรุปแล้วทำงานทั้งโรงพยาบาล กับ pcu นั่นแหละครับ

ระหว่างตรวจคนไข้ที่ pcu  ไป ก็จะมีผู้ป่วยที่น่าตามเยี่ยม ดูแลต่อเนื่อง อยู่เรื่อย ๆ  เจอเกือบทุกวันครับ   ผมจะบันทึกใน ตาราง plan เยี่ยมบ้าน ทันที ( เป็น ตาราง ใน excel  ครับ  )    วันหนึ่ง มีเด็กชายอายุ 7-8ขวบ ชื่อ จิรายุส คุณครูพามาบอกว่ามีไข้  แถมบอกอีกว่า บ้านนี้น่าสงสาร  ยายไม่สามารถ พาเด็กมาได้ เด็กอยู่กับยาย    ไม่มีคนดูแล ผมบันทึกใน ตาราง plan เยี่ยมบ้านทันที    เพราะจะได้ไปดูว่าเด็กอยู่อย่างไร

อีก สัปดาห์ต่อมา  ก็ได้ไปเยี่ยมบ้านตามแผน  ปรากฏว่าเด็กไปโรงเรียน มียายนั่ง บนแคร่ เลี้ยงหลานคนเล็ก

ยาย วินา เป็นคนไข้ ความดันโลหิตสูง ที่ หายจากคลินิกเบาหวาน รพ.วารินฯ ประมาณ ปีกว่าแล้ว  ผมเห็นก็จำแกได้ สาเหตุที่หนีจาก รพ.   เพราะเมื่อปีก่อน ยายมีแผลที่ขา แกกลัวถูกตัดขามาก  ( ทั้ง ๆที่ ไม่ใช่แผลเบาหวาน )  ประกอบกับ  ได้ยินคนรอบข้างพูด  จึงไปรักษา เอง กับชาวบ้าน  เสียเงินไปแสนกว่าบาท  แผลก็ดี ขึ้นครับ แต่ไม่ยอมหายเสียทีเป็นปีแล้ว  นั่งปัดแมลงหวี่ ทั้งวันครับ  ตอนผมไปเจอ เงินหมดแล้วครับ เป็นหนี้ เป็นสิน ไม่กล้ากลับมารักษาต่อ  ซื้อยากินเอง กินบ้างไม่กินบ้าง วันนั้น BP 190/100 mmHg

 

ก็ตามแกมารักษาต่อ  เอารถ pcu ไปรับมาทำแผลทุกวัน วัด bp ทุกวัน  แผลก็ดีขึ้น ความดันโลหิตก็ลดลง แล้ว


เรื่องที่ 2   มีอีกวิธีหนึ่ง( แสดงว่ามีหลายวิธี ครับ ) ที่ เราใช้ในการวางแผนเยี่ยมบ้าน คือ การใช้รายชื่อผู้พิการ ที่เราได้มากจาก กรมประชาสงเคราะห์  เอามาวางแผนเยี่ยมบ้าน ( 2 เดือนที่ผ่านมา ผมก็ตามเยี่ยมกลุ่มนี้  จนเกือบครบแล้ว ตั้งใจว่าจะนำ ข้อมูลที่ได้ มาวางแผนการทำงานกับ คนพิการ ในชุมชนต่อ )    คุณยายเจียม เป็นหนึ่งใน คนที่มีในรายชื่อ พิการทางขา   เมื่อ 3 เดือนก่อน เท้ายางของขาเทียม แก ขาด  มาที่ pcu ผมก็ส่งให้นักกายภาพ ฯ ดำเนินการหาขาเทียม ใหม่    นอกจากนั้นแกก็เป็นคนไข้ ความดันโลหิตสูงด้วย มารับยาประจำที่ pcu

วันนั้นผมไปเยี่ยมแกที่บ้านหลังจากไม่เจอกัน 2 เดือนแล้ว   ( ต้งใจเยี่ยมในฐานะผู้พิการ )  พี่สมสวย หัวหน้าผม  วัดความดันโลหิตให้ สูงมากเลยครับ

ปรากฏว่า แกไม่ได้กินยามา 1 สัปดาห์แล้วครับ เพราะ ไปซื้อกาแฟโสม ตามเพื่อน กินแล้วใจสั่นมาก นอนไม่ได้เลยครับ  เลยหยุดกาแฟ หยุดไม่หยุดเปล่า ดันหยุดยาความดันโลหิสูงเสียด้วยนี่ซี  แกคิดว่าต้องหยุดทุกอย่างที่กิน  ทั้ง ๆ ที่ก็กินยามานาแล้ว  ผมขอดูยาว่าเป็นอย่างไร แกเอามาให้ดูเป็นอย่างเนี้ยครับ
 

ผมหยิบยาทีละเม็ดจนครบ สำหรับ หนึ่งมื้อ ให้แกกินทันที เก็บยากลับหมด   ตอนเช้า วัด bp ที่ pcu BP   140/70 mmHg  พยาบาลก็แนะนำให้กินยาต่อตามที่ควรเป็น และเก็บยาให้ถูก   จัดยาเป็นซองให้กิน 1 ซองต่อ 1 วัน ให้ไป 15 ซอง    ( เราสามารถใช้การเรียนรู้ ใน case อื่น มาใช้กับ case นี้ได้ เป็นอย่างดี )    นัด 2 สัปดาห์   แน่นอนครับ ชื่อยายเจียมถูก บันทึกในทะเบียน plan เยี่ยมบ้านอีกครั้ง

วันนี้ ผมจำได้ว่านัดแกไว้ไม่ได้มาวันนี้  เลยให้รถ EMS ไปตาม มา แกบอกว่า กะว่าจะมาพรุ่งนี้ เพราะยาเหลือ ไม่คิดจะขาดนัดแต่อย่างใด

การจัดยาเป็นชุด ช่วยเรา ( ทั้ง ยายเจียม และ เจ้าหน้าที่ pcu ) อีกเช่นเคยครับ


เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง จาก 2 เรื่องนี้

1. เราสามารถให้การเยี่ยมบ้านเป็น ส่วนหนึ่งของระบบบริการได้ดี ไม่ต้องมีพิธีรีตองมาก

  รายแรกเราค้นหาผู้ที่ต้องได้รับการเยี่ยม จาก การตรวจ opd ตามปรกติ เราหาได้ทุกวันครับ   รายที่ 2 เป็นการเยี่ยมตามรายชื่อ ประชาชนที่เรา ที่เรา focus  อาจเป็นผู้พิการ หรือ ผู้ป่วยที่ d/c จาก โรงพยาบาล  การที่ผมทำงานทั้ง pcu และ โรงพยาบาล เราก็เลยดูคนไข้ ตั้งแต่อยู่ในโรงพยาบาล จน ออกจากโรงพยาบาล แล้วก็ตามไปเยี่ยมบ้านต่อ

2. สิ่งที่พบได้บ่อยมาก คือ  เราเยี่ยมเรื่องหนึ่ง แต่ตอนกลับมาเราได้  อะไรมากกว่าความคาดหวัง อยู่เนือง ๆ

 รายแรก ตั้งใจไปเยี่ยม ดช.จิรายุส เพราะได้ข้อมูลจากครู แต่กลับได้ยายวินา มารักษาต่อจนถึงทุกวันนี้ เมื่อสองวันก่อน จิรายุสก็มาทำแผลกับยายที่ pcu เนื่องจากหยุดเทอม 

รายที่สอง เยี่ยมเพราะ เป็น หนึ่งในผู้พิการ  ปรากฏว่าความพิการไม่มีปัญหาเลยครับ แกเดินเหินได้ดี จากขาเทียม ใช้ชีวิตประจำวันได้ดีมาก ปัญหาที่พบกลับเป็นเรื่อง การขาดยาความดันโลหิตสูง  และการเก็บยาในขวดเดียวกัน  แกบอกแกทำมานานแล้วครับ แต่เราไม่เคยรู้เลยตอนมารับยาที่ ร.พ. หรือ pcu เพราะแกก็ไม่ได้เอาขวดยามา แล้วก็คงไม่บอกเราด้วย

3. ตุณยายเจียม สอนว่า ระหว่าง 1 หรือ 2 เดือน ที่มาพบเรา  1 ครั้งที่ opd  มีเรื่องราวมากมายที่ เราจะไม่รู้เรื่องเลยครับ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนไข้  ถ้าเราไม่มีเวลาคุยมากพอ  

4. สองเรื่งนี้ แสดงให้เห็น คุณลักษณะหนึ่งของ pcu คือ การดูแลผสมผสาน  ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ pcu ( งานปฐมภูมิ )  มีโอกาสทำได้ง่ายกว่า การดูแลที่ โรงพยาบาล  เวลาเราเยี่ยมบ้านประจำ เราจะพบเรื่องทำนองนี้ บ่อยมาก ๆ ครับ เยี่ยม  1 ได้ 2,3 ,4 ....... 

5. สุดท้าย เราสามารถมี หมอทำงานที่ PCU ได้จริง

หมายเลขบันทึก: 89580เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2007 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

  • ขอบคุณเรื่องเล่าที่มีคุณค่ามากๆครับ
  • อ่านแล้วเนภาพ  และเกิดความรู้สึกดีๆร่วมด้วยอย่างชัดเจนเลยครับ
  • คิดว่าวันหนึ่งข้างหน้าผมจะได้ทำสิ่งที่ดีๆเช่นนนี้บ่อยๆบ้างครับ(ตอนนี้นานๆครั้งครับ)
  • ตอนนี้ที่รพ  ผม  พวกเราเหมือนกำลังตั้งรับกันมากๆครับ  (ผมคิดว่ามันขึ้นอยู่กับ policy ของรพ)
  • ได้นึกย้อนไปที่คนไข้  Fx neck  of  femur  ที่ให้กลับไปดึง  skin traction ที่บ้าน  แล้วก็ได้ไปเยี่ยมครับ  ทุกๆคนต่างดีใจ  ว่าหมอใหญ่มา ๆ 
  • รู้สึกดีและได้เรียนรู้เพิ่มอีกครับ
  • ขอบคุณครับ  พี่หมอ....

             สุพัฒน์  ปาย........

น้อง สุพัฒน์ ทำได้อยู่แล้วครับ เพราะเรามีจิต วิญญาณ สะสมประสพการณ์ ไปเรื่อย ๆ เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ นะครับ

น่ารักจังคะ มีรถ EMS ไปรับคุณยายถึงบ้าน

คุณยายดีใจแย่เลย....

      เรื่องทัศนะคตของคนไข้ สำคัญเลยคะ ชาวบ้าน

ยอมเสียเงินเยอะๆ เพื่อจะรักษาที่อื่นที่ไม่ใช่ ร.พ.

ด้วยเพราะ กลัวเจ็บ  เยอะมาก....

      หรือไปที่อื่น...บอกว่า หมอให้ยาไม่แรงพอ....

ที่อื่น ยาแรง แล้วหาย....ไม่รู้อะไรหาย คะ....

      หรือบางคนที่มีความรู้ เอง ก็กลัวที่จะไปหาหมอ

ก ลัวว่าจะเป็นโน่นเป็นนี่  กลัวเสียเวลา และกลัวหมอ

กลัวเข็ม....ความกลัว นี่ทำร้ายคนมากมาย

     คุณยาย ไม่มีใคร ดูแลมั้งคะ   ...จัดยาให้แก เป็น

ซองๆ นี่ สะดวกดีนะคะ
 

ชื่นชมผลงาน ผอ.เก่าพวกเราจัง  ขอให้มีสุขภาพดี  พี่ต้อยด้วย...
ศฺษย์บุณฑริก ขอบคุณมากครับ อยากทำงานร่วมกับทุกคน ไม่จำเป็นต้อง วารินชำราบ เพราะเป็นคนไข้ของเราทั้งน้น

-ข้อบ่งชี้ที่ทำskin tractionค่ะ

-วิธีการดูแลskin tractionด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท