จิต : การคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์


ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆรอบตัวเราอย่างน้อยมี ๓ แบบ  คือ 

ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ-และผล  หรือ Cause - Effect,หรือ Causal Relationship  เช่น  "ฝนตก" (สาเหตุ) ทำให้ "ถนนเปียก" (ผล),  

 ความสัมพันธ์เชิงสหสัมพันธ์ หรือ Correlational Relationship เช่น  "เขาเก่งภาษาไทย" ในขณะเดียวกัน"เขาก็เก่งภาษาอังกฤษด้วย"  คือ "ถ้าเก่งไทยแล้วจะเก่งอังกฤษด้วย"  โดยที่การเก่งภาษาไทย"ไม่ได้" เป็น "สาเหตุ" ให้เขาต้องเก่งอังกฤษด้วย  ความสัมพันธ์แบบนี้ เป็นสหสัมพันธ์แบบตามกัน  หรือ เป็นบวก   แต่ถ้า "เก่งไทย แล้ว ออ่นเลข"  ก็เรียกว่า สหสัมพันธ์แบบกลับกัน  หรือสหสัมพันธ์ทางลบ

ความสัมพันธ์แบบธรรมดา  เช่น  แดงแก่กว่าดำ    แม่รักลูก   นายเหลืองสูงกว่านายเขียว   แมวเล็กกว่าเสือ  เป็นต้น

ความสามารถที่จะ"คิด"วิเคราะห์ความสัมพันธ์  ก็คือ การคิดแยกหน่วยย่อยที่รวมกันเข้าเป้นหน่วยใหญ่ต่างๆ  ให้แยกออกจากกันเป็นหน่วยๆ เป็นชิ้นๆ  ถ้า "เพื่อดูว่า หน่วยย่อยใดสำคัญที่สุด" ก็เรียกว่า "คิดวิเคราะห์ความสำคัญ"  ดังที่กล่าวแล้วในบล็อกก่อน  แต่ถ้า  แยกแยะออกเป็นหน่วยๆ เพื่อดูว่า "หน่วยใดสัมพันธ์กับหน่วยใด"  ก็เรียกว่า "การคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตามความหมายนี้  เช่น

ถ้าครูถามให้เด็ก "คิด"ว่า  "ส่วนต่างๆของต้นไม้ที่เธอแยกออกมาเป็นส่วนๆ คือ  ใบ  ดอก  ลำต้น  กิ่ง  ราก  เปลือก  "  นั้น  ให้เธอ "คิด" ว่า "ส่วนใดสัมพันธ์กันมากที่สุด ?   -----  ก็เรียกว่า  ครูท่านนั้นสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ครับ  -----  ซึ่งเด็กก็อาจจะตอบว่า  "เปลือกกับลำต้น" ครับ  เพราะว่า เปลือกช่วยห่อหุ้มลำต้น,  หรือว่า "ราก - เปลือก" ครับ  เพราะว่า รากดูดอาหารแล้วส่งผ่านขึ้นไปทางเปลือกครับ ฯลฯ  หรือตัวอย่างอื่นๆ ก็เช่น

"อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดลม ?" --------  ก. ความกลมของโลก  ข. ความร้อนของแสงแดด  ค. ความกว้างใหญ่ของทะเล  ง. ความกว้างใหญ่ของอวกาศ  จ. ความกว้างใหญ่ของพื้นโลก --- (คิดวิเคราะห์ สาเหตุ กับ ผล )

"พระนเรศวร กับ พระเจ้าตากสิน เหมือนกันตรงไหน? " ---- ก. นักรบ  ข. นักกู้ชาติ  ค. นักปกครอง   ง. โอรสกษัตริย์  จ. ขยายเขตแดนประเทศ  -----  (คิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบร่วม)

"อะไรทำงานสัมพันธ์กันมากที่สุด? " -----  ก. ปอด - หัวใจ   ข. หัวใจ - สมอง    ค. ปอด - จมูก    ง. สำไส้ - อาหาร   จ. หัวใจ - ตับ  ----- (วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบร่วม)

ขอให้สังเกตว่า  "ความจำ" เป็นความสามารถทางปัญญา "ระดับหนึ่ง" คือระดับพื้นฐานของปัญญาครับ   ความสามารถด้านปัญญาระดับถัดมา (ระดับสอง) คือ "ความสามารถด้านคิดเข้าใจ"  นั่นก็คือ  "ถ้าไม่มีความจำ"แล้วไซร้  ก็อย่าหวังเลยว่าจะคิดเข้าใจได้ !   ความสามารถด้านปัญญาระดับ "สาม"  ก็คือ "การคิดนำไปใช้"  นั่นก็คือ  "ถ้าไม่มีความสามารถที่จะ "คิดเข้าใจ" แล้วละก้อ  ไม่มีทางที่จะ "คิดนำไปใช้ได้ !! 

ความสามารถด้านปัญญา "ระดับสี่"  ก็คือ  "การคิดวิเคราะห์" ที่เรากำลังพูดถึงกันในบล็อกนี้แหละครับ  ก็เช่น  คนจะคิดวิเคราะห์หาได้ไม่ถ้าหากไม่มี "ความคิดนำไปใช้"

มันค่อยๆซับซ้อนขึ้น  และยากขึ้นไปเรื่อยๆ แบบ ลำดับขั้น  หรือ Heirarchy นั่นแหละครับ 

กระทรวงศึกษาธิการเขากำหนดไว้ในหลักสูตรครับ  เพื่อบังคับให้ครูพัฒนาลูกหลานของเราให้มีปัญญาพัฒนาขึ้น ๆ ตั้งแตชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัยโน่นแหละครับ

แต่ถ้ครูไม่รู้  ไม่รู้ว่าการคิดวิเคราะห์นั้นคืออะไร   เขาก็ไม่ได้สอนนะซีครับ  และเมื่อนั้น  หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ก็ "ล้มครืน" !!!  เงินค่าทำหลักสูตรเป็นร้อยล้านพันล้าน ก็สูญเปล่า ! เงินค่าจ้างครู ก็สูญเปล่า !!  เงินค่าจ้างใครต่อใคร ก็สูญเปล่า !!!  เงินค่าสร้างโรงเรียน  ค่าซื้ออุปกรณ์ ก็พลอยสูญไปด้วย !!!!

และที่สำคัญที่สุดก็คือ "ลูกหลานไทย"ของเราซีครับ ----- ?

เฮ้อ !  ขออย่าให้เป็นดังคำว่า "ถ้า" ข้างบนนี้เลยนะครับ 

หมายเลขบันทึก: 82534เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2007 00:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์ ดร.ไสว...

รู้สึกว่า ช่วงหลังๆ นี้ อาตมาเป็นครูที่ไม่ค่อยได้เรื่องขึ้นทุกครั้ง เมื่ออ่านบันทึกของอาจารย์ ...

ยากจริงๆ ครับ การเป็นครูตามแนวคิดของอาจารย์...

เจริญพร

คนจะคิดวิเคราะห์หาได้ไม่ถ้าหากไม่มี "ความคิดนำไปใช้"

 อันนี้ น่าสนใจมากคะ อาจารย์ รู้สึกว่า ใช่เลยคะ.... 

เราจะแจ่มแจ้งก็ตอน คิดนำไปใช้จริง นี่แหละคะ

และเราก็ต้องเจอ สถานการณ์ด้วย....อย่างนั้น ครูก็ต้อง

จัด สถานการณ์ จำลอง หรืออะไรที่จะ นำไปสู่การ นำไปใช้....

  โอโฮ้ ...อ่านข้อเขียนของอาจารย์ เหมือนกลับไปเรียนใหม่ อีกรอบคะ ดีจัง
 

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

นมัสการพระคุณเจ้า

ท่านถ่อมตัวเสมอ  ลูกศิษย์ที่ได้พระคุณเจ้าเป็นพระอาจารย์ ก็นับว่ามีบุญที่สุดแล้วครับ  ผมก็เห็นแต่ครูอย่างพระคุณเจ้าเท่านั้นแหละที่เข้ามาอ่านเรื่องทำนองนี้อย่างจับจิตจับใจ ครับ

อันที่จริง  ผมตั้งใจจะบันทึกความคิดของผมเกี่ยวกับ "จิตมนุษย์" ตามที่ผมคิด  ที่ผม"ไม่กล้าตอบครูในสมัยผมเรียน"  โดยเกรงว่า  ถ้าตอบไปตามนี้ ก็จะไม่ได้ปริญญา  แต่ตอนนี้ผม "ฟรี" จึงพูดได้อย่างเสรีด้วยครับ

แต่มานึกว่า  เอ-- ก็ครูทั้งหลายกำลัง "กระทำ" อยู่กับ "จิต" ของเด็กอยู่ทุกวัน  เราควรที่จะมองในแง่ "Applied" ไปถึงห้องเรียนด้วย  จึงได้คิด และบันทึกเรื่องเหล่านี้มาร่วมด้วยครับ

ก็ดีนะ    อย่างน้อย  พระคุณเจ้า   คุณดอกแก้ว  และคุณขจิต และอีกหลายท่าน  ก็เข้ามาร่วมวงสนุกด้วย  พูดกันมากๆ ก็จะเข้าหูกระทรวงศึษาธิการและสถาบันผลิตครูเองแหละครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

"การนำไปใช้" เป็น "ความสามารถที่จะคิดที่เกิดขึ้นในหัว"  นี่ผมพูดอย่าง "Cognitivist" ครับ  แต่แสดงออกมาภายนอกด้วย "การกระทำ"  หรือ "ปฏิบัติ" ตามที่คุณดอกแก้วว่านั่นแหละครับ  ถูกแล้ว

ถ้าคุณดอกแก้วได้ฟังครูบรรยายในวิชาวรรณกรรมว่า "การเขียนแต่ละย่อหน้านั้น  จะต้องให้ --ใจความ-- อยู่ที่บรรทัดแรก"  แล้วในวันต่อมา  ครูอีกคนหนึ่งบอกว่า  เอาหละ  ให้พวกเธอออกมายืนหน้าชั้นทุกคน  และด้วยที่คุณดอกแก้วฉลาดกว่าใครๆ  "คิดแวบ" ขึ้นมาว่า " ถ้าเราอยากจะเป็นคนสำคัญของกลุ่ม แล้ว เราต้องออกมายืนบรรทัดแรก--เอ้ย-- หน้ากลุ่ม"  เสมือน"ใจความ"ของอนุเฉจหรือพารากราฟที่ครูเคยสอน  ฉันใดก็ฉันนั้น   อย่างนี้เรียกว่า คุณดอกแก้วมีปัญญาด้าน "การคิดนำไปใช้"ครับ

ในเรื่องการให้ปฏิบัตินั่นนะหรือ  ลองคิดถึงพระบรมครูของเราซีครับ  พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า  องคุลีมารเอย  ให้เธอฉีกใบไม้มาใบหนึ่งซิ  --  แล้วลองต่อกลับเข้าไปเป็นดังเดิมดูซิ ----  ต่อไม่ติดดังเดิม พระเจ้าข้า --  โอ แย่แล้วเรา !! ---- องคุลีมารรู้ในบัดดล -- แล้วบวชเลย !!

Pragmatism ชิดซ้ายไปเลยแหละครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท