หนังสือทำมือ (2) : ป่งใบ (1) : ปฐมบทกลุ่มวรรณกรรมและการบุกเบิกหนังสือทำมือของชาว มศว มหาสารคาม


จุลสารป่งใบถือได้ว่าเป็น “หนังสือทำมือ” ขนานแท้ .. เปิดกว้างในเรื่องเนื้อหาแนวคิดและบรรยากาศอันหลากหลาย มีทั้ง “บู้ – บู๋น” อย่างครบครัน

ยังคงพอจำกันได้ใช่ไหมครับ (กาลครั้งหนึ่ง)  ผมเคยได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับสายธารการก่อเกิดหนังสือทำมือ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ในยุคที่ยังคงมีสถานะภาพเป็น มศว  มหาสารคาม  โดยเสนอความเคลื่อนไหวของ ชมรมวรรณศิลป์  ไปแล้วที่หนังสือทำมือ (1) : ชมรมวรรณศิลป์อีกกลุ่มวรรณกรรมแรกเริ่มของหนังสือทำมือในรั้ว มมส

กลุ่มวรรณกรรมป่งใบ  ก่อตัวและผลิบานขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัยมหาสารคามเมื่อกลางปี 2536  (ครั้งนั้นยังเป็น มศว มหาสารคาม)  เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่พิสมัยในงานวรรณกรรม  ส่วนหนึ่งแจ้งเกิดเป็นนักเขียนในบรรณพิภพไปแล้ว  ไม่ว่าจะเป็น  คำผา  เพลงพิณ (สรุพงษ์  จังหาร)  ทัศนาวดี  (สุทัศน์  วงษ์กระบากถาวร)   อณูทิพย์  ธารทอง  สุขุมพจน์  คำสุขุม (สุขุม  คำภูอ่อน)  นอกจากนั้นเป็นนักเขียนมือใหม่ที่หลงใหลในวรรณกรรมอย่างถึงขั้วหัวใจ  อาทิ  สว่าง  ไชยสงค์  วิสัย   สมประสงค์  สาคร  สารคาม  (ธนสาร   บัลลังก์ปัทมา)  จากนั้นก็เป็นนักเขียนหน้าใหม่ มือใหม่ที่วนเวียนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกองบรรณาธิการเป็นระยะ ๆ  รวมถึงข้าพเจ้าฯ  บ้างในบางโอกาส

ปรากฏการณ์รวมตัวของ ป่งใบ  (ป่งใบ  เป็นอาการผลิใบของใบไม้.. เสมอเสมือนการผลิใบและแตกหน่อ - ก่อตัวของวรรณกรรมกลุ่มใหม่ของสังคม)  กลายเป็นปรากฏการณ์แรกเริ่มของกลุ่มคนที่รวมตัวเป็นกลุ่มวรรณกรรมกลุ่มแรกอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยในยุคนั้น  แต่ละท่านล้วนเป็นนิสิตปริญญาโท สาขาภาษาไทย  โดยมี คำผา  เพลงพิณ   เป็นพี่ใหญ่และทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการของจุลสารป่งใบ  และยิ่งได้ อาจารย์ไพฑูรย์  ธัญญา  (ผศ.ธัญญา  สังขพันธานนท์ :  นักเขียนซีไรต์  ปี  2530  จากรวมเรื่องสั้นชุด ก่อกองทราย)  มาเป็นที่ปรึกษา  คอยดูแลรดน้ำพรวนดิน  ยิ่งช่วยให้ ป่งใบ  ได้ ผลิใบ  ทายท้าฤดูกาลอย่างสง่างาม 

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การรวมตัวของกลุ่มวรรณกรรมป่งใบ,  เท่าที่ผมสังเกตและมักคุ้นมักจะไม่เน้นการเสวนาพาทีและแลกเปลี่ยนเรื่องวรรณกรรมเท่าใดนัก   หากแต่ดูเหมือนจะให้ความสำคัญต่อการผลิตจุลสารวรรณกรรมที่ใช้ชื่อว่า ป่งใบ  (รายเดือน)  ออกมาเผยแพร่เป็นสำคัญ  โดยระยะแรกเริ่มแต่ละคนก็ช่วยกันเขียนเรื่องสั้น  บทกวี  บทความ เรื่องเล่าต่าง ๆ  มาลงพิมพ์ในจุลสาร  บางคนใช้นามแฝงไม่น้อยกว่า  3 – 4  ชื่อเลยก็มี</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ลักษณะของจุลสารป่งใบต้องถือได้ว่าเป็น หนังสือทำมือ  ขนานแท้  ขนาดรูปเล่มเป็นกระดาษ A 4  พับครึ่ง  ,  ปกใช้กระดาษชาร์ดสี   เนื้อหาและเรื่องราวอันเป็นตัวอักษรเกิดจากการ จิ้มดีด (เครื่องพิมพ์ดีด)  ส่วนหัวเรื่องที่ต้องทำเป็นตัวหนังสือขนาดใหญ่ต้องใช้วิธีตัดแปะจากแบบตัวอักษรอื่น ๆ  แทนการพิมพ์ดีด  จากนั้นก็เย็บด้วย แม็ก  (เย็บกระดาษ)  นำไปถ่ายเอกสารตามจำนวนที่พึงปรารถนา -  จำหน่ายจ่ายแจก  หรือซื้อขายเป็น แรงใจ  ในราคาไม่เกิน 10 – 15  บาท (ประมาณนี้,  ถ้าจำไม่ผิด)  แต่ส่วนใหญ่ก็ดูเหมือนจะแจกซะมากกว่าจำหน่าย</p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ต้องยอมรับว่าในห้วงเวลานั้น  กลุ่มวรรณกรรมป่งใบเป็นที่รู้จักแพร่หลายในแวดวงวรรณกรรม  นักเขียนจากสารทิศสัญจรมาเยี่ยมเยียนพบปะอย่างต่อเนื่อง  บ้างก็ถูกเชิญไปร่วมเวทีใหญ่ ๆ ตามโอกาสต่าง ๆ  รวมถึงการมีผลงานตีพิมพ์ลงในสื่อสิ่งพิมพ์อย่างต่อเนื่อง  และยังได้รับแรงเชียร์จากหนังสือพิมพ์บางฉบับด้วยการเขียนสกุ๊ปถึงอย่างน่าภาคภูมิใจ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ในด้านเนื้อหานั้น  ต้องยอมรับว่ากลุ่มวรรณกรรมป่งใบได้สร้างจุลสารป่งใบที่เปิดกว้างในเรื่องเนื้อหาแนวคิดและบรรยากาศอันหลากหลาย  มีทั้ง บู้ บู๋น  อย่างครบครัน  บางเรื่องสะท้อนแนวคิดการเมือง สังคม  การศึกษา  ตีแผ่ภาพชีวิตชาวมหาวิทยาลัย ไม่เว้นแม้แต่กลอนหวานและเรื่องรักหักสวาท    เรียกได้ว่าใครถนัดสไตล์ใดก็รังสรรค์ได้อย่างเต็มที่  แถมยังมีคอลัมน์ กองสอดแนม  ทำหน้าที่สอดส่องตระเวนข่าว  นำเสนอความเคลื่อนไหวในแวดวงวรรณกรรมได้อย่างทั่วถึง -  ทั่วถึงทั้งเนื้อหาและยุคสมัย !    </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมมีโอกาสได้ท่องแวะอยู่กับกลุ่มนี้อย่างสนิทแน่น  พี่ ๆ บางคนเมากลับหอพักไม่ถูกก็แวะวนมาค้างพักที่ห้องผม  ยิ่งระยะหลังผมย้ายไปพักที่หอพักของพี่คำผา  เพลงพิณ  ยิ่งทำให้ผมได้มีโอกาสคลุกคลีอยู่กับกลุ่มนี้อย่างแนบแน่น   เพราะหอพักเดียวกันนั้นก็มีทั้งพี่อณูทิพย์  (นักเลงกลอนหวานรัก,  พี่ฟิวส์ ทัศนวดี  นักเขียนเบ็ดเตล็ด)  ก็ยิ่งพัดพาผมเข้า ๆ ออก ๆ  สัมผัสบรรยากาศการทำงานของกลุ่มป่งใบอยู่เป็นครั้งคราว  รวมถึงบางฉบับผมยังได้รับมอบหมายให้เขียนปก ทั้งตัวหนังสือและตัวเลข   สวยบ้าง ไม่สวยบ้าง  แต่หากไม่คิดว่าเข้าข้างตัวเองนัก  ลายมือของผมก็น่าจะดูดีกว่าลายมือของพี่ ๆ  ทุกคน  เลยก็ว่าได้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">   </p><p>ผมไม่แน่ใจว่าป่งใบรวมกลุ่มกันอยู่นานแค่ไหน   หรือจุลสารป่งใบท่องโลกวรรณกรรมได้กี่ฉบับกันแน่  แต่ที่ชัดเจนคือจุลสารป่งใบมีอายุยาวนานเกิน 1  ปีอย่างแน่นอน  เพราะผมมีฉบับครบรอบ 1 ปีป่งใบอยู่กับตัวเอง  (โดยขณะนี้ก็กำลังติดตามข้อมูลและรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างหนัก)     </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ปัจจุบันแม่ทัพใหญ่ของกลุ่มวรรณกรรมป่งใบ คือ  พี่คำผา  เพลงพิณ  ได้เสียชีวิตไปแล้ว  , ทัศนวดี  เป็นอาจารย์สอนที่ มรภ. พระนคร  มีเรื่องสั้นเผยแพร่ไปแล้ว 3 - 4  ชุด  พี่สุขุมพจน์  คำสุขุม  รับราชการครู  มีผลงานเผยแพร่ต่อเนื่องและได้รับรางวัลประดับเกียรติทางวรรณกรรมอยู่ไม่น้อย  ซึ่งเคยผงาดเข้ารอบ 5 เล่มสุดท้ายรางวัลซีไรต์ประเภทบทกวีมาแล้ว  พี่สว่าง  ไชยสงค์   นาน ๆ ทีมีผลงานตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์  ส่วนสาคร สารคามและอณูทิพย์  ธารทอง  ดูเหมือนจะหายเงียบและวางมือไปจากแวดวงวรรณกรรม (ก็เป็นได้)</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>นี่คือ…ส่วนหนึ่งของบทกวีที่พี่คำผา  เพลงพิณ  ได้นำมาบันทึกไว้ในจุลสารป่งใบ (ปีที่ 1  ฉบับที่ 3  พฤศจิกายน  2536)  เป็นบทกวีที่ผมชื่นชอบและท่องจำอยู่จนบัดนี้ … และบทกวีบทนี้มีชื่อว่า  โศกนาฏกรรมแห่งหมู่บ้าน    </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">ข้างข้างคือกล่องข้าว</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">ซึ่งว่างเปล่ามาเกือบปี</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">เมล็ดข้าวที่เคยมี</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">บ่เหลือเม็ดพอเฮ็ดคำ</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">หวด, มวยและหม้อนึ่ง</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">ต่างบูดบึ้งเหมือนอึ้งอำ</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">กระเบียนฮ้าง ว่างประจำ</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">ก็ด่างดำอยู่เดียวดาย</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">เคียวแหว่งก็ว้าเหว่</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">เหน็บฝาเพเหมือนแพ้พ่าย</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">งอบขาด  กราดกระจาย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p align="center"> ผ้าแพรลายเริ่มโรยรา  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">….</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left">เหนือสิ่งอื่นใด  ชมรมวรรณศิลป์  อาจเป็นแรงขับหรือมีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนหนังสือทำมือในกลุ่มวรรณกรรมของ มมส  ก็จริง,  แต่ก็อยากจะสรุปให้ชัดว่าในวิถีวรรณกรรม หรือ บรรณพิภพนั้น  เราต้องยอมรับว่า “ป่งใบ”  คือกลุ่มวรรณกรรมกลุ่มแรกของมหาวิทยาลัยที่ปรากฏชัดว่ามีการจับกลุ่มแสดงตนอย่างเป็นทางการ  และยังเป็นกลุ่มวรรณกรรมแรกเริ่มที่ผลิตหนังสือทำมือ หรือ วรรณกรรมทำมือบุกเบิกขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมที่สุดก็ว่าได้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ทุกวันนี้ผมคิดถึงป่งใบในมุมของคนคุ้นเคยที่มีห้วงชีวิตเคยอยู่ด้วยกัน  เคยได้เสพบรรยากาศแห่งวรรณกรรม (อย่างผิวเผย)  ร่วมกับพี่ ๆ  … และคิดถึงป่งใบในสถานะของกลุ่มคนที่เป็น ปฐมบทของกลุ่มวรรณกรรมแรกเริ่มของชาว มมส  ที่บุกเบิกหนังสือทำมือไว้อย่างมีชีวิตชีวา</p>

(ขอบคุณ ป่งใบ ... ที่แตกใบ ได้อย่างมีคุณค่า....คิดถึง,  และขอบคุณครับ !)

 

 

</span>

หมายเลขบันทึก: 83835เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 23:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

ตอนนี้สมองตื้อมากเลย  บ่งไม่ออกแล้วค่ะ  นางซินขอลากลับคอนโดฯก่อนนะคะ

ฝันดีครับเจ้.

P
...พรุ่งนี้ยังมีอะไรรอให้ทำอีกเยอแยะ ...แต่ตอนนี้ผมยังไม่ง่วง

โชคดี, ฝันดี ...

  • อ้าว พี่หนิง  หนีหนูไปนอนซะแล้ว............

คุณแผ่นดินค่ะ 

  • เคยได้ยิน ชื่อนักเขียนบางท่าน
  • แต่ที่ชอบ คือวลีเด็ดๆ นี้ เลย ชอบมากคะ อ่านแล้วจิตใจมันหึกเหิมยังงัยไม่รู้  สงสัยเลือดอีสานจะแรง

                      อีสานแล้ง ใช่จะแล้งภูมิปัญญา         

  • ได้อ่านบันทึกหนังสือทำมือหลายบันทึกแล้ว จึงอยากเห็นในอนาคตว่าจะมีการนำหนังสือเหล่านี้มาจัดทำ หรือจัดพิมพ์ในรูปฐานข้อมูลหรือไม่ เพราะถ้ากาลเวลาผ่านไปอีกหลายปี ไม่ว่าคุณปลวก สภาพอากาศ จะกัดกร่อนต้นฉบับที่มีคุณค่าเหล่านี้ครับ (ถ้าในสมัยที่ผมเรียนเทคโนโลยีทางการศึกษา ตอนเทคโนโลยียังไม่ทันสมัยนัก เขาจะทำในรูปแบบของ ไมโครฟิล์มครับ แต่ปัจจุบันมีกล้องดิจิตอลก็สบายมากเลยครับ สามารถถ่ายไว้ทุกหน้าเก็บไว้เป็นไฟล์เผยแพร่ทางเว็บ หรืออื่นๆได้)
  • ถ้าระดมนิสิตช่วยจัดการได้ น่าจะเกิดความเป็นเจ้าของมากขึ้นนะครับ
  • จริงๆผมอยากเห็นต้นฉบับที่เป็น original ไม่รู้ว่าเผยแพร่ที่ไหนบ้างครับพี่พนัส

กัมปนาท

  • เข้ามาเชียร์หนังสือทำมือของ มมส.จ๊ะ
  • เคยอ่านหลายบันทึกแล้วค่ะ ......สู้.......สู้ นะ
ให้คุณนุ้ยทำเป็นฉบับ E-book ออนไลน์ใน net ไปเลยสิครับ จะได้ดาวน์โหลดมาอ่านให้จุใจ

แจ็คครับ..

P

ตอนนี้,  อยากทำห้องสมุดประวัติศาสตร์กิจกรรมนิสิตในระบบสาระสนเทศมาก  คิดและรำพันอยู่คนเดียว ...คิดได้แต่ไม่รู้ ไม่สันทัดเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือ

แต่บันทึกนี้มีคนมาเติมเต็ม  ก็พอเห็นเป็นรูปรอยขึ้นมาบ้าง 

อยากทำมากครับ...เพราะพี่มีต้นทุน หรือวัตถุเหล่านี้พอสมควร ...

"ว่าด้วนต้นฉบับ" ...นั้นน่าจะมีอยู่กับพี่, และทายาทน้าคำผา  เพลงพิณ...และอาจารย์ธัญญาฯ  ...

ส่วนกลุ่มป่งใบจริง ๆ นั้นไม่ค่อยแน่ใจนัก..และท้องตลาดก็ไม่มีครับ...และเท่าที่พี่มีอยู่ หลายคนมาพบก็มีแต่เอ่ยปากขอ...(เราก็หวงปานดวงใจ)

เริ่มคิดแล้วครับ...อยากทำห้องสมุดกิจกรรมออนไลน์ จังเลย

สวัสดีครับคุณกาเหว่า
P

....  ดีใจจังที่นักเขียนป่งใบบางคนเป็นที่รู้จักของคุณกาเหว่า...ช่วงนี้มีเวลาพอได้อ่านหนังสือนอกเวลาบ้างหรือเปล่าล่ะครับ...

อีสาน บ้านเฮา..บ่แล้ง....กะน้ำท่วม....ฮือ ๆ

ขอบคุณพี่อัมพรมากครับ...
P

ช่วงนี้ที่ มมส ออกค่ายเยอะมาก เฉพาะที่สังกัดองค์การนิสิตก็ 17 ค่าย นับจากพรุ่งนี้ไป ผมก็สัญจรราชการทุกวัน...คงหายหน้าหายตาไปจากบล็อกบ้าง

ยังเหลือวรรณกรรมอีกหลายกลุ่มที่ยังไม่มีเวลานำเสนอ...แต่ก็อยากบันทึกให้ครบทุกกลุ่ม  เป็นการให้เกียรติเจ้าของหนังสือ รวมทั้งการบันทึกประวัติศาสตร์ของกิจกรรมนิสิตของตัวเอง...

หนังสือทำมือเป็น "พลังทางความคิด" อีกอย่างหนึ่งของนิสิต ครับ

  • เย็นวันจันทร์กลับบ้านคุณแม่  ได้กินข้าวแลงร่วมพากันกับทายาทน้าคำผา เพลงพิณ ค่ะ 
  • ได้บอกเล่าเรื่องที่คุณแผ่นดิน  ฝากผ่านไปแล้ว ได้ยินแต่เสียง "ครับ" แต่การขยับอย่างไรต้องแล้วแต่เจ้าตัวเขานะคะ

ขอบคุณครับ คุณบอน

P

วันก่อนแต่งหล่อไปงานครูอ้อย..หล่อจริง ๆ ..และเมื่อครู่ก็จีบ ๆ น้องนุ้ยให้ช่วยพิจารณาแล้ว

ยกนี้ให้พิจารณา..ยกหน้าเป็นการ "สั่ง"  (กระมัง) ...แต่ก็น่าสนใจมากครับ...อยากทำเป็นห้องสมุดกิจกรรมเลยด้วยซ้ำไป

P

ขอบคุณมากครับ..

...ตอนนี้ก็พยายามที่จะติดต่อน้องโดยตรง  บางทีเขาอาจจะดีใจบ้างที่เรื่องราวของคุณพ่อของเขาก็ยังได้รับการกล่าวถึงอย่างมีตัวตน

และถ้าเจ้ามาร์ค  ได้อ่านบทกวีที่ อ.ธัญญา  เขียนซึ่งมีส่วนหนึ่งกล่าวถึง คำผา  เพลงพิณ  ก็ยิ่งจะน่าภาคภูมิใจในความเป็น "พ่อ" 

  • ดีมากค่ะ นิสิตจะได้ภูมิใจ  เขามีเอกลักษณ์ของเขาต่างมุมมองกัน เราผู้ใหย่บางครั้งก็นึกไม่ถึง ว่านิสิตนักศึกษาเขาคิดเช่นนั้น
  • การที่เขาเหล่านั้นบรรยายออกมาในรูปหนังสือทำมือ ไม่แน่นะ งานของเขาอาจเป็นประวัติศาสตร์ในอนาคตก็ได้ ใครจะไปรู้ 
ขอบพระคุณ พี่อัมพร ครับ
P

เพิ่งกลับจากเยี่ยมค่ายที่สุรินทร์ และมหาสารคาม  เหนื่อยครับ เลยแวะมาพักที่ G2K ...

หนังสือทำมือคือปรากฏการณ์ทางความคิดของนิสิตที่น่าสนใจมาก  ผมกำลังแกะรอย รวบรวมทุกกลุ่มใน มมส  เพื่อศึกษาวิถีคิดในแต่ละกลุ่ม  ซึ่งบางทีก็อาจจะตอบยุคสมัยของชาวมหาวิทยาลัยได้บ้าง  โดยเฉพาะในด้านกิจกรรมนิสิต

ครั้งต่อไปก็จะนำเสนอกลุ่มวรรณกรรม "ต่อขวัญ" 

ขอบคุณมากครับ..

ถึง คุณแผ่นดิน

     จุลสารป่งใบ ทุกฉบับตอนนี้ยังอยู่นะครับ ถ้าอยากได้ไว้ทำสำเนา ให้ลองโทรถาม ทัศนาวดี เพราะทัศนาวดียืมไปทำข้อมูลอยู่ครับ

      บรรยากาศการทำป่งใบ ยังคงตราตรึงในหัวใจเสมอ เพราะป่งใบ เพราะ มศว มหาสารคาม ศศ.บภาษาไทย ร่น 1และเพราะไพฑูรย์ธัญญา ช่วยให้เราได้กลายจากนักเขียนมาเป็นนักเขียนหนังสือแบบเรียนภาษาไทยจำหน่ายและเป็นวิทยากร

      จงภูมิใจในความเป็น มศว มหาสารคาม และ มมส. เถิด

       ติดต่อมาได้ครับ ถามเบอร์ที่ทัศนาวดี

ลืมบอกไปครับ ว่าห้องสมุด มศว.มหาสารคาม ก็เคยวาง ป่งใบ ในชั้นวารสาร

สวัสดีครับ  สาคร สารคาม

พี่สบายดีนะครับ... การเป็นพ่อพิมพ์ของชาติและผู้นำครอบครัวก็คงหน่วงหนักไม่ใช่ย่อย

ป่งใบ .. ถือเป็นปฐมบทของกลุ่มวรรณกรรมในมหาวิทยาลัยของเรา  เสียดายที่ไม่มีใครจัดเก็บข้อมูลอันเป็นพัฒนาการของกลุ่มวรรณกรรมในมหาวิทยาลัยอย่างที่ควรจะเป็น  แต่ล่าสุดผมได้เรียนปรึกษาท่านอาจารย์ธัญญาฯ บ้างแล้วว่าน่าจะมีวันรวมผลคนทำหนังสือทำมือกันดูสักยก  ...

พี่ว่าไงครับ..

ขอเป็นกำลังใจ...ทำเสร็จแล้วกรุณาส่งมาทางดงแม่เผดด้วยนะคะจะช่วยเผยแพร่และเป็นสื่อการสอนให้กับเด็กขาดง...

สวัสดีครับ

เข้ามาเยี่ยมชมเป็นระยะ เมื่อหวลคะนึงถึงความหลัง ตอนนี้ก็ยังสบายดีเหมือนเดิม แต่เข้ามาเพื่อช่วยให้บล็อกมีอะไรใหม่ ๆ บอกให้ผู้อ่านรู้ว่า ป่งใบ ยังคงอยู่

ตอนนี้ ยังเขียนบทความใน the city journal -ของพี่แกละ และพี่หนึ่ง คณิต รวมพลผู้ชาย ศศ.บ.เอกไทย รุ่น 1 มศว มหาสารคาม ครับ

ร้อนแล้ง..

ดินแยกแตกระแหงทุกแห่งหน

ลมหัวกุดพัดฝุ่นขึ้นหมุนวน

ประกายแดดแผดลนทุกหนทาง

เรียวหญ้าเหี่ยวแห้งจนแดงกรอบ

ควายเฒ่ายืนหอบริมเถียงฮ้าง

ดอกสะแบงปลิดขั้วแล้วหมุนคว้าง

ลงซบกลางแดดกล้าท้องนาทราย

ลำห้วยแห้งขอดตลอดฝั่ง

น้ำสร้างขุ่นแดงซำแห้งหาย

กะคุเปล่าวางเอียงอยู่เรียงราย

จากเช้าตรู่สู่เงยงาย..น้ำไม่มี

ขี้กะปอมกำพร้าบนคาคบ

หมอบหลบหนังสะติ๊กคอยหลีกหนี

จักจั่นดอกกะเจียวที่เคยมี

มันอึดอยากกว่าทุกปีอีสานเฮา

เสียงแคนก็ขัดข้องคล้ายหมองหม่น

เสียงพิณก็สับสนปนสร้อยเศร้า

มหรสพแห่งอีสานซานซบเซา

เพราะกล่องข้าวไม่มีเม้ดพอเฮ็ดคำ

ช่างแล้งร้อน..

หนุ่มสาวจึงซอกซอนสู่เมืองต่ำ

ทิ้งผู้เฒ่าสู้ชะตา-ยถากรรม

ก่อนชีวิตจะคะมำลงม้วยมรณ์

(จากบทกวีชื่อ อีสาน ของคำผา เพลงพิณ ตีพิมพ์ครั้งแรก ที่คุรุปริทัศน์ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว)

ปัจจุบันทำงานที่ 1. โรงเรียนหนองสอพิทยาคม สอนภาษาไทย

2. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (อาจารย์บรรยาพิเศษวิชากฎหมายอาญา และวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและพยานหลักฐานสำหรับรัฐศาสตร์)

จ. กาฬสินธุ์ แม้วางปากกามานานแต่ติดตามข่าวคราววงการนำหมึกตลอดมา...รักและชื่นชมเหมือนเดิม ...อดีตสมาชิกป่งใบ และเบญจมิตร ป.โทไทย รุ่น 13 มมส.

สวัสดีครับ

เห็น "คำบางบุตร ไชยสงค์" ติดต่อเข้ามาแล้วมีความสุข ที่บลอกของแผ่นดิน ยังมีชาวป่งใบ แวะเวียนมา ตอนนี้ผมเขียนบทความการศึกษากับกลุ่มผีแห้ง ศศ.บ.ภาษาไทยร่น ๑ มศว. มหาสารคาม ครับ คงมีเวลามาแวะบลอกนี้เป็นระยะ(ปีละครั้ง)

สวัสดีครับ..rojana11

ยุคสมัยนี้  หนังสือทำมือที่ทำมือกันจริง ๆ ดูน้อยนัก  ส่วนใหย่มีเครื่องมือเครื่องไม้มาช่วยผ่อนแรงลงไปเยอะเลย

ผมเองก็ยังฝันอยู่เลยครับว่า ..สักวันหนึ่งจะจัดรวมพลให้ได้ ..

 

คำบางบุตร ไชยสงค์

รักและคิดถีง สาคร สารคาม ดุจเดิม แรกเริ่มยังไง บัดนี้ก็เป็นยังงั้น ก้าวหน้าไปมากนะ คมคำตมความคิดไม่ธรรมดา ติดตามบทความแสดงทัศนะของสาคร สารคาม ที่เน็ตเรื่อยแหละ ยอมรับ ๆๆๆๆๆๆๆ บอกข่าว 21 สิงห์ "ทัศนาวดี" จะขึ้นเวทีถกปัญหาและแนวปฏิบัติ เรื่องการ "ส่งเสริมการอ่าน สืบสานการเขียน" ของเด็กมัธยมปลาย กับ คำบางบุตร ไชยสงค์ ที่หนองสอพิทย์ เวลา 9.00 - 12.00 น. อยากให้มาร่วมงานจัง (เฟ้ย) ถ้ามาได้คงสุดยอด

วันนี้(ดัน)ว่างพอดีครับ แวะมาใช้บริการคุณแผ่นดินเป็นสะพานเชื่อมไปยังเพื่อนกลุ่มป่งใบ ยินดี ดีใจ และอยากย้อนรอย ร่วงวงสนทนากับเพื่อน ๆเหมือนเช่นอดีต ทั้งสาคร สารคาม คำบางบุตร ไชยสงค์ อณูทิพย์ ธารทอง ราชบดินทร์ ประกายธรรม สุขุมพจน์ คำสุขุม ชะอวด เมืองนคร ฯลฯ หวังว่าคงมีเวลาร่วมดอมดมอดีตด้วยกัน ใครว่างก็ / สิงหาคม เก้าโมงเช้า ที่หนองสอวิทยาคม พบกันได้ครับ

รวมกลุ่มป่งใบในบลอกคุณแผ่นดิน ยินดีที่ได้ติดต่อคำบางบุตรที่ห่างหายไปนานครับ ขอเชิญไปเยี่ยมชมบลอกป่งใบ ที่เพิ่งเปิดกิจการ โดยทัศนาวดีและสาคร สารคามครับ ที่ http://gotoknow.org/blog/pongbai ระยะแรกที่ไม่มีเวลาก็มาเอาข้อมูลจาก คุณแผ่นดิน และ คุณเจนอักษราพิจารณ์ไปวางเป็นประเดิมก่อนครับ

สาคร สารคาม

พุทธมณฑล นครปฐม(ไม่ใช่พุทธมณฑลอิสานนะครับ)

บอกไปหลายคนแล้วนะ คุณสาคร สารคามว่าผมเปนคนได้อย่างเสียอย่างคือ ได้หน้าผากแต่เสียผม ก้อเปนไปตามกาลเวลานั่นแหละ แต่ความรุสึกดีๆยังมีต่อ เบญจมิตร เหมือน เดิม ////// กลุ่มนักเขียน แถวหน้า ม. หลัง ม. เมื่อปี 35-37 ยังรักและเคารพ ในทัศนะจากปลายปากกาพาฝันดังเดิม

ติดตามอ่านความเคลื่อนไหวเสมอครับ

ขอบคุณ/ เคลื่อนแต่ยังไม่ไหวเท่าไหร่ครับ เหมือนคุ้นแต่ยังไม่เคยนั่นแหละครับ

ได้รับจุลสารกลุ่มแล้ว

ขอหารือว่าวันที่ 27-28 .. 52

อยากจะชวนหมอลำซิ่ง

(คณะเล็ก หมอแคนหมอลำสัก4-5คน)

มาร่วมดวลเพลงตอนเย็นๆกับชาวแซ่เฮ ทั้ง 2 วัน

รักไม่ลืมทุกคน ป่งใบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท