ในนิตยสาร open ฉบับตีพิมพ์ออนไลน์ วันที่ 2 เม.ย 2550
คุณ วินทร์ เลียววาริณ เขียนตอบคุณ ปราบดา หยุ่น ไว้ในคอลัมน์ ความน่าจะเป็น ว่า
"น่าแปลกที่ผมชอบเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์กมากกว่า [กรุงเทพฯ] ไม่ใช่เพราะดัดจริตชอบของนอก (แปลก! ใครชอบของนอกต้องหาว่าดัดจริตไว้ก่อน)
แต่มันมีส่วนผสมของด้านมืดและด้านสว่างที่ค่อนข้างลงตัวกว่า มีศูนย์การค้า แต่ก็มีพิพิธภัณฑ์ โรงละคร แหล่งศิลปะ มีโรงหนังที่ฉายหนังทุกประเภท ตั้งแต่ทั้งหนังฮอลลีวู้ด หนังอินดี้ หนังเก่า ไปจนถึงหนังกำพร้าโดยเท่าเทียมกัน นี่กระมังที่ผมว่ากรุงเทพฯขาดไป นั่นคือความสมดุล"
(ขีดเส้นใต้เพื่อเน้นเพิ่มเติม โดยผู้เขียน)
อ่านบทความฉบับเต็ม เรื่อง NPC (No Problem City) ได้ที่นี่ค่ะ (คลิก)
---------------------------------------------------------------
เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ถ้าแต่ละเมืองมีควมหลากหลาย (diversity) มีตัวเลือก อาจจะดีกว่าเมืองที่พยายามเปลี่ยนให้ทุกคนคิดเห็น ชอบอะไรเหมือนๆกัน (เช่น ให้ทุกคนนับถือศาสนาเดียวกัน ห้ามนำภาพยนตร์ที่ผู้นำคิดว่า "ไม่ดี ไม่ถูกต้อง" มาฉาย)
งานเขียนของคุณวินทร์ เปรียบความสมดุลระหว่าง ความมืด ความสว่าง เป็นการแบ่งขั้วเป็น 2 ขั้ว (dichotomy) ซึ่งก็เป็นวิสัยของคนเราจริงๆซะด้วย
แต่จะเป็นไปได้ไม๊ว่า ความสมดุลไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นระหว่างขั้วสองขั้ว แต่เป็นการจัดการกันเองของความหลากหลายมากกว่า 2 ขั้วในระบบ
เป็นไปได้ไม๊ ถ้าเรามาช่วยกันส่งเสริม มุมมองที่มองเห็น "ความหลากหลาย" โดยที่ไม่แบ่งเป็นแค่ 2 ขั้ว อะไรๆอาจดีขึ้น จริงอยู่หลายๆอย่างในโลกแบ่งเป็นสองขั้วแล้วมันเข้าใจง่าย แต่ก็มีอีกหลายอย่างที่แบ่งได้มากกว่านั้น หรือ ไม่ต้องแบ่งเลย เป็น oneness ไป เป็น spectrum ไป
- มีร้อน หนาว แล้วก็อุ่น
- มีมืด สว่าง แล้วก็สลัวๆ หรือไฟกระพริบๆ
- มีขาว มีดำ มีเทาอ่อน เท่าแก่
ผู้เขียนมั่นใจพูดได้เต็มปากว่าคุณวินทร์เป็นคนที่มองโลกได้ลึกซึ้งและเข้าใจโลกมากๆคนหนึ่ง (หลังจากที่ชื่นชอบและติดตามงานเขียนมานาน) แต่ขนาดคุณวินทร์ก็ยังอดเปรียบโลกกับความมืด ความสว่างไม่ได้ (ผู้เขียนก็เช่นกันค่ะ การทำงานของ สมองและประสบการณ์ที่สะสมมาของคนเรามันมักจะพาไปคิดแบบนั้นจริงๆ)
มันแบ่งให้เป็นสองขั้วชัดๆยากเหลือเกินนอกซะจากมันจะ มืดสนิท ชั่วสนิท ผิดทั้งหมด จริงอยู่สถานการณ์ที่ เห็นจะๆว่า "สนิท" "ทั้งหมด" "สมบูรณ์" นั้นก็มีจริงๆในโลก แต่มันก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป
อย่าง body กับ mind
แบ่งแค่ 2 แล้ว งง ฝรั่งหาคำตอบกันมานาน ว่า อะไรคือ mind อะไรคือ consciousness แต่ถ้าแบ่งเป็น 5 กอง แล้วมองต่อเป็นช่วง เป็นกระบวนการแบบขันธ์ 5 ก็จะเข้าใจและนำไปใช้ได้!
.............................. เออ.............
จบไม่ลงค่ะ ไม่อยากเขียนต่อไปเรื่องปรัชญามากเกินไป เอาเป็นว่าขอจบด้วยคำถามที่ว่า
แต่ก่อนผมเข้าไปอ่านวิกิพีเดียก็เจอ political pole ครับ มีซ้าย ขวา อะไรแบบนั้น แต่เดี๋ยวนี้เข้าไปเจอ political spectrum ด้วย เขาพยายามจะ visualize โดยเอาหลายๆ pole มารวมกัน ถ้ามอง
ตัวอย่างในรูปนี้ มอง 2 อย่างคือ personal freedom กับ economic freedom แต่ละลัทธิ ก็จะมี position ของตัวเองที่ plot ตาม personal freedom และ economic freedom
เราอาจจะมองเป็น n มิติเลยก็ได้ แต่ว่าสงสัยจะ visualize ยากหน่อย เวลามองอะไรก็จะมองแบบเป็น vector n มิติของจำนวนจริง :-P
แต่พอมองเป็น vector แล้วไม่รู้ว่ามันจะทำให้คนยอมรับความแตกต่างได้หรือเปล่า?
ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...
ชีวิตผู้ข้าฯ...
ได้ยินมาว่า...
นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์: แต่ละที่ที่ว่ามาผมอยากไปทั้งนั้นเลย ที่ว่ามาเคยไปเวียงจันท์ที่เดียว
ผมเคยอยากไป Paris เพราะอยากไปดูพระราชวังตุยเลอลี แต่ว่าไฟไหม้ไปหมดแล้ว ก็เลยเศร้าๆหน่อย รถไฟฟ้าที่ Paris คนดูเหมือนจะเครียดๆกัน เครียดแบบคิ้วขมวด (น่าจะเครียดกว่าคนกรุงเทพฯ)
ผมมักจะชอบเมืองที่ไม่ใช่เมืองหลวงอะนะ
เป็นหัวข้อที่น่าคิดมากครับ ในความคิดเห็นของผมจะว่าจะแบ่งเป็นสองขั้วก็ไม่ใช่ จะว่ามันมีหลายขั้วก็ไม่เชิง หรือจะว่าไม่มีขั้วเลยก็ไม่ถูกเสียที่เดียว
ทุกอย่างมันจะมีสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า paradox ในตัวของมันเองเสมอครับ
ไปอ่านเจอจาก blog ตัวเอง เขียนไว้เมื่อ 25 สิงหาคม 2005 อ้างถึงหนังสือชื่อ A Whole New Mind: Moving from the Information Age to the Conceptual Age ไว้ว่า
"Human beings somehow seem naturally inclined to see life in contrasting pairs. East versus West. Mars vesus Venus. Logic versus Emotion. Left versus right. Yet, in most realms we usually don't have to pick sides-and it's often dangerous if we do. For instance, logic without emotion is a chilly, Spock-like existence. Emotion without logic is a weepy, hysterical world where the clocks are never right and the buses always late. In the end, yin always needs yang. This is especially true when it comes to our brains. The two sides work in concert-two sections of an orchestra that sounds awful if one side packs up its instruments and goes home."
เห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกันเลยเอามาบันทึกไว้ที่นี่ด้วยค่ะ