ผลกระทบเทคโนโลยี : E-Waste ขยะอิเล็กทรอนิกส์


ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่รับเทคโนโลยีมาจากทั่วโลก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ แต่เมื่อเทคโนโลยีเหล่านั้นหมดอายุการใช้งาน การทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้คือผลกระทบที่เกิดขึ้น

ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่รับเทคโนโลยีมาจากทั่วโลก  โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ แต่เมื่อเทคโนโลยีเหล่านั้นหมดอายุการใช้งาน  การทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้คือผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคต

ลองมาฟังความเห็นของ ผศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล และหวังว่าจะได้รับความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากทุกท่านเช่นเคย

E-Waste-ขยะอิเล็กทรอนิกส์
เรื่องของขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือที่ภาษาไอทีเรียกว่า E-Waste อีเวสท์ นั้นเป็นเรื่องสำคัญมากไม่แพ้เรื่องสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
 สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะจากอุตสาหกรรมเก่า ประเภทอุตสาหกรรมการผลิต ถ้าหาก ไม่มีการปฏิบัติใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ผลกระทบต่อประชาชนก็จะรุนแรงในทุกระดับ
 
ตัวอย่างล่าสุดที่สร้างผลกระทบชัดเจนคือ มลพิษทางน้ำ กรณีปลาตายเป็นแพ ตามลำน้ำเจ้าพระยา ซึ่งก่อผลกระทบต่อคนนับล้านคน ไม่ใช่เฉพาะผู้เลี้ยงปลาแต่ผู้ที่จำเป็นต้องบริโภคน้ำจากแม่น้ำไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และก็แน่นอนคงไม่พ้นโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นลักษณะอุตสาหกรรมเก่า ไม่มีความตั้งใจจริงกับการลงทุนด้านการกำจัดของเสียและมลพิษ
 
เรื่องของขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Waste นั้น ความรุนแรงจะอยู่ที่การปล่อยสารพิษสู่ธรรมชาติ สะสมในปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและสูงสุด ปัจจุบันขยะพิษเหล่านี้คิดเป็น 40 ล้านเมตริกตันต่อปี
 
ขยะเหล่านี้ เช่น เตาไมโคร เวฟ ถ่านแบตเตอรี่ เครื่องถ่ายเอกสาร ไดร์เป่าผม ทีวี คอมพิวเตอร์ และมือถือ ซึ่งเราเห็นชัดที่สุดว่าเพิ่มขึ้นทุกปี และอายุการใช้งานสั้นมาก ๆ เพราะมีการเปลี่ยนรุ่นเปลี่ยนโมเดลเพื่อให้ทันสมัยราคาถูก ขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จึงถูกสะสมขึ้นอย่างทวีคูณ
 
ความเคลื่อนไหวต่อสภาพธรรมชาติที่ถูกทำลายโดยพิษจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นี้ล่าสุดก็ยังมีข่าวดีอยู่บ้างคือ
 
บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการไอทีของโลกประกาศร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการจัดการกับปัญหาขยะอิเล็ก ทรอนิกส์เพื่อรับมือกับภาวะวิกฤติจากธรรมชาติแล้วนำโดย ไมโครซอฟต์ ฮิว เลตต์แพกการ์ด ฟิลิปส์ ร่วมมือกับภาครัฐ สถาบันการศึกษาจำนวนมากโดยมีเป้าหมายไปที่การรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานมากขึ้น
 
โครงการดังกล่าวชื่อว่า Step หรือ Solving the E-Waste Problem ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่บริษัทเหล่านี้จะคืนกำไรให้สังคมหลังจากที่ธุรกิจเหล่านี้สร้างความรวยที่สุดในโลกให้กับบริษัทและเจ้าของบริษัทเหล่านี้มาแล้ว บริษัทเหล่านี้ซึ่งอยู่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเป็นส่วนใหญ่
 
แต่ก่อนจะมาถึงวันนี้ ก็คงจะไม่ง่ายนักเพราะก็ต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมและบริการไอซีทีที่เกิดขึ้นในโลกเจริญเติบโตรวดเร็วมาก เพราะฉะนั้นการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่ออำนายความสะดวกสำหรับโลกไอทีก็ถูกสะสม มาอย่างรวดเร็วมาก
 
โดยเฉพาะขยะอิเล็กทรอ นิกส์ของทั้งโลกนี้มาจากสหรัฐอเมริกา ประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ ยุโรปอีก 45 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นอีก 10 เปอร์เซ็นต์ก็มาจากญี่ปุ่นและอิสราเอล
 
ขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้นอกจากกระจายไปตามประชาชนของประเทศผู้ใช้ไอซีทีทั่วโลกแล้ว ปัญหาที่ มากกว่านั้นก็คือวิธีการกำจัดขยะเหล่านี้ไม่เคยได้รับการพัฒนาและก็มักจะใช้วิธีขุดฝังกลบและประเทศร่ำรวยเหล่านี้ก็จะหาซื้อที่ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ไปยังประเทศยากจน ซึ่งยังไม่มีกฎหมายที่ควบคุมเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษอย่างเข้มแข็งเหมือนในประเทศที่เจริญแล้ว
 
แน่นอนประเทศที่ตกเป็นเหยื่อจำนวนมากคือประเทศในทวีปแอฟริกาและประเทศในแถบทวีปเอเชียบางประเทศ รวมทั้งจีนและไทย
 
กากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอ นิกส์เหล่านี้เป็นผลมาจากอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งระยะหลังประเทศเจริญแล้วมักจะหาฐานผลิตในประเทศเอเชีย เช่น จีน ล่าสุดก็ไฟเขียวให้อินเทลลงทุนในประเทศ 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 90,000 ล้านบาท
 
ที่เขียนมานี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไปต่อต้านความเจริญจากการลงทุนแต่ในปัจจุบันการลงทุนจากสิ่งเหล่านี้จะต้องมีกฎหมายหรือระเบียบควบคุมทางสิ่งแวดล้อมให้เป็นที่ยอมรับกับประชาชนในประเทศนั้น ๆ ด้วย
 
ก็หวังอย่างยิ่งว่า รัฐบาลจะต้องคอยสอดส่องดูแลไม่ให้ขยะอิเล็ก ทรอนิกส์หรือ E-Waste มีผลกระทบต่อลูกหลานคนไทยในอนาคตด้วย.

เดลินิวส์     วันอังคารที่ 03 เมษายน พ.ศ. 2550
ผศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
ผู้ช่วยอธิการบดี RSU Cyber University
มหาวิทยาลัยรังสิต
[email protected]
 

 

หมายเลขบันทึก: 88216เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2007 07:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)

เห็นด้วยครับว่าปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ครับ...

นอกจากของใหม่แล้ว ไทยยังของเก่าจากต่างประเทศมาอีก แถวบ้านหม้อ คลองถมครับ เยอะมาก...

อนาคตประเทศไทยลำบากครับ ถ้าไม่หามาตรการมารองรับ...

ขอบคุณมากครับ...

ประเทศที่เจริญแล้วมักเอาเปรียบโดยการส่งออก e-Waste ไปยังประเทศยากจนในรูปของเครื่องจักร์อุปกรณ์ second-hand เช่นรถยนต์ที่ใช้แล้ว เครื่องถ่ายเอกสารใช้แล้ว ฯลฯ ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องออกกฏหมายควบคุมเข้มงวดในการนำเข้าของ second-hand ครับ
นายทวี นริสศิริกุล 493010 Christian University

เห็นด้วยกับความคิดเห็นข้างต้น แต่ไม่ใช่ทั้งหมด

เพราะว่าคนจนก็ต้องการของถูก ต้องมีมาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของสินค้าอิเลคทรอนิค และกำหนดมาตรฐานอายุการใช้งานไว้ ควรมีกฎบัตรโลกหรือสหามาประชาชาติห้ามการนำขยะไปทิ้งประเทศอื่น

           เก็บภาษีของเก่าที่จะนำเข้ามาภายในประเทศให้อยู่ในเกณฑืสูงกว่าปกติมาก ๆ เพราะว่าจะมีภาระในการทำลายกำจัดในภายหลัง ถ้าสินค้าหมดคุณภาพหมดอายุควรไม่อนุญาตนำเข้

นายเสถียร รุจิรวนิช
ปัญหาขยะอันตรายหรือขยะสารพิษเป็นปัญหาที่ภาครัฐให้ความสำคัญมาก ถึงแม้ว่ากรมควบคุมมลพิษได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการออกกฎกระทรวงเพื่อบังคับใช้ แต่ปัญหาสารพิษโดยเฉพาะขยะสารพิษยังคงเป็นปัญหาที่มากขึ้นตลอดเวลา จำเป็นต้องออกเป็นกฎหมายเพื่อใช้บังคับต่อไป
สมศักดิ์ จังตระกุล
เป็นปัญหาใหญ่มากที่จะกระทบต่อสังคมไทยต่อไป เพราะการบังคับใช้กฎหมาย(การตรากฎหมาย)ไม่ทันกับเหตุการณ์  ผลกระทบที่จะเกิดต่อสังคม คือ จะเกิดการกระทบกระทั่งระหว่างองค์กรปกครองท้องถิ่น(อปท)ที่มีหน้าที่ในการจัดการขยะ ซึ่งคนในชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจะกดดัน อปท. ไม่ให้รับการกำจัดขยะอีเลคทรอนิคส์ที่จะส่งผลกระทบต่อ สุขภาพ มลพิษทั้งด้านกลิ่น อากาศ และแหล่งนำของชุมชน เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องเร่งตรากฎหมายเฉพาะรองรับในเรื่องนี้
Dear readers, Some years ago I was involved in a project to design a hazardous waste facility using Danish technology. The team of experts concluded that “what ever the government plans to, the people will protest due to lack of trust in public initiative!”. I fully support the principle of 3Rs (Reuse, Recycle & Recovery); yet concerned authorities should not forget “Rethink – on how to Re-educate the private sector and the Thai public on environmental awareness. The PPP (Polluter Pay Principle) has long been introduced in Thailand; however enforcement, policy consistency and public awareness are the major concerns in my opinion. Taking an issue of solid waste management as an example, BMA choose to fake blind to the PPP principle by charging only 480 baht per year for solid waste management just to please the voters. The Principle of “Extended Producer Responsibility- EPR” will work out aright only specific laws, regulations and incentives are in place and effectively enforced. The idea on establishing a “Specific Fund for E-waste management” seems to be a good initiative. However, lessons learned should be taken into consideration. The Rural Development Funds, the Environmental Funds, the School Lunch Programme Funds plus more than 60 other specific funds have been set-up without delivery of the expected results. In my opinion, a purely traditional bureaucratic management structure will hardly serve the dynamic needs and situation in dealing with E-waste.  If the present capacity of computer is 25,000 times in a period of 25 years, I would suggest the private sector strength is a necessity for effective management of the E-Waste Funds. Well, the Pollution Control Department WEEE Strategic Plan covers 5 aspect and 12 measures ranging from management, legal, technical, economic/investment and support. Without mainstreaming environment concern with the national strategic plan AND the BUDGET, the Strategic Plan could end up as an additional waste. Regards,Chatri MoonstanPh.D Programme, Christian University of Thailand
รุ่งทิวา พิมพ์สักกะ
E-Waste-ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องนี้น่าสนใจและน่าเอาใจใส่ เพราะคือผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติ เราทำงานในโรงพยาบาล ขยะมีพิษ(สารเคมี ยาต่างๆ) ขยะติดเชื้อ ยังต้องรณรงค์ ตั้งแต่ สะสมจนถึงสะสาง แต่ E-Waste คงต้องดูทั้งระบบ ตั้งแต่ Input, Process, Output และควรคิดถึงเรื่องของInnovation, Recycle (คิดถึงวัดสวนแก้ว) สุดท้ายคงไม่พ้นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะนำพาประเทศชาติผ่านวิกฤตินี้ไปได้
เห็นด้วยอย่างยิ่งที่เราจะมาช่วยกันตีฆ้องเรื่องการจัดการกับระบบขยะ  ไม่เฉพาะ  E-Waste นะคะ  คนไทยขยะในชีวิตประจำวันยังกำจัดไม่ถูกวิธีเลยค่ะ  รู้ว่าอะไรที่ตนเองไม่ต้องการจะใช้แล้วก็ทิ้งให้พ้นตัวน่าเป็นห่วงนะคะ ทั้งขยะอันตราย  ขยะที่จะนำไปแยกใช้ใหม่ได้  ก็ไม่เห็นมีการบอกชาวบ้านเลย   เห็นว่าบางที่จะมีการลงทุนซื้อเตาเผาขยะ  ก็ต้องเสียเงินอีก  ช่วยกันรณรงค์เรื่องการประหยัดการใช้สอยทั้งของใช้ประจำวัน  มือถือก็ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยนัก  ไม่เปลืองเงินพ่อแม่ด้วย  ขยะก็ไม่ล้นโลกนะจ้ะ
อาทิตย์ โชตินุชิต

E-Waste หรือขยะอิเล็กโทรนิกส์ ดูเหมือนจะเป็นประเด็นร้อนที่ดูเหมือนคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนที่ให้ความใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมให้ความสนใจมากขึ้นเป็นลำดับในปัจจุบัน และมักจะมองขยะอิเล็กโทรนิกส์เหล่านี้ในแง่ลบเสียเป็นส่วนมาก แต่จะมีสักกี่คนที่มองเห็นประโยชน์หรือโอกาสจากขยะเหล่านี้? ก่อนอื่นน่าจะต้องมา Definition ให้เข้าใจตรงกันเสียก่อนถึงคำจำกัดความของขยะอิเล็กโทรนิกส์ว่าครอบคลุมถึงอะไรบ้าง? เพราะต้องแยกให้ขาดจากขยะมีพิษทั้งหลายซึ่งมีพิษภัยกับสิ่งแวดล้อมมากเกินกว่าจะนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์

แต่เมื่อแยกแยะให้เหลือแต่ขยะที่เป็นชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์จริงๆแล้ว แล้วในบางกรณีสิ่งที่ได้จากขยะอิเล็กโทรนิกส์เหล่านี้เมื่อผ่านกระบวนการ Recycle ที่ถูกต้องแล้วอาจจะได้ของมีค่าเช่น ทองคำ กลับมาเป็นต้น ซึ่งเมื่อมองในแง่เศรษฐกิจแล้วก็อาจให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุน เพียงแต่เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องมีการควบคุมและบังคับให้มีการนำเอาเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ โดยต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งเท่าที่ทราบในปัจจุบันมีภาคเอกชนที่ทำธุรกิจ Recycle มากมายหลายบริษัทที่ให้ความสนใจจะลงทุนในด้านนี้แต่ยังติดขัดไม่สามารถจะขอใบอนุญาตได้ ซึ่งเมื่อมองในแง่ของความเข้มงวดในการออกใบอนุญาตก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องให้เกิดความชัดเจนและโปร่งใสว่าเงื่อนไขที่ภาครัฐต้องการคืออะไร? ไม่ใช่ว่าเข้มงวดก็เพื่อเป็นช่องทางการวิ่งเต้นเรียกร้องผลประโยชน์

ซึ่งถ้าหากมีการศึกษาถึงแนวทางการจัดการกับขยะเหล่านี้และทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้โดยเร็วแล้วน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ก่อนที่ขยะเหล่านี้จะปล่อยสารพิษออกสู่สภาวะแวดล้อม!

วิจารณ์เพิ่มเติมe-west หรือขยะอิเล็กโทรนิกส์ เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาในอนาคต

ปัญหาทางด้านสังคมอาจก่อให้เกิดปัญหาโลหะหนัก ปัญหามลพิษที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ลดน้อยถอยไป

ปัญหาทางด้านเทคโนโลยี สืบเนื่องจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็วมากทำให้ผู้ใช้เครื่องมือสื่อสารใหม่ๆต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายต่างๆเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

ปัญหาทางด้านจริยธรรม ก่อให้เกิดการลักลอบโขมยลิคสิทธ์ ก่อให้เกิดผลต่อสวัสดิภาพของเด็กวัยรุ่น

ทางด้านการเมือง ปัญหาการละเมิดลิคสิทธ์ระหว่างประเทศก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศตามมา

ชาตจุมพล ยุธานหัส - Christian University - class Seminar in Information, Knowledge and Technology Management

ปัญหา ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ  สารพิษเป็นปัญหาที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญมากเพราะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน  รัฐต้องมีกฎหมายที่ทันสมัยสามารถควบคุมขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ  สารพิษที่เกิดขึ้นใหม่ได้ทันและเจ้าหน้าที่รัฐต้องปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลอย่างจริงจังและมีบทลงโทษและมีการปรับที่สามารถชดใช้กับการเสียหายที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง  และเจ้าหน้าที่ต้องติดตามวิธีการจัดเจ็บ การทำลาย ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ  สารพิษอย่างมีประสิทธิภาพและตามทันประเทศที่นำขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ  สารพิษที่นำเข้ามาในประเทศไทย ประเทศไทยน่าจะมีกฎหมายเหมือนที่ประเทศในยุโรปมี

ในเรื่องของ E-Waste หรือขยะอิเล็กโทรนิกส์ เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกสำหรับคนไทยและชาวโลก เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วจนตามไม่ทันทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ และอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีอื่น มีการออกแบบใหม่ๆมาแทบทุกเดือนสินค้าที่ทันสมัยในเดือนนี้เดือนหน้าอาจตกรุ่นไปแล้วก็เป็นไปได้ ดังนั้นของที่ล้าสมัยก็จะกลายเป็นขยะอิเล็กโทรนิกส์ ที่ประเทศที่เจริญก็จะส่งไปขายยังประเทศที่ด้อยพัฒนากว่า หรือนำไปฝังและเผาทำลายก็ให้เกิดมลภาวะแก่ดลกเป็นอย่าง แนวทางการแก้ไขควรจะกำหนดวิธีการทำลายขยะเหล่านั้นด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการรีไซเคิลนั่นเอง เพราะในความเป็นจริงแล้วขยะเหล่านี้ยังสามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับชาวโลกได้อีกมาก เมื่อนำกลับมาใช้อย่างถูกวิธีก็เท่ากับว่าเราได้เปลี่ยนขยะเป็นเงินนั่นเอง

ธนเดช นัชธนวินท์  CTU

พงษ์ศักดิ์ เขียวมีส่วน

ผมคิดว่าเรายังอ่อนในเรื่องจริยธรรมทั้งต่อบุคคลและสังคมอยู่มาก ควรมีการเข้มงวดในระบบอุตสาหกรรมมากขึ้น มีการตรวจสอบโรงงานให้ได้มาตรฐาน โรงที่ไหนไม่ได้มาตรฐานก็เสียค่าปรับหรือให้ปิดปรับปรุงโรงงานจนกว่าจะได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ 

และที่สำคัญเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐที่เข้ามาตรวจสอบต้องทำงานให้เป็นกลางต้องมีจรรยาบรรณในหน้าที่ต้องตนเองให้ได้

ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมยังคงมีเพิ่มเติมอีก ก็ได้แต่หวังว่า เทคโนโลยีนาโน จะช่วยทำให้ขนาดของขยะอิเล็คทรอกนิกส์ลดลง นะ

ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่รับเทคโนโลยี่มาจากทั่วโลกโดยเฉพาะเทคโนโลยี่ทางด้านอีเล็กทรอนิกส์

 

ประเทศไทยได้รับขยะอีเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ

อย่างยำแย่

หนูคิดว่า เรื่องขยะอีเลคทรอนิคส์หรือE-Waste จะส่งผลกระทบกับภาวะโลกร้อน

ผมคิดว่าควรลดการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิค

เพราะ จะทำให้เกิดผลกระทบดังนั้นอาจจะมี

ผลกระทบที่หนักขึ้นในภายหน้าดังนั้นจึงควรลด

การทิ้งขยะอิเล็กทรอนิค

ขยะอีเล็คทรอนิกส์หรือE-waste ที่เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ผมคิดว่าเราไม่ควรใช้อย่างฟุ่มเฟือย ไม่งั้นอาจเกิดสิ่งที่ไม่ดีขึ้นได้ อย่างเช่น ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาขยะอีเล็กทรอนิกส์ หรือพลาสติกนั้นและครับ เพื่อป้องกันแล้วเราไม่ควร ใช้ของพวกนี่อย่างฟุ่มเฟื่อยเพราะคงไม่มีใครอยากให้โลกร้อนขึ้นหรอกครับ 

 

E-waste เป็นขยะอีเล็กทรอนิคที่เกือบทุกประเทศ มีมันอยู่ ผมคิดว่า ขยะอีเล็กทรอนิคนี้มันมีเยอะเกินไปควรลดการทิ้งขยะอีเล็กทรอนิคลงหน่อย

น่าสงสารคนยากจนจังเลยค่ะ  ที่ถูกคน jai ร้ายซื้อที่ไปเพื่อแค่ทิ้งขยะ E-waste อยากให้รัฐบาลช่วยหน่อยน่ะค่ะ

ผมคิดว่าควรให้ประชาชนลดการทิ้งขยะอิเลคทรอนิกส์

หนูคิดว่าน่าจะใช้เศรษฐกิจพอเพียงน่าจะดีที่สุด
หนูคิดว่าควรจะรวมกันใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียง
     เห็นด้วยเพราะประเทศไทยรับของเก่ามาขายโดยไม่รู้ว่าเป็นของเก่าแต่เราจะแก้ปัญหาโดย"เศรษฐกิจพอเพียง"ค่ะ

หนูขอความกรุณาช่วยกันลด E-WASTE ด้วยนะค่ะ

สุภาณี แก้วธำรงค์ 495013

รู้สึกเศร้าใจที่ตัวเองก็เป็นส่วนหนึ่งในการใช้เทคโนโลยี และทำให้เกิดE-waste เคยดูสารคดีเกี่ยวกับE-waste แล้ว เป็นปัญหาระดับโลก สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ไม่อยากให้เกิดขึ้นเลย แถวท่าเรือคลองเตยน่าจะมีE-wasteหลบซ่อนอยู่ ยังแก้ไขไม่ได้เลย รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร  ในอนาคตต้องมีคนป่วยจากสารพิษเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์คงต้องเปลี่ยนแนวคิดมาสร้างinnovationใหม่ๆที่จะจัดการกับEwasteเหล่านี้ แทนที่จะให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์สิ่งของที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ และต้องสอนลูกหลานและตัวเองให้ตระหนักถึงความสำคัญของEwaste          .............สุภาณี แก้วธำรงค์

                                                                 

ถ้าต้องการ Recycle Computer ดูรายละเอียดได้ที่

http://bkksiam.blogspot.com 

To K.Chatri Moonstan

I am working on my thesis on the topic of e-waste management/recycling. I read your comment on the blog and believe your experience could help us a lot. Would you please contact us at nara.tt@ gmail.com ?

ประเทศไทยอยากจะทำแต่โรงงาน  อยากให้คนบางกลุ่มมีงานทำ  มุ่งแต่ gdp แต่ไม่ได้มองปัญหาที่จะเกิดตามมาในอนาคต  และต้องเร่งที่จะปรับปรุงให้ทันตามมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้วย

สวัสดีค่ะ

ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข

ในปัจจุบันปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์นับวันยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้น แต่ปัญหาที่สำคัญคือการจัดการขยะนั่นเองเพราะจากการสำรวจ ประชาชนทุกคนรู้ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร แต่ประะชาชนไม่รู้ว่าต้องจัดการอย่างไรต่างหาก อย่างเช่น ตามแหล่งชุมชนไม่มีที่ทิ้งขยะเหล่านี้เลย ทางเทศบาลนั่นก็ไม่มีนโยบายจะจัดการ ชาวบ้านก็ต้องทิ้งรวมกับขยะทั่วไป ทำให้เกิดอนตรายและปนเปื้อนทำให้เกิดการกำจัดที่ยากขึ้น

ขยะอิเล็คทรอนิคส์ ซิดี แปลงสภาพเป็น ทองได้ รู้ไว้ซะ

ศุภฤกษ์ กุลศิริวงศื

สวัสดีครับ อ. ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข

ผมเป็นคนหนึ่งได้มีโอกาศไปอบรมการกำจัดขยะ อิเล็กทรอนิกส์ที่ญี่ปุ่นครับและปัจจุบันรับกำจัดขยะพวกนี้อยู่ครับเชิญชมที่ www.pcboardrecycle.com ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ พอดีดิฉันกำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาโท โดยอาจารย์ผู้สอน สั่งงานว่าให้เขียนบทความ เกี่ยวกับปัญหาทางสังคม ตอนนี้ดิฉันคิดว่าจะเขียนบทความเรื่องขยะอิเล็คทรอนิคส์ค่ะ แต่ไม่มีข้อมูล โดยจะขอคำปรึกษาจากอาจารย์ดังนี้นะคะ

1. บทความ เขียนอย่างไร

2. หาข้อมูลนี้ได้ที่ไหนอีกบ้าง

รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยนะคะ พอดีไม่รู้จะปรึกษาใครค่ะ เห็นว่าปัญหานี้ น่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัจจุบันเป็นยุคของเทคโนโลยีที่แท้จริง

ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท