กฏแห่งความสมดุล ตอนที่ 5


2.ด้านสังคม

2.1.ปัจเจกชนนิยม(Individualism)จะต้องสมดุลกับส่วนรวมนิยม(Collectivism)  อิสลามใช้ให้เริ่มต้นจากตัวเองแล้วขยายสู่สังคมส่วนรวมให้สนอง ความต้องการของตัวเองแต่ต้องไม่ลืมความจำเป็นหรือความต้องการของ สังคมให้แสวงหากำไรสู่ตัวเองแต่ต้องไม่ทำให้สังคมต้องขาดทุน(เสียหาย) อิสลามยอมรับสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์แต่ในด้านการปฏิบัติจะต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น การใช้ให้กระทำดีละเว้นความชั่วจะต้องเริ่มจากตัวเองสู่ครอบครัวและเพื่อนบ้านแล้วขยายสู่สังคม ในการสร้างประโยชน์แก่ตัวเองก็อย่าทำให้ประโยชน์ของผู้อื่นเสียหาย การละหมาดเป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวกับพระเจ้าแต่ต้องทำเป็นญามาอะฮฺ (เป็นหมู่คณะ)ผู้ใดแยกตัวเองจากญามาอะฮฺแน่แท้เขาจะได้รับนรก(หะดิษ)สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของปัจเจกชนต่อสังคมจะสมดุลกับสิทธิและหน้าที่ของสังคมต่อปัจเจกชน

2.2.อนุญาตให้มีภรรยามากกว่าหนึ่งได้แต่มีเงื่อนไขมากจนกระทั่งว่าธาตุแท้ (หัวใจ)ของกฎของอิสลามคือการมีภรรยาคนเดียวอายะฮฺหรือโองการ 4:3จะสมดุลกับอายะฮฺ123ซูเราะฮฺหรือบทเดียวกันให้มีความผูกพันทางการแต่งงานอย่างยืนนาน (ถาวร)แต่ก็เปิดประตูแห่งการหย่าร้างไว้ถ้าหากความผูกพันแห่งการแต่งงานนั้นจะนำความเสียหาย ก็อนุญาตให้หย่าร้างได้แต่ควรจำไว้ว่าสิ่งที่เป็นที่อนุมัติแต่อัลลอฮฺทรงเกลียดมากที่สุดคือ การหย่าร้าง (หะดิษ)

2.3.ฟัรฎูอีนจะสมดุลกับฟัรฎูกิฟายะฮฺฟัรฎูอีนเป็นหน้าที่ของแต่ละบุคคล ส่วนฟัรฎูกิฟะฮฺเป็นหน้าที่ของสังคมหน้าที่ต่อตนเองจะสมดุลกับหน้าที่ต่อสังคม

2.4.ในการสมาคมควรจะมีจิตใจที่ถ่อมตนแต่มิใช่หมายความว่าจะต้องลดเกียรติของตน มุสลิมต้องมีศักดิ์ศรี มีเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ไม่เย่อหยิ่งหรือโอ้อวด

2.5.สังคมอิสลามประกอบด้วยผู้ร่วมศรัทธาแต่ก็ยอมรับหรือประกันชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่มุสลิมในสังคมมุสลิมปฏิเสธการประนีประนอม(Compromise)ในเรื่องศาสนาแต่ยอมรับการประนีประนอมด้านสังคม ในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์กับพระเจ้าห้ามมิให้มุสลิมมีการประนีประนอมโอนอ่อน แต่ในกฎเกณฑ์แห่งความสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยกันให้มุสลิมมีการประนีประนอมได้

2.6.การอิอฺติกาฟในมัสยิดหมายถึงการปลีกตัวออกจากสังคมแต่ก็ยังอยู่ท่ามกลางสังคม (เพราะมัสยิดสร้างอยู่กลางสังคม)อิอฺติกาฟคือการอิบาดะฮฺ(การเคารพภักดีพระเจ้า) ชนิดหนึ่ง แต่ไม่ใช่เป็นการแยกตัวออกจากสังคม

หมายเลขบันทึก: 86226เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2007 00:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท