เรือต้นตาล ..แปลกแต่จริงผมไม่เคยเห็นมาก่อน


ที่หมู่บ้านของผม และผมผู้ซึ่งเป็นลูกชาวเขื่อนโดยแท้กลับไม่เคยพานพบเรือต้นตาลเลยแม้แต่ลำเดียว

ผมเริ่มต้นการทำงานสองวันแรกของสัปดาห์ในแบบชนิดไม่มีโอกาสได้นั่งโต๊ะทำงาน  แต่กลับต้องตะเวนท่องไปตามชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องการลงพื้นที่ค่าย เรียนรู้คุณธรรม  นำชีวิตพอเพียง  ซึ่งต้องนำนิสิตมาใช้ชีวิตแบบฝังตัวร่วมเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนอย่างจริงจังในช่วงต้นเมษาฯ ที่กำลังจะมาถึง

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วันจันทร์สัญจรไปพบปะ พูดคุยกับคณะครูและผู้นำชุมชนบ้านเม็กดำ  หมู่ที่ 1  ต.เม็กดำ  อ.พยัคฆภูมิพิสัย  จ.มหาสารคาม  และวันอังคาร (วันนี้)  ก็ไปเยือนบ้านแกดำ  หมู่ 1  เทศบาลตำบลแกดำ  อ.แกดำ จ.มหาสารคาม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมชื่นชอบการเดินทาง  เพราะการเดินทางช่วยให้ผมเห็นความแตกต่างของชีวิตจากจุดที่ยืนอยู่</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p>วันนี้,   ชาวบ้านได้พาผมและทีมงานไปเยี่ยมชม หนองแกดำ  แหล่งน้ำขนาดใหญ่ของหมู่บ้านที่เป็นเสมือนสายเลือดแห่งการหล่อเลี้ยงวิถีชีวิตผู้คนของชุมชนมาอย่างยาวนาน       </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แหล่งน้ำแห่งนี้..เป็นที่รู้จักขึ้นชื่อ  เพราะเป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ด้วย กบ  จำนวนมาก  ชาวบ้านมีกฎกติกาการจับกบเป็นห้วงฤดูกาล  ซ้ำยังห้ามมิให้ยิงนกเป็ดน้ำ  ใครฝ่าฝืนมีบทลงโทษของชุมชน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นข้อตกลงที่สร้างขึ้นมาเป็นบรรทัดฐาน  (social  norms)  ให้คนในสังคมได้ถือปฏิบัติร่วมกัน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมประทับใจทัศนียภาพที่เป็นธรรมชาติรอบแหล่งน้ำนี้มาก  สุดลูกตามองเห็นฝูงควายตัวเล็ก ๆ  กำลังเดินกินหญ้าอยู่รายรอบแหล่งน้ำ  ผักตบชวาลอยเกลื่อนเป็นหย่อม ๆ  ท้องน้ำมีคลื่นเป็นระลอก ๆ  น้ำใสมองเห็นสาหร่ายและก้อนหินหรือแม้แต่ฝูงปลาตัวเล็ก ๆ ว่ายวนอย่างไม่รู้เหนื่อย เสียงใบไม้ต้องลมดังหวู่หวิวอยู่เป็นระยะ ๆ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อากาศที่นี่เย็นสบายเป็นอย่างมาก ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นรอบแหล่งน้ำชูใบและกิ่งก้านแผ่เป็นร่มเงาเย้ายวนชวนเชิญให้อยาก ผูกเปล  นอนพักหลับฝันเป็นไหน ๆ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อีกทั้งผมยังประทับใจเป็นที่สุดกับเรือที่ลอยลำอยู่ติดตลิ่งน้ำอย่างนิ่งสงบ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ถึงแม้ผมจะเติบโตมาจากลุ่มน้ำปาวของเมืองน้ำดำ  เคยแจวเรือ  ล่องเรือและจมเรือมาหลายลำแล้ว  แต่เหลือเชื่อนัก  ผมกลับไม่เคยเห็นเรือในลักษณะเช่นนี้มาก่อนเลย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ชาวบ้านเรียกเรือแจวลำเล็ก ๆ  เหล่านี้ว่า  เรือต้นตาล  และให้การยืนยันว่าเป็นเรือที่ชาวบ้านสมัยนิยมใช้กันจำนวนมากและใช้ติดต่อกันมายาวนานจนถึงทุกวันนี้  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เรือต้นตาลไม่จำเป็นต้องเลื่อยไม้เป็นชิ้น ๆ  มาต่อเป็นลำเรือเหมือนที่พบเห็นอยู่ทั่วไป  ซึ่งต้นทุนของการต่อเรือเช่นนั้นย่อมใช้งบประมาณพอสมควรในการจัดซื้อวัสดุที่เป็นไม้  ตะปู  ยางสำหรับอุดรูรั่วตามรอยปะของตัวเรือ  และอื่น ๆ  อีกไม่น้อย (ที่ผมนึกไม่ออก)  แต่เรือต้นตาลจะสร้างหรือต่อเรือได้ง่ายกว่า   เพียงแค่มีลำต้นของต้นตาลเพียงท่อนเดียวก็สามารถสร้างเป็นเรือได้อย่างไม่ยากเย็น  ไม่ต้องเลื่อยแยกชิ้น  ไม่ต้องใช้ไม้อื่น ๆ  มาประกอบเป็นตัวเรือ  ใช้เพียงต้นตาลลำต้นเดียวแล้วแกะหรือสกัดตรงกลางของท่อนไม้ให้เป็นท้องเรือสำหรับเป็นที่นั่งและบรรทุกสิ่งของก็เรียบร้อยแล้ว  แถมมีน้ำหนักเบา  สะดวกใช้สะดวกเก็บ  !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ที่หมู่บ้านของผม  และผมผู้ซึ่งเป็นลูกชาวเขื่อนโดยแท้กลับไม่เคยพานพบเรือต้นตาลเลยแม้แต่ลำเดียว  เห็นก็แต่เรือที่สร้างขึ้นจากไม้เนื้อแข็งหลาย ๆ ชิ้นมาประกอบเข้าเป็นลำเรือและตัวเรือก็มีน้ำหนักที่มากกว่าเรือต้นตาลอยู่มากโข  </p><p>    </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมไม่มีเวลาได้เรียนรู้เก็บเกี่ยวข้อมูลเรื่องเรือนี้มากนัก  แต่ก็ยอมรับว่าตื่นตาตื่นใจเป็นพิเศษที่ได้เห็นเรือที่ตนเองไม่เคยเห็นมาก่อน  และคาดหวังว่าเมื่อนิสิตลงสู่พื้นที่เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนแล้วก็ย่อมได้เรียนรู้เรื่องของเรือต้นตาลนี้ด้วยเช่นกัน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สำหรับผมแล้ว  การได้เห็นเรือต้นตาลครั้งนี้ถือเป็นกำไรชีวิตโดยตรง  เป็นการยืนยันให้รู้ว่าการเดินทางช่วยให้เราได้พบเห็นความแตกต่างของชีวิตจากจุดที่ยืนอยู่…</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมเชื่อเหลือเกินว่า   หลายท่านที่เดินทางมายาวนานกว่าผม  หรือจัดเจนกับโลกและชีวิตกว่าผมอาจพบเห็นจนคุ้นชินแล้วกับเรื่องเรือต้นตาล  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็โปรดกรุณาแบ่งปันเรื่องราวให้ผมได้เรียนรู้บ้างก็จะดีไม่น้อย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อย่างน้อยก็เป็นเสมือนการเตรียมตัวสู่การเรียนรู้จริงร่วมกับชุมชนที่กำลังจะมีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า  และบัดนี้ก็ใกล้เข้ามาแล้วทุกขณะ !….</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> 

หมายเลขบันทึก: 86894เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (38)

สวัสดีค่ะคุณแผ่นดิน

แม่เคยเล่าให้ฟังว่าแถบตำบลบางแก้ว จ.นครปฐมก็มีใช้เหมือนกันค่ะเพราะเป็นเรือลำเล็ก กินน้ำตื้น ใช้ขนของในสวนหรือใช้ทั่วไป มีน้ำหนักเบา..เรือต้นตาลเป็นเรือขุด ( ขุดเจาะตรงกลางต้น เหมือนที่คุณแผ่นดินเล่า ) มีอายุการใช้งานนานเพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง..แต่เบิร์ดก็ไม่เคยเห็นของจริง เพิ่งมาเห็นนี่แหละค่ะ..

รูปร่างน่ารักดี ^ ^..นั่งพายได้ทั้งสองข้างหรือเปล่าคะหรือว่าต้องนั่งด้านกว้างของลำเรือ..

 

สวัสดีครับคุณวีร์
P

ขอบคุณครับ...

หนองน้ำที่ผมกล่าวถึง  ถ้าไม่ลงเรือล่องเล่น ก็ผูกเปลนอนได้สบายครับ  ลมโชยพัดฉ่ำเย็นมาก

ผมก็งงตัวเอง  ทำไมไม่เคยเจอและไม่มีความรู้เรื่องเรือเหล่านี้เลย ทั้ง ๆ ที่ใกล้กับวิถีชีวิตตนเองเป็นนักหนา

สิ่งที่เราไม่รู้ ไม่เคยเห็น มันก็เป็นของแปลก ผมเห็นด้วยครับ แต่เรือต้นตาล บ้านผม (วิเศษชัยชาญ อ่างทอง)หรือท้องถิ่นแถบนั้น เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เราเรียกภาษาถิ่นว่า "เรืออีโปง" หรือ "อีโปงตาล" เป็นเรือที่หนัก พายยาก ใครพายไม่เป็นมันก็จะวนอยู่ตรงนั้นแหละ เพราะหัวเรือกับท้ายเรือน้ำหนักไม่สัมพันธ์กัน จึงพายยาก ส่วนมากจะใช้ท่อครับ และใครไปนั่งต้องระวังนะครับ เรืออีโปงบางลำไม่ได้ทำให้เรียบร้อยจะมีเสี้ยนตาล นั่งไม่ดีมันก็จะตำเอาน่ะซี ใครโดนเสี้ยนตาลตำละก้อคุณเอ๋ย มันเจ็ปปวดมาก แต่บางบ้านจะใช้กบใสไม้ใสเรียบเรียบร้อย เรืออีโปงทนทาน ใช้งานได้นานหลายปี ไม่ต้องเอา "ขึ้นคาน" เรือ เพราะมันหนักมากๆ และความทนของเขาจึงไม่จำเป็นต้องซ่อมบำรุงเหมือนเรือ "อีป๊าบ" "เรือหมู" "เรือบด" "เรือไผ่ม้า" "เรือมาด" ฯลฯ เรือแต่ละชนิดเหมาะกับงานแต่ละอย่าง คนภาคกลางที่น้ำท่วมเป็นประจำทุกปีจะคุ้นเคยกับการใช้เรือดีครับ "เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง เดือนอ้าย เดือนยี่ น้ำก็รี่ไหลลง" สิ่งเหล่านี้คือวิถีชีวิตของคนภาคกลางที่อยู่กับน้ำท่วมอย่างต่ำ ก็ 3 เดือน ต่อปี ออกพรรษาก็เอา "เรือยาว" มาแข่งขันกัน อีโปงเป็นนวัตกรรมพื้นบ้าน อยู่คู่กับชาวนาภาคกลาง และคนยากจนมาตลอด เพราะสมัยก่อนหาง่าย ทำไม่ยาก ทำมาจากต้นตาล ทีท่มากมายนับหมื่น นับแสนต้นตามท้องทุ่งทั่วไป เด็กๆมีการไปแย่งกันเก็บผลตาลสุกหล่นจากต้น เอามาเพาะให้งอก เอาจาวตาลมาเชื่อมอร่อยมากครับ หากลูกตาลสุกสวยๆก็เอกมาลูกตาลแกะเอาเปลือกแข็งๆออกให้เหลือเนื้อในที่มีไฟเบอร์เส้นๆนั้น เอามายี เอาไปทำขนมตาล อร่อย ครับ แต่อย่างไรก็ตาม "อีโปง" เป็นสุดยอดนวัตกรรมพื้นบ้านจริงๆครับ
  • แถวเม็กดำ เรียก  เฮียอีโปงครับ
  • พรุ่งนี้จะส่งข้อมูลให้ครับ
  • คุณพนัส...
  • เห็นพี่หนิงพูดถึงค่ายนี้เหมือนกันค่ะ
  • ช่วงนี้ต้องเหนื่อยหน่อยนะคะ
  • หว้าก็เพิ่งจะเห็นเหมือนกันค่ะ "เรือต้นตาล"
  • พี่ไพศาลให้ความรู้อย่างละเอียดทีเดียว...
  • แล้วจะคอยติดตามดูการออกค่ายครั้งนี้นะคะ

ขอบคุณมากครับ คุณเบิร์ด

P

อันที่จริงวันนี้ผมสงสัยและแย้งอยู่ในใจกับหลายประเด็นแต่ยังไม่กล้าซักถามผู้เฒ่าผู้แก่  เพราะยังไงก็คิดว่าจะได้มาอีกหลายวันอยู่แล้ว เช่น  ลักษณะเรือไม่น่าจะเบา  มันน่าจะหนักเพราะเป็นลำต้นของต้นตาลแท้ ๆ

เสียดายผมไม่มีแม้กระทั่งเวลาลงไปสัมผัสนั่ง  เพราะเกรงจะเป็นภาระชาวบ้าน  และยังทิ้งคำถามไว้กับชุมชนว่าใครกันนะเป็นปราชญ์ชาวบ้านในการทำเรือต้นตาลเหล่านี้ (อีโปง) 

สิ่งเหล่านี้ผมจะไปพิสูจน์อีกครั้งในต้นเดือนเมษายนพร้อมนิสิต

.........

แถวบ้านผมไม่มีใช้ทั้งที่เป็นเมืองเขื่อน  หรืออาจจะเป็นเพราะไม่ค่อยมีต้นตาลกระมัง..แต่ถึงมีก็คงเสียดายแย่  เพราะปลุกตาลต้องใช้เวลานาน  ขนาดมีแค่สองต้นอยู่หัวไร่ปลายนายังร้องห้ามพี่ชายไม่ให้ตัด  ซึ่งก็คงเหลือมาจนบัดนี้

 

ขอบพระคุณครับ อ.ไพศาล มากครับ

P
  • เพิ่มเติมความรู้ได้ชัดเจนและชัดแจ้งมาก
  • ผมสนใจเพราะแถบเขื่อนไม่มีใช้  หรือเพราะไม่ค่อยมีต้นตาลด้วยกระมังก็ไม่รู้ 
  • แต่สิ่งหนึ่งที่ผมสงสัยจากปากคำก็คือ เป็นไปได้หรือที่ว่า "เบา"  และ "เนื้ออ่อน"  ซึ่งผมก็งงไม่หาย แต่ไม่กล้าลึกไปกว่านั้น
  • แต่ไม่เป็นไรครับ..ช่วงค่ายผมคิดว่าจะให้นิสิตศึกษาให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้  เอาให้ชัดถึงขั้นว่าในหมู่บ้านนี้ใครคือผู้สร้างนวัตกรรมพื้นบ้านอันทรงพลังนี้ขึ้นมา
  • ขอบพระคุณมากครับสำหรับองค์ความรู้ที่ผมจะนำไปเป็นข้อมูลชั้นต้นให้นิสิตได้นำไปต่อยอดและเตรียมความพร้อมอีกครั้งก่อนลงพื้นที่
  • ขอบคุณครับ
เป็นที่สาธารณะหรือส่วนตัวครับ? ผมไปเล่นบ้างได้เปล่า?
สวัสดีตอนดึกครับ อ.บัว
P

ช่วงนี้แทบไม่ได้หายใจเลยนะครับ...พรุ่งนี้เช้าประชุมเตรียมงานโครงการนี้แถลงและชี้แจงต่อผู้บริหารและซักซ้อมความเข้าใจต่อเจ้าหน้าที่ ..บ่ายก็ต้องต้อนรับ ม.นเรศวรที่มาดูงาน

....

มีความสุขที่รู้ว่าอีกไม่กี่วันจะได้ไปเยือนทั้งเม็กดำและแกดำ  อีกครั้ง

 

อ.ลูกหว้าครับ
P

สอง - สามปีหลังผมขยับขึ้นมาทำหน้าที่ผู้ประสานงานโครงการ  ไม่ต้องลงพื้นที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาภาคสนาม

แต่ครั้งแรกที่มีโครงการนี้ขึ้น  ผมทั้งทำหน้าที่ผู้ประสานและลงพื้นที่ที่ จ.นครพนม (ไกลแสนไกลและทุรกันดารมาก)  ตอนนั้นน้องดินเพิ่งลืมตาดูโลกแค่ไม่ถึงเดือนเลยนะครับ ผมก็ห่างไปเป็นเดือน

มาทำหน้าที่ผู้ประสานก็เหนื่อยไปอีกอย่าง  แต่ก็ดีตรงไม่ต้องฝังตัวอยู่ในชุมชน  เทียวไปนิเทศและตามงานเป็นระยะ ๆ

.....

เป็นกำลังใจให้อาจารย์เสมอนะครับ

ไม่ใช่ไม่ชอบนะครับ...แต่ภารงานบริหารมันรัดตัวเกินกว่าจะลงไปลุยได้  อีกทั้งตอนนี้เรามีบุคลากรที่พร้อมจะทำตรงนี้เยอะแล้ว  ก็ควรให้พวกเขาได้แสดงศักยภาพเต็มที่

คุณวีร์ครับ..
P

แหล่งน้ำเป็นที่สาธารณะ..วันนี้ผมยังเห็นรถเก๋งจอดนั่งตกปลาอยู่เลยนะครับ

ที่นี่มีการอนุรักษ์กบที่ดังมาก  มีสะพานไม้ที่มีเสน่ห์มาก  แล้วจะนำมาเขียนไว้ในบันทึกให้อ่านอีกครั้ง

แต่ถ้าข้อมูลจะชัดเจนต้องช่วงลงพื้นที่ครับ...น่าจะมีอะไรให้ศึกษาอย่างมากมาย

  • แปลกดีนะครับ
  • เพิ่งเคยเห็นเหมือนกัน
  • ขอบคุณครับ
สวัสดีครับ อ.ขจิต
P
...ผมแทบไม่เชื่อเลยนะที่ อ.ขจิตยังไม่เคยเห็นเรือต้นตาล, (อีโปง)  ช่วงลงพื้นที่จะหาโอกาสนั่งเรือเหล่านี้ให้ได้  และพิสูจน์ข้อกังขาของตนเองอีกหลายข้อ
ขอบคุณครับ...
  • ที่บ้านมีเรือหลายชนิดแต่ทำมาจากไม้ชนิดอื่น
  • เรืออีโปงผมเพิ่งเคยเห็นครับ
  • เรือบ้านผมดีๆๆใช้ไม้ขนุนครับ
  • ฉันเคยเห็นมันอยู่ใต้ถุนบ้านคุณย่าเวลาน้ำแห้งค่ะ...แต่ถ้าน้ำหลากมันจะถูกเอาลงมาใช้ แต่ฉันเคยลงนั่งเรือสมัยใหม่หน่อยแล้วค่ะ...
  • ดีจังเลยได้เก็บภาพไว้ให้เด็กๆรุ่นหลังๆดูกัน
  • ขอบคุณค่ะ 
ขออนุญาติเพิ่มเติมครับ รูปที่เห็นนั้นเมื่อเทียบกับ อีโปงที่บ้านผม อีโปงที่นี่เล็กมาก หัวเรือซึ่งเป็นส่วนโคนของต้นตาลนั้นเล็ก ที่บ้านผมเขาเอาแบบใหญ่มาทำ ใหญ่กว่าส่วนหางเรือ หรือส่วนปลายต้นตาลหลายเท่า จึงทำให้พายยาก บังคับยาก แต่มีความจุมาก เรือ อีโปงที่เห็นน่าที่จะพายได้ดีกว่า หรือบังคับได้ดีกว่าทางภาคกลางครับ เพราะรูปร่างเรียวกว่า ผมยืนยันว่ามีน้ำหนักมากครับ เวลาพายก็จะเคลื่อนที่ช้ามาก เพราะหนัก เขานิยม "ใช้ถ่อ" บังคับการเคลื่อนไหว ดังกล่าวแล้ว ความหนักและช้าในการเคลื่อนไหว จึงมีสำนวนภาคกลางเกิดขึ้นครับ คนใดที่ทำงานชักช้า ยืดยาด ไม่กระฉับกระเฉง ผู้ใหญ่จะดุด่าว่ากล่าวว่า "อืดอาดเหมือนอีโปงตาล" ก็จะกลายเป็นสิ่งที่เพื่อนๆเอาไปล้อเล่นกัน ครับ ช่วงหลังมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมากขึ้น อีโปงถูกปลดระวาง ไม่ค่อยมีใครใช้ หรือปล่อยประละเลย จนหลายบ้านเอามา "ขึ้นคาน" จริงๆ แต่เป็นการเอามาใช้ปลูกพืชผักพื้นบ้านไปเสียแล้ว เช่น ปลูกสะระแหน่ พริก หรือพืชสวนครัวอื่นๆเอาไว้กินในครอบครัว แล้วก็ทนจริงๆ ใช้ปลูกนานหลายปีกว่าจะผุพังลงไป ชนบทภาคกลางยังพอเห็นบ้าง ทั้งเรืออีโปงและที่ปลูกสะระแหน่ ครับผม

ขอบคุณ อ.ขจิต  มากครับ

P
  • นี่ไงอานิสงส์ของการ ลปรร. ของบันทึกนี้ช่วยต่อยอดให้รู้ว่า "เรือ"  ทำมาจาก "ไม้ขนุน"  ก็มีเหมือนกัน
  • ขอบคุณมากครับ  ไว้ลงพื้นที่จริงเมื่อไหร่จะนำสาระจากพื้นที่มาเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นะครับ

 

  • พี่จากบ้านนา มาห้าหกปี
  • มาเยือนคนดีด้วยความคิดถึง
  • ปีโน้นพบเธอทุกวัน ทุกวัน
  • วันนี้ช่วยกันเก็บบัวในบึง
  • เคยนั่งรำพึง  รำพันรักใต้ร่มโพธิ์
  • พี่เลยเล่นน้ำในลำประโดง
  • พายเรือ อีโปง  เก็บดอกโสน.

เพลงรักเก่าที่บ้านเกิด  เพลงลูกทุ่งเพลงแรกในชีวิตที่ร้องได้ครับ

 

อาจารย์ ติ๋วครับ
P

บันทึกนี้ดูจะคึกคักไม่น้อย  เพราะมีผู้รู้มาช่วยเติมเต็ม โดยเฉพาะท่านอาจารย์ไพศาล..(บางทราย)  และท่านอื่น ๆ 

ผมกำลังคิดว่าในช่วงที่เด็กลงพื้นที่ผมอยากให้เขาจัดเก็บข้อมูลเรื่องเรือในชุมชนให้ชัดเจนทั้งเรื่องคติชนเกี่ยวกับเรือ, อายุของเรือ, คนสร้าง,  บทบาทและสถานะปัจจุบันของเรือในชุมชน ฯลฯ  ซึ่งเข้าใจว่านิสิตน่าจะมีความรู้จากปากคำชุมชนโดยตรงบ้าง  แล้วค่อยไปบูรณาการเพิ่มเติมจากตำราต่าง ๆ ...

ผมน่าสนใจไม่น้อยนะครับ... 

 

ขอบพระคุณ อ.ไพศาล อีกครั้งครับ

P

เรือที่แกดำจขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับที่อาจารย์เล่า  อาจเป็นเพราะว่าถูกใช้งานแต่เฉพาะในบริบทหนองน้ำนี้เท่านั้น  ไม่ได้ใช้บรรทุกผลิตผลใด ๆ  จำนวนมาก ๆ เพียงแต่ผมสนใจว่าทำไมคนแถบนั้นจึงนิยมเอาต้นตาลมาทำเป็นเรือ...

ผมคงจะเอาบันทึกนี้และการแสดงทัศนะต่าง ๆ ไปเป็นเอกสารประกอบการปฐมนิเทศให้นิสิตได้อ่านบ้าง  เพื่อกระตุ้นความสนใจของนิสิตในการลงสู่การเรียนรู้ในชุมชน

ผมเห็นบ่อยเหมือนกันที่เรือถูกปลดระวางไปเป็นกระถางปลูกผัก...แต่ดังที่เรียนคือส่วนใหญ่ชุมชนของผมไม่พบเรืออีโปงเลยครับ

กลับบ้านคราวนี้...จะไปถ่ายภาพมาดูและเก็บไว้เป็นความทรงจำอีกสักชุด

ขอบพระคุณครับ

 

 

เฮืออีโป่งนี่ไหงละ เป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมา

ไม่ทราบว่าที่ไหนเป็นต้นคิดประดิษฐกรรมเรือชนิดพิเศษนี้

สวัสดีครับ อ.ย่ามแดง

P
  • ชักอยากจะฟังเสียงเพลงอันไพเราะที่ขับร้องโดยอาจารย์แล้วสิ
  • ขอบคุณครับ

 

ขอบพระคุณพ่อครูบามากครับ

P

และนี่คือ ..บางส่วนที่ผมค้นจากเว็บไซด์นะครับ  ทำให้พอทราบเพิ่มเติมว่า เรืออีโปง เรยกอีกชื่อว่า "เรือหลุ้มโปง"  

เรืออีโปง หรือเรือหลุ้มโปง
        เป็นเรือขุดชนิดหนึ่งหัวมนแหลม และท้ายตัด ทำจากไม้ต้นตาลโดยมีวิธีการทำคือ นำโคนต้นตาลมาผ่าออกเป็นสองซีก ใช้แกลบสุมใส้จนเหลือแต่เปลือกนอก แล้วเลื่อยกระดานปิดตรงท้าย  ยาด้วยชัน  ที่ใดที่พบว่ามีต้นตาลขึ้นอยู่มาก  ที่นั่น  จะพบว่ามีการนำต้นตาลมาทำเป็นเรืออีโปงใช้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลางของประเทศไทย  เรืออีโปงเคลื่อนที่ได้โดยใช้พาย และใช้เป็นเรือที่โดยสารไปมาในครอบครัว ไม่สามารถบรรทุกสิ่งของหนักๆ จำนวนมากได้  ใช้ในบริเวณน้ำตื้น  หรือระยะทางไม่ไกลนัก  เรือชนิดนี้ทำขึ้นใช้เองได้ เทคนิคการทำก็ไม่ยุ่งยาก วัสดุที่ใช้ก็หาได้ง่าย จัดเป็นเรือประเภทไม่ถาวร และเป็นเรือพื้นบ้านอย่างแท้จริง
  • เป็นของแปลกแต่จริงนะ
  • พี่ชอบเที่ยวทางน้ำมากเลย สัปดาห์นี้ไปเกาะสุกรที่จังหวัดตรังจะเก็บภาพบรรยากาศเล่าสู่กันฟังนะคะ
  • จะฝากไปเที่ยวด้วยมั้ย?
  • เคยพบเห็นหลายปีแล้วที่ใต้ถุนบ้านเพื่อน แถวริมแม่น้ำ  จังหวัดประทุมธานี
  • แต่ขณะนี้พึ่งพบเห็นและทำให้นึกย้อนไปอดีตที่เราเคยพบเห็น และได้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น
  • ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เรือต้นตาลที่พี่พนัส ถ่ายมากจากหนองแกดำ อาจจะเป็นลำเดียวกันกับที่ผมเคยพายมาแล้ว เมื่อ 5 ปีก่อน ที่ยังชอบยิงนก ตกปลา
  • การทำนั้นยากมากครับ เลือกต้นตาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่หาได้ และยังเป็นๆอยู่นะครับ ไม่ใช่ต้นที่ถูกฟ้าผ่า แล้วนำมาผ่าครึ่งให้ได้สมมาตรกัน 1 ต้น ถ้าโชคดีก็จะทำได้ 2 ลำครับ
  • จากนั้นก็ใช้ขวาน ใช้สิ่วแซะจนได้ขนาดความหนาประมาณ 5 ซม. ตกแต่งภายในโดยหาไม่มาผาดขั้นกลาง หัวเรือ สำหรับนั่งพาย
  • เรือประเภทนี้ไม่ควรนั่งเกิน 2 คน และถ้านั่งคนเดียวต้องนั่งพายที่หัวเรือ (รากต้นตาล)

อันนี้เป็นประสบการณ์ที่เพื่อนผมเคยเล่าให้ฟังนะครับ บางทีวิธีการทำอาจแตกต่างกันไป

แจ๊ค

อากาศช่วงนี้ร้อนมากๆได้เห็นภาพหนองน้ำและเรือที่ทำมาจากต้นตาลแล้วก็ให้อยากลงไปพายเรือเล่นจัง...เพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรกเหมือนกันค่ะเรือต้นตาล..ได้ความรู้ใหม่..และขอชื่นชมชาวบ้านนะคะที่รู้จักรัก  หวงแหนและอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่นตนเอง...ขอบคุณที่มอบสิ่งดีๆอยู่เสมอ
ลืมบอกไปว่านอกจากอยากพายเรือเล่นแล้วเห็นร่มไม้แล้วก็อยากนอนเปลญวนด้วยอ่ะ...ไปเยี่ยมค่ายอย่าลืมถ่ายภาพท้องทุ่งสวยๆมาฝากเยอะๆนะคะ...ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ไม่เคยเห็นเหมือนกันค่ะ

เอ...ดูครั้งแรกแล้วเหมือนจะลอยไม่ได้เลย

กลัวน้ำจะไหลเข้าเรือน่ะคะ

อยากลองนั่งเล่นดูบ้างจังเลยค่ะ

สวัสดีครับ  พี่อัมพร
P

วันนี้ ม.นเรศวรมาศึกษาดุงาน  เพิ่งลาจากกันเมื่อเวลาประมาณเกือบ 2  ทุ่ม

นิสิต ม.นเรศวร  เก่งและบุคลิกภาพดีมากครับ  มีวิสัยทัศน์และองค์ความรู้เรื่องกิจกรรมที่ชัดเจนมาก 

....

ฝากหัวใจไปเที่ยวด้วยแล้วกันนะครับ....ช่วงนี้เงิน ๆ ทอง ๆ  วิ่งมาแล้วออกไป  (สำรองราชการ  จนไม่เหลือใช้) 

ขอให้มีความสุขกับวันพักผ่อน  นะครับ

ขอบคุณครับ  พี่อนงค์
P

ส่วนใหญ่เรือเก่า ๆ แก่ ๆ ถูกปลดระวางไปมากแล้ว  และดูเหมือนเรือชนิดนี้ก็จะใช้กันมากในแถบภาคกลาง

ตอนนี้ผมกำลังค้นคว้าข้อมูลให้นิสิตได้ศึกษา  แต่เฉพาะข้อมูลในบันทึกของการแลกเปลี่ยนก็มีประโยชน์อยู่มากโขเลยครับ

ขอบคุณแจ๊คมากครับ

เป็นความบังเอิญมากถ้าภาพที่นำมาแสดงในบันทึกเป็นเรือลำเดียวกับที่แจ็คได้นั่งมาแล้ว....

พี่ยัวไม่มีโอกาสได้นั่งได้แจวเลย  แต่ช่วงไปนิเทศเด้กก็อาจจะลอง ๆ  ดูบ้าง  เพื่อเป็นกำไรชีวิต 

ขอบคุณนะครับ...ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีคุณค่า

สวัสดีครับ...(ไม่แสดงตน)

นิสิต มมส จะลงพื้นที่แกดำในวันที่ 3 - 17 เมษายนนี้  ซึ่งคงมีรายละเอียดหลายอย่างในการขยายเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ไม่มากก็น้อย  ..

....

ถ้ามีโอกาสจะนั่งเผื่อนะครับ..

ขอบคุณเช่นกัน  ครับ

สวัสดีครับ คุณโก๊ะ...

ดูเงียบ ๆ หาย ๆ ไปสักพัก ..วันนี้ผมยังคุยกับบล็อกเกอร์เลยว่า "แฟนคลับ"  อย่างคุณโก๊ะหายไปไหนไม่รู้  ไม่คิดว่าจะมาเจออีกครั้งในวันนี้...

เป็นไงบ้างครับงานการและชีวิตช่วงนี้...หน้าร้อนก็คงเหนื่อยอ่อนได้ง่ายกว่าปกติ  แต่ยังไงซะก็ขอให้มีพลังในการใช้ชีวิตนะครับ

ผมเป็นกำลังใจให้....

และคงได้นำภาพต่าง ๆ มาฝากอีกอย่างไม่รู้จบ.

ขอบคุณครับ

คุณหมูน้อยครับ...

P

ต้นตาลกว่าจะปลูกให้โตใช้เวลาน๊านนาน  พอมาทำเป็นเรือก็คงทนถาวร  น๊านนาน...

ถ้ามีโอกาสจะนั่งเผื่อนะครับ...

...

ขอบคุณครับ...

  • หากนิสิตต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ยินดีให้ความอนุเคราะห์ และถื่อว่าได้รับเกียรติจากน้องแผ่นดินที่แนะนำนิสิตม.นเรศวร ค่ะ
  • และขอชื่นชมนิสิตม.นเรศวร ด้วยค่ะ "เก่งและบุคลิกภาพดีมากครับ  มีวิสัยทัศน์และองค์ความรู้เรื่องกิจกรรมที่ชัดเจนมาก" 

สวัสดีครับ พี่อัมพร

P

ช่วงนี้พักกลางวันจากการปฐมนิเทศนิสิตค่ายเรียนรู้คุณธรรมฯ  จึงมีเวลาโดดเข้ามาในบล็อกได้

เท่าที่ทราบ  ม.นเรศวร  ก็กำลังเริ่มทั้งมหาวิทยาลัย  หลังจากก่อนหน้านี้บางคณะก็ใช้สมุดบันทึกกิจกรรมบ้างแล้ว  

แต่ตอนนี้รู้สึกจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการว่า  ถ้าเข้าร่วมกิจกรรมไม่ครบก็ไม่จบการศึกษา

ขณะที่ มมส  ท่าน ผอ. ก็เร่งให้ผมนำเสนอเรื่องนี้เหมือนกัน  แต่ผมยังอยากทิ้งช่วงศึกษาสักระยะเพื่อศึกษาข้อดีข้อด้อยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท