< เมนูหลัก >
วิสัยทัศน์
“อุตรดิตถ์ เมืองมหัศจรรย์แห่งผลไม้”
ยุทธศาสตร์“พัฒนากระบวนการผลิต การบริหารจัดการ การตลาด ด้านผลไม้”
เป้าประสงค์1.เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลไม้ที่มีศักยภาพสูงประกอบด้วยทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล ทุเรียนพันธุ์หลินลับแล
2.เพิ่มมูลค่าการขาย ผลผลิตการเกษตร
3.เพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการ ด้านการตลาด ด้านแรงงาน ด้านเงินทุน
ประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาระบบการผลิตและการแปรรูปผลไม้ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง
แนวทางการพัฒนา
1.ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนผลไม้พันธุ์พื้นเมืองเป็นผลไม้พันธุ์ดี โดยการอบรมและเผยแพร่การปรับเปลี่ยนผลไม้พันธุ์พื้นเมืองเป็นผลไม้พันธุ์ดี
2.พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพดินในส่วนผลไม้ที่มีศักยภาพ
3.พัฒนาแหล่งน้ำในเขตพื้นที่ปลูกผลไม้ที่มีศักยภาพ โดยสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเพื่อการเกษตรขนาดบรรจุ 32,000 ลิตร พร้อมระบบท่อส่งน้ำให้แก่เกษตรกรชาวสวนไม้ผล 200 ราย
-การส่งเสริมผลไม้ปลอดภัย (Fruit Safety)
4.พัฒนาและปรับปรุงการคมนาคมขนส่งผลไม้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการกลไก ตลาดสู่การจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศแนวทางการพัฒนา
1.ส่งเสริมการสร้างสัญลักษณ์ให้กับผลไม้และผลิตภัณฑ์จากผลไม้โดยจัดทำตราสัญลักษณ์ สติกเกอร์และผลิตภัณฑ์หีบห่อผลไม้ประจำจังหวัด
2.รณรงค์การบริโภคผลไม้
3.ฝึกอบรมเสริมทักษะวิทยากรเกษตรด้านคุณภาพสวนผลไม้ โดยการจัดฝึกอบรมวิทยากรเกษตรกร
4.การเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดผลไม้ โดยจัดตั้งคณะทำงานจัดหาส่วนแบ่งทางการตลาดในลักษณะ (MARKETING TEAM)
5.จัดทำ Road Show ผลไม้ตามฤดูกาลทั้งในและนอกเขตจังหวัด
6.การจัดทำ Land Mark โดยจัดสร้างเอกลักษณ์ ผลไม้จำลองบริเวณทางเข้าเมืองอุตรดิตถ์
7.จัดหาสถานที่และสร้างตลาดกลางผลไม้บริเวณในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหัวดง อำเภอลับแล
8.ดำเนินการ Account Trade ผลไม้ที่มีศักยภาพ
9.ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
10.จัดสร้างตลาดจำหน่ายผลไม้และผลิตภัณฑ์ระดับจังหวัด เพื่อสร้างโอกาสและขับเคลื่อนกลไกการตลาด
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : จัดระบบบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดโดยมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องแนวทางการพัฒนา
1.ศึกษาพัฒนาและรวบรวมเทคโนโลยีการบริหารจัดการเกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้าน นวตกรรม ด้านการเพิ่มมูลค่าการผลิต ระบบบัญชีกลุ่ม ระบบการตลาด ระบบเงินทุน การยืดอายุผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว
2.เพิ่มมูลค่าจากโซ่การผลิต โดยเก็บเกี่ยวและขนส่ง การแปรรูปไม้ผล เช่น น้ำผลไม้ การทอดทุเรียนและอื่น ๆ การบรรจุภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า
3.ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมศึกษาพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มเข้มแข็งโดยอบรมเชิงปฏิบัติการผู้นำ ภาวะผู้นำ การรวมกลุ่ม การสร้างเครือข่าย ถ่ายทอดเทคโนโลยี
4.ส่งเสริมและจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าจากโซ่การผลิตโดยการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
5.ส่งเสริมการตั้งกลุ่มเครือข่ายโดยการจัดตั้งคณะทำงานส่งเสริมการตั้งกลุ่มเครือข่ายสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย โดยการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชื่อมโยงเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศ สัมมนาการเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผลไม้ที่มีศักยภาพประเภทเดียวกัน
6.รณรงค์สร้างจิตสำนึกที่ดีในการผลิตและการจำหน่าย
7.จัดทำระบบเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทางการตลาด
8.การจัดตั้งธนาคารแรงงาน
9.การรวมกองทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน
วิบูลย์ วัฒนาธร
ไม่มีความเห็น