สำหรับวิกฤตของวิชาชีพพยาบาลในประเทศไทย


สรุปมาจากศ. เกียรติคุณ ดร. วิจิตร ศรีสุพรรณ นายกสภาการพยาบาล ( 2550 )

สำหรับวิกฤตของวิชาชีพพยาบาลในประเทศไทยนั้น  ศ. เกียรติคุณ  ดร. วิจิตร  ศรีสุพรรณ  นายกสภาการพยาบาล  ( 2550 )  ได้สรุปไว้ 3 ประการ  กล่าวคือ

 

ประการแรก คือการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาล  มีสาเหตุหลากหลายประการ  กล่าวคือ  นโยบายปฏิรูประบบสุขภาพทำให้ต้องการพยาบาลวิชาชีพในระดับปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่า 15000 คน  นอกจากนี้ประเด็นของความสมดุลระหว่างการผลิต  การใช้และการกระจายยังไม่ทั่วถึง  การขาดแคลนแฝง  ตลอดจนการสูญเสียกำลังคนทางการพยาบาลจากการขาดแคลนด้านค่าตอบแทน  ระบบหล่อเลี้ยง  ความก้าวหน้าในวิชาชีพ  หรือ  การขาดโอกาสร่วมในการตัดสินใจ  เป็นต้น

 

ประการที่สอง   คือ วิกฤตภาพลักษณ์ของวิชาชีพซึ่งพบว่าภาคสังคมโดยเฉพาะสื่อมวลชนสะท้อนว่าวิชาชีพการพยาบาลทำงานกับชุมชนได้ดี  แต่ไม่เกินผลลัพธ์ของการปฏิบัติการหรือการบริการพยาบาล  สำหรับมุมมองของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องสะท้อนให้เห็นว่ามีการยอมรับสถานะในฐานะผู้ร่วมทีมบริการสุขภาพ  แต่ยังมีประเด็นของบทบาทที่คาบเกี่ยวเช่น  การรักษาเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกัน  การสอนและการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพเป็นต้น  และที่สำคัญที่สุดเป็นภาพลักษณ์ในมุมมองของพยาบาลที่สะท้อนว่าพยาบาลมีความสามัคคีและความเป็นเอกภาพ  แต่ยังมีข้อจำกัดในการทำงานร่วมกันและต้องเร่งสร้าง  การสื่อสารภายในวิชาชีพให้มีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

 

ประการสุดท้าย  คือ วิกฤตของการให้บริการพยาบาลที่มีคุณภาพ  มีมาตรฐานที่ไวต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่จะต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนาอย่างเร่งด่วนได้แก่  ตัวบ่งชี้ที่แสดงผลลัพธ์ด้านสุขภาพของการบริการพยาบาล  ระบบข้อมูลสารสนเทศการบริการพยาบาล  ต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการบริการพยาบาล  ตลอดจนผลลัพธ์ที่ต้องการ  ต้องมีการกำหนดกลยุทธ์และมาตรการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายหรือผลลัพธ์  และสุดท้ายคือการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลทุกระดับเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลองค์กร

 

วิกฤตของวิชาชีพการพยาบาลดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเข้มแข็งและศักยภาพของพยาบาลทั้งระดับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารการพยาบาล  ดังนี้

 

1.     ภาระงานที่สูงมากขึ้นของพยาบาล  และผู้บริหารการพยาบาล  ทำให้มีความเสี่ยงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของชีวิต  และสุขภาพของพยาบาล

 

2.     ถึงแม้ว่าระบบการบริการพยาบาลจะได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลมาอย่างต่อเนื่องก็จริง  แต่ยังขาดตัวชี้วัดคุณภาพการบริการที่มีมาตรฐานที่ไวต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการให้บริการพยาบาล

 

3.     การตัดสินใจและการกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาภารกิจด้านต่าง ๆยังเกิดขึ้นไม่ได้มากนัก  ยังพบว่ามีประเด็นในเรื่องของการมีอำนาจต่อรองน้อย

 

คำสำคัญ (Tags): #พยาบาล
หมายเลขบันทึก: 86963เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มองไม่เห็นทางพัฒนา ขาดพื้นฐานที่ชัดเจน และความชัดเจนของวิชาชีพ

อยากเป็นพยาบาลจังเลยค่ะอยากช่วยเหลือผู้อื่นและบริการผู้คน

ตอนนี้เรียนอยู่มอห้าค่ะ

ชีวิตพยาบาลนี่น่าเห็นใจมากเลยนะค่ะ

ต้องเจอกับความเสี่ยงหลายอย่าง

ทั้งทางด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิต

ต้องรับภาระงานตั้งมากมาย

แล้วทุกวันนี้ยังมีการขาดแคลนของบุคลากรอีก

งานการพยาบาลจะสามารถก้าวหน้าและชัดเจนได้นะคะ

ถ้าพยาบาลด้วยกันมีความรักความสามัคคีและมีความสามารถด้านการต่อรองที่มี

ศักยภาพ ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องแสดงให้เค้าเห็นด้วยว่าเราก็มีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท