เรื่องเล่าจากดงหลวง 39 “บ่ะไฟโป๊ก” ที่ดงหลวง


....อุปกรณ์ที่อาจกล่าวว่าเป็นเทคโนโลยี่เบื้องต้น (Low Technology) นี้พ่อเฒ่าภูมิใจนักเพราะว่า ไม่ต้องพึ่งถ่านไฟแช๊ก ไม่ต้องพึ่งน้ำมันไฟแช๊ก วัสดุอุปกรณ์ไม่ต้องเสียเงินซื้อหาเพราะมีอยู่ในชุมชน ไม่ต้องกลัวน้ำมันหมด ไม่ต้องกลัวถ่านหมด.. บ่ะไฟโปกใช้ได้ตลอดเวลา .

 

แผนที่แสดงกลุ่มเทือกเขาที่ตั้งอำเภอดงหลวง

 ชีวิตในธรรมชาติ: ประมาณปี พ.ศ. 2527 พี่น้องไทโซ่ดงหลวงเป็นคอมมิวนิสต์กลุ่มสุดท้ายของประเทศไทยที่ออกมามอบตัวกับทางการเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยนั้น เมื่อย้อนถอยหลังไปในอดีตนั้น ถือว่าดงหลวงเป็นสังคมปิดโดยสิ้นเชิง เพราะไม่มีถนน มีแต่ทางเกวียน ทางวัว ทางม้าเดิน แต่ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางคนเดินเสียมากกว่า ท่านลองเดาซิว่าสภาพบ้านเรือนจะเป็นเช่นไร

สภาพบ้านพักอาศัยไทโซ่แบบเดิมๆ

 

หลายท่านคงนึกภาพไม่ออก เลยเอาบ้านที่หลงเหลืออยู่มาให้ดูกัน ส่วนใหญ่บ้านจะประกอบด้วยไม้ไผ่ การเอาไม้จริง หรือต้นไม้มาทำบ้านนั้นเพิ่งมีเมื่อออกจากป่ากันมานี่เอง

ผู้เฒ่าท่านหนึ่งกล่าว อย่างที่กล่าวบ่อยๆว่า อาชีพหลักในสมัยนั้นคือการปลูกข้าวไร่บนที่ดอนสูงอาศัยเพียงน้ำฝน การมาทำนาในที่ลุ่มนั้น การทำนาปีในที่ลุ่มนั้นมีจำนวนน้อยมาก มาก ทั้งนี้พ่อเกี้ยง เชื้อคำฮด เฒ่าจ้ำใหญ่ตำบลพังแดงอธิบายเหตุผลว่าการมาทำนาปีในที่ลุ่มนั้น ต้องเป็นครอบครัวใหญ่และมีความขยันจริงๆ เพราะต้องทำรั้วรอบที่นา มิเช่นนั้นวัวจะเข้าไปเหยีบย่ำ 

 เราทราบดีว่าการใช้เวลาของชาวไทโซ่โบราณนั้นมีชีวิตอยู่กับป่าจริงๆ มีเวลาว่างก็เข้าป่า จึงไม่มีเวลามาเฝ้าวัวควายที่จะเข้ามาเหยีบย่ำข้าวนั่นเอง เรานึกไม่ถึงเหตุผลง่ายๆที่เป็นวิถีชีวิตของพี่น้องไทโซ่  อาหารจานโปรดคือสัตว์ป่านานาชนิด หนึ่งในนั้นก็คือ หนูป่า ที่มีอยู่อย่างชุกชุมและเด็กหนุ่มๆมักจะใช้เวลาไปวางกับดักหนูป่าทั้งวัน ทั้งคืน และไม่พลาดหรอกที่จะไม่ได้กิน 

 เครื่องมือดักหนูของชาวบ้าน

 หนูป่าที่ได้มาจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง ให้กับเพื่อนที่ไปด้วยกัน และส่วนที่สองก็ให้กับพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องซึ่งไม่มีโอกาสขึ้นป่าล่าสัตว์ ส่วนที่สามจึงเอามากินเอง นี่คือวัฒนธรรมพี่น้องไทโซ่ที่ยังถือปฏิบัติกันอยู่จนปัจจุบัน งดงามจริงๆ ความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่แก่กันนี้ สังคมในเมืองหลวงกำลังเรียกร้องหายิ่งนัก 

  บ่ะไฟโป๊ก : ขณะที่บางคนร่ำรวยมาจากไหนเป็นหมื่นๆล้าน แต่ข่าววันนี้มี่แม่ฆ่าลูกในไส้เพราะความยากจน  บางคนมีที่อาศัยที่เรียกคฤหาสน์ราคามากกว่า 300 ล้าน แต่ไทโซ่ดงหลวงใช้ไม้ไผ่ทำที่อาศัยโดยไม่เสียมูลค่า  บางคนซื้อหาไฟแช๊กฝังเพชรราคานับแสนบาทให้เจ้านายใช้ประดับบารมี แต่ผู้เฒ่าดงหลวงยังใช้หินตีกับเหล็กให้เกิดประกายไฟใช้ เรียกว่าบ่ะไฟโป๊กใครจะเชื่อ ผู้เขียนเคยเรียนในสมัยเด็กๆว่ามนุษย์ถ้ำโบราณนับเป็นพันๆปีเขาใช้กัน แต่มีที่ดงหลวงครับ

พ่อเฒ่าอายุ 76 ปี ผ่านชีวิตมาโชกโชนกับธรรมชาติ กินกลอย กินมัน แทนข้าวก็เคยเพราะข้าวหมดก่อน พ่อเฒ่าขาว เชื้อคำฮด อยู่บ้านหนองหมู  บ้านเดียวกับพ่อเกี้ยงเฒ่าจ้ำใหญ่ของตำบล พ่อเฒ่าขาวสูบบุหรี่พื้นบ้าน บวนด้วยใบตอง ยาสูบก็ปลูกเอง แต่พ่อเฒ่าไม่ใช้ไฟแช๊ก ไม่ว่ายี่ห้ออะไรก็ตามหรือสมัยใหม่ที่เป็นแก๊ส หรือไม้ขีด ยกเว้นว่าอุปกรณ์ทำไฟของพ่อเฒ่ามีปัญหาก็อาจจะขอยืมลูกๆใช้บ้าง แต่ไม่ค่อยเกิดขึ้น 

 เครื่องมือกำเนิดไฟของพ่อเฒ่ามีหินจากลำห้วยที่มีแง่คม มีเหล็กตะไบเก่าๆที่ยังมีบั้งเล็กๆสำหรับตะไบไม้ และที่สำคัญคือ ฝ้ายหรือนุ่นที่บรรจุอยู่ในกระบอกไม้ไผ่เล็กๆพอเหมาะมือปิดหัวท้ายด้วยฝาตลับยาหม่อง 

อุปกรณ์ที่อาจกล่าวว่าเป็นเทคโนโลยี่เบื้องต้น (Low Technology) นี้พ่อเฒ่าภูมิใจนักเพราะว่า ไม่ต้องพึ่งถ่านไฟแช๊ก  ไม่ต้องพึ่งน้ำมันไฟแช๊ก วัสดุอุปกรณ์ไม่ต้องเสียเงินซื้อหาเพราะมีอยู่ในชุมชน ไม่ต้องกลัวน้ำมันหมด ไม่ต้องกลัวถ่านหมด.. บ่ะไฟโปกใช้ได้ตลอดเวลา  พวกวัยรุ่นต่างหากที่มักจะมาพึ่งพ่อเฒ่า เพราะไม้ขีดหมด ไฟแช๊กมันหมดแก๊ส พ่อเฒ่าภูมิใจในเครื่องกำเนิดไฟโบราณชุดนี้  พ่อเฒ่ากล่าวอีกว่า ความจริงเครื่องมือชุดนี้ถือว่าสมัยใหม่ขึ้นมาแล้วนะ  ก่อนหน้านี้ชาวบ้านใช้วิธีโบราณจริงๆคือใช้ไม้สีกันจนเกิดไฟ เดี๋ยวนี้หมดไปแล้วตั้งแต่เข้าป่านั่นน่ะ 

 พ่อเฒ่าขาว เชื้อคำฮด เจ้าของ บ่ะไฟโป๊ก

พ่อเฒ่าอธิบายว่าผ่เหมือนคันธนู ตรงกลางคันธนูมีร่องสำหรับฝน ไม้ที่ฝนจะพันด้วยก้านคล้ายคันสีไวโอลิน ม้วนเชือกกับแท่งไม้ วางแท่งไม้ลงบนร่องคันธนูนั่น แล้วก็บังคับให้แก่นไม้นี้หมุนโดยการขยับคันที่เหมือนเครื่องสีไวโอลินนี่ เมื่อร้อนมากๆก็จะเกิดไฟขึ้นโดยเอานุ่นหรือฝ้ายไปวางตรงส่วนที่ร้อนนั่น ก็จะได้ไฟติดนุ่น แล้วเป่าให้ไฟลุก แล้วเอาไปต่อกับฟืนใหญ่ต่อไป นี่ไงครับรูปธรรมของการพึ่งตนเอง พอเพียงแบบดงหลวง 

คำสำคัญ (Tags): #บ่ะไฟโป๊ก
หมายเลขบันทึก: 82318เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • เป็นชีวิตที่พอเพียงมากจนน้องอยากไปดงหลวงบ้าง
  • น้องที่มหาวิทยาลัยอยู่มุกดาหาร
  • ถ้ามีโอกาสจะแวะไปเยี่ยมครับพี่
  • ขอบคุณครับ

อ้ายบ่าวบางทรายเจ้า...17-19 มีค. ที่บ้านครูบานะเจ้า..

ไปด้วยครับพี่หนิง อ้าวงานเรานี่น่า ขำๆๆๆ
  • ยินดีครับอาจารย์ขจิตครับ
  • ชวนน้องเขาไปด้วยนะครับ ลองถามน้องเขาดูว่าเคยไปดงหลวงบ้างไหม น้องคงให้ข้อมูลพื้นฐานได้ดีครับ
  • ถ้าจะให้ดีควรก่อนเดือน สิงหาคม 50 นี้นะครับ เพราะว่าโครงการที่พี่ทำอยู่จะสิ้นสุดสัญญา
  • น้องหนิง พี่กำลังลุ้นอยู่ว่าจะไปตรงกับวันที่ลูกสาวจะเดินทางไปออสเตรเลียหรือเปล่า
  • เห็นเธอบอกว่าอาจจะต้องเลื่อนการเดินทางเร็วขึ้น เพราะทาง มหาวิทยาลัยบริสเบน กำหนดให้ไปพบเร็วขึ้น กำลังรอฟังข่าวเธออยู่ครับ
  • ใจน่ะอยากไปพบครูบาและเพื่อนๆ G2K ครับ
  • ถ้าจะดี
  • ผมจะได้ไปที่พี่ก่อนไปต่างประเทศครับผม
  • ถ้าหมดสัญญาแล้วไปอยู่ที่ไหนต่อครับ
  • ยังไม่แน่ใจครับว่าทางบริษัทจะส่งไปไหน
  • อาจจะได้ไปเวียตนามครับ
  • หรือไม่ก็กลับเข้าบริษัทที่กรุงเทพฯ แต่อยากอยู่ข้างนอกมากกว่า ก็แล้วแต่เงื่อนไขครับ เพราะพี่สังกัดบริษัทที่ปรึกษาครับ แต่ทำงานด้านสังคมโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับชนบท
  • ไปไกลจังเลยครับ
  • น้องลูกช้างที่ มมส บ่นหาครับวันนี้
  • ขอบคุณครับ
  • ยังไม่แน่นอนครับ เป็นเพียงโอกาสเท่านั้น
  • ขอบคุณครับ น้องๆลูกช้างที่ มมส
  • ขอบคุณ อ.ขจิตครับ
  • ชอบแล้วครับ ชอบจัง เคยเห็นอุปกรณ์แบบนี้ในกลุ่มผู้ไทด้วยครับ
  • นามสกุลของ ทวด นี้ไพเราะมากครับ
  • ใช่ครับ กลุ่มผู้ไทคนเก่าๆก็ใช้กัน
  • วันก่อนดูข่าว TV ที่สมเด็จพระเทพท่านเสด็จชาว้ขาภาคเหนือ ชาวเขาเอาเครื่องมือนี้มาแสดงด้วย เหมือนกันเลย
  • มันบ่งบอกถึงคน และวัฒนธรรมของการใช้ชีวิต พี่เองก็ชอบ  แต่มันกำลังหมดไป เราแค่ชื่นชมมันอยู่ในใจ คนรุ่นใหม่หัวเราะใส่เสียอีก ครับ
  • ขอบคุณครับ

อยากได้กระป๋องดักหนูตัวอย่างสักอัน 

จะมาให้เด็กๆเอากระป๋องเก่ามาทำประโยชน์

ตกลงครับท่านครูบา ผมจะประสานงานน้องๆที่มุกดาหารจัดการให้ครับ

สวัสดีครับครูอ้อย

เดี๋ยวพี่หารูปสวยๆก่อนนะครับ

เข้าท่าครับ

ซิน เจีย ยู่ อี่ ซิน นี้ ฮวด ใช้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท