Mobile Unit กับ KM


แต่ภาพรวมใหญ่ ๆ คือจะใช้หลักการของ KM เข้ามาบริหารจัดการ

         ช่วงปลายเดือน ต.ค. 48 – กลางเดือน ธ.ค. 48 เราประชุมคณะกรรมการ Mobile Unit กันบ่อยมาก เพื่อเตรียมการสำหรับกิจกรรมในรอบปีต่อไป (ม.ค. – ธ.ค. 2549) ซึ่งพื้นที่เป้าหมายคือจังหวัดตากและสุโขทัย

         การประชุมก็มีทั้งแบบประชุมกันเองภายใน มน. และทั้งที่เชิญผู้แทนจากจังหวัดตากและสุโขทัยเข้าร่วมด้วย

         การประชุมครั้งล่าสุดคือช่วงเช้าของวันอังคารที่ 15 พ.ย. 48 นับเป็นครั้งประวัติศาสตร์ของ Mobile Unit เนื่องจากที่ประชุมตกลงกันได้ว่าจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการออก Mobile Unit แบบที่เรียกว่าต้องเปลี่ยนชื่อเต็มของโครงการกันเลยทีเดียว

         ประเด็นสำคัญต่าง ๆ ผมคงต้องค่อย ๆ ทยอยนำมานำเสนอให้ทุกท่านได้แสดงความคิดเห็นกันในโอกาสต่อ ๆ ไป แต่ภาพรวมใหญ่ ๆ คือจะใช้หลักการของ KM เข้ามาบริหารจัดการ

         วันนี้ขอแค่เรื่องวัตถุประสงค์ของการออก Mobile Unit เป็นอันดับแรกก่อน คือที่ประชุมเห็นด้วยกับท่านคณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ศ.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย) ที่เสนอให้ปรับวัตถุประสงค์เป็น 3 ข้อหลักดังนี้

         1. เพื่อให้เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน (University Bridge)

         2. เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ภายในมหาวิทยาลัย (Internal Linkage of Naresuan University Staff)

         3. เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Generation)

         สำหรับบันทึกนี้ ขอเท่านี้ก่อนครับ ความจริงยังมีเรื่องเกี่ยวกับ SML กับ KM อีกด้วย น่าสนใจไม่แพ้กัน จะหาโอกาสเล่าภายหลังครับ

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

คำสำคัญ (Tags): #km#mobile#unit
หมายเลขบันทึก: 8253เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2005 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท