วิเคราะห์เส้นทางสี่แยกอินโดจีน


ก็เพราะว่าอนาคตเรื่องของการเปิดการค้าเสรี...ดูท่าเราจะหลีกเลี่ยงมิได้ในสังคมโลกใบนี้...

จากอนุสนธิที่น้องเม้งถามผมว่า...มีอะไรให้ช่วยก็บอก... 

 

เพราะว่าพี่ถูกแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน...

 ความจำเป็นในการฉายภาพวิสัยทัศน์เรื่องเส้นทางสี่แยกอินโดจีน...ก็เลยตกเป็นภาระของผมไปโดยปริยาย...

 

เนื่องจากภาพวิสัยทัศน์ที่ผมได้มาจาก www.thai-canal.com เป็นภาพที่ไม่สามารถเอาต้นแบบมาลง ณ ที่นี้ได้...ไฟล์ใหญ่เกินไป...ขอให้น้องเม้งตามไปดูที่เวบเขาให้ด้วยนะครับ...

 

ผมเลยเอาภาพสี่แยกอินโดจีนมาให้ดูครับ...ภาพนี้ค่อนข้างเบลอ

 

สี่แยกอินโดจีน

 

คำอธิบายที่ผมต้องสาธยายต่อสาธารณชน...

 

สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน...ทำไมต้องมี...???

ก็เพราะว่าอนาคตเรื่องของการเปิดการค้าเสรี...ดูท่าเราจะหลีกเลี่ยงมิได้ในสังคมโลกใบนี้...

ทำให้เราต้องได้รับผลกระทบแน่ ๆ...

เรื่องเศรษฐกิจการค้าเป็นเหตุ...

แต่ผลของมันกระทบไปทุกเรื่อง....

การอพยพย้ายถิ่น...

สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม...

สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน...มีไว้ทำอะไร...???

ก็เราอยากให้คนไทยตระหนักต่อผลกระทบทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น...

หาทางป้องกัน...เตรียมทางแก้ไข...กับผลกระทบที่จะตามมา...

 

สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน...จะทำได้จริงรึ...???

เราฝันว่าผู้คนจะพูดคุยกันเรื่องนี้อย่างเข้มข้น...ขยายวงไปเรื่อย ๆ ...จนเต็มแผ่นดิน...

พร้อม ๆ กับกระบวนการสร้างปัญญา...ให้ผู้คนเข้มแข็ง...ชุมชนเข้มแข็ง...สังคมเข้มแข็ง...

 

สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน...ทำไมต้องตั้งที่พิษณุโลก...???

ดูจากแผนภูมิ...จะพบว่าพิษณุโลกเป็นจุดตัดของเส้นทาง...

คงจะต้องแบกรับภาระผลกระทบมากที่สุด...เรียกว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์...ที่เราต้องตั้งหลักให้ได้ ก่อนที่คนอื่นจะเอาด้วยกับเรา...

 

คำถามสำหรับน้องเม้ง...

1. ข้อมูล ณ เวลาสิ้นปี 2549 เส้นทางเดินเรือที่ผ่านตอนใต้ของประเทศไทยมีกี่ลำกันแน่...เป็นเรือประเภทใดบ้าง...

2. สภาพภูมิประเทศหลังจากเส้นทางพาดผ่านจากเวียดนามข้ามไปที่พม่าลงทะเล...เหมาะสำหรับการขนถ่ายสินค้า...เดินทางท่องเที่ยว...มากน้อยแค่ไหน

3. พี่ควรจะคำนึงถึงผลกระทบทางภูมิศาสตร์อะไรบ้าง...

ช่วยหาข้อมูลสนับสนุนด้วยครับ...

คำสำคัญ (Tags): #สี่แยก อินโดจีน
หมายเลขบันทึก: 89180เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2007 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

ท่านเลขาฯ....

เข้ามาจองที่......

เรื่องนี้ น่าสนใจ

เจริญพร

 

สวัสดีครับพี่สอนที่เคารพรัก

  • คำตอบในเบื้องต้นก่อนนะครับ ไม่รู้ว่าจะเป็นคำตอบหรือเปล่า เนื่องจากปัญญาในหัวหมองผมมีน้อยเหลือเกินในเรื่องนี้
  • แต่ผมมีเพื่อนอีกชุดหนึ่ง ที่เรียนทางด้านเศรษฐศาสตร์ และสนใจเรื่องอินโดจีนอยู่ ผมจะลองถามดูก่อนครับ
  • ตามไปดูต้นเว็บไซต์ เรื่องการขุดคลองไทยแล้วนะครับ เหมือนเรากำลังจะหั่นประเทศออกเป็นชิ้นๆ เลยครับ โดยเฉพาะภาคใต้
  • ผมเลยขอถามย้อนกลับก่อนครับ จากข้อสงสัยอันหนักอึ้ง เพราะข้อมูลมีน้อยเกี่ยวกับโครงการนี้ครับ
  • จากคำถามของพี่ทั้งหมดครับ ควรจะมีคำตอบที่ชัดเจน ก่อนจะสร้างนะครับ เรื่องผลกระทบนี่แน่นอนครับ จะต้องทำกับอย่างจริงจัง จริงใจ (ไม่จิงโจ้ครับ)
  • เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่กับประเทศมากนะครับ จะสร้างกันเมื่อไหร่ครับ ยังไงก็ต้องถามคนในชาติทุกคนด้วยนะครับ
  • หากตัดสินใจผิดพลาด บาดแผลที่เราได้กรีดลงบนร่างกายของเรา(แผ่นดินไทย) คงจะเป็นบาดแผลที่ตราอยู่ในดวงใจของไทยทุกดวงครับ

  • สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน...ทำไมต้องมี...???
  • สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน...มีไว้ทำอะไร...???
  • สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน...จะทำได้จริงรึ...???
  • สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน...ทำไมต้องตั้งที่พิษณุโลก...???

 

  • โครงการนี้ แนวทาง และหลายๆ อย่าง มีเป้าหมาย สอดคล้องตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือเปล่าครับ หรือว่าอย่างไรครับ
  • เราต้องการจะเป็นเสือ หรือว่าอะไรครับ
  • คือหากเป็นไปได้ ผมขอเบอร์ติดต่อพี่สอนดีกว่าครับผม จะได้โทรไปคุยดีกว่าครับ
  • แต่ก่อนอื่นผมขอข้อมูลพื้นฐาน เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ที่ชัดเจนทั้งหมด ในเรื่องของแนวคิดให้ผมทราบก่อนจะได้ไหมครับ
  • สำหรับคำถาม 3 ข้อผมจะค่อยๆ ทยอยตอบให้ และต้องขอบ่มในสมองก่อนนะครับ (ผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นี้ครับ จะขอตอบในแนวทางที่ผมตอบได้นะครับพี่ โดยเฉพาะผลกระทบทางภูมิศาสตร์ น่าสนใจมากๆ หากเกิดรอยแยกของเปลือกโลกขึ้นมา ตามร่อง หรือบริเวณร่องต่างๆ ต้องศึกษาหลายๆ อย่างครับ)
  • คือ สำหรับโครงการใหญ่เช่นนี้ คงต้องพูดคุยถกกันให้เต็มที่ก่อนตัดสินใจครับ อย่าใจร้อนนะครับ
  • แค่ผมเคยได้ยินโครงการสร้างสะพานลัด ผ่านรูปตัว ก.ไก่ ในอ่าวไทย ในการขนส่ง ตรงนั้น ผมก็หนักใจแล้วครับพี่ เพราะผลกระทบที่แท้จริงนะครับ ไปเล่นกับตรงนั้น ไม่ง่ายครับ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ EIA เราต้องทำกันจริงๆ (เทียมไม่ได้เด็ดขาดครับ)
  •  ผมอยากคุยกับพี่ ถกกันตรงๆ เรื่องที่มาที่ไปก่อนจะได้ไหมครับ ก่อนจะนำไปสู่คำตอบอื่นๆ ซึ่งผมก็ยังไม่มีในมือ ต้องปรึกษาทีมก่อนครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ เหมือนว่าภูเขาหิมาลายา มาอยู่บนบ่าเลยครับ ตอนนี้
  • ขอบคุณมากครับ

    เห็นด้วยครับว่าเป็นเรื่องหนัก  เรื่องใหญ่  ต้องหาความจริง คิด และทำไป โดยไม่ประมาท และสุขุมลุ่มลึก .. เรื่องนี้ก็อยู่ในใจท่านเลขาฯ ของผมแล้วนี่ .. ก็ช่วยกันแสวงหา ลู่ทาง หาความจริงแท้  เพื่อประกอบการตัดสินใจที่ ฉลาด  ไม่ผิดพลาด กันต่อไป  ขอเอาใจช่วยครับ .. "ลานช่วย" ย่อมทำได้ !

โห เรื่องใหญ่นะครับ

กระผมตัวน้อยๆ ขอเป็นกำลังใจครับ

P

พระอาจารย์ครับ...กราบนมัสการเชิญร่วมเวทีนี้อย่างเป็นทางใจ(เป็นทางการจะบีบบังคับกันเกินไป...อิอิ)ครับ...

 

ผมจะขอให้น้องเม้งเอาเรื่องนี้เข้าลานช่วย แล้วหาผู้สนใจเข้าร่วมคิดร่วมสร้างสรรค์กันต่อไปครับ

P
  • ไม่รู้ว่าจะเป็นคำตอบหรือเปล่า ... คำตอบคือใจของน้องเม้งอ่ะครับ...แค่บอกว่าจะช่วยพี่เต็มที่...แล้วเอาเรื่องนี้เปิดวงคุยกันในลานช่วย...พี่ก็สู้ตายละ(วะ)งานนี้...555
  • แต่ผมมีเพื่อนอีกชุดหนึ่ง ที่เรียนทางด้านเศรษฐศาสตร์ และสนใจเรื่องอินโดจีนอยู่ ผมจะลองถามดูก่อนครับ ...นี่แหละสุดยอดของ Swith hub ตามที่พี่ปรารถนาแล้วล่ะ...
  • ตามไปดูต้นเว็บไซต์ เรื่องการขุดคลองไทยแล้วนะครับ เหมือนเรากำลังจะหั่นประเทศออกเป็นชิ้นๆ เลยครับ โดยเฉพาะภาคใต้ ... พี่ขออภัยด้วย...ผิดจุดไปหน่อย...ให้ไปดูเวบนั้น...ไม่เกี่ยวกับพี่เลย... เดี๋ยวจะหานำเสนออันใหม่มาลงให้ครับ....

ผมเลยขอถามย้อนกลับก่อนครับ จากข้อสงสัยอันหนักอึ้ง เพราะข้อมูลมีน้อยเกี่ยวกับโครงการนี้ครับ

  • จากคำถามของพี่ทั้งหมดครับ ควรจะมีคำตอบที่ชัดเจน ก่อนจะสร้างนะครับ เรื่องผลกระทบนี่แน่นอนครับ จะต้องทำกับอย่างจริงจัง จริงใจ (ไม่จิงโจ้ครับ)
  • เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่กับประเทศมากนะครับ จะสร้างกันเมื่อไหร่ครับ ยังไงก็ต้องถามคนในชาติทุกคนด้วยนะครับ
  • หากตัดสินใจผิดพลาด บาดแผลที่เราได้กรีดลงบนร่างกายของเรา(แผ่นดินไทย) คงจะเป็นบาดแผลที่ตราอยู่ในดวงใจของไทยทุกดวงครับ
    เรื่องที่น้องเม้งถาม...คงเอาข้อมูลจากเวบที่พี่ว่าซึ่งผิดจุดครับ...ขออภัย...
  • เรื่องทำคลองต่าง ๆ พี่ไม่เกี่ยวครับ...เท่าที่มีคนเล่าให้ฟัง...คอคอดกระ หรือคลองอะไรก็ช่าง...คิดกันมาจะพอ 100 ปีแล้วมั้ง... นัยว่าไม่สำเร็จด้วยปัจจัยสำคัญทางการเมืองและการแบ่งแยกดินแดน...คงเป็นประมาณนั้นต่อไป...

ของพี่เน้นเฉพาะเส้นทางที่พาดผ่านเป็นรูปสี่แยกตามภาพ...แล้วจะหาทางเอาที่นำเสนอเป็นเพาเวอร์พอยท์มาให้น้องเม้งดูให้จงได้...

  • สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน...ทำไมต้องมี...???
  • สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน...มีไว้ทำอะไร...???
  • สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน...จะทำได้จริงรึ...???
  • สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน...ทำไมต้องตั้งที่พิษณุโลก...???

อันนี้เอาไว้ร่วมวิพากย์กันเพิ่มเติมจากข้างบนที่พี่พยายามอธิบาย...

  • โครงการนี้ แนวทาง และหลายๆ อย่าง มีเป้าหมาย สอดคล้องตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือเปล่าครับ หรือว่าอย่างไรครับ

เราเน้นเศรษฐกิจพอเพียงเลยครับ...แต่ใครเอาธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง...เราขอเป็นธุรกิจเพื่อสังคมครับ...

  • เราต้องการจะเป็นเสือ หรือว่าอะไรครับ

ไม่แน่นอนครับ...เราเน้นเป็นชุมชนเข้มแข็ง สังคมเข้มแข็งครับ...

  • คือหากเป็นไปได้ ผมขอเบอร์ติดต่อพี่สอนดีกว่าครับผม จะได้โทรไปคุยดีกว่าครับ

เบอร์พี่ที่อยู่ในประวัติ...เบอร์จริงที่ใช้อยู่ปัจจุบันครับ..0858767890

  • แต่ก่อนอื่นผมขอข้อมูลพื้นฐาน เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ที่ชัดเจนทั้งหมด ในเรื่องของแนวคิดให้ผมทราบก่อนจะได้ไหมครับ

ลองเข้าไปดูเวบนี้...http://www.idi-th.com ..แล้วพี่จะเพิ่มเติมข้อมูลลงเรื่อย ๆ ครับ...   

  • สำหรับคำถาม 3 ข้อผมจะค่อยๆ ทยอยตอบให้ และต้องขอบ่มในสมองก่อนนะครับ (ผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นี้ครับ จะขอตอบในแนวทางที่ผมตอบได้นะครับพี่ โดยเฉพาะผลกระทบทางภูมิศาสตร์ น่าสนใจมากๆ หากเกิดรอยแยกของเปลือกโลกขึ้นมา ตามร่อง หรือบริเวณร่องต่างๆ ต้องศึกษาหลายๆ อย่างครับ)

จะรอครับ...แต่ถ้าช้าพี่จะหายตื่นเต้นก่อนนะครับ...ไม่รู้เรียนแบบใคร...555

  • คือ สำหรับโครงการใหญ่เช่นนี้ คงต้องพูดคุยถกกันให้เต็มที่ก่อนตัดสินใจครับ อย่าใจร้อนนะครับ

ถูกต้องแล้วคร้าบบบ...

  • แค่ผมเคยได้ยินโครงการสร้างสะพานลัด ผ่านรูปตัว ก.ไก่ ในอ่าวไทย ในการขนส่ง ตรงนั้น ผมก็หนักใจแล้วครับพี่ เพราะผลกระทบที่แท้จริงนะครับ ไปเล่นกับตรงนั้น ไม่ง่ายครับ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ EIA เราต้องทำกันจริงๆ (เทียมไม่ได้เด็ดขาดครับ)

เราไม่ยุ่งกับตรงนั้นจริง ๆ ครับ...

  •  ผมอยากคุยกับพี่ ถกกันตรงๆ เรื่องที่มาที่ไปก่อนจะได้ไหมครับ ก่อนจะนำไปสู่คำตอบอื่นๆ ซึ่งผมก็ยังไม่มีในมือ ต้องปรึกษาทีมก่อนครับ

ดีครับ...อย่าลืมเอาไปไว้ที่ลานช่วย...แล้วหาเพื่อนคุยกันเยอะ ๆ นะครับ...เผื่อได้มุมมองมากกว่าเราสองคนพี่น้อง...อิอิ

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ เหมือนว่าภูเขาหิมาลายา มาอยู่บนบ่าเลยครับ ตอนนี้

ช่วยกันแบกคนละมุมสองมุม...พี่ว่ามันส์ดีพิลึกครับ...555

P

แต่ผมเชื่อว่ามือวิศวกรพื้นบ้านอย่างอาจารย์นี่แหละ...ที่จะช่วยตบแต่งรากฐานให้แน่น...สร้างเสร็จแล้วล้มยาก...อิอิ

 

ฉะนั้นอาจารย์ต้องเข้ามาช่วยแบกกันอีกมุมนึงนะครับ...(เรื่องไม่หนักเรามีคนทำกันอยู่เยอะแล้ว...อิอิ)

P
นอกจากกำลังใจแล้ว พี่อยากได้กำลังความคิดด้วยอ่ะครับ...รู้ว่าน้องเรามีพลังมาก...บู้ลิ้มต้องการจอมยุทธ์น้อยเช่นท่านสร้างความสงบสุขอยู่ครับ...
  • ขอบคุณมากครับพี่สอน
  • ได้รับฟังจากพี่แล้ว ทำให้ได้กรอบมากขึ้นครับ
  • สำหรับคำถามดังต่อนี้ครับ (รบกวนท่านอื่นๆ ช่วยเสริมด้วยนะครับ เพราะผมก็ยังด้อยประสบการณ์ ยิ่งนักครับ)
  • คำถามสำหรับน้องเม้ง...

    1. ข้อมูล ณ เวลาสิ้นปี 2549 เส้นทางเดินเรือที่ผ่านตอนใต้ของประเทศไทยมีกี่ลำกันแน่...เป็นเรือประเภทใดบ้าง...

    ตอบ...(แบบเป็นคำถาม) พี่หมายถึงการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกาหรือเปล่าครับ

    ผมเองไม่ทราบข้อมูลครับ ต้องติดต่อสอบถามพี่ทีมงานอีกทีนะครับ ทราบแต่ว่าประเทศไทยมีการแบ่งโซนพื้นที่ ในเรื่องนี้อยู่เหมือนกันครับ ผมยังหาเขตการเดินเรือไม่ได้ครับ เคยมีข้อมูลแต่ต้องหาก่อนครับ เพราะผมไม่ได้ทำเน้นทางการเดินเรือเลยครับ ไม่แน่ใจว่ามีองค์กรใดดูแลโดยตรงหรือเปล่าครับในเรื่องนี้ เกี่ยวกับการจัดเรือผ่าน

    2. สภาพภูมิประเทศหลังจากเส้นทางพาดผ่านจากเวียดนามข้ามไปที่พม่าลงทะเล...เหมาะสำหรับการขนถ่ายสินค้า...เดินทางท่องเที่ยว...มากน้อยแค่ไหน

    ตอบ...มีเส้นทางในการเดินไหมครับ ว่าจะตัดถนนผ่านเส้นใด พื้นที่ใด แล้วความกว้างของถนนที่ตัดผ่าน ในบริเวณกี่เมตรครับ ผ่านพื้นที่ใดบ้าง ป่าไม้ พื้นที่อนุรักษ์ ชุมชนใดบ้าง ภูเขาอย่างไร สูงต่ำอย่างไร ตรงนี้ มีอะไรให้ต้องคิดเยอะมากๆ ครับ แล้วรถที่วิ่งในบนเส้นถนนนั้น เป็นการขนสินค้าอะไรครับ มีแผนการส่งในปัจจุบันอยู่แล้วเป็นอย่างไร ผลต่างระหว่างการทำกับไม่ทำ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อชุมชน การเปลี่ยนแปลงของชุมชน มีใครบ้างที่จะใช้เส้นทางเหล่านั้น แล้วถนนเดิมมีอยู่ไหมหรือว่าจะตัดผ่านกันใหม่ตามโครงการ

    หากทราบเส้นทางจริงอย่างละเอียดลองเอาไปทาบกับแผ่นที่ภูมิศาสตร์และภาพถ่ายดาวเทียบจาก pointasia.com หรือ google earth ก็คงได้ภาพรวมว่า มีอะไรจะกระทบต่อประเทศบ้าง

    3. พี่ควรจะคำนึงถึงผลกระทบทางภูมิศาสตร์อะไรบ้าง...

    ตอบ....ทางภูมิศาสตร์ คงต้องดูเส้นทางกันนะครับ ว่าเส้นทางที่พาดผ่านเหล่านั้น มันกินพื้นที่ไปเท่าใด พื้นที่ความสูงต่ำตลอดเส้นทาง หากตัดพื้นที่ผ่านป่าไม้ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ผ่านพื้นที่ทำกินของประชาชน มีการจัดการอย่างไร ทรัพยากรที่จะเอามาขุด ถม ยกระดับ เอามาจากไหน ไปพังทลายภูเขามาจากไหนบ้างเพื่อมาสร้างถนน ตรงนี้ แล้วผลกระทบข้างเคียงทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่ต่างๆ อีกครับ

    ผลกระทบทางเรื่องความเป็นอยู่ของคนหากตัดผ่านชุมชน

    ความชุ่มชื้นของผืนป่าหากตัดผ่านเป็นอย่างไร มีผลต่อระบบนิเวศน์แค่ไหนอย่างไร

    อันนี้ไม่ใช่โครงการที่จะทำเร่งด่วนใช่ไหมครับ หรือว่าเร่งด่วนครับ

    เพราะหากไม่เร่งด่วนคงต้องถกกันหนักเลยครับ และหากเร่งด่วนก็ต้องถกให้หนักยิ่งขึ้น

    เพราะผมได้สอบถามเพื่อนที่คิดว่าจะทราบ ในเรื่องนี้คนหนึ่ง เค้าไม่ทราบรายละเอียดครับ ไว้จะสอบถามคนอื่นด้วยครับ

    อีกอย่างควรจะสอบถามผู้หลักผู้ใหญ่ของประเทศ นักวิชาการในด้านต่างๆ และที่สำคัญต้องถามชาวบ้านครับ แล้วมองภาพรวมของประเทศว่าจะเป็นอย่างไรบ้างครับ

    ผมดีใจครับ ที่พี่ตอบว่า อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นชุมชนเข้มแข็ง สังคมเข้มแข็ง

    โครงการนี้ใหญ่ มีข้อดีข้อเสีย ได้อย่างเสียอย่าง หรือได้อย่างเสียหลายอย่าง หรือจะได้หลายอย่างเสียอย่าง ก็ตามแต่ครับ

  • ผมจะพยายามเขียนให้เป็นรูปแบบมากกว่านี้นะครับ พี่อันนี้เขียนตามใจเลยครับ ประมาณว่า ต่อท่อน้ำแล้วก็ปล่อยสิ่งที่กังวลและคำถามออกไปเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลนะครับ อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด

  • ขอบคุณพี่มากๆ นะครับ อย่างน้อยพี่ก็ได้นำมาตีแผ่ให้ทราบว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับสังคมบ้าง มีคนคิดด้านไหนกันอยู่บ้าง แล้วใครควรจะรับรู้ แล้วขบคิดบ้างครับ เป็นแบบอย่างที่ดี ครับ

  • ใส่ข้อมูลลงมาเรื่อยๆ นะครับ ผมจะสอบถามหลายๆ ท่านครับ แต่ให้ลองสอบถามเครือข่ายด้านอื่นด้วยนะครับ ผมเองมีเครือข่ายเพียงเล็กน้อยครับ

  • แล้วไม่ทราบว่าเส้นทางอื่นเค้าว่ากันอย่างไรครับ ในกราฟเส้นทางที่แสดงไว้ด้านบนนะครับ

  • ขอบคุณมากนะครับพี่ แล้วจะหาโอกาสโทรไปคุยครับผม

  • มาเพิ่มคำถามต่อให้พี่สอน กลายเป็นบทความติดชาร์ท เลยครับ
  • คำถามต่อไปครับ


  • โครงการนี้คิดมานานกี่ปีแล้วครับ
  • ตอนนี้ โครงการนี้ ได้เริ่มทำไปแล้วยังครับ
  • เราจะเป็นเพียงทางผ่านให้ชาติอื่นวิ่งผ่านหน้าบ้าน ในบ้านเรา หรือเปล่าครับ หรือว่าเราจะใช้เส้นทางนี้ ในการขนส่งด้วย เราเตรียมอะไรที่จะขนส่งบนเส้นทางนี้ครับ แล้วอะไรคือความยั่งยืน
  • มีแผนอะไรที่เตรียมไว้บ้างแล้วครับ สำหรับสิ่งนี้ หากจะเกิดขึ้นจริงๆ
  • การสานต่อในระดับรัฐบาล หรือองค์กร มีความต่อเนื่องอย่างไรบ้างครับ ในอนาคต เมื่อคนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด หรือยุคเปลี่ยนไปครับ

  • จะค่อยมาเติมความสงสัยเรื่อยๆ ครับผม
P
มีเส้นทางในการเดินไหมครับ ว่าจะตัดถนนผ่านเส้นใด พื้นที่ใด แล้วความกว้างของถนนที่ตัดผ่าน ในบริเวณกี่เมตรครับ ผ่านพื้นที่ใดบ้าง ป่าไม้ พื้นที่อนุรักษ์ ชุมชนใดบ้าง ภูเขาอย่างไร สูงต่ำอย่างไร ตรงนี้ มีอะไรให้ต้องคิดเยอะมากๆ ครับ แล้วรถที่วิ่งในบนเส้นถนนนั้น เป็นการขนสินค้าอะไรครับ มีแผนการส่งในปัจจุบันอยู่แล้วเป็นอย่างไร ผลต่างระหว่างการทำกับไม่ทำ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อชุมชน การเปลี่ยนแปลงของชุมชน มีใครบ้างที่จะใช้เส้นทางเหล่านั้น แล้วถนนเดิมมีอยู่ไหมหรือว่าจะตัดผ่านกันใหม่ตามโครงการ

555...ถามเสียพี่ตอบไม่ทันเลยนะน้องรัก...ตอบอันหลังเลยดีกว่า...
  • โครงการนี้คิดมานานกี่ปีแล้วครับ
  • ตอนนี้ โครงการนี้ ได้เริ่มทำไปแล้วยังครับ
  • คิดกันมาตั้งแต่ก่อนฟองสบู่แตก ปี 2540 แล้วครับ...โดยแยกเป็นสองฝ่าย(ที่พยายามจับมือกัน)คือฝ่ายเศรษฐกิจ(โดยชมรมหอการค้า East-West Corridor)กับฝ่ายประชาสังคม(ชมรมศึกษาเพื่อพัฒนาสี่แยกอินโดจีน )

    แนวคิดเรื่อง East-West Corridor น่าจะมีมานานกว่านั้นครับ...เหตุผลเพราะว่าเส้นทางที่จะตัดประเทศไทยเป็นคอคอดกระถูกแบนหลายรอบ(ซึ่งมีอีกหลายโครงการเกิดขึ้นตามมาดังที่น้องเม้งเข้าไปในเวบเขาแล้ว)... 

    ประตูตะวันออกสู่ตะวันตกที่เป็นเส้นทางถนน(ตามแผนที่สีเขียวเส้นประ)จึงเริ่มมีแนวคิดเกิดขึ้นอย่างจริงจัง...โดยทั้งสองกลุ่ม(ชมรมหอการค้า/ประชาคมสี่แยกอินโดจีน) ได้ใช้เวทีของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ...เสนอเป็นยุทธศาสตร์ชาติ...และได้มีการรับรองยุทธศาสตร์นี้เป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาล...ในเวลาต่อมา...

    หลังจากนั้นก็เกิดการเชื่อมโยงทางด้านเศรษฐกิจทั้ง 4 ประเทศ(พม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม) โดยหอการค้า(อาจเป็นเพราะว่าประชาคมในอีก 3 ประเทศไม่มีตัวตนให้จับต้องได้...หรือเราไม่รู้จักเขาเอง..อิอิ)

    ผ่านมาช่วงกลางรัฐบาลทักษิณ1...การส่งเสริมการค้าเสรีทำให้ทั้ง 4 ประเทศได้มีโอกาสประชุมร่วมหลายครั้ง และมีข้อตกลงร่วมจากธนาคารแห่งเอเชีย(ADB) ที่จะให้การสนับสนุนกู้ยืมเพื่อสร้างเส้นทาง East-West Corridor (ได้ข่าวว่ามีการติดตามประเมินการโกงกินเงินกู้ด้วย...คนไทยติดอันดับต้น ๆ เช่นเคย...555)

     

    ประเทศไทยสร้างถนนไปแล้วประมาณ 20 %(อันนี้พี่คาดเอาเอง) ได้ข่าวว่าลาวทำได้มากกว่าเราเยอะ...รวมทั้งเวียดนามด้วย...ส่วนพม่ายังไม่ได้ทำอะไรมาก(ไปตากมาดูสะพานที่แม่สอด...ดีเยี่ยมชั้น1 แต่ข้ามไปที่พม่า...เหมือนเดิม)อาจเป็นเพราะเขามีเนื้อที่ต้องทำถนนน้อย...อิอิ

     

    มาที่ฟากฝ่ายประชาคม...เราพยายามส่งตัวแทนเข้าไปร่วมกับฝ่ายการค้า(ส่งไปน้อยก็ถูกกลืนหมดนะ..พี่ว่า...อิอิ) แต่เราก็พยายามขับเคลื่อนภายในประเทศ...โดยประธานสถาบันฯ พล.อ.ดร.ศิริ  ทิวะพันธ์ มีความพยายามประสานทั้งสองฝ่าย...ท่านได้เขียนหนังสือ วิสัยทัศน์สี่แยกอินโดจีน 2020 รายละเอียดมากกว่าที่พี่เล่าเยอะ...

    เราจะเป็นเพียงทางผ่านให้ชาติอื่นวิ่งผ่านหน้าบ้าน ในบ้านเรา หรือเปล่าครับ หรือว่าเราจะใช้เส้นทางนี้ ในการขนส่งด้วย เราเตรียมอะไรที่จะขนส่งบนเส้นทางนี้ครับ แล้วอะไรคือความยั่งยืน

    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราคิดหนัก...มีผู้รู้นักคิดหลายคน(ซึ่งก็มองเรื่องเศรษฐิกเป็นหลัก)เขาเชื่อว่า...นี่เป็นการแย่งชิงพื้นที่การค้าจากสิงค์โปรอย่างน้อยครึ่งนึงของค่าต๋งเรือที่จอดสิงค์โปร์จะหายไปทันที(คล้ายกับว่าเป็นจุดจบท่าเรือเอกของโลกว่างั้นเถอะ..555)

    แต่ปัญหาคือ วิสัยทัศน์ของสิงค์โปรไปไกลกว่าเราอย่างห่างชั้น...(เพราะเขามีนักสร้างงานมากกว่าชาติอื่นในแถบนี้...ของเรามีแต่คนงาน...เศร้าจริง...อ้างอิงจาก Dare to fail ของบิลลี่ ลิม) เขาวางแผนมาสร้างงานให้เราแล้วครับ...

    ส่วนฟากฝ่ายประชาคมเราก็เลยมุ่งหน้าสู่การสร้างความแข็งแกร่ง ความเข้มแข็งของชุมชน สังคม...เพื่อป้องกันการกลับไปซ้ำรอยประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจล้ม...(เรามีตัวอย่างชุมชนเข้มแข็งหลายแห่ง(ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง)ที่สามารถอยู่ด้วยตัวเองได้...อย่างน้อย 1 ปี ถ้าเศรษฐกิจของประเทศล้ม...เราจึงอยากให้มีชุมชนแบบนี้ทั่วประเทศ...โดยเฉพาะภูมิภาคนี้)

    ที่เหลือเดี๋ยวมาต่อนะครับ...ชักมันส์...555

  • เราจะเป็นเพียงทางผ่านให้ชาติอื่นวิ่งผ่านหน้าบ้าน ในบ้านเรา หรือเปล่าครับ หรือว่าเราจะใช้เส้นทางนี้ ในการขนส่งด้วย เราเตรียมอะไรที่จะขนส่งบนเส้นทางนี้ครับ แล้วอะไรคือความยั่งยืน
  •  

    เราวิเคราะห์กันว่าประเทศไทยจะเป็นจุดพักของรถขนส่งสินค้าที่ยาวไกลอย่างแน่นอน...ธุรกิจอะไรต่อมิอะไรคงได้เดินตามมาอย่างมหาศาล...

    สำคัญที่สุดคือคน...การเคลื่อนย้ายของผู้คนที่จะผ่านไปมาอย่างอิสระมากขึ้น....

    สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาวะ จิตวิญญาณคงจะได้รับผลกระทบแน่ ๆ ... และเราไม่อยากให้มีผลกระทบในทางเลวร้ายแน่นอน...

     

  • มีแผนอะไรที่เตรียมไว้บ้างแล้วครับ สำหรับสิ่งนี้ หากจะเกิดขึ้นจริงๆ
  •  

    ช่วงที่ผ่านมาทางฝ่ายหอการค้าเดินไปไกลมาก...เนื่องจากเป็นแนวเดียวกับทางเดินของรัฐบาลที่ผ่านมา...

    ตรงข้ามกับฟากฝ่ายประชาสังคม...ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านประชาคมหลายท่านบอกตรงกันว่า นโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา...ได้ทำลายหน่ออ่อนแห่งการสร้างสรรค์ประชาคมทลายลงแทบราบคาบ...

     

     เราเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาคน...ในช่วงนั้น การใช้คำว่าวิทยากรกระบวนการก็เกิดขึ้น...พอ.นพ.ทวีศักดิ์  นพเกษร ของสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีนก็ติดตามศึกษา/อบรมจากทั่วโลก...แล้วนำมาประยุกต์เป็นหลักสูตรวิทยากรกระบวนการของสถาบัน...กระจายไปทั่วภูมิภาค

    • สวัสดีครับพี่สอน
    • ดีใจนะคับที่พี่ตอบมาทุกๆ ประเด็น เรื่องการจัดการคนนี่หล่ะครับ สำคัญที่สุดครับ
    • และทรัพยาการอย่างที่ผมถามไปว่าจะไปเอาหินที่ไหนมาสร้างถนนตลอดเส้นทางให้สำเร็จ อาจจะต้องทำลาย ระเบิดภูเขาอีกเท่าไหร่ครับ อันนี้ก็ต้องคิดครับ
    • สิ่งแวดล้อมคือตัวสำคัญมากๆ ตอนนี้เราไม่ได้ให้ความสำคัญกันจริงจังเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ทุกคนก็พูดกันเรื่องสิ่งแวดล้อมครับ
    • ป่าไม้บ้านเราเหลือกี่เปอร์เซนต์ครับ
    • เราจะจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างไรครับ ต่อไป เรื่องป่าไม้ทรัพยากรต่างๆ เราเตรียมคนเราไว้พร้อมแล้วหรือยังครับ
    • คนเรามีระเบียบวินัยที่จะเคารพต่อสิ่งเหล่านี้แล้วหรือยังครับ
    • ผมจะยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น สิงคโปร์นะครับ เค้ามีท่าเรือตรงนั้นในการควบคุมเรือต่างๆ พี่ทราบใช่ไหมครับ ว่ามีปัญหาหนักคือ ปัญหาน้ำมันรั่วลงสู่ทะเลครับ
    • นี่ขนาดคนสิงคโปร์มีความรับผิดชอบสูง มีวินัยสูงนะครับ ปัญหายังเกิดขึ้น
    • หากเมืองไทยเรามาตัดช่องที่ตรงที่ใดที่หนึ่งที่ภาคใต้นะครับ เราต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ในการขุดครับ แล้วคนไทยได้เตรียมตัวเรื่องปัญหามลพิษทางน้ำกันยังครับ เรื่องคราบน้ำมันรั่ว อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กนะครับ
    • พี่คิดว่าคนไทยพร้อมแล้วหรือยังครับ ที่จะเป็นคนมีวินัยต่อสิ่งเหล่านี้
    • ทำไมต่างประเทศเค้าถึงชอบเรื่องการแข่งกันมีสวนสาธารณะในเมืองครับ วัดกันที่ผืนป่า ไม่ใช่ป่าคอนกรีดนะครับ ที่พูดนี้เป็นการถามหรือยกให้เห็นว่าต่างประเทศเค้าเน้นสิ่งแวดล้อมครับ
    • ผมถามอีกอย่างคือ เมืองไทยเรามีรายได้จากการเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างให้เกิดสถานที่ท่องเที่ยวเน้นบริหารจัดการให้ดี ก็จะดีมากๆ เลยครับ ไม่ต้องลงทุนมากเหมือนโครงการนี้ครับ
    • ผมก็เลยย้อนกลับไปยังจุดคำถามเดิมใหม่ว่า จำเป็นจริงหรือที่จะต้องสร้างตรงนี้ แม้ว่าจะถกเถียงกันมานานก็จริงนะครับ แต่ต้องคิดให้รอบคอบครับ เพราะคนคิดมีอายุขัยทางการตัดสินใจแค่เพียงไม่กี่ปีนะครับ แต่ผลกระทบก็จะเกิดกับประเทศตลอดไป (อันนี้มองในแง่ที่ว่าร้ายนะครับ)
    • แต่หากคนไทยมีระเบียบวินัยที่ดี เคารพและสร้างธรรมชาติให้สมบูรณ์ใหม่ ชดเชยสิ่งต่างๆที่ทำร้ายธรรมชาติมาแล้วให้เกิดผลดีนะครับ จะสร้างตอนนั้นก็ไม่สายครับ
    • อยากให้พร้อมก่อนจะสร้าง หรือให้ชัดเจนก่อนว่าจำเป็นแล้วใช่ไหม หากเราไม่สร้างจะทำให้ไทยล่มสลายทางเศรษฐกิจหรือเปล่า ให้คิดในส่วนนี้ให้จงหนักเลยนะครับ
    • จะมาเพิ่มไว้อีกครับผม
    • ท่านอื่นหล่ะครับ มีความเห็นอย่างไรครับ อย่าให้ผมกับพี่ชายของผม ต้องโต้กันสองคนซิครับ เหงานะครับผม
    • ขอบคุณมากครับ
        อ่านตามด้วยความระทึกครับ 
        หลายอย่างได้คุยด้วยเสียงสดๆกับน้องบ่าว เม้ง ไปแล้ว  กังวลพอกัน  แต่ก็ให้ความมั่นใจไปว่า .. อย่างท่านเลขาฯ คือ นายขำ นั้นยากนักที่ใครจะลากไปให้เสียศูนย์ .. มีอะไรก็มาช่วย มาแชร์เพื่อสิ่งที่ใช่ที่สุด  ถูกต้อง เหมาะสมที่สุด  ช่วยกันผลัก  ช่วยกันดัน สู่เป้าหมายที่กลั่นมาแล้วด้วยสติปัญญา
       แถมอีกนิดหนึ่งว่า .. อันว่า พอ.นพ.ทวีศักดิ์  นพเกษร กับผมนั้นได้ทำงานใกล้ชิดกันเหมือนญาติสนิทครับ .. ผมใช้ท่านมากจน เขิน ตัวเองเลยล่ะ .. 33 โครงการวิจัย ปี 48 และ 37 โครงการ ปี 49 .. ก็ได้ท่านนี่แหละเป็นกำลังสำคัญช่วยพาย ช่วยงัด  เป็นทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยากร และพี่เลี้ยงให้นักวิจัยเชิงคุณภาพ  มือใหม่หัดขับทั้งหลาย .. โลกกลมจริงๆแฮะ.
    P

    ท่านเลขาฯ...และผู้สนใจทั้งหลาย...

    อาตมาอ่านๆ ไป ก็นึกถึง พุทธสุภาษิตบทหนึ่งได้ว่า..

    เอถะ ปัสสะถิมัง โลกัง จิตตัง ราชะรถูปะมัง

    ยัตถะ พาลา วิสีทันติ นัตถิ สังโค วิชานะตัง

    สูเจ้าจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่..

    คิดล่วงหน้าไปร้อยปี ถ้าโลกยังไม่วอดวาย และโครงการนี้ดำเนินไปได้เรื่อยๆ ... แถบถิ่นนี้คงตระการตา...

    ....

    อีกประเด็นหนึ่ง เคยอ่านเรื่องฮวงจุ้ยโลก เค้าว่า ย่านถิ่นนี้เป็น บริเวณกล้ามขาหลังของมังกรซึ่งเป็นช่วงที่มีเนื้อและใช้พลังมาก...

    จริงอยู่... กล้ามขาหลังมีกล้ามเนื้อแข็งแรงและให้พลังมาก.. แต่อวัยส่วนนี้ เป็นเพียงส่วนสนับสนุนท้องและหัวของมังกรให้อยู่ได้เท่านั้น.. โดยหัวและท้องของมังกรก็คือจีนและอินเดีย..(มิใช่ผู้เชี่ยวชาญ อ่านเค้าโม้มาอีกคราว) ...

    ประเด็นฮวงจุ้ยโลกในเรื่องสีแยกอินโดจีนก็น่าสนใจ ... ท่านเลขาฯ ต้องไปเชิญผู้เชียวชาญด้านนี้มาร่วมวิเคราะห์ด้วย (.............)

    เจริญพร 

    P
  • และทรัพยาการอย่างที่ผมถามไปว่าจะไปเอาหินที่ไหนมาสร้างถนนตลอดเส้นทางให้สำเร็จ อาจจะต้องทำลาย ระเบิดภูเขาอีกเท่าไหร่ครับ อันนี้ก็ต้องคิดครับ
  • สิ่งแวดล้อมคือตัวสำคัญมากๆ ตอนนี้เราไม่ได้ให้ความสำคัญกันจริงจังเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ทุกคนก็พูดกันเรื่องสิ่งแวดล้อมครับ
  • ป่าไม้บ้านเราเหลือกี่เปอร์เซนต์ครับ
  • เราจะจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างไรครับ ต่อไป เรื่องป่าไม้ทรัพยากรต่างๆ เราเตรียมคนเราไว้พร้อมแล้วหรือยังครับ...

    เรื่องป่าไม้ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม...เหล่านี้มีเครือข่ายภาคประชาสังคมที่เป็นกลุ่มพลังแน่นเหนียวมากครับ(อาจถือว่ามากกว่าทุกกลุ่มด้วยซ้ำ)เพราะกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเขาเชื่อมกันเป็นเครือข่ายลุ่มน้ำ...เครือข่าย ดิน น้ำ ป่า...ซึ่งมี คุณสาคร  สงมา activist ในเครือข่ายของสถาบันคลุกคลีกับเรื่องนี้โดยตรง... เขาเห็นว่าป่าไม้บ้านเราลดลงมากเหลือไม่ถึง 30 % เป็นอันตรายถึงขั้นต้องมีโคลนถล่มจากภูเขาทุกปีแน่นอนครับ...

     

  • ผมจะยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น สิงคโปร์นะครับ เค้ามีท่าเรือตรงนั้นในการควบคุมเรือต่างๆ พี่ทราบใช่ไหมครับ ว่ามีปัญหาหนักคือ ปัญหาน้ำมันรั่วลงสู่ทะเลครับ
  • นี่ขนาดคนสิงคโปร์มีความรับผิดชอบสูง มีวินัยสูงนะครับ ปัญหายังเกิดขึ้น
  • หากเมืองไทยเรามาตัดช่องที่ตรงที่ใดที่หนึ่งที่ภาคใต้นะครับ เราต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ในการขุดครับ แล้วคนไทยได้เตรียมตัวเรื่องปัญหามลพิษทางน้ำกันยังครับ เรื่องคราบน้ำมันรั่ว อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กนะครับ
  • พี่คิดว่าคนไทยพร้อมแล้วหรือยังครับ ที่จะเป็นคนมีวินัยต่อสิ่งเหล่านี้
  • เรื่องวินัยนี่สร้างยากนะครับ...ว่ากันว่าประเทศไทยอยู่ในฮ้วงจุ้ยที่ดีที่สุดในโลก(Martin winler บอกไว้) คนไทยเลยติดนิสัยสบาย ๆ ... ไม่แร้นแค้น ไม่มีฤดูกาลที่เป็นปัญหากับผลผลิต ไม่มีภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำแบบเมกาหรือญี่ปุ่น(ซึนามินี่ใหญ่สุดแล้ว...นานมากจนคนไทยลืมง่ายไม่Active)

     

  • ทำไมต่างประเทศเค้าถึงชอบเรื่องการแข่งกันมีสวนสาธารณะในเมืองครับ วัดกันที่ผืนป่า ไม่ใช่ป่าคอนกรีดนะครับ ที่พูดนี้เป็นการถามหรือยกให้เห็นว่าต่างประเทศเค้าเน้นสิ่งแวดล้อมครับ
  • ผู้บริหารบ้านเมืองก็คิดถึงเรื่องนี้กันมากครับ...แต่ความเป็นพลเมืองไทยยังไม่มีมากพอ...เครือข่ายประชาสังคมพยยามจะเน้นเรื่องนี้ครับ...แต่ยังหาคนที่มีแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ เช่น อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ วิทยากรกระบวนการที่นำองค์ความรู้มาจากเยอรมันมาผลักดัน Social mobilization ในประเทศไทย มีลูกศิษย์ลูกหาอยู่ทั่วประเทศ...แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะทำอย่างเมืองซิดนีย์ที่ผมว่าเลยครับ...

    ผมถามอีกอย่างคือ เมืองไทยเรามีรายได้จากการเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างให้เกิดสถานที่ท่องเที่ยวเน้นบริหารจัดการให้ดี ก็จะดีมากๆ เลยครับ ไม่ต้องลงทุนมากเหมือนโครงการนี้ครับ

    ผมก็แปลกใจอยู่เหมือนกันครับ...เราเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์...ซึ่งมีหลายแห่งเวิร์คมาก...แต่พอมาเจอเรื่องคนเอาเงินมาให้ใช้ง่าย ๆ เอาเรื่องเศรษฐกิจการค้าดีมาล่อก็ไหวไปหมด...หรืออีกนัยหนึ่ง เราไม่มั่นคงต่อรากเหง้าของเรามากพอ...หนังตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างกระแสรักชาติได้พักนึงครับ...แต่ไม่มีคนต่อยอดให้ลงลึกสำนึกไทยแท้(หรือว่าคนไทยแท้เป็นเช่นไรไม่รู้)

     

  • ผมก็เลยย้อนกลับไปยังจุดคำถามเดิมใหม่ว่า จำเป็นจริงหรือที่จะต้องสร้างตรงนี้ แม้ว่าจะถกเถียงกันมานานก็จริงนะครับ แต่ต้องคิดให้รอบคอบครับ เพราะคนคิดมีอายุขัยทางการตัดสินใจแค่เพียงไม่กี่ปีนะครับ แต่ผลกระทบก็จะเกิดกับประเทศตลอดไป (อันนี้มองในแง่ที่ว่าร้ายนะครับ)
  • แต่หากคนไทยมีระเบียบวินัยที่ดี เคารพและสร้างธรรมชาติให้สมบูรณ์ใหม่ ชดเชยสิ่งต่างๆที่ทำร้ายธรรมชาติมาแล้วให้เกิดผลดีนะครับ จะสร้างตอนนั้นก็ไม่สายครับ
  • อยากให้พร้อมก่อนจะสร้าง หรือให้ชัดเจนก่อนว่าจำเป็นแล้วใช่ไหม หากเราไม่สร้างจะทำให้ไทยล่มสลายทางเศรษฐกิจหรือเปล่า ให้คิดในส่วนนี้ให้จงหนักเลยนะครับ
  • เรื่องขุดคลองดูแล้วคงสร้างยาก...แต่ถนน East-West Corridor นี่ทำไปแล้วครับ...แต่จะเปิดเป็นทางการได้ก็คงอีกนาน...

    เราเลยยังพอมีเวลาที่จะเร่งพัฒนาคนของเรา...ให้อย่างน้อยมีปัญญาพอที่จะปกป้องตนเอง ปกป้องแผ่นดิน ปกป้องสังคม ไม่ให้สูญเสียหรือล่มสลายไปเพราะการนี้ครับ...

    P

    นายขำ นั้นยากนักที่ใครจะลากไปให้เสียศูนย์...

     

    ไม่ยากหรอกครับอาจารย์...โดยเฉพาะเพื่อนผองในGOTOKNOW บอกคำเดียว...ใจผมไปเลยครับ(แต่ตัวไม่ยอมไป...5555) 

     

    อันว่า พอ.นพ.ทวีศักดิ์  นพเกษร กับผมนั้นได้ทำงานใกล้ชิดกันเหมือนญาติสนิทครับ...

    ผมก็ลูกศิษย์ดั้งเดิมเลยครับ...ช่วงหลังผมขอไปฝึกเรื่องการวิจัยเชิงคุณภาพ...เห็นบอกว่าจะหาเวลาให้ผมไปร่วมเรียนรู้ด้วย...ถ้าโชคดีคงได้ไปพบอาจารย์ด้วยครับ... 

    P

    พุทธสุภาษิตของพระอาจารย์ มั่นอยู่ในใจผมครับ...

     

    เรื่องฮวงจุ้ยโลก มีเพาเวอร์พอยน์นำเสนอ...แต่เอาลงที่นี่ไม่ได้ครับ...เวบเขาไม่รับ...ผมกำลังหาทางลงที่เวบสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน แล้วจะบอกลิงค์มาที่นี่...กำลังให้น้อง ๆ เขาจัดการอยู่ครับ...

    สวัสดีครับพี่สอน

    • ขอบคุณมากครับ สำหรับคำตอบและหลายๆอย่างนะครับ
    • สำหรับ powerpoint นั้นพี่อาจจะแปลงออกเป็นภาพก็ได้ครับ แล้วเอาขึ้นทีละภาพนะครับ
    • ผมขออ่านข้อมูลก่อนนะครับ เพราะว่าเรื่องนี้คงเป็นเรื่องใหญ่
    • อ่านความเห็นของท่านพระอาจารย์
      P
      แล้วนั้น ก็ทำให้คิดหลายๆ อย่างไปไม่ได้ อันนี้พี่ไม่ว่ากันนะครับ เพราะโดยพื้นฐานในตัวของผมแล้ว หวังว่าพี่จะเข้าใจว่าชีวิตนี้ของผมคืออะไรครับ
    • ไม่แน่ใจว่าหากผมจะโทรไปคุย จะมีช่วงเวลาไหนที่สะดวกบ้างครับ รบกวนบอกด้วยนะครับ หรือว่าจะถกกันในนี้ก็ได้ครับ
    • เพราะผมมานั่งทบทวนตัวผมเองแล้ว ผมไม่ได้มีความรู้ใดๆ เลยครับ มองๆ แล้วผมเป็นนักคณิตศาสตร์ อาจจะต้องไปขลุกกับคณิตศาสตร์หรือเปล่า
    • ผมไม่สามารถมองภาพของเศรษฐกิจออกเลยครับ การบริหารของผมก็แย่ครับ เพราะยังด้อยประสบการณ์นักครับ
    • แต่คำถามที่ได้ถามพี่ไปแล้วนั่น ผมเชื่อว่าพี่คงเข้าใจในความเป็นห่วงของผมในหลายๆเรื่องครับ ผมไม่อย่างให้เราต้องไปตกอยู่ในกำมือ หรือเป็นเครื่องมือของต่างชาติ อันนี้พี่คงเข้าใจผมนะครับ ผมยังเน้น ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา ไทยยั่งยืนเหมือนเดิมครับ
    • ยั่งยืนของผมคือ อยู่ได้ ไม่ต้องร่ำรวยครับ แต่ไม่เจ็บไม่ไข้ อายุเกินค่าอายุเฉลี่ยของประเทศกันทุกคน
    • ต่อไปเราจะตกเป็นเครื่องมือในเรื่อง วัฒนธรรม ยารักษาโรค การศึกษา เทคโนโลยี เราจะไม่มีทางทำไรได้ด้วยตัวเองกันเลยหรือครับ เราจะเอาความเป็นเกษตรของเราแบบยั่งยืน แล้วพัฒนาระดับการอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเรา แทนจะทำอะไรที่เกินตัวเราจะได้ไหมครับ
    • การศึกษาเราก็เน้นธุรกิจนำ เทคโน เราก็ต้องซื้อตลอดเวลา ผมพยายามอยู่หลายๆ อย่างครับ ผมพยายามทำให้เกิดหลายๆ อย่างครับ แต่ผมน่ะ ตัวเท่าจุลินทรีย์ครับ ผมอยากจะให้เกิดการทำงาน เกิดทีมงานน้ำดีในสังคมครับ เหมือนที่พี่สอนทำอยู่ และผมก็ไว้ใจพี่เช่นกัน และเชื่อว่าพี่ก็มีทีมงานที่ดี ที่เน้นประโยชน์ของชาติเป็นหลักเช่นกัน ไม่งั้นผมคงไม่มานั่งพิมพ์อะไรเหล่านี้ให้เสียเวลาเป็นแน่ครับ
    • อิๆๆ ยิ้มมั่งครับ เครียดไปไหมครับ ขอพักยกหัวเราะแบบพี่สอน ก่อนประเด็นนี้ 55555555555555555555555
    • ขอบคุณมากครับพี่
    P

    สำหรับ powerpoint นั้นพี่อาจจะแปลงออกเป็นภาพก็ได้ครับ แล้วเอาขึ้นทีละภาพนะครับ...

    น้องเม้งครับ...พี่ลองแล้วครับ...ภาพเดียวก็เกิน 3 m เขารับไม่ไหวครับ...อิอิ

    ดูตัวอย่างภาพที่พี่เอามาลง...นั่นก็ไปแปลงที่  Paint ทำให้ภาพเบลอไปเลย...มีวิธีไหนอีกบ้างครับ

     

     อันนี้พี่ไม่ว่ากันนะครับ เพราะโดยพื้นฐานในตัวของผมแล้ว หวังว่าพี่จะเข้าใจว่าชีวิตนี้ของผมคืออะไร

    ครับ...เข้าใจครับ...ชีวิตก็คือชีวิต...55555 แต่ชีวิตน้องเม้งเป็นชีวิตที่พิศดารเกินกว่าคนทั่วไปจะเข้าใจครับ...อิอิ

     

    ไม่แน่ใจว่าหากผมจะโทรไปคุย จะมีช่วงเวลาไหนที่สะดวกบ้างครับ รบกวนบอกด้วยนะครับ หรือว่าจะถกกันในนี้ก็ได้ครับ

    เวลาของผมห่างจากน้องเม้งมากครับ...แต่ใจเราไม่ได้ไกลกันเลย... ช่วงวันเสาร์-อาทิตย์น่าจะเป็นช่วงที่น้องเม้งตื่นนอนแล้วผมกำลังจะง่วง...อิอิ

    พี่เกรงว่าน้องเม้งจะเสียเงินค่าโทรมากอ่ะครับ(เหมือนพี่ไม่กล้าโทรไปไง...555)...เอาไว้เมื่อคราจำเป็นก็แล้วกัน... คุยในนี้ก่อนก็ได้ครับ...เพราะมีบันทึกเป็นหลักฐานเส้นทางการเรียนรู้ของเราด้วย...

     

    เพราะผมมานั่งทบทวนตัวผมเองแล้ว ผมไม่ได้มีความรู้ใดๆ เลยครับ มองๆ แล้วผมเป็นนักคณิตศาสตร์ อาจจะต้องไปขลุกกับคณิตศาสตร์หรือเปล่า

    พี่มีคติว่า..ใครบอกว่าตัวเองรู้มากเขามักจะรู้น้อย...ใครที่บอกว่ารู้น้อยเขามักจะรู้มาก...ใครที่บอกว่าไม่รู้อะไรเลย...เป็นคนชอบถ่อมตัวจนน่า...(หยิก)ครับ...

     

  • แต่คำถามที่ได้ถามพี่ไปแล้วนั่น ผมเชื่อว่าพี่คงเข้าใจในความเป็นห่วงของผมในหลายๆเรื่องครับ ผมไม่อยากให้เราต้องไปตกอยู่ในกำมือ หรือเป็นเครื่องมือของต่างชาติ อันนี้พี่คงเข้าใจผมนะครับ ผมยังเน้น ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา ไทยยั่งยืนเหมือนเดิมครับ
  • ครับผม...พี่ติดตามความคิดน้องเม้งมาไม่น้อยครับ...เข้าใจเรื่องความคิดและความบ้าเลือดของน้องดีครับ...55555

     

  • ต่อไปเราจะตกเป็นเครื่องมือในเรื่อง วัฒนธรรม ยารักษาโรค การศึกษา เทคโนโลยี เราจะไม่มีทางทำไรได้ด้วยตัวเองกันเลยหรือครับ เราจะเอาความเป็นเกษตรของเราแบบยั่งยืน แล้วพัฒนาระดับการอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเรา แทนจะทำอะไรที่เกินตัวเราจะได้ไหมครับ
  • ทำได้ครับ...ขณะนี้ในประเทศไทยก็มีผู้นำประเภทปราช์ชาวบ้านที่น่าศึกษาเรียนรู้และเอาอย่างไม่น้อยเลยครับ...เช่น ครูชบที่สงขลา ครูบาสุทธินันท์บุรีรัมย์ ลุงประยงค์บ้านไม้เรียง ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม พระครูพิทักษ์นันทคุณ ฯลฯ ดูที่เขาบันทึกกันไว้กว่า 100 คนแล้วครับ...

     

  • การศึกษาเราก็เน้นธุรกิจนำ เทคโน เราก็ต้องซื้อตลอดเวลา ผมพยายามอยู่หลายๆ อย่างครับ ผมพยายามทำให้เกิดหลายๆ อย่างครับ แต่ผมน่ะ ตัวเท่าจุลินทรีย์ครับ ผมอยากจะให้เกิดการทำงาน เกิดทีมงานน้ำดีในสังคมครับ เหมือนที่พี่สอนทำอยู่ และผมก็ไว้ใจพี่เช่นกัน และเชื่อว่าพี่ก็มีทีมงานที่ดี ที่เน้นประโยชน์ของชาติเป็นหลักเช่นกัน ไม่งั้นผมคงไม่มานั่งพิมพ์อะไรเหล่านี้ให้เสียเวลาเป็นแน่ครับ
  • พี่ก็เชื่อว่าน้องเม้งของพี่เป็นพลังขับเคลื่อนแบบคลื่นลูกใหม่ที่เป็นความหวังของประเทศไทยจริง ๆ ครับ...ไม่งั้นพี่ก็ไม่มาคอยติดตามดูความเป็นไปของน้องเม้งให้เมียและลูกพี่แอบมองตาเขียวหรอกครับ...555555555555

    • สวัสดีครับพี่สอน
    • ส่งแฟ้ม ppt มาให้ผมก็ได้ครับ อีเมล์ผม เอาได้ใน www.somporn.net ครับ แล้วผมจะแปลงภาพส่งให้ครับ รับรองแจ๋วแหวว ครับ ชัดเจน และผมก็อยากจะทราบข้อมูลเพิ่มเติมด้วยครับ
    • ขอบคุณมากครับพี่  ระวังนะครับพี่ เรื่องตาเขียวเนี่ยผมไม่รับผิดชอบครับ
    • โชคดีนะครับผม
    น้องเม้งครับ...ได้ ppt แล้วเลือกภาพมาลงนะ...ไม่ต้องเอารายชื่อท้าย ๆ มาก็ได้...เอาแต่แผนภาพก็พอครับ...

    ผมถามต่อนิดนะครับ โครงการนี้ประชาชนได้มีส่วนร่วมยังไงบ้าง ผมกระทบที่ร้ายแรงที่สุดคืออะไร แล้วสิ่งที่ประเทศจะได้รับกับสูญเสีย หรือ ( ทางผ่านอินโดจีน ) มีทางเป็นไปได้ไหม

    P

    ถามได้ดีครับ...

    East-west corridor เป็นโครงการที่ฝ่ายเศรษฐกิจ(ประมาณว่าหอการค้าจังหวัดบนเส้นทางนี้...ถ้าต้องการข้อมูลชัด ๆ ... ควรปรึษาพี่ปณิธิ แกนนำตัวยงหอการค้าแม่สอดครับ)...เสนอให้สภาพัฒน์ฯพิจารณาครับ...แล้วสภาพัฒน์ฯก็ใช้กระบวนการเปิดเวทีประชาคมรับฟังความเห็นของประชาชน ช่วงนั้นความสัมพันธ์ของสภาพัฒน์กับสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีนแนบแน่น...เพราะสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีนได้สร้างเครือข่ายวิทยากรกระบวนการไว้ครอบคลุมพื้นที่(แต่ก็ไม่ทุกซอกทุกมุมนะครับ) รับจัดกระบวนการให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น(แต่ก็ยังอยู่ที่ไม่เกิน 20%...อันนี้ผมคาดเองครับ)

     

    ส่วนผลกระทบที่ร้ายแรงคงประเมินน้ำหนักเปรียบเทียบกันยากครับ...เช่นฝ่ายเศรษฐกิจก็เกรงว่าสินค้าราคาถูกจากประเทศรอบข้างจะทำเศรษฐกิจของเราทรุด(แค่ตอนนี้สิ้นค้าจากจีนก็ตีเราแย่แล้วครับ) ฝ่ายสุขภาพก็เกรงโรคภัยไข้เจ็บดึกดำบรรพ์จะกลับมาระบาดในบ้านเรา(เช่นไข้ดำ กาฬหลังแอ่น โรคเท้าช้าง มาลาเรียฯลฯ) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมก็กลัวป่าไม้หายหมด...ฝ่ายทหารก็กลัวความมั่นคงแย่ถูกแทรกแซงได้ง่าย...ฝ่ายตำรวจก็กลัวต่างด้าวแฝงอยู่ในชุมชนทุกหย่อมหญ้า...ฯลฯ

     

    สิ่งที่ได้รับก็น่าจะเป็นการทำธุรกิจค้าขาย...เป็นที่พักระหว่างทาง(เขาสร้างโรงแรม/หอพักไว้รอท่ากันแล้ว)...เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจจากจีนลงไปมาเลย์/สิงคโปร์ จากดานังไปมะละแหม่ง

    • สวัสดีครับ พี่สอน
    • ผมส่งแฟ้มไปให้ทางเมล์แล้วนะครับผม
    • จัดการได้เลยนะครับผม
    • โชคดีครับผม

    สวัสดีครับ

    พี่เม้งให้เกียรติส่งลิงค์มาให้อ่าน (แต่ผมว่าพี่เขาคงไม่ต้องให้ผมอ่านอย่างเดียวมั้งครับ) :D

    ผมเคยไปฟังท่านอาจารย์ (จากพระนครเหนือ) ที่ทำคลองไทยเสนอ เรื่องนี้ตอนประชุมที่ INFORMS Pittsburgh 2006 เสียดายที่ตอนนั้นต้องรีบขึ้นเครื่องกลับเลยไม่ได้อยู่คุยกับอาจารย์ที่มาประชุม

    แต่ถ้าถามผม ผมคิดว่าโครงการคลองเป็นโครงการที่ดีครับ อย่างน้อยก็ในแง่ Logistics ของโลก เพราะว่าโครงการนี้นั้น (ถ้าจำไม่ผิด) จะช่วยตัดระยะเวลาเดินเรือให้สั้นลงได้ (โดยการไม่ต้องไปอ้อมที่สิงคโปร์) น่าจะประมาณ 3-5 วัน ซึ่งดูแล้วอาจจะไม่มาก แต่เขาบอกว่าค่าประกันภัยของสินค้าและของเรือ นี่แหละครับที่มาก และก็จะทำให้คนมาใช้ท่าเรือตรงนี้ นี่รวมไปถึงการลดความเสี่ยงของโจรสลัดด้วย

    ตอนฟังที่ presentation จริงๆแล้วยังคิดว่าอาจารย์ท่านยังไม่ได้ครอบคลุมอีกหลายๆเรื่อง ซึ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ Logistics ของประเทศไทย หลังจากที่คลองนี้สร้างเสร็จ เพราะผมมองว่า นี่เป็นสิ่งที่สำคัญพอๆกับการขุดคลองเลยทีเดียว และก็ขนาดการลงทุนนั้นไม่ทิ้งกันแน่นอนครับ และที่สำคัญอีกอย่างสมควรสร้างกันตั้งแต่ตอนที่เริ่มสร้างคลองครับ

    ในเรื่อง Logistics นี้ต้องคลอบคลุมขนาดส่งไปมาเลเซียได้ ไปถึงพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามและจีนครับ นั้นก็คงจะต้องลงทุนกันมหาศาล และถ้าให้ผมมอง ผมก็มองว่าระบบรางดูจะดีที่สุด (ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้มีการคิดและพูดถึงเลย)

    เรื่องสิ่งแวดล้อมที่เม้งกรุณาพูดถึง ตอนฟังเขาก็บอกว่าศึกษาเต็มที่แล้ว และบอกว่าจะทำให้กระทบถึงสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แต่เรื่องสิ่งแวดล้อมผมนี้ไม่ทราบจริงๆครับ เพราะว่ายังไงก็ต้องกระทบแน่นอนครับ แต่จะกระทบมากขนาดไหน ผมว่ายากที่เราจะตอบครับ

    แต่ที่ผมสนใจคือ ทำไมเราพูดเรื่องคลองไทยกันเรื่องเดียวครับ?

    ผมไม่แน่ใจว่าสถาบันพัฒนาอินโดจีน รวมประเทศอะไรบ้าง (ถ้าจะให้เดา คงมี ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย) 

    ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว ผมไม่แปลกใจครับว่าจะตั้งสำนักงานที่พิษณุโลก แต่ค่อนข้างสงสัยคือเท่าที่อ่าน ผมรู้สึกว่าจะเน้นแต่เรื่องคลองไทยเป็นพิเศษครับ

    ทำให้ผมสงสัยต่อไปว่า สำนักงานพัฒนาสี่แยกอินโดจีนนั้น มีขอบเขตงานอะไรบ้างครับ เพราะผมไม่คิดว่าจะมีแค่เรื่องคลองไทยครับ

    ถ้าตัดเรื่องคลองไทยออกไป แล้วบทบาทของสำนักงานนี้จะมีอะไรบ้างหรือครับ ถ้าให้เดา ก็คงเป็นการสอดรับประสานของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยคู่กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเรื่องนี้ผมว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าเรื่องคลองไทยอีกครับ

    เพราะว่าคลองไทย กว่าจะผ่านความเห็นชอบของ ครม และ สภา ก็คงอีกนาน แล้วไหนกว่าจะสร้างอีก ไม่แน่ใจว่าอีกสิบปีจะเสร็จหรือเปล่า

    แต่ถ้าจะเน้นเรื่องการสอดรับของเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในกลุ่มนี้ เราสามารถทำได้ทันที ถึงแม้ว่าจะมีความท้าทายมากมาย

    ผมว่าเรื่องนี้ท้าทายมากพอสมควรครับ เพราะว่าแต่ละประเทศมีแนวการปกครองที่แตกต่างกัน แต่กลับมีฐานทางเศรษฐกิจที่คล้ายกัน (พึ่งพาสินค้าไม่กี่อย่าง และแต่ละอย่างก็เหมือนๆกัน) และการปกครองที่แตกต่างย่อมจะนำมาซึ่งปัญหาของความเชื่อในระบบตลาดที่แตกต่างกัน

    ทำให้ผมคิดว่าเรื่องที่น่าจะเน้นหนัก คือทำยังไงให้สภาพกลไกของตลาดเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีปัญหาความแตกแยกในหมู่มิตรประเทศ ยกตัวอย่างนะครับ อย่างเช่นเรื่องการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้

    เราสามารถทำให้ประเทศทุกประเทศในภูมิภาคนี้ สามารถเดินทางถึงกันโดยสะดวกหรือยังครับ แล้วเรามีการวางแผนการท่องเที่ยวหรือยังครับ มีการออกไปขายทัวร์ให้นักท่องเที่ยวเพื่อกลุ่มประเทศหรือยัง และที่สำคัญเรามีมาตรการที่ดีในการรับรอง และเลือกเฟ้นนักท่องเที่ยวให้เหมาะกับสภาพวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของประเทศแถบนี้หรือยังครับ ผมไม่คิดว่านักท่องเที่ยวที่อยากจะไปฟูลมูนปาตี้ จะเป็นที่ต้อนรับของประเทศลาวนะครับ (ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ)

    คำตอบพวกนี้ด้วยความเคารพครับ ผมไม่ทราบครับ เลยขอบังอาจตั้งข้อสงสัยครับ

    คลองไทยถ้าทำ คงจะทำให้เศรษฐกิจประเทศรุดหน้าไปได้อย่างมาก แต่ก็อย่าลืมครับว่ามันก็สามารถทำให้ประเทศนั้นทรุดไปได้ เนื่องจากการก้าวขึ้นมาเป็นประเทศสำคัญประเทศหนึ่งทางยุทธศาสตร์โลก และชาติมหาอำนาจก็อาจจะแย่งกันเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากประเทศกันเลยทีเดียว (ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็อย่างเช่นคลองปานามาครับ) แล้วเราพร้อมแล้วหรือยังกับปัจจัยนอกบ้านที่เราไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่กำลังระอุอยู่ตอนนี้ (ถ้าถามผม ถ้ายังไม่สงบ ผมว่าผมก็ไม่เห็นด้วยที่จะสร้างครับ)

    ผมมองว่าเรื่องการเชื่อมประสานของเศรษฐกิจของประเทศและของประเทศในกลุ่มอินโดจีน น่าจะดูเป็นยุทธศาสตร์หลักของสำนักงานนะครับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งสำนักงานที่พิษณุโลก ก็เป็นเครื่องรับประกันความคิดนี้อยู่แล้ว) แค่เรื่องนี้เรื่องเดียว ผมว่าท่านเลขา ก็คงไม่มีเวลาว่างเข้า Gotoknow แล้วครับ :D

    ด้วยความเคารพครับ

    ต้น

    P

     ทำให้ผมสงสัยต่อไปว่า สำนักงานพัฒนาสี่แยกอินโดจีนนั้น มีขอบเขตงานอะไรบ้างครับ เพราะผมไม่คิดว่าจะมีแค่เรื่องคลองไทยครับ

    น้องต้นครับ...พี่ไม่เคยได้ฟังpresentเรื่องคลองเลย...แล้วพี่ก็ไม่ได้เห็นด้วยสักเท่าไร...เพราะรู้สึกว่าทำยาก...อีกทั้งเป็นการตัดแผ่นดินไทยออกไปเป็นส่วน ๆ ความรู้สึกไม่ดีเลยครับ...

    สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีนสนใจเพียงเส้นทาง East-west corridor ที่จะตัดผ่านกับสายจีน-มาเลย์เป็นหลักครับ(ขอโทษด้วยที่เอาเวบคลองไทยให้ดู)

     วิธีการจึงเป็นการตัดถนนแล้วขยายเลนให้กว้างพอ ทำให้ได้มาตรฐาน...ลงทุนตรงนี้ถือว่าคุ้มค่ากว่ามากครับ...

    ส่วนเรื่องลอจิสติค...ตรงนี้เรามีบทเรียนค่อนข้างเยอะ...บางแห่งก็สำเร็จ...บางแห่งก็ล้มเหลว... แต่ระหว่างเส้นทางนี้ก็ต้องมีเกิดขึ้นหลายจุดแน่นอน..

     

    แต่สถาบันเราเน้นเรื่องประชาสังคม...การสร้างความเข้มแข็งชุมชน สังคมเข้มแข็งเป็นหลักครับ...

     

    เราลงข้อมูลเบื้องต้นไวที่นี่ครับ น้องต้น ...

    http://www.idi-th.com/aboutus.asp

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท