rucha
nuch รุจิราพร โชคพิพัฒน์พร

ทำอย่างไรที่จะไม่ให้ตื่นเวที ถ้าเราต้องขึ้นไปพูดบนเวที คะ


เป็นคนพูดรัว เร็ว เมื่อพูดแล้วจับประเด็นตัวเองที่พูดไม่ได้

พี่ๆ  gotoknow  ค่ะ  ช่วยนุชด้วยคะ

 

คือ  นุชอยากรู้วิธีที่จะไม่ทำให้กลัว หรือ ตื่น เวที    เมื่อต้องขึ้นไปพูดบนเวที ที่มีคนฟัง 100 คน   

1.        ทำอย่างไรไม่ให้ตื่นเต้นคะ

2.        ทำอย่างไร  ถ้าเมื่อเราเตรียมประเด็นที่จะไปพูดแล้ว  แต่เมื่อขึ้นเวที  จะลืมหมด 

3.        ทำอย่างไร  ที่จะช่วยเสริมบุคคลิกได้ไม่ให้ประหม่า

4.        ทำอย่างไร  นุชเป็นคนพูดรัว เร็ว  เมื่อพูดแล้วจับประเด็นตัวเองที่พูดไม่ได้ 

 

รบกวนพี่ๆช่วยสอน  พฤติกรรมที่เหมาะสมด้วยคะ

ขอบคุณคะ  

 

หมายเลขบันทึก: 84408เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2007 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สมัยเรียนจบปริญญาตรีใหม่ๆ ผมเคยโดนหลอกให้ขึ้นบรรยายในโรงแรม มีผู้เข้าฟังเกือบพันคน โดยไม่ยอมให้ข้อมูลใดๆ แก่ผมเลย บอกเพียงหัวข้อว่าอะไร และกลุ่มคนฟัง แต่ไม่บอกเรื่องสถานที่และจำนวนคน แต่สุดท้ายผมทำได้ และจากเหตุการณ์นั้นทำให้ผมกล้าในทุกเวที

ความตื่นเต้นจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการขึ้นเวทีเพื่อพูดเท่านั้น ดังนั้นคิดว่าความตื่นเต้นเป็นเรื่องปกติครับ เดี่ยวมันก็หาย และคิดเสียว่า มันจะหายไปเรื่อยๆ ดังนั้นในครั้งแรกๆ ปล่อยให้มันตื่นเต้นไปเถอะครับ ธรรมชาติ

ส่วนเรื่องเนื้อหากับเวลานั้น ปัญหามักเกิดจากการที่เราฝึกซ้อมพูด หรือการที่เราพยายามจะจำสิ่งที่เราจะพูดครับ ดังนั้นเมื่อเราพูดหมดในสิ่งที่เราเตรียมจะพูด ทำให้เรามีเวลาเหลือหรือไม่พอดีกับเนื้อหา

วิธีการแก้ไขคือ ไม่พยายามจำว่าจะพูดอย่างไร (จำคำที่จะพูดที่ละเอียดจนเกินไป) แต่ควรจำประเด็นหรือหัวข้อที่จะพูดก็พอ ส่วนเนื้อหาให้ถือว่าเราเป็นผู้รู้ดีในเรื่องนั้นอยู่แล้ว อธิบายไปตามความเข้าใจ

ดังนั้นในการเตรียมตัวจะพูด จึงเตรียมหัวข้อ ให้ดีวาดออกมาเป็นรูป ว่ามีหัวข้ออะไร ในแต่ละหัวข้อมีประเด็นอะไรก็พอ  เมื่อนั่นเวลาพูดจะเป็นธรรมชาติมากขึ้นครับ

ผมว่า สิ่งที่อยากในการพูดของผม คือ การที่จะให้ผมพูดเหมือนกันสองครั้งครับ เพราะเวลาผมจะต้องบรรยายผมจะโน้ตเฉพาะหัวข้อหรือประเด็นสำคัญเท่านั้น ส่วนเนื้อหาหรือตัวอย่างและลำดับของการนำเสนอจะอยู่ที่บรรยายกาศในแต่ละครั้งครับ

เมื่อเดือนที่แล้ว มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งเขาเชิญผมไปบรรยายเรื่องเดียวกัน สองวันซ้อนๆ(แต่ผู้ฟังคนละกลุ่ม) แต่เนื่องจากเขายังไม่รู้ว่าผมเป็นใครเชี่ยวชาญเรื่องอะไร เขาเลยเชิญไปแก้ขัด โดยให้พูดหนึ่งชั่วโมงในเรื่องดังกล่าว

ผมก็เตรียมการบรรยายพร้อมฟรีเซ้นเตชั่นไปสำหรับหนึ่งชั่วโมงครับ หลังจากลงจากเวที กลุ่มผู้จัดแจ้งกับผมว่า พรุ่งนี้ขออาจารย์มาพูดอีกครั้งหนึ่งนะครับในเรื่องนี้ แต่ขอเป็น 3 ชั่วโมง ผมรับปากครับ และในวันที่สอง ผมก็ใช้ฟรีเซ้นเตชั่นเดิม แต่บรรยายสามชั่วโมง ไม่ใช่หนึ่งชั่วโมงเหมือนวันแรก

ทั้งนี้เนื่องจากผมใช้เทคนิคข้างต้นครับ (หวังว่าจะได้ประโยชน์นะครับ)

 

คงต้องตั้งสติดี ๆ ก่อนขึ้นเวทีครับ...

มั่นใจในสิ่งที่เราจะพูด ในเมื่อเราเตรียมตัวมาดีมั่นใจได้เลยว่า ไม่มีใครรู้ในสิ่งที่เราจะพูดดีเท่าตัวเราครับ...

ขอบพระคุณมากๆๆเลยคะ   ไม่รู้จะขอบคุณอย่างไรได้เทียบเท่ากับการให้ของพี่ๆทั้งสองคะ

  ได้ประโยชน์มากๆเลยคะ  ไม่ว่าจะเป็นความตื่นเต้น บวกกับเทคนิคที่พี่ๆให้มา

P

ความจำกับสิ่งที่พูด  /  ความตื่นเต้นครั้งแรก

คือ  ถ้าเมื่อความจำของเราสั้นละคะ  ประเด็นจะหลุดลอยไมคะ  

เวลาอยู่บนเวที  ถ้ายังไม่หายตื่นเต้น  เวลาควรจะมองไปทางไหนคะ ที่จะไม่ให้เสียบุคคลิก

P

สติ  ตรงนี้พอจะได้อยู่บ้างคะ   แต่ความมั่นใจไม่รู้เหมือนกันว่า  ถ้าเตรียมดีๆ กลัวสติจะหายไป  ช่วงหนึ่ง

 

นุชะพยายามเต็มทีเลยคะ สำหรับคำแนะนำของพี่ๆ  คำแนะนำจากทุกท่านคือหัวใจในการต่อสู้  จริงๆคะ

ถ้าพี่ๆคนใดมีเทคนิคอื่นๆช่วยแนะนำด้วยนะคะ  

ขอบคุณมากๆคะ

  • มาบอกว่าให้เตรียมเรื่องที่จะพูดดีๆๆ
  • ค่อยๆๆพูด ตามที่เราทำงาน
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณพี่ขจิตคะ

จะค่อยๆพูดคะ  ส่วนเรื่องเตรียมดีๆนั้น  อือ  นุชก็ไม่รู้จะเตรียมได้ดีขนาดเท่าใดอะคะ

ขอขอบคุณสำหรับกำลังใจคะ

P

นั่นแน่ เพื่อนใครหนอ ไม่ธรรมดาจริง

  • จำประเด็นโครงสร้างที่จะพูดครับ ส่วนแม่น้ำทั้งห้า หรือทั้งสิบ เราแค่เชื่อมๆ ไว้
  • จากนั้นเราจะสามารถชักตัวอย่าง หรือแม่น้ำเข้ามาหาประเด็นต่างๆ
  • การย้อนถามกลับเข้าหาตัวเอง และผู้ฟัง แล้วเปิดทางให้ผู้ฟังได้คิดไปด้วยกัน ก็เป็นการโลดโผนทางความคิดไม่น้อย
  • ผมมักจะดึงประเด็นอะไรที่ไม่ได้เตรียมขึ้นไปมาใส่ไว้ในการพูด บางตัวอย่างด้วย เพื่อสร้างความโลดโผนให้เกิด แล้วจะทำให้เราเจนต่อเวที
  • แน่นอนเจอคนเยอะหรือคนต่างกลุ่มในตอนแรก เราสั่นมั่ง หนาวบ้าง ร้อนบ้างมันธรรมดา แต่หายใจลึกๆ มีสติ ให้ดี ของพวกนั้นที่สั่นๆ ก็หายหมดครับ
  • ฝึกๆ ไว้ เตรียมไว้ให้ดีก่อน หากกลัวว่าจะมีปัญหา แต่พอชั่วโมงบินสูงๆ แล้วรับรอง ต่อไป เวลาที่เค้าให้ ไม่พอหรอก
  • อิๆ เป็นบ่อยครับ พี่เม้ง คุยแค่สองนาทีนะ
  • ไม่งั้นร่ายได้ ทั้งมหาสมุทร ครับ
  • ไม่นานน้องนุชจะพบกว่า จะคุยอย่างไรให้ทันกับเวลาที่เค้าให้
  • อย่างไปงานประชุมวิชาการเนี่ย เค้าให้คุยสิบนาที ห้านาที แล้วแต่
  • ดังนั้นเตรียมไว้ ตั้งแต่ชุดการคุย สองนาที สามนาที ห้านาที สิบนาที และสามชั่วโมง
  • สร้างความเป็นกันเองในการคุย ก็จะทำให้เกิดความเป็นกันเองในเวที
  • หากคุยแบบกลุ่มก็ยิ่งสนุกครับ ต้องทำการบ้านไปด้วยครับ แต่อย่าท่องจำไปครับ
  • ขอให้โชคดีครับ

ไม่รู้จักขอบคุณอย่างไรดีจริงๆ

อืม ตอนนี้นุชยังสับสนบ้างนิดหน่อย  แต่พอได้คำแนะนำก็คลายลง 

ยิ่งได้เทคนิดมาเพียบขนาดนี้  ลุย ....ลุย  สู้ สู้ คะ

นุชเลยลองทำสมาธิ ในการอ่านและค้นคว้าข้อมูลให้ได้มาก  และจะเตรียมประเด็นในวันพรุ่งนี้  และจะต้องฝึกซ้อม  ตามคำแนะนำของพี่ๆ 

เอ๋ ? ฝึกพูดคนเดียว  ???????........ คะ สู้ สู้ 

 

ผมก็สถานะการเดียวกันกับคุณนุชแหละครับ

ประหม่าประจำ พอขึ้นเวทีทีไรสั่นทุกที ลืมเรื่องทีจะพูดหมด

เคยโดนไล่ลงเวทีด้วย แต่ผมไม่เคยท้อครับ เหตุการณ์ในวันนั้น ทำให้ผมเป็นนักพูด

ที่ใครต่างก็อ้างถึง ฝึกบ่อยๆๆครับ

เดี่ยวมันก้หายไปเอง

ดีมากเลยคะ ที่ให้ประสบการในการพูดเหมือนทำบุญเลยนะเนี่ย

 

โฮ..เป็นเหมือนกัน มันเป็นอะไรที่ยากมากในการขึ้นเวทีพูดต่อหน้าสาธารณะชน โดยปกติแล้วเป็นคนไม่ชอบพูด พูดไม่ค่อยเก่งอยู่แล้ว

ทั้งตื่นเต้น ทั้งประหม่ามากๆ พยามยามแล้วแต่ก็พูดไม่ได้สักที พุดตะกุกตะกัก อับอายขายขี่หน้าจริง ทำไงดี เฮ้อ..!!!

แนะนำให้ไปเรียนกับอจ.สุกิจ ศุภกิจเจริญค่ะ เป็นกันเอง สนุก ได้ฝึกเยอะๆ ตอนแรกๆก็สั่นประหม่า พอฝึกไปหลายๆรอบดีขึ้นจนรอบสุดท้ายมั่นใจขึ้นมากเลยค่ะ อจ.ดูให้เป็นรายคนช่วยปรับแก้ให้ด้วย ดีมากๆเลยค่ะ

เคยเรียนกับอจ.สุกิจ ศุภกิจเจริญ สอนการพูดต่อหน้าชุมชน แล้วมั่นใจมาก จากคนที่เคยประหม่าเวลาพูดสั่นมาก ขึ้นต้นไม่ถูกเรียนแล้วดีมากๆอจ.ดูให้เป็นรายคนเลยค่ะ ดูคลิ๊ปได้ในyoutubeนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท