สื่อภาคประชาชน


ก่อเกิดnews4
 
1. เพิ่มมาตราในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ดังนี้.- มาตรา (1) 
     สิทธิเสรีภาพในการพูด การฟัง และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอ ทั่วถึง และเท่าเทียม สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและปราศจากความรุนแรง  และเสรีภาพในการตรวจสอบอำนาจรัฐ ถือเป็นสิทธิตามธรรมชาติของประชาชน ทั้งนี้ อำนาจรัฐมิอาจออกมาตรการทางกฎหมายใดที่จะเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพดังกล่าวของประชาชน มาตรา (...)       รัฐต้องจัดให้มีสื่อวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ดาวเทียมเพื่อประโยชน์สาธารณะของประชาชนทุกคน ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทั้งในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และชุมชน โดยเป็นสื่อเสรีที่ไม่ใช่ของหน่วยงานราชการและองค์กรทางธุรกิจการค้า เพื่อประกันการได้รับและการได้สื่อสารข้อมูล ความคิดเห็น ที่สำคัญ จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตและเพื่อสนับสนุนสิทธิ เสรีภาพในการสื่อสารของประชาชนทุกกลุ่ม  2. คงเนื้อหาว่าด้วยสิทธิการสื่อสารของประชาชน ตามมาตรา 37, 39, 40, 41, 42, 58 และมาตรา 60 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และเพิ่มสาระในมาตรา 39, 40, 41 และ 42 ดังที่ปรากฏเป็นตัวอักษรเอียง ตัวหนา และขีดเส้นใต้ ดังนี้.มาตรา 39        บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น   การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะ เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน การสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือการปิดกั้นสื่อมวลชนทุกแขนง รวมถึงภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ต วิทยุชุมชน สื่อภาคประชาชน รวมถึงสื่อเทคโนโลยีที่อาจพัฒนาขึ้นในอนาคต เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำมิได้ การให้นำข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ จะกระทำมิได้ เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทำมิได้ มาตรา 40  คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติและประชาชน เพื่อประโยชน์สาธารณะ  รัฐต้องจัดให้มีองค์กรอิสระเพื่อทำการปฏิรูปสื่อ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้มีความเป็นอิสระและมีสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ให้มีการแบ่งประเภทสื่อเป็น สื่อบริการสาธารณะ สื่อธุรกิจ และสื่อภาคประชาชน     การดำเนินการตามวรรคแรก ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคงของประชาชน โดยเฉพาะเด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้หญิง คนพิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสังคม มาตรา 41    พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรณแห่งการประกอบวิชาชีพ โดยกลไกการควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ    ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ในกิจการวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนตามวรรคหนึ่ง เจ้าของกิจการสื่อพึงสนับสนุนให้พนักงานจัดตั้งสหภาพแรงงานเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพและครวามเป็นธรรม มาตรา 42      การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ  รวมทั้งการนำความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการมาร่วมขับเคลื่อนทางสังคม ย่อมได้รับความคุ้มครอง  3. เพิ่มมาตราในบทเฉพาะกาล ดังนี้มาตรา (...)      องค์กรอิสระและกลไกที่ทำให้บทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นสามารถใช้ได้จริง ต้องแล้วเสร็จภายใน 2 ปี หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ระหว่างที่ยังไม่มีองค์กรอิสระและกลไกต่างๆ ยังไม่แล้วเสร็จ ให้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครองตามกฎหมาย และหากไม่มีองค์กรอิสระ หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกลไกต่างๆ ภายใน 2 ปี ให้ยึดถือบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายรับรองสิทธิในการดำเนินการ 4. แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพการสื่อสาร ดังนี้.-แก้ไขมาตราเพิ่มเติม... ของกฎหมายอาญา พ.ศ. .... ดังนี้  ..การวิจารณ์บุคคลสาธารณะ ต้องได้รับการคุ้มครองจากการดำเนินคดีในทางอาญา …” 

เสนอ หมวดว่าเรื่อง สิทธิและเสรีภาพในการสื่อสาร หลักคิด1.      มีความเท่าเทียม เป็นธรรม และทั่วถึง2.      สนับสนุนสื่อที่หลากหลาย เน้นประโยชน์สาธารณะมากกว่าประโยชน์ทางการค้า3.      ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งกลุ่มเด็กเยาวชน เกษตรกร ผู้พิการ ชนกลุ่มน้อย กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ ในการสื่อสาร เนื้อหา1.      รัฐต้องจัดให้มีวิทยุและโทรทัศน์บริการสาธารณะ2.      รัฐต้องมีหลักประกันที่ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่ใช่เป้าหมายหลักของธุรกิจสื่อเชิงพาณิชย์ อาทิเช่น เด็ก เยาวชน คนพิการ ชนกลุ่มน้อย ผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ เข้าถึงช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายในทุกระดับ ทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด และระดับชาติ3.      ในการดำเนินงานสื่อเพื่อบริการสาธารณะของภาครัฐและสื่อภาคธุรกิจเอกชน รัฐต้องกำหนดสัดส่วนเนื้อหารายการสาระและบันเทิง รวมทั้งต้องเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนเข้าไปใช้เพื่อสื่อสาร บอกเล่าปัญหา และความต้องการของกลุ่มคนต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั่วถึง และเท่าเทียม4.      ชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิเป็นเจ้าของสื่อ เพื่อประโยชน์สาธารณะของชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ5.      ประชาชนในฐานะเจ้าของทรัพยากรและผู้บริโภคสื่อ ต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดและตัดสินใจนโยบายที่เกี่ยวกับสื่อ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการจัดสรรคลื่นความถี่ และกำหนดเนื้อหา/ช่วงเวลา รายการที่สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของกลุ่มคนที่แตกต่างหลากหลายในสังคมอย่างเพียงพอ6.      ผลักดันให้มีกฎหมายลูก องค์กรอิสระ และกลไกต่างๆ ที่ทำให้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้งานได้จริงใน 2 ปี7.      ยืนยันให้แยกองค์กรอิสระที่จัดสรรและกำกับดูแลระหว่างกิจการวิทยุโทรทัศน์ กับกิจการโทรคมนาคมออกจากกัน8.      รัฐต้องจัดตั้งกองทุนสื่อบริการสาธารณะ และกองทุนสื่อภาคประชาชน โดยที่มาของงบประมาณมาจากส่วนแบ่งรายได้ของการประกอบกิจการคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และงบประมาณแผ่นดิน9.      รัฐต้องสนับสนุนการศึกษาและงานวิจัยสื่อสาธารณะ สื่อทางเลือก สื่อภาคประชาชน เพื่อประโยชน์สาธารณะ10.  รัฐต้องจัดให้มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนสื่อที่ส่งเสริมความหลากหลายของชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ฯลฯ11.  รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุนให้มีการพัฒนาศักยภาพการดำเนินการสื่อภาคประชาชนในด้านต่างๆ 12.  ภาคประชาชนและสื่อมวลชนต้องมีสิทธิเสรีภาพในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน สามารถวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ13.  รัฐต้องมีมาตรการป้องกันการแทรกแซงสื่อทุกประเภทจากกลุ่มการเมืองและกลุ่มธุรกิจ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยต้องจัดให้มีองค์กรอิสระด้านสิทธิเสรีภาพการสื่อสาร เพื่อป้องกันการแทรกแซง สั่งปิด และส่งเสริมจรรยาบรรณสื่อ และให้มีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคด้านสื่อ14.  รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มกันเองของผู้ประกอบการประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการกำกับดูแลกันเอง15.  ในการจัดสรรคลื่นความถี่ รัฐต้องแบ่งช่วงคลื่นตามสัดส่วนโดยแยกจากกันอย่างชัดเจน ระหว่างการประกอบกิจการบริการสาธารณะ ภาคธุรกิจ และภาคชุมชน/ประชาชน16.  รัฐต้องแบ่งประเภทการประกอบกิจการเป็นบริการสาธารณะในระดับชาติ ภาคธุรกิจ และบริการชุมชน โดยในการประกอบกิจการภาคธุรกิจ ต้องมีการแบ่งขนาดการประกอบกิจการเป็นการประกอบกิจการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม17.  รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุนให้สื่อชุมชน ทำหน้าที่เป็นตัวกลางสะท้อนปัญหาความต้องการของชุมชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการดำเนินการสื่อชุมชน18.  หลักเกณฑ์ทางเทคนิคเรื่องกำลังส่งและความสูงของเสาสัญญาณ ให้ขึ้นกับความต้องการและบริบทของชุมชน19.  รัฐต้องสนับสนุนให้มีการจัดตั้งวิทยุชุมชนเชิงประเด็น ตามความจำเป็นและความต้องการขั้นพื้นฐานในการสื่อสารของกลุ่มคนที่หลากหลายทั่วถึง เท่าเทียม และเพียงพอ20.  รัฐต้องสนับสนุนให้มีวิทยุชุมชนในระดับตำบล วิทยุภาคประชาชนในระดับอำเภอ, จังหวัด และประเทศ รวมถึงโทรทัศน์ภาคประชาชนในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ  <div style="padding-right: 4pt; padding-left: 4pt; padding-bottom: 1pt; padding-top: 1pt; border: windowtext 1pt solid">ข้อเสนอต่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิทยุชุมชนในระหว่างยังไม่มีรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ</div>1.      ระงับการจับกุมดำเนินคดีผู้ประกอบการวิทยุขนาดเล็กและวิทยุชุมชน อันเนื่องมาจากการบังคับใช้ พรบ. วิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 และ พรบ.วิทยุคมนาคม 24982.      รัฐต้องสนับสนุนวิทยุชุมชนที่ยึดหลักปรัชญาของวิทยุชุมชน ที่ไม่มีวัตถุประสงค์แอบแฝงทางธุรกิจและการเมือง ตามมาตรา 26 ของ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ตลอดทั้งเผยแพร่แนวคิด ปรัชญาวิทยุชุมชนที่ถูกต้องแก่สังคม3.      ในระหว่างที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลกิจการวิทยุโทรทัศน์ฯ ให้มีคณะกรรมการพหุภาคีทำหน้าที่สำรวจสถานะ และแยกประเภทวิทยุชุมชนออกจากวิทยุขนาดเล็ก แก้ปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อน และวางกรอบนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินการวิทยุชุมชนและวิทยุขนาดเล็ก ในระดับจังหวัด, ภาค และประเทศโดยเร่งด่วน ที่มาของคณะกรรมการดังกล่าว ให้มาจากตัวแทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีสัดส่วนกรรมการจากตัวแทนของประชาชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ ให้ราชการส่วนจังหวัดและระดับประเทศทำหน้าที่เป็นกองเลขาฯ ดูแลให้มีการสรรหาคณะกรรมการดังกล่าว การดำเนินการของคณะกรรมการดังกล่าว ต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างทั่วถึงในการกำหนดนโยบาย โดยเปิดเผย โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อน ให้เป็นไปตาม พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543 ในประเด็นสัดส่วนการเข้าถึงและเข้าไปใช้คลื่นความถี่ของภาคประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ และการดำเนินการของภาคประชาชนต้องไม่เป็นการแสวงหากำไรในทางธุรกิจ  <div style="padding-right: 4pt; padding-left: 4pt; padding-bottom: 1pt; padding-top: 1pt; border: windowtext 1pt solid">ข้อเสนอต่อทิศทางการเคลื่อนไหว</div> 1.            จัดเวทีระดมความคิดเห็นการปฏิรูปสื่อภาคประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การปฏิรูปการเมืองรอบใหม่ ในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ2.            การจัดกลไกการสื่อสารระหว่างเครือข่ายวิทยุชุมชน เครือข่ายสื่อภาคประชาชน เครือข่ายสื่อทางเลือก ฯลฯ ในการติดตามสถานการณ์ การส่งผ่านข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน อาทิ การจัดเวที, รายการวิทยุ, ช่องทางเว็บไซต์ต่างๆ เช่น www.thaicr.org ฯลฯ3.            กิจกรรมรณรงค์เผยแพร่สื่อสารสองทางในระดับพื้นที่ ทั้งเผยแพร่สถานการณ์/ข้อเสนอ และเปิดระดมความคิดเห็นจากคนในชุมชนต่อการปฏิรูปสื่อ รวมถึงต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่4.            กิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ ผลักดันนโยบาย เช่น การล่ารายชื่อเพื่อสนับสนุนข้อเสนอการปฏิรูปสื่อภาคประชาชน, การแสดงตัวตน/รวมพลัง, ดีเดย์ออกอากาศวิทยุชุมชนพร้อมกันในระดับจังหวัด, ภาค และประเทศ5.            การสื่อสารข้ามเครือข่าย อาทิ เครือข่ายทรัพยากร เครือข่ายเกษตรกร เครือข่ายผู้บริโภค ฯลฯ ทั้งในระดับจังหวัด ภาค และประเทศ ประสานพลังร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ของสังคม เช่น เครือข่ายนักวิชาการ องค์กรวิชาชีพ องค์กรพัฒนาเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชนทุกภาคส่วน ในการผลักดันข้อเสนอการปฏิรูปสื่อทั้งระบบ และต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 6.            การหนุนช่วยเพื่อนพ้องน้องพี่ในกรณีการถูกจับกุมดำเนินคดี  <div style="padding-right: 4pt; padding-left: 4pt; padding-bottom: 1pt; padding-top: 0pt; border: windowtext 1pt solid">ข้อเสนอต่อสถานการณ์สื่อปัจจุบัน</div><p>  1.      ต่อข้อเสนอให้ยุบรวม กสช./ กทช.ก.      ไม่เห็นด้วย เสนอว่าต้องแยกองค์กรอิสระที่กำกับดูแลกิจการวิทยุโทรทัศน์ (กสช.) ออกจากองค์กรอิสระที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม (กทช.)ข.      เพิ่มสัดส่วนภาคประชาชนในการคณะกรรมการสรรหา กสช.ค.      ลดสัดส่วนตัวแทนหน่วยงานราชการในคณะกรรมการสรรหา กสช. ให้เท่ากันกับตัวแทนจากกลุ่มอื่นง.       ป้องกันการแทรกแซงจากผู้ประกอบการในสัดส่วนตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อ ในคณะกรรมการสรรหา กสช. 2.      ต่อข้อเสนอการจัดทำแผนแม่บทจัดสรรคลื่นความถี่ ไม่เห็นด้วยกับการจัดทำแผนแม่บทจัดสรรคลื่นความถี่ในปัจจุบัน ให้รอ กสช. มาทำหน้าที่ร่วมกับ กทช. ในระหว่างที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลกิจการวิทยุโทรทัศน์ฯ ให้มีคณะกรรมการพหุภาคีทำหน้าที่สำรวจสถานะ และแยกประเภทวิทยุชุมชนออกจากวิทยุขนาดเล็ก แก้ปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อน และวางกรอบนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินการวิทยุชุมชนและวิทยุขนาดเล็ก ในระดับจังหวัด, ภาค และประเทศโดยเร่งด่วน ที่มาของคณะกรรมการดังกล่าว ให้มาจากตัวแทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีสัดส่วนกรรมการจากตัวแทนของประชาชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ ให้ราชการส่วนจังหวัดและระดับประเทศทำหน้าที่เป็นกองเลขาฯ ดูแลให้มีการสรรหาคณะกรรมการดังกล่าว การดำเนินการของคณะกรรมการดังกล่าว ต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างทั่วถึงในการกำหนดนโยบาย โดยเปิดเผย โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ 3.      ต่อข้อเสนอเรื่อง ร่าง พรบ.องค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ เห็นด้วยกับแนวคิด แต่ต้องดำเนินการให้มีการเผยแพร่ข้อมูลสู่ภาคประชาชนทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง ในทุกรูปแบบ อาทิ การเผยแพร่ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์กระแสหลัก สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ การจัดเวทีให้ข้อมูล ฯลฯ และต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนทั้งในระดับการรับฟังความคิดเห็น และระดับการพิจารณา/ตัดสินใจ 4.      ต่อข้อเสนอเรื่อง ร่าง พรบ. ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ต้องดำเนินการให้มีการเผยแพร่ข้อมูลสู่ภาคประชาชนทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง ในทุกรูปแบบ อาทิ การเผยแพร่ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์กระแสหลัก สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ การจัดเวทีให้ข้อมูล ฯลฯ และต้องให้คำสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนทั้งในระดับการรับฟังความคิดเห็น และระดับการพิจารณา/ตัดสินใจ 5.      ต่อร่าง พรบ. กองทุนสื่อฯ เด็กและครอบครัวเห็นด้วย และเสนอให้มีการเผยแพร่ข้อมูลและต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมจากประชาชนดังเช่นร่าง พรบ. ฉบับอื่นๆ </p>

หมายเลขบันทึก: 82767เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 07:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท