การทำวิจัย "หน้างาน"


Action Research เพื่อพัฒนางาน

การวิจัยปฏิบัติการ

1. ความหมายของการวิจัยปฏิบัติการ

    การวิจัยปฏิบัติการได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในวงการศึกษาของไทยในปัจจุบัน นักวิชาการต่างเสนอแนะให้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบการทำงานของครูและโรงเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ ซึ่งมีการกำหนดไว้ในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้สถานศึกษาสนับสนุนส่งเสริมการปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยใช้กระบวนการวิจัย หลักการที่สำคัญที่สุดของการวิจัยปฏิบัติการก็คือ “การมีส่วนร่วม” (Participation) และ “ความร่วมมือ” (Collaboration) ของกลุ่มผู้ปฏิบัติที่จะตระหนักในปัญหา การปฏิบัติงานและร่วมกันแก้ไขแนวทางการวิจัยปฏิบัติการ เป็นรูปแบบของการสืบสวนแบบภาพสะท้อน (กลับ)ของตนเองเป็นส่วนรวมของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ทางสังคมเพื่อต้องการที่จะพัฒนาหลักการพื้นฐานและความเป็นธรรมของวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้รูปแบบหรือแนวทางให้ใช้การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานนั้น และในขณะเดียวกันก็เป็นการพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน นั้น ๆ ให้สอดคล้องกับภาวะของสังคมและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ร่วมงานการวิจัยนี้อาจรวมถึง ครู นักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครองของนักเรียน และสมาชิกในชุมชนอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มใดก็ได้ทันทีสนใจร่วมกัน วิธีการของการวิจัยปฏิบัติการนั้นเป็นไปได้ต่อเนื่องเมื่อมีความร่วมมือของกลุ่มบุคคลที่จะพินิจพิเคราะห์การกระทำของตนเองและกลุ่ม โดยใช้วิจารณญาณอย่างละเอียดถี่ถ้วนในทางการศึกษา โดยมีการใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนาหลักสูตรระดับโรงเรียน การพัฒนาวิชาชีพ การพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายของการตั้งกฎและระเบียบของชั้นเรียน นโยบายของโรงเรียนเกี่ยวกับการประเมินโดยไม่ใช้การแข่งขันกัน นโยบายของกลุ่มเกี่ยวกับบทบาทการให้ คำปรึกษาแก่โรงเรียน และนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการในโรงเรียนแนวความเห็นอีกแง่หนึ่งของการวิจัยปฏิบัติการนี้ มาจากการเชื่อมโยงคำสอง คำคือ คำว่า “การปฏิบัติ” (Action) และ “การวิจัย” (Research) เข้าด้วยกันเป็นการเน้นความหมายที่ว่าจะใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาและเป็นแนวทางในการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร การสอน และการเรียนรู้ผลของการพัฒนาอยู่ที่ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในชั้นเรียนและโรงเรียน มีการแยกแยะ แจกแจงและพิจารณาในหลักการและเหตุผลของการจัดการศึกษาในโรงเรียนอย่างละเอียดและ ชัดเจน การวิจัยปฏิบัติการช่วยจัดหา แนวทางการทำงานที่เชื่อมโยงระหว่างทฤษฎี และการปฏิบัติให้เป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันจากแนวคิดไปสู่การปฏิบัติการวิจัย การปฏิบัติการเป็นแนวคิดที่ใหม่เพียงใดคำว่า “Action Research” เมื่อพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์หรือจุดมุ่งหมายเป็นเกณฑ์ในการจำแนกประเภทของการวิจัย การวิจัยปฏิบัติการจะถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยประยุกต์ (Applied Research) ซึ่งได้มีการบัญญัติหรือกล่าวถึงในตำราภาษาไทยในหลายคำ เช่น “การวิจัยปฏิบัติการ” “การวิจัยเชิงปฏิบัติการ” “การวิจัยดำเนินการ” หรือ “การวิจัยในชั้นเรียน” ซึ่งน่าจะทำความเข้าใจในความหมายและมโนทัศน์ของคำนี้ให้ชัดเจน ได้มีนักวิชาการหลายคนได้ให้ความหมายและมโนทัศน์พื้นฐานของการวิจัยปฏิบัติการไว้

    จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) หมายถึง การวิจัยประเภทหนึ่งซึ่งใช้กระบวนการปฏิบัติอย่างมีระบบผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติและวิเคราะห์วิจารณ์ผลการปฏิบัติการ 4 ขั้น คือ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การสังเกต และ การสะท้อนผล การปฏิบัติ การดำเนินการต่อเนื่องไปจนกว่าจะได้ข้อสรุปที่แก้ไขได้จริงหรือพัฒนาสภาพการณ์ของสิ่งที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ความเชื่อพื้นฐานของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

   การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีความเชื่อพื้นฐาน (Basic Assumptions) อยู่ 4 ประการ คือ

2.1 วิธีการแก้ปัญหาที่ได้จากการค้นคว้า จะมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้มากกว่า วิธีแก้ปัญหาที่ได้มาจากการสั่งการของผู้มีอำนาจหรือผู้บริหารโดยสั่งการนั้นมักเกิดจากการสั่งสม ประสบการณ์ และใช้สามัญสำนึกเป็นหลักซึ่งมักจะขาดหลักฐานข้อมูลที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจ

2.2 การวิจัยเพื่อการแก้ปัญหาของผู้ปฏิบัติงานที่ดำเนินการเอง โดยผู้ปฏิบัติงานจะมีโอกาสแก้ปัญหาของเขาได้สำเร็จมากกว่าการวิจัยเพื่อการแก้ปัญหาที่ทำโดยบุคคลอื่น

2.3 การวิจัยเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ปัญหา การค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหา การทดสอบและการประเมินผลวิธีแก้ปัญหา การวิจัยเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้โดย ผู้ปฏิบัติงานทุกคนการวิจัยไม่ได้เป็นสิทธิพิเศษของผู้เชี่ยวชาญคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

2.4 การพัฒนาความสามารถของบุคคลโดยการฝึกหัด ถือว่าเป็นรากฐานการพัฒนาการปฏิบัติ

3. จุดมุ่งหมายของการวิจัยปฏิบัติการ

   จุดมุ่งหมายของการวิจัยปฏิบัติการเพื่อจะปรับปรุงประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานประจำให้ดียิ่งขึ้น โดยนำเอางานที่ปฏิบัติอยู่มาวิเคราะห์สภาพปัญหา อันเป็นเหตุให้งานนั้น ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร จากนั้นใช้แนวคิดทางทฤษฎีและประสบการณ์การปฏิบัติงานที่ผ่านมาเสาะหา ข้อมูลและวิธีการที่คาดว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ แล้วนำวิธีการดังกล่าวไปทดลองใช้กับกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น

4. กรอบแสดงลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการ

   กรอบแสดงลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการมี 4 ลักษณะ ดังนี้

      1. เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมและร่วมมือ (Participation and Collaboration)

      2. เน้นการปฏิบัติ (Action Orientation)

      3. ใช้การวิเคราะห์วิจารณ์ (Critical Function)

      4. ใช้วงจรการปฏิบัติการ (The Action Research Spiral)

5. กระบวนการดำเนินงานการวิจัยปฏิบัติการ

     กระบวนการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีขั้นตอนที่สำคัญๆ ในการดำเนินการดังนี้

   1. การจำแนกหรือพิจารณาปัญหาที่ประสงค์จะศึกษา

   2. เลือกปัญหาสำคัญที่เป็นสาระควรแก่การวิจัย

   3. เลือกเครื่องมือดำเนินการวิจัย

   4. บันทึกเหตุการณ์อย่างละเอียดในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย

   5. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ของข้อมูลที่รวบรวมไว้

   6. ตรวจสอบข้อมูลของกลุ่มผู้วิจัยได้พิจารณาไว้แล้วอีกครั้งหนึ่งเพื่อสรุปหาคำตอบที่เป็นสาเหตุและวิธีแก้ปัญหานั้นตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

6. ขั้นตอนของการวิจัยปฏิบัติการ

   กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาและปรับปรุงสภาพการเรียนการสอนจริงในโรงเรียนของครูให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีลำดับขั้นตอนดังนี้ (ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์ (แปล). 2538 : 19-20) หลักเกณฑ์พื้นฐานทั้ง 4 นี้เกี่ยวข้องกันและพัฒนาต่อเนื่องเป็นวงกลม และหมุนเป็นวงกลมเจาะลึกเข้าไปแบบเกลียวสว่านในการทำวิจัย เชิงปฏิบัติการกลุ่มและสมาชิกจะต้องปฏิบัติ ดังนี้

1. การวางแผน (Planning) การปฏิบัติเพื่อปรับปรุงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้ดีขึ้น

2. การปฏิบัติ (Action) ตามแผน (นำแผนไปปฏิบัติใช้)

3. การสังเกต (Observation) ผลการปฏิบัติ

4. การสะท้อนผล (Reflection) ผลของการปฏิบัตินี้ให้เป็นพื้นฐานของการวางแผนงานต่อไปอย่างต่อเนื่องตลอดวงจร

7. รูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

    การวิจัยปฏิบัติการคือการวิจัยแบบเข้าไปมีส่วนร่วมและร่วมมือกัน ซึ่งตามปกติเกิดจากกลุ่มที่มีความคิดเห็นร่วมกัน บุคคลจะอธิบายส่วนที่ตนสนใจเกี่ยวข้อง สืบหาสิ่งที่คนอื่นคิดและหาทางแก้ไขที่เป็นไปได้ในการประชุมอภิปรายเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่กลุ่มจะดำเนินการต่อไป กลุ่มจะต้องกำหนดแนวคิดที่สนใจร่วมกันของการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกัน โดยจะกำหนดขอบเขตการดำเนินการที่กลุ่มต้องการปฏิบัติเพื่อการปรับปรุงวิธีการ ในการทำวิจัยปฏิบัติการกลุ่มและสมาชิก จะต้องปฏิบัติดังนี้

1. แผน คือ โครงสร้างกิจกรรมหรือการปฏิบัติ และตามคำจำกัดความ แผน คือ แนวทางการปฏิบัติซึ่งจะต้องมองไปในอนาคตข้างหน้า โดยจะต้องระลึกอยู่เสมอว่าเหตุการณ์ทางสังคมนั้นไม่สามารถหรือกำหนดไว้ล่วงหน้าได้ และจะต้องมีการเสี่ยงต่อความไม่แน่นอนอยู่บ้าง การกำหนดแผนทั่วไปจึงต้องมีความยืดหยุ่นพอสมควร เพื่อที่จะสามารถปรับให้เข้ากับความ เปลี่ยนแปลงและความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในสภาพจริง เช่น เดียวกับสภาพการณ์ของสิ่งต่าง ๆ และการเมืองลักษณะที่ สอง กิจกรรมที่ถูกเลือกมากำหนดในแผน จะต้องได้รับเลือกมาเนื่องจาก กิจกรรมนั้นสามารถปฏิบัติได้ดีกว่ากิจกรรมอื่น ๆ สามารถลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้ (อย่างน้อยในระดับหนึ่ง) และช่วยให้เกิดพลังในการปฏิบัติที่เหมาะสมกว่า และมีประสิทธิภาพสูงกว่า ในการปฏิบัติการทางการศึกษาในส่วนของการกำหนดแผนนี้ ผู้ร่วมงานจะต้องให้ผู้ปฏิบัติมีศักยภาพใหม่ ๆ ในการปฏิบัติทางการศึกษาในแง่ของทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์และปรับปรุงกำหนดแผนงานที่สามารถปฏิบัติได้จริงในสภาพการณ์ที่เป็นอยู่

2. การปฏิบัติ เป็นการดำเนินการกระทำที่เกิดจากแผน ที่ได้พิจารณาไตร่ตรองแล้วอย่างรอบคอบเป็นการปฏิบัติงานจากแนวคิดให้เป็นการกระทำ และใช้การปฏิบัตินี้เป็นฐานของการพัฒนาการกระทำในขั้นต่อไป ทั้งความละเอียดถี่ถ้วนและความตั้งใจในการกระทำ การปฏิบัติดำเนินตามแนวที่ได้วางไว้อย่างมีเหตุผลและมีความควบคุมอย่างสมบูรณ์ แต่การปฏิบัติจากแนวทางที่วางไว้นี้มีโอกาสของการเสี่ยงอยู่ด้วย เนื่องจากเป็นสิ่งที่จะให้เกิดขึ้นจริงตามเหตุการณ์ทางการเมืองและสภาพการณ์จริง (ซึ่งบางอย่างจะเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ไม่สามารถจะทำนายได้ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง ดังนั้นแผนที่วางไว้สำหรับปฏิบัติจะต้องสามารถแก้ไขโดยการกำหนดให้มีความยืดหยุ่น และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงการให้ข้อมูลจากกิจกรรมก่อนหน้านั้นจะ ต้องต่อเนื่องและนำมาใช้ในกิจกรรมต่อไป (สิ่งที่เคยทำมาก่อนหรือวิธีการทำงานก่อน ๆ) แต่การทำงานที่ผ่านมาไม่จำเป็นจะต้องนำมาเป็นแนวทางสำหรับปัจจุบันเสมอไป ส่วนการปฏิบัติจะต้องเปลี่ยนรูปไปหรือปรับปรุงไปได้เรื่อย ๆ ตามผลการกระทำเกี่ยวกับการตัดสินใจนั้น ๆ การนำแนวทางปฏิบัติไปใช้ตามแผนนั้นต้องเป็นไปตามคุณลักษณะของสิ่งที่มีอยู่ตามสภาพสังคมและการเมืองโดยเน้นการปรับปรุง การต่อรองและการประนีประนอมเป็นสิ่งที่จำเป็น เมื่อเกิดความเห็นไม่ตรงกันทุกฝ่าย การดำเนินการในสายกลางจะช่วยได้มากในกรณีที่มีความขัดยังกันขึ้น ถึงแม้อย่างไรตามการพิจารณาข้อมูลเพื่อปฏิบัติการขั้นต่อไปจะต้องอยู่บนพื้นฐานของผลการกระทำที่ผ่านมาแล้ว

3. การสังเกต ทำหน้าที่เก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลวิกฤตจากการปฏิบัติงานการสังเกตช่วยมองไปข้างหน้า โดยเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะสะท้อนเหตุการณ์ในปัจจุบันในลักษณะของเหตุการณ์ในอนาคตอันใกล้ที่ดำเนินการต่อเนื่องและสอดคล้องต่อกัน ไม่แคบจนเกินไป ข้อมูลจากการสังเกตจะต้องเปิดกว้าง คือ จะต้องมองหลายแง่หลายมุมในทุก ๆ ด้าน ประเภทของการสังเกต (รวมถึงการวัด) ที่วางแผนไว้ล่วงหน้านั้นไม่เป็นการเพียงพอ ผู้สังเกตจะต้องมีความไวในการจัดภาพหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งนอกจากจะสังเกตข้อมูลตามที่วางแผนเอาไว้แล้ว จะต้อง มีความยืดหยุ่นที่จะจัดเก็บข้อมูลในลักษณะที่ไม่คาดคิดมาก่อน นักวิจัยปฏิบัติการจะต้องรายงานผลการสังเกตอย่างครบถ้วน

4. การสะท้อนของการกระทำ คือการแสดงออกที่สังเกตได้ ซึ่งจะสะท้อนออกมาในรูปของกระบวนการ ปัญหาและแนวทางการกระทำ การสะท้อนจะเป็นลักษณะของความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ทางสังคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ปฏิบัติลงไป การสะท้อนภาพจะพิจารณาโดยใช้การอภิปรายร่วมกันระหว่างผู้ร่วมงาน โดยวิธีนี้จะช่วยให้ได้ภาพสะท้อนของกลุ่มที่จะนำไปสู่การปรับสถานการณ์ทางสังคม และการปรับปรุงโครงการ การสะท้อนภาพจะมีลักษณะเป็นการประเมินอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ศึกษาปฏิบัติการจะต้องตัดสินใจจากประสบการณ์ของตนว่า ผลของการปฏิบัติ (หรือผลที่เกิดขึ้น) นั้นเป็นส่งที่ต้องประสงค์หรือไม่ และข้อแนะนำในการปฏิบัติต่อการสะท้อนข้อมูลนี้จะช่วยในการวางแผนการดำเนินการในขั้นต่อไป ที่จะเป็นไปได้สำหรับกลุ่ม และสำหรับแต่ละบุคคลในโครงการ ในการที่จะยอมรับจุดมุ่งหมายของการดำเนินการของกลุ่มด้วยการวิจัยปฏิบัติการเป็นกระบวนการที่เคลื่อนหมุนไปในสภาวะต่าง ๆ 4 จุด ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจว่าทั้ง 4 จุดนี้ จะมีการเคลื่อนไหว ไม่อยู่นิ่ง และไม่จบในตัวของมันเอง แต่จะอยู่ในสภาพการณ์ขณะใดขณะหนึ่งของการวิจัยปฏิบัติการที่จะมีการเคลื่อนไหวในลักษณะของเกลียวสว่านระหว่างการวางแผนการปฏิบัติการสังเกต และการสะท้อน การปรับปรุงในขั้นแรก เพื่อให้หลักการพื้นฐานที่จะปฏิบัติชัดเจน แจ่มแจ้ง เข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานนั้นจะพัฒนาโดยการทดสอบกับกลุ่มผู้ที่จะปฏิบัติ โดยใช้วิธีการทดสอบระหว่างหลักการพื้นฐานกับแนวปฏิบัติและระหว่างหลักการพื้นฐานด้วยกัน โดยทั่วๆ ไปสิ่งที่เสนอเป็นหลักการพื้นฐานนี้จะพัฒนาโดยอาศัย คำวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับหลักการและการปฏิบัติทางการศึกษาโดยตรง ประกอบกับทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างไร และระบบข่าวสารในโรงเรียน (หลักสูตร ระบบการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผล ที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดความหมายกับ ผู้เรียนความสำคัญของกลุ่มในการวิจัยปฏิบัติการไม่ควรจะถูกละเลยไป กิจกรรมใด ๆ ที่กระทำโดยบุคคลเพียงคนเดียวผ่านวงจรของการวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อน ไม่ถือว่าเป็นการวิจัยปฏิบัติการ การวิจัยปฏิบัติการไม่ใช่กิจกรรมของเอกัตบุคคล การกระทำโดยบุคคลเดียวจะทำลายระบบการเปลี่ยนแปลงของพลังของกลุ่มที่สำคัญยิ่ง ซึ่งเป็นการกระทำที่เสี่ยงมาก การปฏิบัติการด้านการศึกษาจะไม่ดำเนินการโดยคนเดียว แต่ต้องเน้นการปฏิบัติจริงในกลุ่ม ซึ่งจะช่วยให้การกระทำใด ๆ มีการพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบโดยกลุ่ม)การวิจัยปฏิบัติการ ไม่ได้เป็นแต่เพียงการวิเคราะห์และปรับปรุงอรรถลักษณะหรือ การพูดบรรยายของแต่ละกลุ่ม หรือกิจกรรมอันหมายถึงการกระทำของงานแต่ละคน หรือการมี สัมพันธภาพในสังคมจากการมองเพียงด้านเดียวของแต่ละบุคคลเท่านั้น แต่การวิจัยปฏิบัติการจะมีความหมายกว้างออกไปกว่านี้อีกกล่าวคือการวิจัยปฏิบัติการจะยึดถือว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่มีภาษา กิจกรรม และสัมพันธภาพทางสังคมเป็นโครงสร้างในสังคมของตนเอง ดังนั้นในการที่จะทำความเข้าใจสังคมนั้น ๆ จะต้องวิเคราะห์ผ่านกระบวนการสังคม ศึกษาประวัติความเป็นมาและระบบทางสังคม ในการที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับโครงสร้าง จะต้องมีหลักการและการวิจารณญาณโดยผ่านการตัดสินใจของกลุ่ม ในการวิจัยปฏิบัติการกระบวนการวิจัยจะคล้ายกับการจัดการทางการศึกษาจะต้องนำโครงสร้างทางสังคมมาเกี่ยวข้องด้วยเสมอในการพิจารณาหรือการตัดสินใจต่าง ๆ โดยเน้นความร่วมมือและการตัดสินใจของกลุ่มการวิจัยปฏิบัติการจะเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างเท่าเทียมกัน คือ ความ เปลี่ยนแปลงในแต่ละบุคคลด้านหนึ่ง และอีกด้านหนึ่งคือความเปลี่ยนแปลงในสังคมของกลุ่มหรือสถาบัน และความเปลี่ยนแปลงของสังคมของคนเหล่านั้น วัฒนธรรมของกลุ่มสามารถอธิบายได้ในแง่ของคุณลักษณะของปรากฏการณ์และรูปแบบของวัฒนธรรมที่แสดงออกทางภาษาและกิริยามรรยาท กิจกรรมและปฏิบัติในสังคม ตลอดจนสัมพันธภาพและระบบสังคมที่แสดงออกถึงปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มการวิจัยปฏิบัติการตระหนักดีว่า มนุษย์เราแต่ละคนเป็นสัตว์สังคมและเป็นสมาชิกของกลุ่มปฏิบัติการดำรงชีวิต โดยมีกระบวนการเสริมสร้างของภาษา ในการติดต่อสื่อสารการปฏิบัติงานและสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในสังคมในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของกลุ่ม (สมมุติเราไม่มองในระดับกว้างคือสถาบันสมาคมในวงกว้าง) เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง กับคนอื่น โดยการสร้างรูปแบบและการสอนและใช้ภาษา การปฏิบัติกิจกรรมและความสัมพันธ์ทางสังคมในลักษณะของ กิจกรรมรวมกัน ในการวิจัยปฏิบัติการ เราเน้นที่จะดำเนินการเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง และร่วมมือระหว่างบุคคลและวัฒนธรรมของกลุ่ม การเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งหมดกลุ่ม จะทำงานด้วยกัน เพื่อเปลี่ยนแปลงการดำเนินการเปลี่ยนแปลงสัมพันธภาพในสังคมในลักษณะเฉพาะของกลุ่มของเขา ซึ่งจะเป็นรูปแบบอันจะเป็นแนวโน้มที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปฏิสัมพันธ์ในระบบที่กว้างของสังคมและวัฒนธรรม ทั้งนี้มีคำขวัญที่กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมว่า “คิดให้กว้างระดับโลก ปฏิบัติแคบระดับท้องถิ่น”ในขั้นแรกการวิจัยปฏิบัติการจะหยิบยกประเด็นปัญหาทางการศึกษา นั้นคือปัญหาในกิจกรรมที่จะยอมรับว่ามีรูปแบบที่ดีทางการศึกษา ควรจะได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนทั้งในแง่ทางด้านสังคมและการศึกษา ตัวอย่างปัญหาที่มาจากการยอมรับ คำถามสืบค้นหานั้นจะต้องพัฒนาขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ โดยการทดลองจริง ๆ สมมุติว่ามีช่องว่างระหว่างแนวความคิดและความเป็นจริงของการสอนสืบเสาะหาความรู้ในชั้นเรียนของข้าพเจ้า ซึ่งช่องว่างนี้กลุ่มผู้ดำเนินการก็จะ ช่วยหาทางแก้ไขให้ข้าพเจ้าพัฒนาการปฏิบัติงานสอนเพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นเกิดผลสัมฤทธิ์ให้จงได้ ช่องว่างนี้จะเป็นประหนึ่งข้อสงสัยหรือข้อกังขาในระหว่างสิ่งที่ครูคือตัวข้าพเจ้าดำเนินการวัดผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน มันหมายถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนวิธีการหรืออาจจะต้องตรวจสอบความเป็นมาเป็นไป ทั้งนี้ควรเริ่มโดยการนิยามแนวคิดที่น่าสนใจร่วมกัน ซึ่งอาจจะพิจารณาบุคลิกภาพของผู้ดำเนินการร่วมเข้าไปด้วยหรืออาจจะเริ่มการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งไม่ว่าจะเริ่มด้วยวิธีใดก็ตามแผนการก็ได้เกิดขึ้นแล้ว และจะต้องให้เวลาระยะหนึ่งที่จะศึกษาว่าจะทำอะไรบ้างในระยะนี้ควรจะดำเนินการต่อไปอย่างระมัดระวังโดยคิดไตร่ตรองถึงยุทธวิธีอย่างรอบคอบ ศึกษาผลลัพธ์และผลกระทบจากบุคคลต่าง ๆ ตลอดจนศึกษาโครงการอื่น ๆ ที่คล้ายกัน และโครงการที่เกี่ยวข้องกันโดยพยายามแจกแจงแนวคิดให้เป็นการกระทำในสถานการณ์จริงในห้องเรียนดังตัวอย่าง วงจรของการทำงานของครูคนหนึ่ง ครูจะต้องเข้าร่วมกับการวิจัยในกลุ่ม โดยสภาพการณ์ของตนเองและโดยการรวบรวมการปฏิบัติ เพื่อที่จะพัฒนางานของโรงเรียนตลอดจนระบบและงานสังคมของโรงเรียน งานของครูจะต้องสัมพันธ์กับการเรียนของนักเรียน ผู้ปกครอง และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ตามแนวคิดที่สนใจร่วมกัน จากภาพที่ 3 แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของปฏิสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นกระบวนการที่เคลื่อนหมุนไม่อยู่นิ่งของ 4 จุดสำคัญ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวในลักษณะของเกลียวสว่านระหว่างการวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนซึ่งในการวิจัยเพื่อหารูปของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ผู้วิจัยก็ได้อาศัยหลักการพื้นฐานของจุดสำคัญดังกล่าวเป็นกรอบหลักและประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพการแก้ปัญหาหรือการปรับปรุงพัฒนาในแต่ละด้านตามกรอบที่กำหนดไว้จุดเด่นของการวิจัยปฏิบัติการ ได้แก่ วงจรของการวิจัยที่ต่อเนื่องกัน เปรียบเสมือนเกลียว (Spiral) กล่าวคือผลของการประเมินการปฏิบัติงานอาจนำไปสู่การวางแผนและการปฏิบัติงานใหม่ จนกว่าจะบรรลุผลตามจุดหมายที่ต้องการอย่างแท้จริง แบบจำลอง (Model) ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษาที่นำมาจากแบบจำลองกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis และ McTaggart (ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. 2537 : 11 – 18 ; อ้างอิงมาจาก Kemmis and McTaggart. 1998) แห่งมหาวิทยาลัย Deakin ประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นแบบจำลองง่าย ๆ ที่นิยมใช้กัน อย่างแพร่หลาย โดยมีกิจกรรมในกระบวนการวิจัยดังนี้

1. วางแผน (Plan)

2. ปฏิบัติตามแผนและสังเกตผลการปฏิบัติ (Action and Observe)

3. สะท้อนความคิด (Reflect) คือการทบทวนผลการปฏิบัติอย่างพินิจพิจารณา ร่วมกัน แบบจำลองการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ให้ความสำคัญกับการสะท้อนความคิด อาจนำไปสู่การปรับแผนและเข้าสู่วงจรของการวิจัยอีกครั้งหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการทำงานที่เป็นวงจรเสมือนกับเกลียวของกรอบงานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกว่าผลที่ได้จะเป็นที่พอใจของผู้ปฏิบัติโดยมุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานประจำให้ดีขึ้น โดยนำงานที่ปฏิบัติอยู่มาวิเคราะห์ทาสาเหตุของปัญหา จากนั้นใช้แนวคิดทางทฤษฎีและประสบการณ์เสาะหาข้อมูลและวิธีการที่คาดว่าจะแก้ปัญหาได้ แล้วนำวิธีดังกล่าวมาทดลองใช้กับกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น

8. สรุปหลักการสำคัญของการวิจัยปฏิบัติการได้ดังนี้

1. การวิจัยปฏิบัติการเป็นความพยายามที่จะปรับปรุงการศึกษาโดยการเปลี่ยนแปลง

2. การวิจัยปฏิบัติการเป็นการทำงานของกลุ่ม และให้การปรึกษาหารือร่วมมือกันทำงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการฝึกปฏิบัติตามแนวทางที่กลุ่มกำหนด

3. การวิจัยปฏิบัติการใช้การสะท้อนการปฏิบัติ โดยประเมินตรวจสอบในทุกๆ ขั้นตอนเพื่อปรับปรุงการฝึกหรือการปฏิบัติให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย

4. การวิจัยปฏิบัติการเป็นกระบวนการเรียนอย่างมีระบบ

5. การวิจัยปฏิบัติการเป็นการเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ

6. การวิจัยปฏิบัติการเป็นการสร้างความรู้ใหม่ ที่ให้แนวทางปฏิบัติเชิงรูปธรรมจากการบันทึกพัฒนาการของกิจกรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้เห็นกระบวนการเข้าสู่ปัญหา การแก้ปัญหา การปรับปรุง และได้ผลสรุปที่สมเหตุสมผล

หมายเลขบันทึก: 83643เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • มาทักทาย
  • สงสัยว่าทำไมไม่พบบันทึกและไม่พบคุณในงานUKM งง งง
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท