เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ ... (2) ผู้สูงอายุปัจจุบัน และอนาคต


ในช่วง 1 ศตวรรษที่ผ่านมา โครงสร้างประชากร ของประเทศไทยได้เปลี่ยนรูปไปอย่างมาก จากมีเด็กมาก ปิรามิดประชากรที่มีฐานกว้าง กลายเป็นมีฐานแคบเข้า และยอดของประชากร ซึ่งเป็นส่วนของผู้สูงอายุ ป้าน และขยายใหญ่ขึ้น ... เป็นการเปลี่ยนรูปไปอย่างมหาศาล

หัวข้อนี้ ศ.ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล ซึ่งท่านประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม และนักประชากรศาสตร์ค่ะ ท่านได้ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ว่า

  • จากอดีต 1 ศตวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทุกๆ ด้าน ไม่ว่าด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สถาบันครอบครัว และสังคม การใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร และคมนาคม
  • และที่สำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงของประชากร ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงในหลายสิ่งหลายออย่าง ไม่ว่า ขนาด หรือจำนวน
  • 100 ปีที่ผ่านมา ประชากรของประเทศไทยมีเพียง 10 ล้านคน และเมื่อ 2475 มีประชากรเพียง 12 ล้านคน ปีนี้ 2550 มีประชากรประมาณ 63 ล้านคน
  • อีกอย่างคือ การเปลี่ยนแปลง โครงสร้างอายุของประชากร ที่เปลี่ยนจากอายุน้อย เป็นสูงวัย
  • อีกอย่างคือ การเปลี่ยนแปลงด้านการกระจายตัวของประชากร ที่เข้ามากระจุกตัวอยู่ในเมืองมากขึ้น จากสังคมไทยที่ มี ปชก. ในชนบทมากกว่า กลายเป็น ในเมืองจะมากกว่า หรือเท่าๆ กับชนบทแล้ว
  • ประเด็นหลักคือ ในช่วง 1 ศตวรรษที่ผ่านมา โครงสร้างประชากร ของประเทศไทยได้เปลี่ยนรูปไปอย่างมาก จากมีเด็กมาก ปิรามิดประชากรที่มีฐานกว้าง กลายเป็นมีฐานแคบเข้า และยอดของประชากร ซึ่งเป็นส่วนของผู้สูงอายุ ป้าน และขยายใหญ่ขึ้น ... เป็นการเปลี่ยนรูปไปอย่างมหาศาล
  • นี่คือ ระเบิดผู้สูงอายุ หรือ senior explosion หมายความว่า การปะทุ แตกออก เป็นการที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • เพื่อให้ล้อตามคำว่า ระเบิดประชากร (Explorer explosion) ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อไม่นานมานี้เอง
  • ระเบิดประชากร ลูกแรก ในไทย เกิดภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่ออัตราตายของประชากรไทยลดต่ำลง ขณะที่อัตราเกิดยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้เกิดช่องว่าง ระหว่างอัตราเกิดกับอัตราตาย เกิดมาก ตายน้อย ทำให้ประชากรเพิ่มเยอะมาก ผมเรียกว่า เกิดในช่วงระหว่างปี 2506-2526 ในระหว่างปีนั้น การเกิดของประชากรมีเกินกว่าปีละ 1 ล้านคน เรียกการเกิดในช่วงนี้ว่า ประชากรรุ่นเกิดล้าน
  • ในปี 2550 ประชากรรุ่นเกิดล้าน จะมีอายุ 24-44 ปี
  • หลังจากปี 2526 เป็นต้นมา นโยบายวางแผนครอบครัวแห่ง ปทท. เริ่มออกผลอย่างเห็นได้ชัด ภาวะประชากรไทยลดต่ำลง การเกิดลดต่ำลงจนมีจำนวนต่ำกว่า 1 ล้านคนต่อปี ตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมา และลดต่ำลงเรื่อยๆ จนปัจจุบันเรามีเด็กเกิดปีละประมาณ 8 แสนคน และต่อไปมีแนวโน้มจำนวนเด็กเกิดจะมีไม่ถึง 8 แสนคนต่อปีในอนาคต
    ปีนี้ หรืออาจปีที่แล้ว หรือปีต่อๆ ไป เราอาจเห็นตัวเลขว่า เกิดปีละไม่เกิน 8 แสนคน การเกิดที่ลดต่ำลง
  • ประกอบการการที่คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ทำให้สัดส่วนของประชากรวัยเด็กลดต่ำลง ในขณะที่สัดส่วนประชากรวัยสูงอายุ ซึ่ง ปทท. ถือเอาอายุ 60 ปี เป็นเกณฑ์ เพิ่มสูงขึ้น
  • ประชากรวัยเด็ก หรืออายุ น้อยกว่า 14 ปี ซึ่งมีอัตราสูงกว่า 40% เมื่อ 10 ปีก่อน ได้ลดลงเหลือ 20 กว่า% เท่านั้นในปัจจุบัน ในขณะที่ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ 5% เมื่อ 10 ก่อน เป็นมากกว่า 20%
  • การที่ประชากรสูงอายุมีสัดส่วนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นปรากฏการณ์การมีอายุสูงขึ้นของประชากร กระบวนการนี้เกิดอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ในปี 2545 เป็นปีแรกที่ประชากรสูงอายุได้เพิ่มสูงขึ้นในระดับ 10% ของ ปชก ทั้งหมด เท่ากับว่า ประชากรไทยได้เข้าสู่ภาวะสูงวัยแล้ว ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ... ระเบิดประชากรสูงอายุ หรือ Senior explosion ได้เกิดขึ้นแล้ว ตั้งแต่ปี 2545
  • ปัจจุบันผู้สูงอายุในไทย มี 6.6 ล้านคน คิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด และจะยังเพิ่มต่อไปไม่หยุดยั้ง ในขณะที่ประชากรรวม เกือบจะไม่เพิ่มขึ้นเลยในอนาคต
  • ปัจจุบัน ประชากรไทยสูงประมาณ ครึ่ง% ต่อปี แต่อัตราเพิ่มของผู้สูงอายุเพิ่มในอัตรา 3% ต่อปี
  • ใน 2563-2564 หรืออีก 13 ปีข้างหน้า จะเป็นครั้งของประวัติศาสตร์ประเทศไทย ที่จำนวนผู้สูงอายุจะมากกว่าจำนวนเด็ก (ต่ำกว่า 15 ปี) เป็นครั้งแรก และตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป ประชากรรุ่นเกิดล้าน จะเริ่มทยอยเข้าสู่วัยสูงอายุ เป็นก้อนประชากรที่มีขนาดมหึมา เมื่อ 8 ปีที่แล้ว พ.ศ.2549 ผู้ที่เกิดหลังสงคราม ได้เริ่มทยอยเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ดังนั้น ต่อไปนี้ผู้สูงอายุจะเริ่มมากขึ้นทุกปี และจะเริ่มมากขึ้น เมื่อรุ่นเกิดล้านมาถึง
  • ปัจจุบัน ประชากรไทยมีจำนวน 62.8 ล้านคน มีผู้สูงอายุ 10.9 % หรือ 6.8 ล้าน อีก 13-14 ปีข้างหน้า ปทท จะมีประชากรไทย เพิ่มสูงสุด ที่ 65 ล้านคน แต่ผู้สูงอายุในขณะนั้นจะมี 12 ล้านคน ประมาณ 17-18% และอีก 30 ปีข้างหน้า 2580 ประชากรไทยจะลดต่ำลงเป็น 62.8 ล้านคน แต่ผู้สูงอายุจะมีถึง 25.9% ซึ่งมากกว่าประชากรเด็กที่มี 14.1% มากกว่าประมาณ 8 ล้านคน และจะมีผู้หญิงประมาณ 9 ล้านคน มากกว่าผู้ชาย (7 ล้านคน)
  • เพราะฉะนั้นในอนาคต ผู้สูงอายุหญิงจะมีมากกว่าชายอย่างมาก ที่สำคัญคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป จะมีมากถึง 2 ล้านคน เปรียบเทียบกับ 6 แสนคนในปัจจุบัน
  • ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นย่อมมีความต้องการการดูแลสุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างจากผู้สูงอายุวัยต้น วัยต้นส่วนใหญ่จะยังแข็งแรง และทำงานได้ดี เป็นข้อสังเกตว่า ผู้สูงอายุที่อายุก็จะมีความต้องการที่แตกต่าง
  • ที่ผมขอเน้นคือ ขณะนี้ ประชากรไทยมีอายุสูงขึ้นเร็วมาก และเร็วแบบที่เราอาจนึกไม่ถึง และตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ประชากรที่เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังทยอยเข้าสู่วัยสูงอายุ
  • ผู้สูงอายุรุ่นใหม่ จะมีลักษณะแตกต่างจาก รุ่นก่อน เพราะผู้สูงอายุรุ่นนี้ จะมีลูกน้อยลง จะอยู่เป็นโสด หรือไม่แต่งงานเลย ทั้งชายและหญิงมากขึ้น เพราะฉะนั้นจะมีผู้สูงอายุที่อยู่ตัวคนเดียวมากขึ้น
  • สำหรับประเทศไทยไทย มาตรการรองรับประชากร สูงอายุตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป คงต้องมีการตระเตรียมกันอย่างเร่งด่วน และจริงจัง

 

หมายเลขบันทึก: 86968เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2007 00:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท