ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ภาคีเครือข่ายกับกระบวนการสร้างทุนทางสังคม


การทำงานพัฒนาเพื่อให้กิดความยั่งยืนนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีพันธมิตรและเครือข่าย

เป็นวันที่สอง...ของการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการฝึกอบรมตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ซึ่งเป็นรุ่นที่ 1 ของการฝึกอบรมจาก 10 รุ่น ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดมหาสารคาม

วันนี้....เราได้พูดคุย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเรื่องของเห็ด ซึ่งในภาคเช้าได้ชวนพี่น้องเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมกว่า 40 คน พูดคุยกันถึงเหตุเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องเพาะเห็ด เพาะแล้วได้อะไร และหากจะเริ่มต้นในการเพาะควรจะเริ่มต้นอย่างไร เราจึงได้ข้อสรุปร่วมกันครับว่า เห็ดนั้นเป็นทั้งอาหาร และเป็นสมุนไพร เพราะจากตำนาน และเรื่องเล่าที่บอกว่า "ข้าวปลาอาหาร หมู เห็ด เป็ดไก่" ที่เล่าสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่ก็ไม่รู้เช่นกันครับว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่เช่นกัน

นอกจากนั้นยังพบว่าหากพี่น้องเกษตรกรจะเริ่มต้นในการเพาะเห็ดนั้น ควรมีการเรียนรู้เป็น 3 ระยะ คือ

1. ควรที่จะเริ่มตั้งแต่น้อยก่อน (อาชีพเสริม) เพื่อเป็นการเรียนรู้ เสมือนกับการการทำเกษตรกรรมแบบประณีต ที่เน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างชุดความรู้ในด้านต่างๆ  เมื่อเกิดความมั่นใจจึงค่อยขยายปริมาณ และพื้นที่การผลิตต่อ ไป

2. ขยายพื้นที่การผลิต หลังจากมีชุดความรู้ในด้านการจัดการแล้วเกิดความมั่นใจในการผลิตมากขึ้นจึงขยายพื้นที่การผลิตมากขึ้น (อาชีพรอง) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวมากขึ้น

3. การผลิตแบบอุตสาหกรรม หลังจากที่มีชุดความรู้เรื่องการผลิตเห็ด และความชำนาญแล้วจึงวางอาชีพอื่นๆ ไว้เพื่อหันมาทำการผลิตเห็ดเป็นหลัก โดยเอาอาชีพอื่นๆ เป็นรอง

ซึ่งในประเด็นดังกล่าวก็คิดว่าพี่น้องเกษตรกรคงมองเห็นภาพจินตนาการ แห่งการเรียนรู้ และสามารถเชื่อมโยงในประเด็นอาชีพอื่นๆ ได้ ซึ่งเป็นหลักการที่สอดคล้องกัน

แต่ยังไม่พอครับ....ด้วยความตั้งใจของทีมงาน และผู้เข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามโครงการยังฯ ได้ชวนคิดชวนคุยในเรื่องของรูปแบบของการเพาะเห็ดที่ควรจะเป็น หรือกำลังเป็นอยู่ในเมืองไทยว่ามีรูปแบบการผลิตอย่างไรบ้าง

ในฐานะคุณอำนวยแห่งการเรียนรู้ จึงพยายามกลั่นกรองจากประสบการณ์ อีกทั้งคุณกิจที่แข็งขัน จึงสรุปอกมาว่าการเพาะห็ดในปัจจุบันนั้นเราสามารถเห็นโดยทั่วไปอยู่ 4 รูปแบบ คือ

1. การเพาะเห็ดฟาง ซึ่งประกอบด้วยการเพาะเห็ดฟางแบบกลางแจ้ง (กองเตี้ย และกองสูง)  และการเพาะเห็ดฟางแบบอุตสาหกรรม

2. การเพาะเห็ดในท่อนไม้ นับเป็นการเพาะเห็ดที่ง่าย สะดวก ต้นทุนต่ำ เหมาะสำหรับการเพาะเป็นพืชผักสวนครัว  และที่สำคัญไต้องพิถีพิถันมากนัก

3. การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกนี้ก็เป็นประด็นที่พูดคุยกันอยู่นานพอสมควร เพาะมีเห็ดมากมายหลายชนิดที่สามารถเพาะโดยวิธีนี้ได้ เช่น นางฟ้า นางรม เป๋าฮื้อ เห็ดบด เห็ดขอนขาว หลินจือ เห็ดหอม ยานางิ เป็นต้น เป็นเห็ดที่นิยมเพาะทั่วทุกพื้นที่ของเมืองไทย ซึ่งจะมีขั้นตอนการผลิตอยู่ 4 ขั้นตอน คือ 1) การเลี้ยงแม่เชื้อบริสุทธิ์ 2) การขยายหัวเชื้อ 3) การทำก้อนเชื้อ และ 4) การเปิดดอก

4. การเพาะเห็ดแบบธรรมชาติ เป็นเทคนิคหนึ่งสำหรับการเพาะเห็ดพวกมัยคอร์ไรซา เป็นเห็ดที่มีการเจริญเติบโตร่วมกับต้นไม้ เช่นเห็ดเผาะ เห็ดผึ้ง เห็ดระโงก เป็นต้น

จากกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นกระบวนการสรรสร้างพันธมิตรทางวิชาการที่นำวิชาการความรู้เรื่องการเพาะเห็ดเพื่อไปพัฒนาเป็นอาชีพทางเลือกสำหรับการเชื่อมโยงกิจกรรมภายในฟาร์ม อันจะเป็นการเกื้อกูลในระบบการทำฟาร์ม ระบบนิเวศน์ และพัฒนาสู่การเกื้อกูลของทุนทางสังคมต่อไป

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

24 มีนาคม 2550

หมายเลขบันทึก: 86219เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2007 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สนใจเรื่องการเพาะเห็ดฟางและการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกครับผม
  • ถ้าว่างจะแวะไปดู
  • ผมมีความรู้น้อยมากในเรื่องเห็ดและความรักฮ่าๆๆๆ
  • ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจ

เพาะเห็ดในท่อนไม้  น่าสนใจมากค่ะ  เพิ่งเห็นตัวอย่างเยอะๆเมื่อวานนี่เอง

  • เคยได้เห็นแต่เพาะเห็ดสารพัดชนิด ในถุงพลาสติก ที่แถว วังน้ำเขียว โคราช และ แถว ภูเรือ เลย ครับ
  • วันหน้าจะมาขอเรียนรู้ที่ มหาชีววาลัยอีสานบ้างครับ ครั้งที่แล้ว ยังไม่มีโอกาสไป
  • ผมย้อนไปอ่านบันทึกของอาจารย์ เพื่อจะได้ทราบว่า เกษตรประณีต 1 ไร่ ทำอย่างไร ?
  • อ่านหลาย ๆ บันทึกของอาจารย์ ก็ยังไม่ชัดครับว่า เกษตรประณีต หมายถึงอะไร ? ปลูกพืช +เพาะเห็ด + เลี้ยงสัตว์ + .....
  • บางบันทึกของอาจารย์ มี เกษตรประณีต 10-12 ไร่ด้วย ??? ตกลงมันกี่ไร่ครับ
  • ขอบคุณมากครับทุกๆ ท่านที่ให้ความสนใจเห็ดครับ
  • หากท่านมาเยี่ยมมหาชีวาลัยอีสาน รับรองได้ลิ้มลองเห็ดแน่นอนครับ

 

  • จริงๆ แล้วเกษตรกรรมแบบประณีต 1 ไร่ เป็นกุศโลบาย และแบบฝึกหัดในการเรียนรู้ในกิจกรรมการเกษตร เพื่อให้เกิดความชำนาญในเรื่องนั้นๆ ให้เกิดความชำนาญ โดยคาดหวังว่าเมื่อเกษตรกรมีความรู้แล้วจะสามารถขยายพื้นที่การผลิตให้มากขึ้นตามกำลังความสามามารถของแต่ละราย แต่ถ้าจะบอกว่าเกษตรกรรมแบบประณีต 1 ไร่ พออยู่พอกินและสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้นั้น ผมว่าคงไม่ใช่สภาวะที่เป็นจริงครับ
  • ดังนั้นในการทำการเกษตรแบบประณีตของผมจึงไม่ได้กำหนดว่าจะเป็นกี่ไร่ครับ แต่จะดูที่ศักยภาพการผลิตที่เกษตรกรสามารถดำรงชีวิตอยูได้ในสภาพความเป็นจริงครับ

เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ชื่อเรื่องกับเนื้อหาไม่ตรงกัน

ผมยังมองไม่เห็นทุนทางสังคมที่พูดถึงว่าอยู่ตรงไหน

ก็แค่การเพาะเห็ด

ทุนทางสังคมใหญ่กว่านั้นครับ

ถ้าไม่เข้าใจต้องอ่านหนังสือ การเดาส่งๆจะเสียหายครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท