จับประเด็นจาก ศ.นพ.ประเวศ วะสี วันนี้ที่ KM Forum


การทำแผนที่ความรู้ในตัวคนทุกคน (Every Human Mapping : EHM) โดยถือว่าทุกคนเป็นคนเก่ง และให้ทำเป็น Mapping ดูและรวบรวมไว้ให้ค้นหาได้ คนในสังคมก็จะเกิดปิติ และเกิดเป็น พลังของสังคมอย่างมหาศาล

     มีหลายเรื่องที่ยังไม่ได้บันทึก ซึ่งได้ปฏิบัติไปแล้ว ตั้งแต่วันจันทร์ ถึงวันพุธ ที่ผ่านมา แต่หากวินาทีนี้ไม่บันทึกสิ่งที่ได้จากงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 2 ก็คงต้องเรียกว่าตก trend ครับ

     จะขอสรุปย่อจากที่จับประเด็นได้ในวันนี้นะครับ ในส่วนของ การของปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์ สู่ ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข" โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มีดังนี้ครับ

          การจัดการความรู้ เป็น tranformation เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราเองอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในคน ต่อไปก็เป็นองค์กร และสังคม

          การทำงานใด ๆ ก็แล้วแต่ เรามักจะเน้นที่ เทคนิคและวิธีการ อีกอย่างหนึ่งที่มักจะลืมนึกไปคือ เราต้องหาความหมายของการทำงานนั้น ๆ ด้วย ซึ่งสำคัญมาก ความหมายของการทำงาน ฉะนั้นเราต้องหาความหมายของการจัดการความรู้ด้วย ว่าหมายถึงอะไร

          มนุษย์มีสมองซึ่งเป็นโครงสร้างที่วิจิตรที่สุดในจักรวาล สามารถเรียนรู้ให้บรรลุเป็นอะไรก็ได้ มีการค้นพบความรู้ใหม่อยู่เสมอ ๆ อย่างน่าอัศจรรย์ แต่ก็ยิ่งเหมือนเป็นการเสริมสร้างพันธนาการทางสังคม เป็นเหมือนคุกที่เราช่วยกันสร้างเพื่อกังขังเรากันเองไว้ เป็นความทุกข์ของคนสมัยใหม่ เป็นคุกทางสังคมที่มองไม่เห็นที่กักขังมนุษย์ไว้ และรู้ว่าการจัดการความรู้ปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุขได้อย่างไร

          เงินสามารถเคลื่อนที่ไปทั่วโลกโดยความเร็งแสง --> จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นความทุกข์ได้ง่ายและเร็วขึ้น

          ทุกข์ของคนในอดีต ออกจากถ้ำจะเจอเสือหรือไม่ ยุคต่อมา คือ พอเป็นหนุ่มจะถูกเกณฑ์ไปทำงานใหญ่ นาน ๆ หรือไม่ เช่นการถูกเกณฑ์ไปสร้างกำแพงเมืองจีน ทุกข์วันนี้ซับซ้อนอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทั้งการเมือง วิชาการ การศึกษา ศาสนา หรือธุรกิจ

          ความรู้ที่เป็นความรู้จากหนังสือ/ตำรา จะแตกต่างจากความรู้ฝังลึกที่ได้จากการปฏิบัติจริงสั่งสมอยู่ในตัวคน จะต่างกัน โดยดูจากตัวอย่างการทำอาหารเหมือนกันจากตำราเดียวกัน แต่จะอร่อยไม่เหมือนกัน เพราะมีอีกหลายส่วนที่เป็นความรู้และอยู่ในตัวคนปรุงอาหาร

          การเมืองการปกครองวันนี้ "จะหาหญ้าให้กินเอง อย่าคิดมาก" (คำขำ ๆ แต่จริงจัง ของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี)

          การเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งมีคำสำคัญคือ "การเคารพความรู้ในตัวคน" การจัดการความรู้ คือ รูปธรรมของการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันที่กล่าวข้างต้น

          ระบบการศึกษาในปัจจุบัน --> มีส่วนทำลายการเคารพศักดิ์ศรีของความรู้ในตัวคน มีรายละเอียดที่ท่านยกตัวอย่างเรื่องที่ดี คือ การให้นักเรียนไปเรียนรู้จากแม่ค้า จากเกษตรกร จากคนทำงานจริง ซึ่งทำให้คนเหล่านี้เป็นคนที่รู้สึกภาคภูมิใจ

          แม่ คือ คนที่เอาความรู้ในตัวคน ที่ตนมีถ่ายทอดมายังลูก จึงเป็นตัวอย่างที่ดี แม้ว่าแม่จะไม่ได้เรียนหนังสือมาเลยก็ทำได้

          การทำแผนที่ความรู้ในตัวคนทุกคน (Every Human Mapping : EHM) โดยถือว่าทุกคนเป็นคนเก่ง และให้ทำเป็น Mapping ดูและรวบรวมไว้ให้ค้นหาได้ คนในสังคมก็จะเกิดปิติ  และเกิดเป็น พลังของสังคมอย่างมหาศาล

ฯลฯ

หมายเลขบันทึก: 8576เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2005 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท