KM กับงานส่งเสริมการเกษตร [ 4 ] เรียนรู้แบบจับผิด


ในขณะที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ ผมได้พบ "เทคนิควิธีคิด" บางกลุ่มที่เผยออกมา ซึ่งเสียดายในช่วงการนำเสนอเทคนิคนี้บางกลุ่มไม่ได้เผยออกมา

          การเรียนรู้และค้นหาความรู้ของผมอาจแตกต่างจากคนอื่นก็เป็นได้  เพราะผมมักจะไม่พยายามจำสิ่งที่เขาบอกที่ออกมาเป็นประเด็นชัดเจน  แต่ผมมักจะจับผิดแต่ไม่ได้หมายความว่าจับผิดเพื่อเอามาลงโทษแต่เพื่อให้ได้มาซึ่งเคล็ดวิชาที่ผมจะเอามาใช้  

          ส่วนมากในแต่ละครั้งที่ผมมีโอกาสเสวนา อบรมสัมมนา  ประชุม  ฟังวิทยากรบรรยาย   เนื้อหาที่เป็นเรื่องราวในกิจกรรมผมแค่จับเอาเพียงโครงร่าง  เพียงแค่ให้รู้ว่าคืออะไร  แต่สิ่งที่ผมสนใจเก็บเกี่ยวมากที่สุด  ก็คือเทคนิค วิธีคิด กระบวนการ  ภูมิปัญญา ของผู้ที่ดำเนินการกิจกรรมนั้น ๆ ซึ่งก็อาจที่เขาเรียกว่าความรู้ฝังลึกใช่หรือเปล่าไม่แน่ใจ  หรือไหวพริบปฏิภาณของคนผู้นั้น 

         ในการสัมมนาที่กรมส่งเสริมการเกษตรจัดที่โรงแรมหลุยส์ แทรเวิร์น กรุงเทพ ฯ  เป็นการรวมคนผู้มีประสบการณ์ถึง 300 คน ล้วนผ่านร้อนผ่านหนาวมานานในวงการส่งเสริมการเกษตร  ทุกคนมีประสบการณ์มากมาย  แต่ละคนเมื่อมีโอกาสพูดก็จะเริ่มเผยสิ่งที่ผมจับผิดออกมา ทั้งที่เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม

         เชื่อแน่ว่าทุกคนมีดี  แต่กระบวนการการสกัดมารวมกันยังขาด ๆ เกิน ๆ อยู่หรือเปล่าไม่แน่ใจ

         ใน 2 วันท้ายของการสัมมนาเหลือเฉพาะจังหวัดที่นำร่องกระบวนการ KM ตั้งแต่เช้าทุกคนนั่งล้อมวง KM แยกเป็นรายภาคโดยรวมจังหวัดในภาคไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผมชอบ ทุกคนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์   ได้มีโอกาสทบทวนกระบวนการที่เคยทำมา

          ตามโจทย์ที่กรม ฯ  กำหนดให้เป็นการบูรณาการ 3 โครงการใหญ่เข้าด้วยกัน ให้แต่ละกลุ่มภาคดำเนินการบูรณาการ  และนำเสนอตามที่ผมบอกแต่ต้นครับว่าผมไม่ดูเนื้อหา  แต่ผมชอบจับผิด และผมพบว่าความสามารถของแต่ละภาคนั้นมีคนเก่งอยู่ไม่น้อย  ผมพบเทคนิคอะไรหลาย ๆ อย่างในสังคมคนเกษตร  เพราะใช้เวลาไม่นานแต่ละกลุ่มภาคก็สามารถบูรณาการได้แล้ว  พร้อมเสร็จสรรพแนวทางในการจะดำเนินการ  และจะใช้ทรัพยากรจากเครื่องมือที่มีอยู่เดิมดำเนินการโครงการ  คือระบบส่งเสริมการเกษตร

        ในขณะที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ  ผมได้พบ "เทคนิควิธีคิด"  บางกลุ่มที่เผยออกมา   ซึ่งเสียดายในช่วงการนำเสนอ เทคนิคนี้บางกลุ่มไม่ได้เผยออกมา  แต่นี่ผมคิดว่าเป็นเคล็ดวิชาการที่มีคุณค่ายิ่งว่าตอนคิดการบูรณาการนั้นเขาคิดกันอย่างไร  เพราะเวลาผลออกมาก็วิ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน  แต่เป็นคนละทางเท่านั้น ผมจึงมักจะเรียกวิธีการจับประเด็นของผมว่าเป็นการจับผิดครับ 

        

หมายเลขบันทึก: 82741เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2007 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • อ่านแล้วครับทุกตอนที่บันทึกไว้
  • เหมือนกับได้ไปอยู่ในที่สัมมนานี้ด้วยเลยครับ

สวัสดีครับ คุณชาญวิทย์

  • เป็นกำลังใจให้ในการส่งเสริมองค์ความรู้ การเรียนรู้ให้กับสังคมนะครับ
  • ขอบคุณมากๆนะครับ สำหรับบันทึกเหตุการณ์และแนวคิดดีๆ
  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน
  • ผมก็เรียนรู้เอาจากเพื่อนๆ รอบข้างเช่นกันครับ แต่มักจะเรียนรู้จากความแตกต่างในส่วนของกระบวนการก่อน สำหรับเนื้อหาเป็นประเด็นถัดไปครับ
  • ขอบพระคุณ พี่อาจารย์ชาญวิทย์มากครับ ที่ได้บันทึกสิ่งดี ๆ มาฝาก
  • ต้องขอบอกว่า That's cool  วิธีคิดพี่จ๊าบจริง ๆ ครับ
คุณชาญวิทย์  โดน Book Tag เข้าแล้วค่ะ

กติกาง่ายๆ เลือกหนังสือที่ชอบ 3 เล่ม แล้ว Tag ต่อ 5 คนค่ะ

http://gotoknow.org/blog/www-doae/82894

คุณณัทธร

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม

คุณสมพร

ขอบคุณมากครับ  เล่าเยอรมันให้ฟังบ้างก็ดีครับ

คุณน้องวีรยุทธ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมแลกเปลี่ยนครับ 

น้องวิศรุต

  • ขอบคุณที่ยกย่องจนลอย 
  • เขียนแลกเปลี่ยนบ่อย ๆ นะครับ

เรียนพี่นันทา

  • ขอบคุณครับสำหรับ Book Tag คงให้พี่เป็นเจ้าหนี้ไปสักพักนะครับ
  • ผมไปอบรมที่ ม.ศรีปทุมครับ

ทางเยอรมัน ผมเขียนไว้ เยอรมันบ้างไทยบ้าง เข้าไปอ่านได้ครับ ที่ http://gotoknow.org/blog/mrschuai

มีไรฝากไว้ได้นะครับ ขอบคุณล่วงหน้าหรืออีเมล์ถึงผมได้เลยครับ ด้วยความยินดีจากทุกเรื่องราวครับ

ดีใจที่ได้รู้จักนะครับ

ดิฉัน "ขอจับสิ่งดี ๆ" ได้มั้ยค่ะ เพราะเป็นเคล็ดลับของ "ผู้สังเกตเป็น  ดูเป็น ทำเป็น และใช้เป็น" ซึ่งถ้าเราเอามารวมกัน ก็คงสนุกน่าค่ะ  แต่พูดไม่ค่อยทันค่ะ.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท