เรื่องเล่าจากดงหลวง 57 นักประดิษฐ์ชาวบ้าน (The Local Inventor)


ไม่มีใครคิดในสิ่งนี้มาก่อน ไม่ว่านักพัฒนา หรือนักวิชาการ หรือผู้นำต่างๆ แต่ชาวบ้านธรรมดาคนนี้ หรือสหายคนนี้ คิดออกมาได้ ถ้าจะกล่าวว่าสหายธีระเป็นนักคิดค้นพื้นบ้าน สิ่งที่ทำนี้ก็เป็นตัวอย่างยืนยันที่สำคัญ ที่ท่านครูบาตั้งประเด็นว่า "ถ้าขาดแคลนความรู้ ก็ยากที่จะอยู่อย่างพอเพียง"

  

ดงหลวงคือแหล่งผักหวานป่า (ที่กำลังเกิดวิกฤติ)

เมื่อเราพูดถึงการตอนผักหวานป่าที่ดงหลวง ก็ต้องพูดถึง เซียน ที่ชื่อ หมอธีระ เพราะตั้งอกตั้งใจเอาผักหวานป่ามาทดลองในสวน 

มาวันนี้ หมอธีระ เป็นนักประดิษฐ์ คิดค้นเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูงแบบประหยัดขึ้นมาอีกแล้ว

  

    

หมอธีระ ชื่อจริงนายบัวไล เชื้อคำฮด เป็นสหายที่อดีตเป็นหมอป่าคู่กับนายแพทย์แหวง โตจิราการ ผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาตลอดในศูนย์กลางอำนาจรัฐ  แต่สหายธีระ คือชาวบ้านธรรมดา ที่มีร้านขายของเล็กๆน้อยๆให้ภรรยารับผิดชอบ  ส่วนตัวเองก็ขลุกอย่กับสวนผสมผสานใกล้ๆบ้าน ด้วยมีแรงงาน เพียงคนเดียวจึงทำแต่พอกำลัง วันละเล็กละน้อย  สวนเล็กๆปลูกหลายอย่างที่สำคัญคือ ผักหวานป่าที่ สวนแห่งนี้คือห้องทดลองมานานหลายสิบปี จนพบข้อเท็จจริงในเรื่องการตอนและการดูแลต้นผักหวานป่า

  

   

มาวันนี้สหายธีระแอบซุ่มเงียบทำเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูงด้วยวัสดุที่มีในท้องถิ่นโดยไม่เสียเงินแม้แต่บาทเดียว ด้วยเคยไปศึกษาดูงานที่มูลนิธิพัฒนาอีสานจังหวัดสุรินทร์ เมื่อหลายเดือนก่อน หมอธีระก็เก็บความคิดเงียบไว้เพียงคนเดียวว่าจะทำอย่างไรจึงลดต้นทุนการทำเตาลงได้

 

 เพราะจากแบบที่ศึกษามานั้นต้องซื้อถังขนาด 200 ลิตร 1 ใบราคาประมาณ 200-300 บาท หรือมากกว่านั้น ต้องซื้อท่อใยหินข้องอ และท่อตรงอีกไม่น้อยกว่า 100-200 บาท อิฐบล็อกอีก 5 ก้อน แม้ว่าจะเป็นเงินไม่กี่บาทสำหรับคนในเมืองที่รวมค่าต้นทุนนี้แล้วยังน้อยกว่าค่าเหล้าฝรั่ง 1 ขวดเลย มาวันนี้สหายธีระติดสินใจทำเตาเผาถ่านด้วยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ด้วยเศษไม้ไผ่ กิ่งไม้ที่มีอยู่ในสวน เศษลวดที่ เก็บสะสมเอาไว้ และสังกะสีเก่าๆที่พอหาเอาได้ในบ้านของตนเอง ดินเหนียวที่มีมากมายจะเอาสักเท่าไหร่  สหายธีระเอาประสบการณ์ที่ไปศึกษาดูงานที่สุรินทร์เป็นตัวตั้ง และคิดดัดแปลงเอาตามสภาพท้องถิ่นและกรอบคิดของตนเองว่า อยากจะ "ทดลอง" เป็นเตาแรกว่า

  • จะสร้างเตาในลักษณะเหมือนเอาถัง 200 ลิตรมาตั้งจะได้ไหม (แบบต้นฉบับนั้นใช้ถัง 200 ลิตรนอน)
  • ขนาดความใหญ่ของเตา น่าจะลองสักเท่าครึ่งของขนาดถัง 200 ลิตรจะพอดีไหม
  • จะใช้ไม้ไผ่และกิ่งไม้ต่างๆในสวนมาเป็นองค์ประกอบเตาเบื้องต้น สหายธีระกล่าวว่า ไม้ที่เป็นโครงร่างต้นแบบหากไหม้ไฟไป ก็เหลือดินเหนี่ยวที่เป็นเตาจริงๆคงอยู่
  • ใช้ลวดเป็นตัวยึดโยงกิ่งไม้นั้นให้เป็นรูปร่างเตา และโครงสร้างภายใน
  • ใช้ดินเหนียวเป็นตัวหลักในการสร้างเตา อัดแน่นตรงกลางแบบ
  • ทางควันออกก็ใช้ไม้ไผ่ ที่จะห่อหุ้มด้วยดินเหนียว
  • ทางติดไฟ หรือหน้าเตาก็ใช้เศษไม้แผ่นที่หุ้มด้วยดินเหนียว
  • ฝาด้านบนปิดด้วยโครงไม้ที่ยึดโยงด้วยลวดเก่าๆที่มีอยู่แล้วและอัดแน่นด้วยดินเหนียว
  • ทำหลังคาสังกะสี ด้วยสังกะสีเก่าๆที่มีอยู่
  • จะทำท่อต่อตรงท่อควันออกเพื่อรองน้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้นี้จะมีคุณภาพแค่ไหน

 

โครงสร้างภายในเตาเผาถ่านนี้ใช้ลวดเก่าๆมาผูกโยงยึดเข้าด้วยกัน  ขอบด้านนอกและในเป็นเศษไม้ที่มีอยู่ เอามาวางเรียงกันแล้วใช้ลวดผูกเข้าด้วยกันพออยู่

ไม่มีใครคิดในสิ่งนี้มาก่อน ไม่ว่านักพัฒนา หรือนักวิชาการ หรือผู้นำต่างๆ แต่ชาวบ้านธรรมดาคนนี้ หรือสหายคนนี้ คิดออกมาได้ ถ้าจะกล่าวว่าสหายธีระเป็นนักคิดค้นพื้นบ้าน สิ่งที่ทำนี้ก็เป็นตัวอย่างยืนยันที่สำคัญ ที่ท่านครูบาตั้งประเด็นว่า "ถ้าขาดแคลนความรู้ ก็ยากที่จะอยู่อย่างพอเพียง" 

อยู่ชนบท โดยเฉพาะดงหลวง ไม้ ไร่เยอะแยะ ก็ประหยัดได้โดยไม่ต้องไปเสียเงินซื้อหาถัง 200 ลิตรให้สิ้นเปลือง ในทางปฏิบัติไม่ใช่เฉพาะราคาค่าถัง ค่าท่อเท่านั้นนะครับ หากจะซื้อต้องออกมาในเมือง เสียค่ารถอีกไม่น้อย

หากการทดลองนี้ใช้ได้ดี คำถามตามมาว่า

  • จะเกิดการยอมรับในชุมชนไหม? (Rural community adoption)
  • หากยอมรับ จะเกิดการขยายไปโดยธรรมชาติเองได้ไหม
  • การพัฒนายกระดับเตาต้นแบบนี้จะมีไหม จะเกิดไหม
  • ในเรื่องอื่นๆ กิจกรรมอื่นๆ จะเกิด นักประดิษฐ์พื้นบ้านอีกบ้างไหม
  • บทบาทงานพัฒนาชุมชนทั้ง "เอกชน" และ "ราชการ" อยู่ตรงไหน ?
  • น้ำส้มควันไม้จากเตานี้จะมีคุณภาพเพียงใด
หมายเลขบันทึก: 86222เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2007 00:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะคุณบางทราย

นี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างของกระบวนการคิดที่ทุกคนพูดถึงกันอึงมี่..แต่หาตัวอย่างแบบรูปธรรมมาสนับสนุนได้ยากเต็มที นอกจากตัวอย่างพื้นๆทั่วๆไป..

ทักษะการคิดมี 2 ประเภท ประเภทแรก..ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน และทักษะการคิดระดับสูง..ตัวอย่างนี้ถึงพร้อมทั้ง 2 ทักษะเลยค่ะ..

อยากให้มีคนอย่างนี้เยอะๆจัง..

  • สวัสดีครับคุณ เบิร์ด
  • ใช่แล้วครับความคิดเห็นของคุณ เบิร์ด ผมยังคิดว่า
  • หากมีชาวบ้านที่มีลักษณะเช่นนี้ในชุมชนแบบเราไม่รู้ เขาก็อยู่อย่างปกติ แต่ไม่ได้แสดงศักยภาพเหล่านี้ออกมาให้เราเห็น  หรือตาบอด ไม่เห็นเอง ดังนั้นบทบาทนักพัฒนาคืออะไร  บทบาทของข้าราชการที่รับผิดชอบการพัฒนาชุมชนคืออะไร  ทำอย่างไร ........ฯลฯ
  • หากโครงการไม่ได้พาสหายธีระไปศึกษาดูงานที่สุรินทร์  ความคิดแบบนี้จะออกมาใหม?  คล้ายๆกับว่า ความคิดความอ่านมันซ่อนอยู่ พอไปเห็นของจริง ไปเห็นกระบวนการเข้าแล้ว สมองทำงานไหลหลั่งออกมาเลย
  • ดังนั้น ประเด็นของการทำงานพัฒนาคือ ทำอย่างไรจึงจะให้ชาวบ้านที่ศักยภาพซ่อนอยู่ได้มีโอกาส เรียนรู้โลกข้างนอกชุมชน และชาวบ้านที่ยังไม่มีศักยภาพ ได้เริ่มเพิ่มพูนระดับ ความรู้ การคิด การสร้างสรรค์ขึ้นมา เป็นการเพิ่มจำนวนขึ้นมาอีก 
  • ผมก็อยากสร้างคนแบบนี้ให้มีมากๆ ครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ขอร่วมชื่นชมสหายธีระ ด้วยคนนะคะ  เยี่ยมมากเลยค่ะ  
  • ใช่ค่ะ  การพัฒนาชุมชน  ต้องค้นหาศักยภาพของชุมชนก่อน  แล้วพัฒนาชุมชนตรงนั้นๆตรงที่เขามี  ไม่ใช่ไป ผลักดันให้ทำให้พัฒนาตามเป้าหมายของหน่วยงานภาครัฐ  แล้วทุ่มงบมากมายลงไปตามกระแส  แล้วมาถามหาความยั่งยืน..
  • อยากให้สังคมมีคนแบบพี่บู๊ท มากๆค่ะ
  • น้องหนิงเอาเชือกมามัดพี่ไว้ด้วยนะ มันลอยออกจากโลกนี้แล้ว ลอยด้วยคำชม
  • พี่ก็คือ ตาแก่ งกงก เงินเงิน ทำงานไปคนหนึ่งเท่านั้น เห็นอะไร ดี ดี ก็เอามาเผยแพร่ เห็นอะไรที่เป็นปัญหา ก็เอาตีฆ้องร้องป่าว
  • หาเพื่อนคุยบ้าง
  • ถ้าไม่ช่วยกันสังคมจะอยู่อย่างไร คนตั้งหน้าตั้งตาจะเอารวยอย่างเดียวมีเยอะ หากไม่มีใครคอยคัดหางเสือเรือบ้าง ก็จะเข้ารกเข้าพงกันไปหมด
  • ขอบคุณครับน้องหนิง

สวัสดีค่ะคุณบางทราย

          เห็นแล้วทึ่งมากเลยค่ะ ไม่นึกว่าจะเป็นเตาเผาถ้าเห็นรูปแรก นี่คือบทบาทงานพัฒนาชุมชนของภาค "เอกชน" ยกนิ้วโป้งให้เลยค่ะ นี่คือนักพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงจริง ๆ ค่ะ

สวัสดีครับคุณบางทราย (บางไทร ?) ผมคิดจะทำเตาเผาไม้เพื่อทำน้ำส้มควันไม้ เพื่อให้นักศึกษาได้ลองปฏิบัติอยู่พอดี ชอบคำพูดที่ว่า "ถ้าคาดแคลนความรู้ ก็ยากที่จะอยู่อย่างพอเพียง" และขอเพิ่มเติมว่า "ถ้าขาดความพอเพียงก็ยากที่จะอยู่อย่างรู้คุณค่าของชีวิต"
สสัวดีครับคุณราณี เราเป็นเพียงผู้เปิดโอกาสให้เขาเห็นโลกภายนอก แล้วเขาคิดต่อครับ ในจำนวน 20 คน จะมีคนแบบนี้สักคนครึ่งคนมั๊งครับ ขอบคุณครับ
สวัสดีครับคุณสะลวง ผมบางทรายครับ ส่วนบางไทรนั้นอยู่อยุธยา บางทรายอยู่มุกดาหารครับ เอ๊...สะลวงอยู่แม่ริมเชียงใหม่หรือเปล่าครับ มีสะลวงเหนือ สะลวงใต้ ด้วยใช่ไหมครับ คำพูด "ถ้าคาดแคลนความรู้ ก็ยากที่จะอยู่อย่างพอเพียง" เป็นของท่านครูบาสุทธินันท์ครับ ผมเห็นว่าสอดคล้องกับบทบันทึกที่ผมเขียนอยู่ก็เลยขอเอามาใส่ครับ ส่วน "ถ้าขาดความพอเพียงก็ยากที่จะอยู่อย่างรู้คุณค่าของชีวิต" เป็นความจริงครับ ผมเห็นด้วยครับ
  • มาดูภูมิปัญญาชาวบ้านครับผม
  • สบายดีใช่ไหมครับ
สบายดีครับอาจารย์ขจิต ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ เชิญขึ้นบ้านกินน้ำกินท่าก่อน จะรีบไปไหน น้ำเย็นๆ อากาศร้อนๆมาพักซะก่อนค่อยไป เอ้ามา มา มา
สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์

ยอดมากครับสำหรับการคิดต่อยอด การนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับศักยภาพของตนเองและท้องถิ่นนับว่าคุณธีระทำได้ดีมาก ๆ น่านับถือ แล้วผลการทดสอบหรือการใช้งานจริงเป็นอย่างไรบ้างครับ ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับเตาที่ใช้ถังเหล็ก 200 ลิตรหรือไม่ครับ  รบกวนให้คุณบางทรายนำเสนอเรื่องราวต่อพร้มทั้งรายละเอียดด้านอื่น ๆ เช่น ผลผลิตถ่านที่ได้ น้ำส้มควันไม้ อายุการใช้งานของเตา ถ้าเป็นไปได้น่าจะนำเสนอวิธีการก่อสร้างด้วยจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากครับ

สวัสดีครับ  สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์

  • ตกลงขอเวลาหน่อย ผมจะตามเรื่องมาให้ครับ
  • ตั้งใจไว้เหมือนกัน แต่ยุ่งอยู่กับการทำรายงานสิ้นสุดโครงการ บานตะไทเลยครับ เลยไม่ค่อยได้ไปเยี่ยมชาวบ้านเท่าไหร่นัก
  • ตกลงครับจะจัดการ ตามเรื่องเอานะครับ
  • ขอบคุณครับที่สนใจและเข้ามาเยี่ยม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท