สวนกระแส ตอน ศรัทธาวิจัย เกิดได้ไม่ยาก หากมีเป้าเพื่อส่วนรวม


ศรัทธาวิจัย "ศึกษาให้จริง ใจต้องมั่น ค้นให้พบ จบให้ได้" ทุกวันนี้ทำอะไรกันเพียงแค่ครึ่งเดียวของใจ ใจไม่เต็มร้อย เลยได้อะไรแบบครึ่งๆ

สวัสดีครับ

         หลังจากที่ได้ทดลองทำงานวิจัยในบางอย่าง และทำงานวิจัยจากทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว โดยเน้นทางพลังสมอง แรงกายที่ได้จากพลังจากการกินอาหาร แรงใจจากพลังใจดีๆ จากคนรอบข้าง แล้วถ่ายทอดงานลงไปบนแผ่นจินตนาการ (Imagination) โดยอยู่บนพื้นฐานความรู้ (Knowledge) โดยมาจากการประมวลผลข้อมูลและสารสนเทศที่ได้จากการรวบรวมได้นั้น ผสมเข้ากับตัวคุณธรรม จากความรู้คู่คุณธรรม (Virtue) ตลอดจนการบริหารจัดการอารมณ์ (Emotion) เพื่อนำไปสู่การวิจัยแบบหนึ่ง ที่ผมขอตั้งชื่อว่า ศรัทธาวิจัย (เข้าไปต่อยอดสูตร KIVEM ได้ที่ http://gotoknow.org/blog/surachetv/85308)

         งานวิจัยโดยทั่วไปจะดำเนินไปตามกระบวนคิดวางแผนแล้วเขียนเป็นโคร่งร่างวิจัย แล้วนำเสนอไปยังแหล่งทุน นั่นคือ จะต้องมีทุนก่อนแล้วถึงจะได้วิจัย ซึ่งบางครั้งผมมองว่า หากมีแหล่งทุนไม่กระจายที่ดีพอจะทำให้นักวิจัยบางกลุ่มต้องเบนเข็มตัวเองเพื่อวิ่งไปหาแหล่งทุน แหล่งทุนมาจากที่ไหนก็เบนไปทางนั้น ทำให้งานในส่วนที่ตัวเองทำอยู่มันได้แค่ครึ่งๆ หรือเดินไปได้แค่ครึ่งใจ

        เมื่อวานได้ข้อคิดมาหนึ่งอัน ชอบมากๆ ครับ ท่านบอกว่า "ศึกษาให้จริง ใจต้องมั่น ค้นให้พบ จบให้ได้" ทุกวันนี้ทำอะไรกันเพียงแค่ครึ่งเดียวของใจ ใจไม่เต็มร้อย เลยได้อะไรแบบครึ่งๆ

        สิ่งที่ผมมองย้อนกลับไปว่า หากเราสามารถเริ่มต้นการทำวิจัย จากทรัพยากรที่มีอยู่แล้วนั้น ในสำหรับบางสาขา ก็คงทำได้ แต่บางสาขาอาจจำเป็นต้องใช้ทุนเป็นตัวนำ แต่ไม่ใช่ว่าหากไม่ได้ทุนจะไม่ทำซะเลย คงต้องหาคนทางที่ทำได้ เพราะเอาศรัทธานำทางวิจัย

        โดยเน้นเป้าการวิจัยเพื่อเป้าหมายในการพัฒนาสังคมหรือประเทศเป็นตัวตั้ง เมื่อผลงานวิ่งไปสู่ระดับที่เกิดประโยชน์จริง แล้วค่อยของงบประมาณ หรือถ้าให้สุดยอดกว่านั้นคือ มีองค์กร หรือเอกชนเห็นความสำคัญแล้วเข้ามาหานักวิจัยเพื่อส่งเสริมการให้ทุนวิจัย ตรงนี้ ก็คงจะเกิดประโยชน์มากที่สุด แล้วความยั่งยืนจะตามมาเอง

        ปัญหาในการวิจัยปัจจุบันไม่ได้เล็กๆ แล้ว เพราะปัญหาใหญ่ขึ้น คนในสาขาต่างๆ ต้องร่วมกันช่วยแก้ปัญหาร่วมวิจัยด้วยกันตั้งแต่ระดับ ประชาชนไปยังระดับนโยบาย ชาวนาเกษตรกรมีส่วนทั้งนั้น คนงานในโรงงานก็เช่นกัน การวิจัยเชิงสหสาขา หรือการวิจัยเชิงบูรณาการมันจึงเกิด ไม่ใช่เกิดเพราะเท่ห์ หรือคำหรู อย่างปัญหาหมอกควันทางภาคเหนือ ปัญหาการกัดเซาะบริเวณชายฝั่ง ล้วนเกี่ยวข้อกับคนวิจัยมากกว่า สามสาขาเสมอ ครับ ต้องตีปัญหาให้แตก ว่าเกี่ยวข้องกับใคร แล้วใครควรเป็นแม่งานในการนำวิจัยแล้วเดินไปด้วยกันในทีมงาน ทำให้ผลมันเกิดในระดับความเป็นไปได้ แล้วเดินตามกระบวนการคิดที่วางไว้ งานวิจัยไทยจะยั่งยืนเองนะครับ ตามที่บอกว่า ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา ไทยยั่งยืน

        อย่างปัญหารถติดใน กทม. ต่อให้เราไปหาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาแก้ปัญหากี่ร้อยครั้งก็แก้ไม่ได้หรอกครับ เพราะปัญหานั้นเค้าไม่เคยมีและเราหน่ะเห็นอยู่ตลอด รู้กันว่าปัญหาเกิดจากอะไร หากเราเริ่มแก้แล้วแก้กันได้ ผมเชื่อว่าโมเดลที่ไทยคิดได้ จะสามารถใช้ได้กับทั่วโลกก็ได้นะครับ ลองคิดกันดูครับ ว่าใครเกี่ยวข้องบ้าง แล้วจะดำเนินการวิจัยอย่างไร แบบศรัทธาวิจัย ครับ

        เมื่อนักวิจัยและแหล่งทุนเจอกัน รัฐบาล หรือแหล่งทุนของรัฐบาลก็จะเป็นเพียงพี่เลี้ยงสำหรับ นักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อให้เค้าเดินไปได้ในสังคมที่เกื้อกูลกันในเรื่องการแก้ปัญหาจริงในประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก คือการวิจัยในเชิงจริยธรรม คุณธรรม มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่วนนี้ผลการวิจัยอาจจะเป็นนามธรรมเพราะอยู่ภายใน แต่สำคัญมากๆ เลยครับ  บางทีผมเองก็นึกน้อยใจแทนนักวิจัยในสายสังคมนะครับ ที่มีงบให้น้อย ซึ่งจริงๆ แล้วควรจะมีการพัฒนาและส่งเสริมต่อเนื่องครับ

        พวกเราเองในทีมก็พยายามวิ่งไปหาแนวทาง ศรัทธาวิจัยอยู่ครับ ส่วนจะไปได้แค่ไหนคงต้องลองดูกันครับ เน้นความต่อเนื่องเป็นหลัก และประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

คุณหล่ะคับ คิดว่าการวิจัยแบบ ศรัทธาวิจัย (เอาศรัทธานำการวิจัย ทุนมาทีหลัง) มันจะเป็นไปได้ไหมครับ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตครับ มีความเห็นใด พ้องหรือแย้ง เขียนได้เต็มที่ครับ เพราะผมก็เป็นนักวิจัยที่ไม่เคยขอทุนวิจัยใดๆ เลยครับ ยังประสบการณ์น้อยอยู่ครับ ยินดีทุกความเห็นจากทุกท่านครับ

ขอบคุณมากคับ

เม้ง

คำสำคัญ (Tags): #ศรัทธาวิจัย
หมายเลขบันทึก: 86240เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2007 07:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
เข้ามาชมก่อนค่ะ..(ยังไม่ได้อ่านบันทึก)..ว่าทรงผมใหม่...กวนมั๊กๆ...ค่ะ...หล่อดีจังเลย
อ่านบันทึกจบแล้วค่ะ....เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะคุณเม้ง...จะให้ผู้ปฏิบัติตัวเล็กๆทำงานเป็นทีม...มองภาพรวม...แต่ระดับประเทศก็ยังแยกส่วนกันอยู่เลย..ไม่เห็นทำให้เห็นเลยแฮะ..หรือเราตาไม่ดีมั้ง
P

สวัสดีครับ พี่กฤษณา

  • ขอบคุณครับ ผมก็พยายามฝืนเท่าที่ทำได้ครับ แต่เท่าที่ตัวเองไม่เดือดร้อนมากครับ คงช่วยกันทีมๆ เล็กก่อน แล้วค่อยๆ ต่อๆ กันขึ้นไปครับ คงดีเองครับ
  • เราทำได้ดูแลแค่ระบบรากที่เราหยั่งถึงได้แค่นั้นครับ ก็ดูแลปลายรากแต่ละแขนงให้อยู่ดีสมบูรณ์ตามสภาพแวดล้อมที่เป็นครับ
  • แม้ว่าปลายรากจะอยู่กันคนละที่แต่ทำหน้าที่ไปในทางเดียวกันคือเป้าหมายถึงผลผลิตที่งดงามของต้นไม้ต้นนั้นๆ ใช่ไหมครับ
  • สนุกในการทำงานนะครับ
  • จริงด้วยค่ะพี่ติ๋วขา...รูปนี้ อาจารย์เม้ง หล่อมากเลยค่ะ  ^__*
  • blog นี้ยาว  ขออนุญาตอ่านหลายๆรอบนะคะ
P

สวัสดีครับ พี่หนิง

  • อิๆ หล่อไม่เสร็จครับ ยังไม่ได้ทาแป้งเคลือบครับ
  • อิๆครับ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

เบิร์ดชอบคำว่าศรัทธาวิจัย..มีหลายๆผลงานที่ ไทยต้องเสียสิทธิบัตรให้ต่างประเทศโดยเฉพาะพันธุ์พืชเพราะนักวิจัยไทยไม่มีงบ..แต่ถ้าเราเป็นพี่เลี้ยงให้ชุมชนทำวิจัยเอง เราน่าจะได้อะไรดีๆขึ้นมาอีกเยอะ..และน่าจะตอบคำถามของ อ.หมอมาโนชที่เคยตั้งประเด็นไว้ว่า " ใครจะบันทึก...ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน " ( ลองตามไปอ่านที่http://gotoknow.org/blog/ponder/81808 ค่ะ ) เอ..ทำไมเบิร์ดทำลิ้งค์ไม่ได้ล่ะ..

ผู้ใหญ่วิบูลย์ ( ผู้นำชุมชนพึ่งตนเอง )  เคยประกาศไว้เลยนะคะว่า..ข้อมูลของชุมชนต้องให้คนในชุมชนเป็นผู้เก็บเท่านั้น..ไม่ใช่นักวิจัย..นักวิชาการทำโครงการเข้าไปแล้วก็จบลงที่ได้ผลงาน ส่วนชาวบ้านไม่ได้อะไร..นี่แหละค่ะที่เบิร์ดอยากเห็น

ขอบคุณที่ทำให้สมองได้ยืดเส้นยืดสายค่ะ..

P

สวัสดีครับคุณเบิร์ด

  • ขอบคุณครับผมที่สนใจคำนี้ครับ ผมก็คิดอยู่เหมือนกันครับ ตอนนี้ว่าจะบันทึกองค์ความรู้เหล่านั้นได้อย่างไรครับ ตอนนี้ผมเริ่มจะขอให้คุณพ่อ เล่าเกี่ยวกับชีวิตของท่าน และของคุณแม่ด้วย คิดว่าจะอัดลงเทปแล้วค่อยมาแกะบทเรียนชีวิตเอาไว้ แล้วเอาสิ่งเหล่านั้นออกมาเป็นบทๆ ส่วนๆ
  • ที่เกิดปัญหาทำให้ชุมชนไม่ได้รับการแก้ไขจริงๆ แม้จะมีนักวิจัยจะลงไปช่วยก็ตาม เพราะเป้าหมายคนละอย่างกันครับ ชาวบ้านก็คาดหวังว่าคนอย่างนักวิชาการจะเป็นที่พึ่งพาให้เค้าดำเนินชีวิตได้ ส่วนนักวิชาการก็มีหลายแบบหลายเจตนา
  • หลายภูมิปัญญาของชาวบ้านที่นักวิจัยเอามาแล้วไปเสนอเป็นผลงานตัวเองก็คงไม่น้อยครับ ทั้งๆที่ชาวบ้านเค้ารู้กันมากี่ชั่วคนแล้ว
  • ยกตัวอย่างเช่น การปลูกกล้วยให้เป็นแถวแล้วให้เครือกล้วยหันเครือไปในทิศทางเดียวกัน เคยลองสังเกตไหมครับ
  • หากมีเป้าหมายเดียวกันในการวิจัย เป้าจริงๆ ก็คงเกิดครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับพี่เม้ง

ผมชอบคำนี้ครับ ว่า "ศึกษาให้จริง ใจต้องมั่น ค้นให้พบ จบให้ได้"

ผมคิดว่าคนไทยนั้นมีศักยภาพไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่มีอย่างหนึ่งที่ผมไม่ค่อยเข้าใจคือคนไทยชอบคิดว่าชาติบางชาติเก่งกว่าในบางเรื่อง เช่นเรื่องวิทยการเป็นต้น

ผมอ่านหนังสือเรื่องเมืองจีนครับ เมืองจีนที่เป็นต้นกำเนิด ดีวีดีปลอม เขาบอกว่าเครื่องเล่นดีวีดีของจีนนะ ดีกว่าของอเมริกาอีก เพราะว่าอะไร เพราะว่าต้องจัดการไอ้โค้ดที่บอกว่า เครื่องนี้เล่นกับแผ่นดีวีดีโซนไหน ให้มันเล่นได้หมดทุกโซน

ผมคิดว่าการจะหวังพึ่งรัฐบาลให้มาเป็นหัวหอกการวิจัยอย่างเดียวนั้นไม่ได้ครับ จำเป็นที่จะต้องให้องค์กรเอกชนเข้ามาด้วย ที่ไต้หวัน (ถ้าผมจำไม่ผิด)เขามีวิธีการสนับสนุนการวิจัยแบบนี้ครับ เขาให้อาจารย์หรือมหาวิทยาลัยไปหาทุนจากเอกชนครับ หาได้เท่าไร รัฐจ่ายให้เท่าตัวเป็นทุนสนับสนุนให้กับมหาวิทยาลัยครับ

งานวิจัยกับงานประยุกต์จริงๆนั้นมีความแตกต่างกันพอสมควรครับ เคยมีคนพูดว่างานวิจัยเชิงประยุกต์แก้ปัญหานั้นไม่ค่อยได้รับการยอมรับและการตีพิมพ์ ต่างจากงานวิจัยแบบฮาร์คอร์หรือแบบทฤษฏีบทล้วนๆ

แต่ปัจจุบันผมเห็นงานวิจัยหลายๆชิ้น ที่เป็น case study ที่เป็นการแก้ปัญหาได้รับการตีพิมพ์เพิ่มขึ้น ผมเชื่อว่า เราคงจะเห็นการปรับตัวให้มีจุดมุ่งหมายเดียวกันระหว่านักวิจัยกับคนในชุมชนได้มากขึ้น

ท้ายที่สุดมาแปะลิงค์มารบกวนเวลาอาจารย์ให้รบกวนไปอ่านหน่อยครับ http://gotoknow.org/blog/GoReadABook/86458

เพราะผมได้อ้างชื่อพี่เม้งไว้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

P

สวัสดีครับ น้องต้น

  • ขณะที่ตอบบทความน้อง พี่ก็ได้รับเมล์ส่งมาเนื่องจากบทความนี้ได้รับการนำเสนอจากของน้องพอดี และคิดว่าน้องก็คงได้รับทำนองเดียวกัน 
  • เห็นด้วยครับ ว่านักวิจัยไทย (ชาวนาถึงชั้นผู้บริหาร) ก็ไม่ได้แพ้หรือด้อยไปกว่าต่างชาตินะครับ
  • เทคโนโลยี หรือวิทยาการเกิดได้จากการประสบกับปัญหาในสิ่งที่รอบตัวครับ แล้วปัญหานั้นได้รับการขยายในวงกว้างขึ้น ทำให้การนำสิ่งเหล่าไปใช้ มีแพร่หลายมากขึ้น จนกว่าจะเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้ร่วมกัน หรือว่าพัฒนากันขึ้นต่อๆ ไปครับ
  • บ้านเราเมืองไทย ถึงพร้อมด้วยความอุดมสมบูรณ์ ไม่มีอะไรต้องคิดวางแผนกันมาก หากเทียบกับประเทศที่เจอภาวะรอบตัวหนักๆ เช่น ฤดูกาลมี หน้าหนาวด้วย ปลูกอะไรไม่ได้ คนต้องทำโจทย์ข้อนี้กันหนักครับ เพื่อจะแก้ปัญหาว่าจะทำอย่างไรให้มีกินได้ทุกฤดูกาล เหมือนอย่างบ้านเราที่ทำให้ผลไม้หรือผลิตภัณฑ์ทางเกษตรบางอย่างมีผลผลิตตลอดปีครับ
  • สิ่งที่ นักวิจัยไทยต้องตระหนักคือ การทำงานร่วมกันเป็นทีมจะต้องเกิดเพราะคนเดียวสร้างทุกอย่างไม่ได้ และไม่สามารถรอบรู้ได้ทุกด้าน จะต้องมีสิ่งที่ไม่รู้อย่างน้อยหนึ่งอย่างแน่นอน
  • ยกตัวอย่างง่ายๆ บ้านเราเมืองไทยไม่เคยเจอปัญหาสึนามิกันมาก่อน ขณะที่ญี่ปุ่นเจอมาตลอด คนให้ความสำคัญกับธรรมชาติมาก เลยต้องศึกษาเรียนรู้ เพราะเทคโนโลยีที่เค้าจะสร้างมาเพื่ออธิบายนั้น จะช่วยให้เค้าเข้าใจสิ่งที่เกิดได้ดี
  • สำหรับเมืองไทยเราไม่เคยเจอปัญหา ทุกอย่างเราก็สับสน แต่ไทยมีพื้นฐานทางน้ำใจดี แต่ในทางการอธิบายเราไม่มีคนทำเรื่องสึนามิ เพราะตอนนั้นคือเรื่องไกลตัว มีแต่การเตือนกันเอาไว้แต่ไม่มีใครศึกษากัน
  • นั่นคือจุดเริ่มต้นของผมที่อยากจะเข้าไปลองดูซักตั้งเหมือนกัน จากกรณีศึกษาโยนหินลงน้ำก็กลายเป็นโมเดล SiTProS ที่ต้องปรับปรุงกันต่อไปครับ ลองดูสนุกๆ วันก่อนที่เค้าออกช่องเก้าครับ http://tna.mcot.net/i-content.php?clip_id=qaGaoqc=&size=56k
  • ที่ออกทีวีเหมือนว่าจะรวมหลายๆ โปรแกรมเข้าด้วยกันครับ ยังต้องปรับปรุงอีกหลายส่วนในโมเดลครับ แต่อย่างน้อย เราก็ได้เริ่มแล้วครับ สำหรับการต่อยอดก็ต้องร่วมกันทำกับหลายๆ หน่วยงาน ที่ทำให้เกิดนี้แค่จะบอกว่า คนไทยทำได้ จงสนับสนุนให้เกิด ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา ไทยยั่งยืน ครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • ตามมาให้กำลังใจและเสริมแรงคนทำวิจัยค่ะ
  • พี่ทำวิจัยร่วมกับกับทีมงานอยู่หลายเรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา เพราะอยู่ในอาชีพนี้
  • บางครั้งก็รู้สึกท้อแท้ ทดถอย ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานขั้นต้น พลังการทำงานเหือดหายเหมือนกัน เมื่อตั้งหลักได้ก็เริ่มเดินเครื่องใหม่เหมือนเครื่องยนต์นั่นละ
  • บางครั้งมีปัญหาการของบประมาณ
  • เกณฑ์มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักชำนาญการทั้งหลายมีงานวิจัย หรือเป็นทีมวิจัย อย่างน้อยปีละ 1 ชิ้น ถึงจะผ่านเกณฑ์ พี่ทำวิจัยมาทุกปี
  • คนที่ไม่ทำ เขาอยู่ได้แบบ บาย ......บาย เหมียนกัลล์
P

สวัสดีครับพี่อัมพร

  • ขอเป็นกำลังใจในการทำวิจัยเช่นกันครับ
  • อย่าได้ท้อถอยนะครับ ดำเนินตามปณิธานของพระราชบิดาครับ ผมว่าทุกอย่างก็ไปได้ด้วยดีครับ
  • สนุกในการทำงานนะครับ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

            แหมเข้ามากี่ครั้ง ก็เปลี่ยนรูปทุกครั้งเลย สงสัยมีเป็นอัลบัมให้เลือกใช่ไหมค่ะเนี่ย5555

            เห็นด้วยนะค่ะกับคำพูดที่ว่า "วันนี้ทำอะไรกันเพียงแค่ครึ่งเดียวของใจ ใจไม่เต็มร้อย เลยได้อะไรแบบครึ่งๆ" คนเราคิดจะทำอะไรต้องเต็มร้อยค่ะ  ถึงแม้ผลลัพธ์ยังกลับมาไม่ถึง 100 ก็ตาม ทำอะไรต้องเต็มที่ค่ะ  ให้กำลังใจสู้ ๆๆค่ะ เพื่อเพื่อนราณีด้วย  แต่ศรัทธาวิจัย ต้องมีทุนSupportนะค่ะ (แต่ราณีต้องมีใจSupportค่ะ) แต่ไม่เป็นไรค่ะ ทำไปเถอะค่ะ วันนี้เขาไม่เห็น พรุ่งนี้เขาไม่เห็น ซักวันเขาก็ต้องเห็น

P

สวัสดีครับคุณราณี

  • เป็นไงบ้างครับ หายไปนาน สบายดีนะครับ
  • ขอบคุณครับสำหรับข้อคิดเห็นดีๆครับ ขอเป็นกำลังใจสนับสนุนคุณราณีเพื่อนๆทีมงานด้วยนะครับ
  • ใช่ครับเป้าหมายเพื่อส่วนรวมครับ จริงๆที่ทำก็ไม่ได้เพื่อให้ใครเห็นครับ หากเกิดตามวันเวลาที่เหมาะสมคนอื่นเห็นเอง แต่ที่แน่ๆ ใจเราเห็นใช่ไหมครับ ว่าเราทำอะไรอยู่
  • ขอบคุณมากครับ สนุกในวันทำงานนะครับ

สวัสดีครับ

  • ผมไม่ได้เป็นนักวิจัย แต่เป็นนักวิจาน(ข้าว) เสียมากกว่า อิอิ
  • แต่ก็อยากให้กำลังใจแก่นักวิจัยครับ  ไทยเราจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนก็ด้วยองค์ความรู้ที่แท้จริง โดยชาวไทยเราเอง  ไม่ใช่ลอกเขามาหมด
  • รัฐบาลยุคไหนๆ ก็คงให้คะแนนกับเบอร์กับหวยมากกว่าการวิจัยอยู่แล้ว
  • สู้ต่อไปนะครับ  จากเคยอ่านประวัตินักวิทยาศาสตร์เก่งๆ ของโลก หลายท่านก็ไม่มีทุนครับ  แต่ใช้ความพยายาม อดทน ลูกบ้าเข้าใส่  ไม่แน่ใจว่าจะเรียก ศรัทธาวิจัยได้หรือไม่ แต่น่าจะได้นะ
  • เราเลยอยู่กันสะดวกสบายเหลือเกินในปัจจุบัน

ธรรมะสวัสดีครับ

P

สวัสดีครับ น้องธรรมาวุธ

  • หายไปไหนมานานคับน้องบ่าว
  • คิดถึงจังหู้
  • ใช่ครับ ศรัทธาวิจัย คือบ้าวิจัยมากกว่ามาหาทุนครับ บ้าที่จะหาคำตอบให้ออก โดยใช้ทรัพยากรที่มีที่พอจะหาได้รอบตัว
  • เอาเป็นว่าอะไรก็ได้ที่อยากทราบแล้วค้นหาให้รู้จริง โดยไม่ใช่เข้าหาเงินเป็นลำดับสำคัญ
  • สำหรับการมองแหล่งทุนเป็นที่ตั้ง ผมนิยามว่า ธุรกิจวิจัย
  • ขอบคุณมากครับ มีอะไรแย้งว่ามาได้เลยนะครับผม
  • ขอบคุณครับ
แฟนเผลอแล้วเจอกัน อิอิ
อ้อ ลืมบอกไป ผมไปเผาพี่ไว้ที่นี้ด้วย เชิญคลิก http://gotoknow.org/blog/wanpichit/86523
P

ดีครับน้องธรรมาวุธ

  • โห ไปเผาซะหน้าดำไปเลยคนเรา
  • อิๆ นั่นแน่ แฟนเจอก็เจอกันในบล็อก ร้ายจริง น้องชายคนนี้
  • โชคดีในการทำงานครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท