จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เพราะความรู้มีข้อจำกัด ทำ "จัดการจินตนาการ" ด้วยดีไหม?


ทำเรื่องการจัดการความรู้แล้ว ต่อไปคงต้องทำเรื่อง "การจัดการจินตนาการ" (Immagination Management - IM) ด้วย

Imagination is more important than knowledge. Knowledge is limited. Imagination encircles the world. Albert Einstein (1879 - 1955) 

ปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกอย่างไอน์สไตน์บอกว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เพราะความรู้มีข้อจำกัด(มีขอบเขต) จินตนาการไม่มีขอบเขต(รายล้อมโลกอยู่ทุกหนทุกแห่ง) 

ทำเรื่องการจัดการความรู้แล้ว ต่อไปคงต้องทำเรื่อง "การจัดการจินตนาการ" (Imagination Management - IM) ด้วย

ปัญหาคือทำอย่างไร? กรอบคิด, จุดมุ่งหมาย, เนื้อหา, รูปแบบ, กระบวนการ เป็นอย่างไร?

(ความคิดเกิดขึ้นจากการอ่านบันทึก เรื่องเล่าจากดงหลวง 51 การเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตั้งเป็นโจทย์ไว้ก่อน สำหรับคิดต่อและคนอื่นๆ ที่สนใจได้ช่วยกันคิด)

หมายเลขบันทึก: 85308เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2007 01:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

สวัสดีครับ อาจารย์สุรเชษฐ

          บันทึกของอาจารย์แม้จะสั้นเพียงเท่านี้ แต่ตรงประเด็น และโดนใจผมอย่างมากครับ

          ขออนุญาตอ้างถึงข้อคิดเห็นจากผู้รู้บางท่านก่อน:

          นพ.วัลลภ ปิยะมโนธรรม บอกว่า ความแตกต่างระหว่างคนบ้ากับอัจฉริยะประการหนึ่งก็คือ คนบ้าได้แต่คิดๆๆๆ ไปเรื่อย ส่วนอัจฉริยะนั้นคิดแล้วลงมือทำด้วยครับ

          ที่ยกมานี้ ไม่ใช่ว่าเป็นการดูถูกคนบ้า แล้วยกย่องอัจฉริยะนะครับ เพราะทั้งคู่ก็เป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน แต่ประเด็นก็คือ หากมีการจัดการกับจินตนาการอย่างเหมาะสม ก็จะได้ผลงานที่ยังประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม

          อีกท่านหนึ่งซึ่งผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คือ คุณประภาส ชลศรานนท์ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Work Point Entertainment และเป็นคนที่ไม่เพียงแต่มีจินตนาการสูงมาก แต่สามารถแปรเปลี่ยนจินตนาการนั้นให้เป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็นเพลง ละคร หนังสือ ฯลฯ

          คุณประภาสฯ บอกว่า ฮีโร่ของท่าน (เช่น ไอน์สไตน์) นอกจากจะมี IQ สูงแล้ว ยังต้องมี EQ สูง คือ จัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ หากทำไม่ได้ ก็จะจมหายไปกับประวัติศาสตร์

          เอาไว้ลองฟังความเห็นของเพื่อนๆ ใน GotoKnow ท่านอื่นดูบ้างครับ

ขอขอบคุณที่เปิดประเด็นที่น่าสนใจนี้ครับ :-)

  • พอดีผมไปอ่านแล้วเสียบยอดต่อจากที่ท่าน อาจารย์สุรเชษฐ ได้กล่าวไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/dongluang-1/84742
  •  

  • ผมก็ชอบความเห็นนี้ด้วยคนครับ การจัดการจินตนาการ เท่ห์ชะมัด
  • แต่ต้อง มี ตัวการจัดการความรู้ด้วยครับ นั่นคือ จะต้อง มี เค็ม(KM) + อิ่ม(IM)
  • ได้สูตรใหม่คือ สูตร เค็มอิ่ม
  • เมื่อจัดการความรู้ให้ถึงขึ้นที่เค็ม เต็มที่แล้ว ก็ต้อง มี อิ่ม ตามมาด้วยครับ เพราะจะทำให้ อิ่มนั้น กลับไปเค็มได้อีก วนเวียนแล้วก้าวไปยิ่งขึ้น
  • แต่ IM แบบไม่มี KM นี่จะออกมาเป็นอย่างไรครับ
  • พอจะไหวไหมครับ แบบนี้ เรียกว่า IM หรือว่า มั่วครับ
  • ผมว่าการวิจัยต่อยอดส่วนใหญ่ ก็มีการฝั่ง IM เข้าไปข้างในแล้วครับ เพียงแต่เราจะทำอย่างไรให้พัฒนาไปในทางที่ใช่เลย
  • อาจารย์สุรเชษฐ

    ว่าจะจำวัดแล้ว เห็นอาจารย์เม้ง สร้างสูตรขึ้นมาก็ต่อยอดอีกนิด

    เสนออีกตัวครับ การจัดการคุณธรรม  virtur Management (VM) 

    นั่นคือ มีความรู้ มีจินตนาการแล้ว ก็ต้องมีคุณธรรมกำกับด้วย ....แต่คุณธรรมมีหลากหลาย เราจะจัดการอย่างไรให้เป็นหนึ่งเดียว ?

    KM คือ เค็ม

    IM คือ อิ่ม

    VM คือ ว่าง หมายถึง ไม่ไปยึดถือประเด็นใดเป็นสำคัญ...

    รวมความ เอาสามตัวแรกมาก็จะได้ KIV

    KIV Management การจัดการความรู้ จินตนาการ และคุณธรรม ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

    • จะจัดการความรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร ?
    • จะใช้จินตนาการเพื่อให้ความรู้ขยายตัวได้อย่างไร ?
    • จะใช้คุณธรรมเข้าไปควบคุมความรู้และจินตนาการให้เกิดความเหมาะสมได้อย่างไร ?

    สรุปความว่า ได้ทฤษฎีใหม่แล้วครับ

    ....555....

    เจริญพร

     

    • นมัสการหลวงพี่ และเรียนอ.สุรเชษฐ
    • ฮ่าๆ ต้องหาตัวอย่างมาจัดการกันแล้วครับ
    • เข้าท่าเลยครับ คราวนี้ ช่วยกันต่อยอดนะครับ
    • เราต้องเพิ่มบทต่อยอดของท่าน ไอน์สไตน์แล้วครับ จะเขียนว่าไงดีครับ
    • Imagination is more important than knowledge. Knowledge is limited. Imagination encircles the world. Albert Einstein (1879 - 1955) 
    • เสียบยอดกันได้เลยครับ ตุ๊กตาเช่น
    • Imagination is more important than knowledge, but vitur. Knowledge is limited, but Imagination. Imagination encircles the world with knowledge and vitur. The 2nd modification of Albert Einstein (1879 - 1955)
    • เป็นไงครับ มั่วได้เรื่องเลยครับ งานนี้
    • พิมพ์ผิดครับ vitur เป็น virtur 
    • Imagination is more important than knowledge, but virtur. Knowledge is limited, but Imagination. Imagination encircles the world with knowledge and virtur. The 2nd modification of Albert Einstein (1879 - 1955)
    • 555 กลับไปเช็คอีกรอบ อ้าวแล้วกัน ผิดครับ ต้องเป็น Virtue 
    • Imagination is more important than knowledge, but virtue. Knowledge is limited, but Imagination. Imagination encircles the world with knowledge and virtue. The 2nd modification of Albert Einstein (1879 - 1955), 2007.
    • ถกกันสนุกๆ แต่เอาจริง นะครับ

    มีความเห็นแย้งนิดหน่อย...น่าจะใช้สำนวนดังนี้

    • จินตนาการสำคัญกว่าความรู้. เพราะความรู้มีข้อจำกัด แต่จินตนาการไร้ข้อจำกัด. เพื่อให้สองอย่างนี้เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ก็ต้องใช้จินตนาการเข้าไปช่วยขยายขอบเขตของความรู้ให้กว้างออกไป.
    • เมื่อความรู้และจินตนาการเกื้อหนุนซึ่งกันและกันแล้ว ก็จะค่อยๆ ขยายขอบเขตออกไป. และต้องมีคุณธรรม คอยกำกับเพื่อประเมินค่าและตรวจสอบ.
    • เพราะถ้าความรู้และจินตนาการปราศจากคุณธรรมเข้าไปคอยกำกับแล้ว ก็จะเติบโตไร้ทิศทางและอาจเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ

    ดังนั้น จะต้องมี วิธีการจัดการ สิ่งเหล่านี้ให้สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกัน

    นั่นคือ  KIV Management การจัดการความรู้ จินตนาการ และคุณธรรม

    เจริญพร

    • ฟังดู เป็นเหตุเป็นผลดีครับ และเข้ากับยุคสมัยของสถานการณ์สังคมดีมากครับ
    • อาจจะต้องขยายความในรายละเอียดมากขึ้น ดังที่คุณสุรเชษฐ์ได้ตั้งเป็นประเด็นไว้น่ะครับ
    • คือ ปัญหาคือทำอย่างไร? กรอบคิด, จุดมุ่งหมาย, เนื้อหา, รูปแบบ, กระบวนการ เป็นอย่างไร?
    • ถ้าเอาสถานการณ์ปัจจุบัน คือ "การร่างรัฐธรรมนูญ" มาเป็นโจทย์
    • KM คืออะไร
    • IM มีอะไรบ้าง และ
    • VM เป็นอย่างไร
    • น่าสนใจขยายความนะครับ
    • โอ..น่าสนใจมากค่ะ  ต้องขอบพระคุณ อ.เม้งที่แนะนำให้พี่หนิงได้เข้ามา เรียนและรู้  แต่จะเอาอะไรมาแลกเปลี่ยน ดีน๊า...
    • KIV M นี่คือ KIV Management การจัดการความรู้ จินตนาการ และคุณธรรม
    • กิจกรรมนี้ คลิกที่นี่ ใช้ได้หรือป่าวค่ะ

    ไอน์สไตน์เป็นนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้สร้างความรู้ด้านฟิสิกส์ขึ้นจากการสังเกตค้นคว้าทดลอง รวมทั้งทดลองกับสิ่งที่ในสมัยของท่านไม่มีเครื่องมือที่จะมองเห็นด้วยตาได้ เช่น อะตอม (กระทั่งสมัยนี้ก็ยังไม่มีใครเคยเห็นอะตอบ หรือว่ามีกล้องขยายที่มองเห็นได้แล้ว? ไม่แน่ใจ หากมีนักวิทยาศาสตร์อยู่ในบล๊อกนี้ผ่านมาอ่านก็ช่วยบอกด้วยครับ) ความรู้หลายอย่างต้องใช้ "จินตนาการ"  ไอน์สไตน์ก็ "เห็น" อะตอมอยู่แต่ในจินตนาการเท่านั้น ถ้าไม่มีจินตนาการก็ไม่เห็น แต่ไม่ใช่จินตนาการเพ้อฝันอย่างไม่มีหลักการ ไม่มีเหตุมีผล ไม่นำไปสู่กระบวนการค้นว้าทดลองปฏิบัติแล้วสรุป (ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ครับ) ดังทฤษฎีสัมพันธภาพอันยิ่งใหญ่ของท่านที่มีสมการทางฟิสิกส์ที่เราคุ้นเคย E = mc2 (พลังงานเท่ากับมวลคูณด้วยความเร็วของแสงยกกำลังสอง) พิสูจน์ให้เห็นความสำคัญของจินตนาการต่อการสร้างความรู้ใหม่ เพราะยังไม่มีใครในโลกใบนี้สามารถเคลื่อนย้ายมวลใดๆ ด้วยความเร็วเท่าแสงยกกำลังสองได้ นอกจากในหนัง StarTrek

    ดังนั้นที่ท่านบอกว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้นั้น" ท่านน่าจะหมายถึงอย่างที่พระมหาชัยวุฒิสรุปว่า จินตนาการเข้าไปช่วยขยายขอบเขตของความรู้ให้กว้างออกไป. เมื่อเป็นดังนี้ จุดมุ่งหมาย ของการจัดการจินตนาการก็น่าจะเพื่อขยายของเขตของความรู้

    จอห์น ดิวอี้ เป็นปราชญ์ด้านการศึกษา ท่านก็บอกว่าความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเกิดจากความกล้าหาญใหม่ของจินตนาการ ("Every great advance in science has issued from a new audacity of imagination." - John Dewey)

    คุณเม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ดูเป็นคนคุยสนุก เชื่อมโยงคำการจัดการความรู้กับการจัดการจินตนาการ ออกมาเป็น "เค็มอิ่ม" ดีนะที่ไม่สร้างสมการ K = iv(ความรู้ = จินตนาการคูณด้วยคุณธรรมยกกำลังสอง) ออกมา (เขียนสนุกๆ นะครับ ไม่ได้มีความหมายอะไร)

    หากจะใช้คำที่สะท้อนกระบวนการแบบวิทยาศาสตร์จากจินตนาการสู่ความรู้ใหม่ ก็คงต้องขออนุญาตเปลี่ยนคำของคุณเม้งโดยกลับเสียใหม่เป็น "อิ่มเค็ม" คืออย่างไรเสียก็ยังคงเอาเรื่องของความรู้เป็นจุดมุ่งหมาย โดยใช้จินตนาการเป็นตัวช่วย

    พระคุณเจ้าได้ให้สติว่าต้องมี VM มาจัดการกับอิ่มเค็มด้วย เพื่อ ใช้คุณธรรมเข้าไปควบคุมความรู้และจินตนาการให้เกิดความเหมาะสม ผมก็เลยคิดว่ารูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างจินตนาการ(I) กับความรู้ (K) และคุณธรรม (V) ซึ่งเป็นตัวควบคุม อาจแทนด้วยภาพ(โมเดล)คล้ายตัวอักษร H ในภาษาอังกฤษ โดยเส้นตั้งข้างซ้ายคือจินตนาการ เส้นตั้งข้างขวาคือความรู้ ส่วนเส้นนอน(แกนนอน)คือคุณธรรมที่เป็นตัวยึดโยง-ตัวร้อย(ให้มั่นคง)

    • กราบสวัสดีท่าน ผู้ร่วมจินตนาการเพื่อแสวงหาความรู้คู่คุณธรรม ทุกท่านครับ
    • ท่านอาจารย์ สุรเชษฐ ล้ำลึกจริงๆครับ คาราวะด้วยน้ำใจไมตรีหนึ่งเหยือกครับ
    • สำหรับ อิ่มเค็มหรือเค็มอิ่ม คงต้องวนลูปกันหรือเปล่าครับ อิๆ โดยมีคุณธรรมกำกับ
    • งั้นผมจะขออธิบายเพื่อให้สูตรใหม่ของอาจารย์ใช้ได้ครับโดยสนับสนุนจากประพจน์ต่อไปนี้
    • ขอยกตัวอย่างประพจน์เหล่านี้ครับ
    • ความรู้คู่คุณธรรม
    • ความรู้ขึ้นกับจินตนาการที่ดี
    • ความรู้ต้องใช้คุณธรรมเยอะ เพื่อมาควบคุมในการใช้ความรู้ด้วย
    • K = ivก็น่าจะเป็นไปได้ครับ นั่นคือ ความรู้ เกิดจากจินตนาการที่ล้ำลึกและถูกควบคุมด้วยคุณธรรมกำลังสอง เพื่อให้ความรู้นั่นถูกนำไปใช้ในทางที่ถูกครับ
    • ดังนั้น สูตรนี้ เอาไปใช้ได้ครับ
    • สำหรับคุณธรรม มันเป็นนามธรรม จินตนาการก็เป็นนามธรรม ความรู้ก็เป็นนามธรรม
    • เมื่อได้ความรู้ K แล้ว ก็ต้องไปผ่านกระบวนการประยุกต์ใช้ A=Apply ก็จะกลายเป็นรูปธรรมได้ด้วย
    • ดังนั้นก็ต้องประยุกต์ ความรู้ K ให้อยู่ในรูปที่เป็นรูปและนามได้เช่นกัน เพื่อให้เกิดการจับต้องและสัมผัสได้ทั้งกายและจิต
    • ขอบคุณมากครับ
    • เฟื่องไปไหมครับ อิๆ
    • ขอบคุณครับ ที่เปิดประเด็นให้ ผมมั่วไปได้ครับ

    ผมว่าคุณเม้งไม่ได้ "มั่ว" หรอกครับ

    ตามความเข้าใจผม มั่วหมายถึงทำอะไรอย่างไม่มีกรอบคิด หลักการ และข้อมูล แต่คุณเม้งไม่ได้ทำอย่างนั้น

    สิ่งที่คุณเม้งทำคือพยายามสร้างตัวแบบ(โมเดล)ของความสัมพันธ์ระหว่างจินตนาการ ความรู้ และคุณธรรม โดยคุณเม้ง (รวมทั้งท่านอื่นๆ ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ผมเปิดขึ้นมา) พยายามช่วยกันวิเคราะห์อยู่ครับ หากทำไปเรื่อยๆ ก็อาจจะได้สมมุติฐานบางอย่างที่นำไปทดลองปฏิบัติต่อไป หากวันหนึ่งสุกงอมพอก็สรุปเป็นทฤษฎีได้

    สำหรับผมแล้วการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแล้วสามารถสรุปและอธิบายออกมาเป็น "คำ" ที่เป็นนามธรรมได้มีความหมายมากครับ โดยเฉพาะในกระบวนการสร้างความรู้ของแต่ละคน

    สวัสดีค่ะ อ.สุรเชษฐ

    อ่านแล้วสนุกดีค่ะ เบิร์ดมาตามคำแนะนำของคุณเม้งเพราะเบิร์ดเขียนเรื่องความว้าเหว่ทางจิตวิญญาณ..คุณเม้งก็เลยแนะนำให้เข้ามาดูบล็อกของอาจารย์

    KIV  Management น่าสนใจมากค่ะ ถ้าดูแล้วก็จะมีทั้ง ความรู้ + จินตนาการ + คุณธรรม เอาอารมณ์ ( Emotion  Management ) เข้าไปอีกตัวมั้ยคะจะได้ถึงพร้อมทั้งกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณเลย..

    กลายเป็น KIVE  Management , KM = เค็ม , IM = อิ่ม , VM = ว่าง และ EM = เอม ( ไม่ใช่จุลินทรีย์ชีวภาพแต่อย่างใด )

    ขอบคุณค่ะที่ทำให้จินตนาการพุ่งปรี๊ดเลย..

    • ดีครับดี ดูจะค่อยๆ สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ
    • ช่วยขยายความตัว E หน่อยครับคุณเบิร์ด เพื่อจะได้เห็นชัดเจนขึ้นว่าตัว E จะอยู่ในตำแหน่งไหน อย่างตัว I สำคัญตรงที่ช่วยขยายขอบเขตให้ตัว K ให้กว้างไกลลุ่มลึกขึ้น ตัว V ก็ชัดเจนว่าจำเป็น มี K ทางวิทยาศาสตร์สูงแต่ไม่มี V เลยทำระเบิดปรมณูไปทิ้งใส่บ้านเมืองคนอื่น ฆ่าหมู่ชาวบ้านทีเดียวเป็นแสนเป็นล้านคน ผู้นำมี K ทางบริหารจัดการสูงแต่ใช้ K ไปโกง ไปแสวงแต่ประโยชน์เข้าตัวเองและพวกพ้อง ก็สร้างปัญหาให้บ้านเมือง ตัว V จึงสำคัญมาก
    • นอกจาก E แล้วยังมีตัวอื่นอีกไหม เช่น ตัววินัย (D) นี่จะเกี่ยวข้องและมีบทบาทไหม? อย่างไร?  
    • ผมคิดว่าเมื่อ K=iv2 หรือ K=ive แล้ว K จะแปรรูปไป  ไม่ใช่ K ตัวเดิมนะครับ จะเป็น Kd=kiveเพราะมันจะเป็น ความรู้ที่พึงประสงค์ หรือ Desire Knowledge หรือเป็นความรู้ที่ถูกยกระดับไป เป็นความรู้ที่เหมาะสม ที่ปรารถนา ที่สอดคล้องต่อสังคมอุดมคติ
    • ความรู้ปฐม ---> เป็นพื้นฐานจินตนาการ---->ควบคุมด้วยคุณธรรม และผสมผสานด้วยอารมณ์ ทั้งหมดเป็นลูป อย่างน้องเม้งว่า แต่การย้อนกลับมาจะเป็นขดลวดสปริง ที่ ความรู้พื้นฐานถูกยกระดับขึ้นเป็น ความรู้ที่พึงประสงค์ไปแล้ว แล้วเข้าสู่ cycle ใหม่ต่อไป
    • ทุกอย่างถูกเวลาพัฒนาการ ไม่ย้อนกลับ  ทุกช่วงเวลาเกิดสภาพใหม่ และเรื่องใหม่ครับ 
    • โอ้โห สุดยอดจริงๆครับ แวะเข้ามาดูอยู่บ่อยครับ เพราะอยากเห็นคนมาเสียบยอดครับ
    • ไม่ธรรมดาครับ หาตัวสำคัญมาใส่ให้ครบ เดียวจะเขียนพวก การทำซ้ำใส่ลงไปครับ ทำซ้ำแต่ได้พัฒนาการของความรู้ พัฒนาการของคุณธรรม พัฒนาการของจินตนาการ พัฒนาการของอารมณ์ ไปอย่างต่อเนื่อง
    • น่าสนใจจริงๆครับ

    เข้ามาลงชื่อว่าติดตามอยู่

    เจริญพร

    สวัสดีค่ะ อ.สุรเชษฐEmotion ในความหมายของเบิร์ด = ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง  สามารถเผชิญความคับข้องใจในชีวิตได้ดี  มีการแก้ปัญหาเป็นระบบจึงสามารถแสวงหาความสำเร็จและมีความสุขในชีวิตได้โดยง่าย..ไม่ต้องพึ่งพา Brand ต่างๆในการแสวงหาความหมายของจิตวิญญาณ..ถ้ากล่าวโดยสรุปก็คือ ความฉลาดทางอารมณ์หรือความสามารถทางอารมณ์ ( Emotional Quotient ) ที่ทุกๆฝ่ายกำลังพยายามผลักดันอยู่ตอนนี้นั่นแหละค่ะ..ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับ K = น้ำมันเชื้อเพลิง  I = น้ำมันเครื่อง  V = พวงมาลัย และ E = เบรค นั่นแหละค่ะ..ขอบคุณที่ทำให้เบิร์ดรู้สึกสนุกกับการคิดต่ออีกค่ะ. 

    ขอบคุณคุณเบิร์ดที่ช่วยอธิบายความหมายของตัว E ครับ

    ตัว EQ นี้ผมเคยได้ยินมาตอนไปประชุมผู้ปกครองที่โรงเรียนลูก โรงเรียนเชิญนักจิตวิทยามาบรรยายให้ผู้ปกครองฟัง ซึ่งฟังแล้วเข้าบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง หลังๆ มีคนพูดถึงตัว Q (Quotient) กันแทบทุกด้าน นอกจาก IQ ที่เป็นระดับความฉลาด (Q ตัวแรกที่ได้ยิน) ก็มี WQ - Wisdom Quotient (ระดับปัญญา), KQ - Knowledge Quotient (ระดับความรู้), SQ - Spiritual Quotient (ระดับจิตวิญญาณ) ซึ่งแต่ละอันก็พยายามสร้างเกณฑ์วัดของเขา

    คุณเบิร์ดครับ "การพึ่งพา Brand ต่างๆ ในการแสวงหาความหมายของจิตวิญญาณ" คืออะไรครับ

    ส่วนความสามารถทางอารมณ์ (EQ - ตัวย่อทำให้นึกถึงสามเณรน้อยอีคิวซัง) แต่ก็พอเข้าใจจากที่คุณเบิร์ดอธิบายว่า EQ คือความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ดีในสถานการณ์ต่างๆ (ผมเข้าใจถูกใช่ไหมครับ) 

    ดูเหมือนคุณเบิร์ดจะชวนให้มองความสัมพันธ์ของ K I V และ E เป็นแบบรถยนต์ (นึกถึงปลาที่เปรียบกันมากในวิชาการจัดการความรู้) ก็เป็นอีกมุมมองที่น่าสนใจ(มากๆ)ครับ กรุณาอธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับว่าทำไมจึงเปรียบเทียบอย่างนั้น เช่นทำไมในการขับเคลื่อนรถ K จึงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ทำไม I จึงเป็นน้ำมันเครื่อง ไม่เป็นหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง ฯลฯ ขอบคุณครับ

    น่าสนใจมากครับ และเห็นด้วยอย่างยิ่งครับว่า เราต้องส่งเสริมเรื่องจินตนาการกันให้มากๆ   ชาวบ้านจริงๆ แล้วเขามีจินตนาการกันสูงนะครับ คนที่มีจินตนาการต้องมีความกล้าหาญเป็นแรงผลักดันครับ นักวิชาการ ผู้รู้ในระบบทั้งหลายจะถูกกรอบแห่งความรู้ กฏ กติกาที่ตนสั่งสมความรู้มาทำให้จินตนาการเหือดหายไปหมดครับ   ผมเคยอ่านบทความที่คุณซูม ในไทยรัฐเชียนเมื่อหลายปีก่อนแล้วประทับใจ เขาตั้งข้อสังเกตว่า การประดิษฐ์อะไรที่ใหม่ๆ และมีประโยชน์จริงๆ ในบ้านเรามาจากชาวบ้านเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้มากจากอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนะครับ   เขายกตัวอย่างหลายเรื่องซึ่งผมจำไม่ได้แล้ว

    เลยทำให้คิดว่า อีกหน่อย อาจเหมือนกับตอนนี้ที่เรามอง information ด้วยสายตา ดูแคลน ว่ามมันต้อง knowledge สิ จึงจะนำไปสู่ wisdom   อีกหน่อยเราก็อาจมอง knowledge ว่ามันมีข้อจำกัดด้วยบริบทที่มันผูกติดอยู่ ทำให้เราก้าวไปไม่ถึง wisdom ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดปัญญาจนสามารถสลัดบริบททิ้งไปได้   การเสริมสร้างจินตนาการอาจจะเป็น fast track ไปสู่ wisdom ครับ

    ข้อคิดเห็นต่อไปคือ ถัาจะสร้าง model ของ imagination management แล้ว ก็ต้องก้าวให้พ้นกรอบเดิมที่เราคุบกันเรื่อง KM ครับ เพราะมันเป็นปฏิบัติการในคนละมิติกันเลยครับ   ถ้าไปติดกับรูปแบบ KM ก็จะผิดฝาผิดตัวไป

    ปัญญาชนคนไทยเรา เป็นโรค Imagination Deficiency Syndrome (IDS) กันอย่างรุนแรง ด้วยความที่เติบใหญ่มากับระบบท่องจำ และไม่เห็นคุณค่าของการค้นหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  หากแต่ให้คุณค่ามากกับความรู้สำเร็จรูป โดยเฉพาะความรู้ที่ import มาจากตะวันตกครับ 

    นี่จัดว่าเป็น topic 4 ดาวครับ !!!

     

    สวัสดีค่ะ อ.สุรเชษฐ

    เบิร์ดต้องขออภัยที่ ความเห็นคราวที่แล้วเบิร์ดใช้พิมพ์ใน word ..พอ copy มากลับขาดๆหายๆ..เบิร์ดอ่านแล้วยังอดหัวเราะไม่ได้เลยค่ะ..

    คงต้องเริ่มที่.. Q ต่างๆที่อาจารย์พูดถึงก่อน..เบิร์ดอาจเป็นคนที่ไม่ใส่ใจกับศัพท์ทางวิชาการ..เพราะเบิร์ดมองว่าเมื่อเราบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้..เราก็จะกำหนดความหมายของมันเพื่อกำหนดขอบเขตของมันต่อไป..และเมื่อใช้ไปมากๆเข้าเราก็จะคุ้นเคยกับสิ่งนั้นๆ จนเกิดความเคยชินและก็ " ติด " กับกรอบที่เขียนขึ้นนั้นต่อไปอีก..

    ส่วน " จินตนาการ " เบิร์ดมีความเห็นคล้ายๆกับ อ.มาโนชว่า " จินตนาการ " เป็นสิ่งที่กว้างไกลไร้ขอบเขตเพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์มีอยู่ในตัวและแต่ละคนก็มีแตกต่างกัน..โดยส่วนตัวเบิร์ดเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับจินตนาการ ( แต่ไม่อัจฉริยะเท่าไอน์สไตน์ ) เพราะรู้สึกว่าใครที่มีจินตนาการแล้วสามารถนำจินตนาการนั้นๆมาทำให้เป็นจริงได้..คนนั้นเก่งมาก..ก็เลยมองว่าถ้าเราจะมี IM คงต้องมองในอีกรูปแบบหนึ่งที่ต่างจาก KM แล้วสิ่งที่อยู่ในความเคยชินของเบิร์ดคือ " รถ " มากกว่าปลา..ที่ว่า I = น้ำมันเครื่องนั้น เบิร์ดตกคำว่า " หัวเชื้อ " ค่ะ.. แต่พอนึกอีกทีก็เริ่มไม่แน่ใจกับศัพท์ที่ถูกต้อง..เอาเป็นว่าเบิร์ดขออธิบาย แล้วอาจารย์ช่วยบัญญัติศัพท์ให้เบิร์ดด้วยนะคะว่าควรเป็นอะไร ( ความรู้เรื่องรถจำกัดอยู่แค่การขับเท่านั้นเอง ).. จินตนาการในความหมายของเบิร์ดคือ การทำให้รถวิ่งได้เร็วและแรงมากขึ้น  ทุกส่วนของเครื่องยนต์สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ..แต่ก็นั่นแหละค่ะ รถ..ที่เบิร์ดสมมุติขึ้นก็เป็นส่วนหนึ่งของจินตนาการของเบิร์ดเช่นเดียวกัน.. ^ ^

    มาถึง.."การพึ่งพา Brand ต่างๆ ในการแสวงหาความหมายของจิตวิญญาณ" ..เบิร์ดมองว่าสังคมปัจจุบันถ้าใช้คำคุณวีร์ก็คือการบ้า brand ( ที่ไม่ใช่ซุปไก่สกัด ) และยึดกับ brand เช่น Mercedes , BMW , LV , Nokia ฯลฯ จนถือเป็นสิ่งที่ทำให้ " รู้สึก " หรือ " คิด " ว่าตนเองมีคุณค่า ความหมาย และเกิดความสุขสงบเมื่อได้ครอบครองสิ่งเหล่านี้ จนถือว่าสิ่งนี้แหละคือจิตวิญญาณ..  จนหลงลืมมิติทางจิตวิญญาณที่เน้นการค้นคว้า พิสูจน์จนเกิด " ปัญญา " ในการหลุดพ้นด้วยตนเอง..

    ขอบคุณคุณเบิร์ดครับที่ช่วยอธิบายเพิ่มเติม

    ส่วนความเห็นของคุณหมอมาโนชล้วนเป็นประเด็นที่คุณหมอใคร่ครวญมาจนตกผลึก(ทางความคิด) ซึ่งชวนให้คิดต่อทั้งสิ้น

    • ชาวบ้านมีจินตนาการสูง
    • คนที่มีจินตนาการต้องมีความกล้าหาญเป็นแรงผลักดัน
    • นักวิชาการ ผู้รู้ในระบบจินตนาการเหือดหายเพราะกรอบ กฏ กติกาที่สั่งสมมา
    • Knowledge มีข้อจำกัดด้วยบริบทที่มันผูกติดอยู่ ทำให้เราก้าวไปไม่ถึง wisdom
    • Wisdom เป็นภาวะที่เกิดปัญญาจนสามารถสลัดบริบททิ้งไปได้
    • การเสริมสร้างจินตนาการอาจจะเป็น fast track ไปสู่ wisdom
    • ถ้าจะสร้าง model ของ IM ก็ต้องก้าวให้พ้นกรอบเดิมของ KM ที่คุ้นเคย ถ้าไปติดกับรูปแบบ KM ก็จะผิดฝาผิดตัว
    • ปัญญาชนคนไทยเป็นโรคจินตนาการบกพร่อง (Imagination Deficiency Syndrome - IDS) อย่างรุนแรง เพราะเติบโตมากับระบบท่องจำ ไม่เห็นคุณค่าของการค้นหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้คุณค่ามากกับความรู้สำเร็จรูป โดยเฉพาะที่นำเข้าจากตะวันตก

    ผมสะดุดใจกับเรื่องปัญญา(wisdom) ผมเข้าใจว่า Information และ Knowledge ตอบคำถามได้ในระดับ What และ How แต่ Wisdom ตอบลึกลงไปถึงระดับ Why อย่างที่ไอน์สไตน์อธิบายพฤติกรรมของอะตอมได้ (เริ่มจากการใช้จินตนาการ) นำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ นวัตกรรมใหม่มากมาย เมื่อเข้าถึง Why ก็กลับมาตอบคำถามที่ไม่รู้ในระดับ How ได้อีกมากมาย รวมทั้งใช้แก้ปัญหาที่ไม่เคยพบที่ Knowledge แก้ไม่ได้ เพราะรู้เป็นเรื่องๆ - โดยเฉพาะจากการท่องจำความรู้สำเร็จรูปเป็นเรื่องๆ แบบแยกส่วน (ตัวอย่างมากมายในวงการแพทย์ที่มุ่งรักษา"โรค" ไม่รักษา"คน")

    ไม่ทราบว่านอกจากคุณเบิร์ดแล้ว ท่านอื่นๆ คิดอย่างไรกับประเด็น(ที่ลึกซึ้ง)ของคุณหมอมาโนช

     

    • น่าสนใจมากทีเดียวครับ ผมเข้าๆ ออกกับบทความนี้มาหลายๆ รอบเหมือนกันครับ เพราะตรงนี้อาจจะเป็นตัวบ่มเพาะ แนวทาง กระบวนการไว้ในสมอง เพื่อเปิดหน้าต่างบานใหญ่ทางจินตนาการ I ผ่านการควบคุม ทั้ง V, E ทำให้ตัวองค์ความรู้ K เดินไปอย่างมีระบบ
    • อาจจะลองคิดหลักสูตรจินตนาการศาสตร์ ว่าด้วยกระบวนการคิดแบบต่อยอดและฝันจากสิ่งที่เห็นในด้านต่างๆ แล้วเอาไปเกาะยึดกับตัววิชาต่างๆ เกาะยึดกับตัวผู้สอนดูก็น่าสนใจครับ ในการผลิตสมองไทยให้หลุดไปจากระบบการท่องจำ
    • ผมเองชอบคณิตศาสตร์ แต่ผมเบื่อกับการท่องสูตรมากๆ ผมจะชอบที่มาแล้วเอาหลักการไปจับ แล้วนั่งเขียนสูตรได้เป็นหน้าๆ แบบนี้ผมรู้สึกว่าเรียนแล้วคุ้ม เพราะผมเป็นคนขี้เกียจท่องจำ
    • ผมมองว่าสมองคนเราภายในจะมี หน่อจินตนาการฝังอยู่ครับ เพียงแต่เราจะให้ปัจจัยในตัวเรา ประกอบกับปัจจัยภายนอกนั้นมาหล่อเลี้ยงหน่อจินตนาการนั้นได้อย่างไร ให้เจริญงอกงาม
    • เด็กไทยหลายๆ คนที่มีหน่อจินตนาการในสมองดีๆ แต่อาจจะโดยเด็ดยอดหน่อทิ้งทำให้หน่อจินตนาการหดหาย ไปก็มีเยอะครับ
    • ผมเห็นด้วยกับเรื่องจินตนาการ และไม่มีผิดหรือถูก แต่จะเกิดประโยชน์เมื่อเกิดการ Implementation ออกมาให้กลายเป็นตัวที่จับต้องได้ ก็จะเกิดเป็นผลของจินตนาการและผลของความรู้ ต่างๆ ให้เราชื่นชมกันครับ
    • ขอบพระคุณทุกๆ ความเห็นมากๆ นะครับ

    สวัสดีค่ะ อ.สุรเชษฐ

    เบิร์ดชอบเรื่องนี้นะคะ..เพราะรู้สึกว่าตอบคำถามเรื่องการขาดหายของจินตนาการจากระบบการศึกษาได้ดี..

    เด็กน้อย..

    เมื่อเด็กน้อยไปโรงเรียนครั้งแรก..

    เช้าวันหนึ่ง..เมื่อเด็กน้อยเข้าห้องเรียนได้ครู่หนึ่ง

    ครูพูดว่า " วันนี้เราจะวาดรูปกัน "

    " ดี " เด็กน้อยคิด..เขาชอบวาดรูป เขาวาดได้ทุกอย่าง

    แต่ครูบอกว่า..

    เดี๋ยวก่อน..ยังเริ่มไม่ได้  เธอรอจนทุกคนพร้อม

    " เอาล่ะ " ครูพูด..เราจะวาดรูปดอกไม้

    " ดี " เด็กน้อยคิด..เขาชอบวาดดอกไม้ และเขาเริ่มวาดดอกไม้แสนสวยด้วยสีเทียนสีชมพู สีส้ม และสีน้ำเงิน

    แต่ครูพูดขึ้นอีกว่า

    " เดี๋ยวก่อนครูจะวาดให้เธอดูก่อน "  ..และเธอก็ลงมือวาดดอกไม้บนกระดานดำ ..ดอกสีแดง ก้านสีเขียว 

    " นี่ไง " ครูกล่าว.." เอาล่ะทีนี้เริ่มได้ "

    เด็กน้อยมองดอกไม้ของครูแล้วมองดอกไม้ของตนเอง..เขาชอบดอกไม้ของเขามากกว่าของครู

    ในไม่ช้า

    เด็กน้อยเริ่มเรียนรู้ที่จะรอ..และเฝ้าดู และทำทุกอย่างตามครู

    และในไม่ช้า..เขาไม่ได้ทำอะไรจากความคิดของเขาอีกต่อไป..

    .................................................................................

    น่าเศร้านะคะที่เวลาชาวบ้านเขามีจินตนาการดีๆจนเกิดความสำเร็จ..ภาครัฐก็เข้าไปร่วมผลงานด้วยจนจินตนาการของเขาเริ่มขาดหายไป..

     

    ผมเขียนเรื่องการเรียนแบบ "เรียนมากสอนน้อย" เรียนแบบไม่ท่องจำความรู้ไว้ในบันทึก ชื่อ เล่าเรื่องโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต (๒) : ฟังเรื่องดีๆ ที่น่าทึ่งจนแทบสำลัก (http://gotoknow.org/blog/surachetv/87813) อยากให้คุณเม้งกับคุณเบิร์ดเข้าไปอ่านดูครับแล้วช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยครับ

    เริ่มแรกทีเดียวผมไม่ได้เขียนเป็นบันทึก แต่เขียนโต้ตอบกับคุณหมอมาโนช แล้วคิดว่าควรยกเรื่องที่เล่าให้คุณหมอมาโนชฟังในการเขียนตอบในบันทึกเรื่อง คำ best practice ควรใช้คำภาษาไทยว่าอย่างไร (http://gotoknow.org/blog/surachetv/85308)

    P

    สวัสดีครับคุณเบิร์ด

    • เป็นเรื่องที่ยกตัวอย่างได้ชัดเจนที่สุด ชอบมากๆ นะครับ เป็นเรื่องที่ง่ายๆ แต่ทำลายจินตนาการพังพินาศเลยครับ
    • ผมถึงชอบเรียนรู้ที่จะอยู่กับเด็กตัวน้อยๆ ตอนที่เค้าช่างถาม แล้วผมจะหาโอกาสตอบเค้าตามที่เราค้นคว้ากันและหาแนวทางในการตอบให้เค้าเข้าใจตามเวลาและวัยของเค้าครับ แต่ไม่ใช่การลงโทษ หรือเด็ดดอกจินตนาการของเค้าทิ้งเสีย 
    • ขอบคุณมากๆ นะครับ

    P
    สวัสดีครับท่านอาจารย์
    • ผมจะไปติดตามอ่านต่อนะครับ ตามที่ อ.แนะนำนะครับ
    • ลุยให้มันรู้ไปครับ ถึงไหนก็ถึงนั้น ถึงกันก็รู้ผลครับ
    • ขอบคุณมากครับ

    จินตนาการ ไม่ใช่เรือ่งที่จะควบคุม หรือว่าจัดการ

    สิ่งที่น่าจะทำ คือ ผลของจินตนาการ

    เรื่องเล่าของคุณ

    P

     น่าจะแสดงให้เห็นถึงการจัดการจินตนาการได้เป็นอย่างดี ไม่รู้มีใครมองเหมือนผมหรือเปล่า

    หากเด็กน้อย วาดดอกไม้ที่ครูไม่รู้จัก ถามว่าครูบอกได้หรือว่า ดอกไม้นั้นไม่มีหรอก แล้วครูก็วาดดอกไม้ให้เด็กน้อยดู จากดอกไม้ที่ครูเคยเห็น

    ถ้าใครคิดที่จะจัดการจินตนาการ แสดงว่า เขาไม่มีจินตนาการ

    กาลิเลโอเกือบตาย เพราะจินตนาการ(ก่อนที่จะรู้)บ้า ๆ ของเขาหรือเปล่า (ตอนนั้นความคิดนั้นก็บ้า) แล้วตอนนี้เป็นอย่างไร เราต่างหากที่บอกว่า นอกจากกาลิเลโอแล้ว คนอื่นต่างหากที่คิดบ้า ๆ

    อย่าเลยครับ อย่าทำให้เด็กในอนาคตมองภาพเดียวกัน แล้วมีความรู้สึกเดียวกัน เห็นเหมือนกัน หรือว่าคิดเหมือนกัน ซึ่งมีเพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้นที่เป็นอย่างนั้น และ

    ในขณะที่เรากำลังทำคอมพิวเตอร์ให้มีจินตนาการนั้น

    อย่าให้เราต้องป้อนโปรแกรมให้กับอนาคตของเราเลย

    ขอบคุณครับ

    อุทัย อาวรณ์

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท