จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ผลกระทบของการนิยามความรู้ที่แคบ


บางที่การเข้าใจในของนิยามความรู้สำหรับมุสลิมในปัจจุบัน อาจจะช่วยทำให้ทัศนคติต่อความรู้เปลี่ยนไป

มีมุสลิมหลายๆ คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และบางกลุ่มคนที่เน้นในเรื่องการปฏิบัติศาสนกิจเหนื่อจากสิ่งอื่นใด (หมายถึงไม่รู้ก็ต้องทำ) พยายามปฏิเสธการจัดการศึกษาที่รัฐนำมาเสนอให้ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรือแม้กระทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ ด้วยเหตุผลที่เขาได้รับฟังมาว่า เรียนสามัญไม่ดี เป็นบาป

ในความเข้าใจของผมที่พยายามทำความเข้าใจกับมิติของคำพูดดังกล่าว คิดว่า แนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดที่นำเรื่องของศาสนามาผูกติดกับการเมืองเมื่อในอดีต ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นมลายูในอดีตอาจถูกทำลายได้ด้วยการศึกษาที่รัฐจัดให้ ซึ่งปัจจุบันบริบทต่างๆ ทางด้านการเมืองเปลี่ยนไปแล้ว การปกป้องวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของชุมชนก็เปลี่ยนไปแล้วเช่นกัน การแบ่งแยกดินแดนก็ดำเนินการด้วยคนไม่กี่คน(ตามที่รัฐกล่าวอ้าง) ดังนั้นการทำความเข้าใจในมิติของความรู้สำหรับมุสลิมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอันดับต้นของการพัฒนาชุมชน

อย่างที่กล่าวมาในบทที่ผ่านๆ มาว่า ความรู้จะทำให้รู้จักพระเจ้ามากขึ้น ดังนั้นหากการเรียนวิทยาศาสตร์ทำให้ผู้เรียนได้กระชับและมั่นคงในศรัทธาต่อพระเจ้าได้ นั้นก็คือความรู้ที่ถูกต้องในอิสลาม และเช่นเดียวกันหากมุสลิมขาดการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว เมื่อมีการแลกเปลี่ยนหรือการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการอื่นๆ นอกเหนือจากการเรียนการสอนแล้ว เยาวชนมุสลิมอาจยิ่งหากไกลจากการศรัทธาก็เป็นได้

เช่น ถ้าเราไม่เคยสอนให้เยาวชนเข้าใจเรื่องของการปฏิสนธิ (ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาวิทยาศาสตร์)เลย เมื่อโตขึ้นไป โลกของเขากว้างขึ้น และเมื่อเขามองกลับมายังคำสอนในศาสนาของเขา เขาก็อาจมองว่าศาสนาของเขาคับแคบจังเลย ทั้งนี้เนื่องจากการเรียนการสอนที่ผ่านมานิยามคำว่าความรู้แคบไป (อันนี้ต้องไปอ่านบล็อกของ อ.อิบราเฮ็ง หะยีสาอิ ต่อครับ)

ดังนั้นในมิติที่น่าจะเป็นทางที่ดีที่สุดของการศึกษาของมุสลิม คือ การขยายกรอบคำนิยามของความรู้ ซึ่งเดิมมีคำนิยามที่แคบ เจาะจงลงไปเฉพาะเรื่องของการปฏิบัติศาสนกิจเท่านั้น (ทั้งนี้อันเนื่องจากมูลเหตุหลายประการ ทั้งในเรื่องของการพัฒนาองค์ความรู้ในอดีต ตลอดไปจนถึงเรื่องของการเมืองการปกครองในสมัยที่ผ่านมา) เป็น ทุกความจริงคือความรู้สำหรับมุสลิม ความจริงในที่นี้คือปรากฏการณ์

ขออนุญาตชี้แจงประการหนึ่งว่า การขยายกรอบคำนิยามของความรู้ ที่ผมกล่าวไปนี้ อาจจะเฉพาะประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือมุสลิมบางกลุ่มเท่านั้น เนื่องจากความจริงในสมัยท่านศาสนฑูต (ซ.ล) นั้นกรอบความรู้นั้นกว้างอยู่แล้ว คือครอบคลุมทุกมิติของการดำเนินชีวิต โดยมีแหล่งการศึกษาสำคัญคือ อัลกุรอาน อัซซุนนะห์ และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

เช่นครั้งหนึ่ง ท่านศาสนฑูต (ซ.ล) ได้ห้ามการผสมเกษรต้นอินทผาลัม สุดท้ายชาวเกษตรกรก็เรียกร้องท่านว่า การทำอย่างนั้นทำให้ผลผลิตตกต่ำ ท่านศาสนฑูตก็กล่าวอนุญาต โดยกล่าวว่า ในเรื่องของโลกนี้ พวกท่านรู้ดีกว่าฉัน นั้นหมายความว่า ความรู้นั้นกว้างไกลสำหรับการศึกษา และทุกคนมีสิทธิในการศึกษาและเป็นเจ้าของความรู้ แต่แน่นอนความรู้ในเรื่องหลักการศาสนานั้นต้องเป็นสิ่งที่มีจากอัลลอฮ์ โดยผ่านท่านศาสนฑูตเท่านั้น ไม่อนุญาตให้คนอุตริคิดขึ้นมาเอง

คำสำคัญ (Tags): #ความรู้#อิสลาม
หมายเลขบันทึก: 83640เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 09:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อัสสลามุ อะลัยกุม...

อ่านแล้วแต่ไม่คอมเม้นต์นะครับเพียงแต่อยากบอกว่า ผมได้เพิ่มบล้อคของผมอีก๓บล็อคเพื่อแยกเนื้อหาให้เป็นสัดส่วนและสมบูรณ์ขึ้น อยากให้อาจารย์อีย์ช่วยลากเข้าไปในแพลเน็ตด้วยครับ เตอรีมอกาเซะฮ์ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท