การบริหารการพัฒนา


การตอบสนองความต้องการของมนุษย์นั้นเป็นไปอย่างไม่มีขอบเขตและที่สิ้นสุด
การพัฒนาประเทศในอดีตถูกดำเนินการให้เป็นไปเพื่อการผลิต  สร้างโครงสร้างพื้นฐานชุมชน และการอุปโภคบริโภคที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์  ตามกระแสนิยมและวัตถุนิยม  การตอบสนองความต้องการของมนุษย์นั้นเป็นไปอย่างไม่มีขอบเขตและที่สิ้นสุด รวมทั้งจำนวนทรัพยากรมนุษย์มีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น  แต่ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ถูกนำมาใช้เป็นฐานเพื่อการพัฒนา  ตลอดระยะเวลาเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เป็นต้นมา การพัฒนาประสบผลสำเร็จด้านเศรษฐกิจ และสังคม โดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา
หมายเลขบันทึก: 83766เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของคนไทยจึงเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น  มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ความต้องการความสะดวกสบายจึงทำให้มนุษย์พยายามแสวงหาทุนทางสังคม ทุนทางธรรมชาติเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตและยกระดับการพัฒนาตนเองด้วยการใช้ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติไปสู่การผลิต การบริโภค และการดำรงชีวิต
การพัฒนาให้เกิดผลผลิตเพื่อการบริโภคและการดำรงชีวิตจึงได้นำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างขาดการระมัดระวังและไม่มีประสิทธิภาพ  การผลิตให้เป็นสินค้าส่งออกเพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยทำให้ทรัพยากรป่าไม้ ดิน ธาตุอาหารพืช และน้ำถูกทำลายให้เสื่อมโทรมในกระบวนการเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต ทำให้สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีปริมาณและคุณภาพที่ลดลงเรื่อยไป ขณะเดียวกันเกิดการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยในการใช้เป็นปัจจัยดำรงชีวิต  ผลการพัฒนาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาไม่ยั่งยืนในมิติของความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท