ยุทธศาสตร์จังหวัดสุโขทัย


สุโขทัยเมืองแห่งมรดกโลก ท่องเที่ยวประทับใจ

   < เมนูหลัก >

วิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัด 

         “สุโขทัยเมืองแห่งมรดกโลก ท่องเที่ยวประทับใจ”

เป้าประสงค์ 

         1.ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งได้รับการแก้ไข

         2.มีสังคมและชุมชนที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้

         3.มีการพัฒนาและอนุรักษ์เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะอุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลก รวมทั้งพัฒนาปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติ ระบบข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด เพื่อเป็นหลักฐานในการสร้างรายได้

         4.มีการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องในการผลิตภาคการเกษตรสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร โดยการส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร การตลาด และสนับสนุนความรู้ด้านการผลิตและการตลาดในประกอบอาชีพเสริมของประชาชนในชุมชน พัฒนาเครือข่ายชุมชน

         5.มีการพัฒนาการบริหารงานภาครัฐ ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และสนับสนุนทุกส่วนของสังคมให้มีส่วนร่วมการพัฒนา

ประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

แนวทางการพัฒนา

         ปรับปรุงคลองบังคับน้ำ การควบคุมการส่งและระบายน้ำ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : การแก้ไขปัญหาความยากจน

แนวทางการพัฒนา

         สร้างรายได้และกระจายรายได้ในพื้นที่หมู่บ้านยากจน ล้าหลัง เพื่อให้มีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนและมีคุณภาพชีวิตทัดเทียมกับหมู่บ้านอื่น ๆ พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ความเชื่อมโยง เครือข่ายการผลิตและบริการอย่างเป็นระบบครบวงจร

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : การส่งเสริมการท่องเที่ยว

แนวทางการพัฒนา

         มีการพัฒนาและอนุรักษ์เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ร่วมยุค อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ส่งเสริมพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวตลอดปี พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แนวทางการพัฒนา

         พัฒนาคุณภาพสินค้าของกลุ่มอาชีพในของแต่ละตำบล ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย ฝึกอบรม เพื่อสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็งพึ่งตนเอง พัฒนาคุณภาพคน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบริหารจัดการ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารภาครัฐและการมีส่วนร่วมของประชาชน

แนวทางการพัฒนา

         ปรับปรุงสนับสนุนคณะกรรมการหมู่บ้านในการไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาท สร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน

         วิบูลย์ วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 8935เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2005 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท